🤑 ราคาไม่ได้ถูกมากไปกว่านี้แล้ว รับเลยส่วนลด Black Friday 60% ก่อนที่จะหมดเขต….รับส่วนลด

การเฝ้ากราฟตลอดเวลา ใช่คำตอบของการเทรด ???

เผยแพร่ 29/06/2563 09:37
AUD/JPY
-

เมื่อก่อนเห็นหลายๆคน มีหน้าจอเทรดหลายๆจอ เอาไว้ดูกราฟเฝ้ากราฟ เมื่อถึงเวลาสัญญาณมาจะได้เข้า และติดตามกราฟได้ทันท่วงที

ผมคนนึงก็มีความฝันอยากมีหน้าจอสำหรับเทรดอย่างน้อยๆ 6 จอ กับเขาบ้าง เลยดูราคาคร่าวๆแล้ว อาจจะต้องประกอบคอมใหม่เพราะต้องใช้การ์ดจอ 2 ตัวเพื่อต่อกับจอ 6 ตัว ไปๆมาๆ ดูแล้วน่าจะลงทุนไปอีกอย่างน้อยๆ 4-5 หมื่น แถมเวลาทำงานอาจจะต้องสลับกับ notebook ที่ผมมี ตอนนั้นก็ไม่ค่อยอยากใช้เงินเท่าไรสำหรับอุปกรณ์นี้ และการเทรดก็ยังไม่ได้เรื่องสักเท่าไร เลยขอเอาเล็กๆก่อน

จึงตัดสินใจลองซื้อจอเพิ่มมาอีก 2 จอก่อนแล้วต่อเข้ากับอุปกรณ์เสริมที่ต่อเข้ากับ notebook ปรากฏว่าใช้งานได้

เทรดไปเทรดมา จอนึงก็เปิดกราฟเอาไว้ดูว่าตลาดไปยังไง order เราไปถึงไหนบ้างแล้ว อีก 2 จอ ก็เอาไว้ทำงาน เขียนโปรแกรม ไม่รู้ใครเป็นเหมือนผมหรือเปล่า เปิดกราฟขึ้นจอแล้ว กลายเป็นว่าผมไม่เป็นอันทำงาน 55555 เฝ้าลุ้นเฝ้าดูว่ามันถึงไหนแล้ว แต่พอมีความจำเป็นที่ต้องออกไปข้างนอก แต่เข้า order ค้างไว้ กลายเป็นว่าเรากลับทำกำไรต่อ order ได้ดีกว่าตอนที่เฝ้ามันอีก 555555

มันเหมือนกับว่าเราดูมันแล้วก็เฝ้าพยายามจะทำอะไรสักอย่างกับกราฟเพื่ออะไรสักอย่าง แต่กลายเป็นว่าไม่ค่อยดีเท่าไร

จนหลังๆมานี้ หน้าจอทั้ง 3 จอผมไม่ได้เปิดกราฟเลย หน้าจอกราฟกลายเป็น youtube เปิดฟังเพลงหรือรายการอะไรแทน 55555

ผมจะเข้าไปดูกราฟตามช่วงเวลาที่ผมกำหนดแทน โดยมากผมเทรดโดยใช้ H1 H4 time-frame เล็กที่สุดในการตัดสินใจเข้า order

ดังนั้นตอนตลาดเปิดผมก็จะเข้าไปดูกราฟช่วงเวลาที่สำคัญๆเท่านั้น เช่น

- ช่วงเช้าประมาณ 6-7 โมงตลาด AUD JPY เปิด
- บ่ายประมาณ 2-3 โมงตลาดยุโรปเปิด
- และ หัวค่ำ 1-3 ทุ่ม ตลาดอเมริกาเปิด

ซึ่งผมจะเข้าไปดูช่วงประมาณก่อนปิดแท่ง H4 สัก 5-10 นาทีก่อนตัดสินใจทำอะไร

เมื้อเข้า order ไปแล้วก็ตั้ง take profit / stop loss แล้วก็ปล่อยให้มันเป็นหน้าที่ของตลาดนั้นทำเงินไป

การเทรดก็เหมือนการทำงาน ยิ่งลงทุนน้อย ใช้เงินน้อยแล้ว ก็ควรใช้เวลาให้น้อย หรือ คือให้เหมาะสมกับรายได้ เพื่อประสิทธิภาพ และคุ้มค่ากับการลงทรัพยากรไป

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นกลยุทธ์ที่ผมเทรดผมชอบเน้นรันเทรน กินกำไรยาวๆ ชิวๆ ผมจึงออกแบบการเทรดให้เข้ากับตัวเองแบบนี้

ผมจึงชวนดูว่าวิธีการเทรดแบบไหนที่เราชอบและถนัด แล้วออกแบบการเทรดให้เข้ากับตัวเอง ดูว่าเราโอเคกับมันไหน ถ้าเราจะต้องใช้ชีวิตแบบนี้ไปยาวๆ

เพื่อนๆ ใช้วิธีการเทรดแบบไหน ชอบแบบไหน ลองมาคุยกันนะครับ

บทความนี้จัดทำเลยเผยแพร่ครั้งแรกทางเพจ About Traders

อ่านยัง?

♦ฝึกถือกำไร ยาวๆอย่างไร

♦อย่ากลัวที่จะ "ตกรถ" ควรยึดตาม แผนและ วินัย ที่มี

♦ทำไมถึงติดดอย ?

ความคิดเห็นล่าสุด

กำลังโหลดบทความถัดไป...
การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย