การลุกลามของ COVID-19ได้แพร่กระจายเป็นวงกว้างจนทำให้ล่าสุด ณ วันที่ 17 ส.ค. 2563 มี ประชากรทั่วโลกติดเชื้อไปแล้วกว่า 21 ล้านคน โดยหลายประเทศต้องมีการเร่งพัฒนาวัคซีน เช่น จีนสหรัฐฯ อังกฤษ เยอรมัน และรัสเซีย ท าให้เกิดการแข่งขันของหน่วยงานเอกชน เพื่อก้าวขึ้นป็นผู้นำในการผลิตวัคซีนที่จะสร้างรายได้อย่างมหาศาลในอนาคต ซึ่งในวันที่ 11 ส.ค. 2563 สถาบัน Gamaleyaที่เป็นส่วนหนึ่งของกระทรวงสาธารณสุขรัสเซีย ได้รับการอนุมัติตามข้อกำหนดในการทดลองของรัสเซียพร้อมทั้งตั้งชื่อว่า “สปุตนิค5” ตามดาวเทียมดวงแรกที่รัสเซียส่งสู่อวกาศได้เป็นชาติแรกของโลกเมื่อปี1957 แม้ว่าวัคซีนดังกล่าวจะใช้เวลาในการพัฒนาเพียง 2 เดือน และยังไม่มีการรายงาน
ผลทดสอบระยะ 2-3
อย่างไรก็ตาม กระทรวงสาธารณสุขรัสเซียเปิดเผยเพิ่มเติมว่า สถาบันวิจัยGamaleya ผู้พัฒนาวัคซีน COVID-19 ของรัฐบาลรัสเซียได้ผลิตวัคซีน COVID-19 ล็อตแรกออกมา
เรียบร้อยแล้วและมีมากกว่า 20 ประเทศทั่วโลกที่สนใจสั่งซื้อ ส่วน CanSino Biologics ของจีน ก็ได้รับการอนุมัติให้ใช้ในวงจำกัดในกลุ่มทหาร ก่อนที่จะประกาศทดลองระยะ 3 เมื่อ 9 ส.ค. 63 เช่นเดียวกัน (Source: Infoquest) หลังจากรัสเซียอนุมัติให้ใช้วัคซีนอย่างเป็นทางการ สหรัฐฯได้ประกาศทำสัญญาสั่งซื้อวัคซีนเพิ่มเติมอีกด้วยมูลค่าถึง US$1.525 พันล้าน กับบริษัท Moderna สำหรับวัคซีน 100 ล้านโดส ซึ่งถือเป็นดีลที่2 กับบริษัทหลังจากได้ประกาศสนับสนุนการพัฒนาวัคซีนไปแล้ว US$995 ล้าน
นอกจากนี้สหรัฐฯยังได้ทำสัญญากับบริษัทยาอีก 5 บริษัทที่มีแนวโน้มว่าวัคซีนจะได้รับการอนุมัติเป็นเจ้าแรก ๆถึงแม้ว่าวัคซีนยังไม่ได้รับการอนุมัติจาก FDA ก็ตาม (Source: Indian Express)
Our Views: แม้ว่า ระยะสั้น ราคาหุ้นกลุ่ม Healthcare อาจถูกขายทำกำไร จากความคาดหวังต่อความคืบหน้าของการพัฒนาวัคซีน แต่เรามองว่า การอนุญาตให้ใช้วัคซีนเป็นวงกว้าง รวมถึง การแจกจ่ายวัคซีนให้ทุกประเทศ ต้องใช้เวลาอีกสักระยะ ดังนั้น หุ้นกลุ่ม Healthcare โดยเฉพาะBiotechnology and Digital health มีโอกาสฟื้นตัว เพราะในระยะยาว การเกิด COVID-19 เร่งให้คนส่วนใหญ่หันมารักษาสุขภาพมากขึ้น รวมถึงโครงสร้างประชากรโลกในหลายประเทศที่มีแนวโน้มเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ส่งผลต่อการใช้จ่ายด้านสุขภาพที่สูงขึ้น
นอกจากนี้ การน าเทคโนโลยีทางการแพทย์ใหม่ ๆ มาประยุกต์ น่าจะได้รับกระแสตอบรับที่ดีมากขึ้นเรื่อย ๆ เช่น Biotechnology ที่เน้นลงทุนวิจัยและพัฒนา เช่น โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน โรคทางพันธุ์กรรม และพัฒนาวัคซีนเพื่อ สร้างภูมิคุ้มกัน หรือ Digital Health ซึ่งเป็นการพัฒนาทางเทคโนโลยีเพื่อให้เกิดนวัตกรรมใหม่ ๆ ที่เข้าถึงการรักษา ป้องกัน และติดตามโรคเช่น อุปกรณ์ตรวจเบาหวาน ผ่าตัดออนไลน์ และการเก็บข้อมูลคนไข้อัตโนมัติเพื่อให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น อีกทั้งยังช่วยลดต้นทุนได้อีกด้วย
ดังนั้น นักลงทุนที่สนใจการลงทุนตามกระแสดังกล่าว อาจพิจารณา “ทยอยสะสม” กองทุนHealthcare อย่าง กองทุนเปิด แอสเซทพลัส อินโนเวทีฟ เฮลธ์แคร์(ASP-IHEALTH)
ที่เน้นลงทุนในกลุ่มบริษัทด้านดิจิทัล เฮลท์ (Digital Health)และ บริษัทเทคโนโลยีชีวภาพและเภสัชกรรม โดย ASP-IHEALTH เป็นกองทุนประเภท Fund of Funds ที่ลงทุนในกองทุนต่างประเทศมากกว่า 1 กองทุน ปัจจุบัน (30 มิ.ย.2563) กองทุนมีการกระจายการลงทุนในกองทุนต่างประเทศดังนี้ 1) CS Global Digital Health Equity Fund 44.17%2) Janus Henderson Biotechnology fund39.86%และ 3) iShareNasdaq Biotechnology 7.69%โดยกองทุนมีผลการด าเนินงานโดดเด่นเหนือกองทุนในกลุ่ม Healthcareอื่น ๆ โดยมีผลตอบแทน YTD +26.7% และผลตอบแทน 1 ปีย้อนหลัง +40% (ข้อมูล ณ วันที่ 11 ส.ค.2563)
บทวิเคราะห์นี้จัดทำขึ้นและเผยแพร่โดยทีมนักวิเคราะห์ของ Yuanta Securities