InfoQuest - นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดที่ระดับ 34.53 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าจากช่วงเช้าที่ เปิดตลาดที่ระดับ 34.60 บาท/ดอลลาร์ ปิดตลาดเย็นนี้ เงินบาทปรับตัวแข็งค่าเล็กน้อยจากช่วงเช้าตามสกุลเงินอื่นในภูมิภาค โดยระหว่างวันเงินบาทเคลื่อนไหวใน กรอบ 34.49 - 34.64 บาท/ดอลลาร์ ตลาดรอดูรายงานตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐ เดือนพ.ค. ซึ่งหากออกมาดีกว่าที่ ตลาดคาดไว้ ก็มีโอกาสที่เฟดจะยังขึ้นดอกเบี้ยต่อเนื่องในการประชุมเดือน มิ.ย. "ตลาดรอดูการรายงานข้อมูลของสหรัฐฯ คืนนี้ ถ้าทั้งอัตราการว่างงาน และค่าจ้างออกมาดี ตลาดมองว่าเฟดคงจะขึ้น ดอกเบี้ยในการประชุมเดือนมิ.ย." นักบริหารเงิน ระบุ นักบริหารเงิน คาดว่า ต้นสัปดาห์หน้า เงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 34.45 - 34.75 บาท/ดอลลาร์ * ปัจจัยสำคัญ
- เงินเยนอยู่ที่ระดับ 138.76 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 138.83 เยน/ดอลลาร์ - เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.0767 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 1.0762 ดอลลาร์/ยูโร - ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,531.20 จุด เพิ่มขึ้น 9.80 จุด (+0.64%) มูลค่าการซื้อขาย 42,523 ล้านบาท - สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติซื้อสุทธิ 548.32 ลบ.(SET+MAI) - รมว.พาณิชย์ แย้ม อัตราเงินเฟ้อเดือนพ.ค.66 เพิ่มขึ้นเล็กน้อย ภาพรวมแนวโน้มเงินเฟ้อไทยชะลอตัว ชี้อยู่ในระดับต่ำสุด ของอาเซียน มั่นใจทั้งปีเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นไม่เกิน 2% ยังอยู่ในกรอบเป้าหมายของแบงก์ชาติที่ 1-3% - วุฒิสภาสหรัฐฯ มีมติด้วยคะแนนเสียง 63 ต่อ 36 เสียง ผ่านร่างกฎหมายการขยายเพดานหนี้ และปรับลดการใช้จ่ายของ รัฐบาลเป็นเวลา 2 ปี และขณะนี้ร่างกฎหมายดังกล่าวจะถูกส่งให้กับประธานาธิบดีโจ ไบเดน เพื่อลงนามบังคับใช้ต่อไปก่อนที่จะถึงกำหนด เส้นตายการผิดนัดชำระหนี้ในวันที่ 5 มิ.ย.นี้ - สำนักงานงบประมาณแห่งสภาคองเกรสสหรัฐ (CBO) คาดการณ์ว่า ยอดขาดดุลงบประมาณของรัฐบาลสหรัฐ จะลดลงราว 1.5 ล้านล้านดอลลาร์ในช่วง 10 ปีข้างหน้า หากร่างกฎหมายขยายเพดานหนี้ ผ่านความเห็นชอบจากสภาคองเกรส และมีผลบังคับใช้เป็น กฎหมาย - นักวิเคราะห์จากบริษัทแวนการ์ด (Vangaurd) ระบุว่า ตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตร, อัตราว่างงาน และข้อมูลค่าจ้าง รายชั่วโมง ซึ่งกระทรวงแรงงานสหรัฐมีกำหนดเปิดเผยในค่ำนี้ จะเป็นตัวแปรสำคัญในการตัดสินใจด้านนโยบายการเงินของธนาคารกลาง สหรัฐ (เฟด) ในการประชุมเดือนมิ.ย. - นักวิเคราะห์ คาดการณ์ว่าเฟด จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกในการประชุมเดือนมิ.ย.นี้ ก่อนที่จะหยุดการปรับขึ้นดอกเบี้ยชั่ว คราวในการประชุมครั้งถัดไป เพื่อประเมินผลกระทบที่มีต่อเศรษฐกิจมหภาค - เจพีมอร์แกนเพิ่มคาดการณ์การขยายตัวทางเศรษฐกิจอินเดียสำหรับปี 2567 สู่ระดับ 5.5% จากที่เคยคาดการณ์เอาไว้ที่ 5% พร้อมเตือนว่า การขยายตัวทางเศรษฐกิจของอินเดีย จะได้รับผลกระทบจากภาวะชะลอตัวของการเติบโตทางเศรษฐกิจโลก - ข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญของสหรัฐฯ ที่จะมีการรายงานในสัปดาห์หน้า ได้แก่ ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการขั้นสุด ท้ายเดือนพ.ค, ดัชนีภาคบริการเดือนพ.ค., ยอดนำเข้า ยอดส่งออก และดุลการค้าเดือนเม.ย., จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานราย สัปดาห์ เป็นต้น