จากขาขึ้นของราคาน้ำมันดิบตลอดสามเดือนล่าสุด (เบรนท์สปอตเคยมีราคาอยู่ที่ $39.68 ต่อบาร์เรลในวันที่ 4 พฤศจิกายน) มาจนถึงปัจจุบันทำให้นักวิเคราะห์หลายคนเริ่มประเมินว่าเราอาจจะได้เห็นราคาน้ำมันดิบปรับตัวขึ้นไปอยู่ในระดับที่ไม่ได้เห็นมาตลอดทั้งปี 2020
อย่างที่เราทราบกันดีว่าราคาน้ำมันเป็นตลาดที่เคลื่อนไหวตามปัจจัยพื้นฐานอย่างอุปสงค์และอุปทานในตลาดซึ่งตอนนี้ดูเหมือนว่าอุปทานของราคาน้ำมันกำลังอยู่ในจุดที่ใกล้จะสมดุลขึ้นเรื่อยๆ
สัปดาห์ที่แล้วสหรัฐอเมริกาสามารถผลิตน้ำมันได้ 10.9 ล้านบาร์เรลต่อวันและตอนนี้ทุกคนก็ทราบข่าวแล้วว่ากลุ่ม OPEC+ ได้ข้อตกลงโควตาการผลิตน้ำมันใหม่ขึ้นมาจากการประชุมเมื่อเดือนที่แล้ว แต่สิ่งที่ทุกคนอยากจะรู้ก็คือว่าอนาคตของความต้องการน้ำมันดิบจะเป็นอย่างไร ซาอุดิ อารัมโก (SE:2222) บริษัทผลิตน้ำมันประจำชาติของซาอุดิอาระเบียวิเคราะห์ว่าความต้องการน้ำมันดิบน่าจะฟื้นตัวกลับมาได้เต็มกำลังภายในสิ้นปี 2021 นี้ ส่วนธนาคารกลางโกลด์แมน แซคส์ประเมินว่าโลกเราจะสามารถผลิตน้ำมันได้ 100 ล้านบาร์เรลภายในเดือนสิงหาคม บีพี (NYSE:BP) มองเช่นเดียวกันกับซาอุดิ อารัมโก แต่เพิ่มว่าความเร็วในการฟื้นตัวนั้นขึ้นอยู่กับความสามารถในการจัดการปัญหาโควิดของแต่ละประเทศและความเร็วในการกระจายวัคซีน
ความต้องการน้ำมันดิบจะสามารถฟื้นตัวกลับมาได้อย่างรวดเร็วแค่ไหนก็ต้องดูปัจจัยอย่างเช่นปริมาณวัคซีนต้านโควิดในตลาด ความเร็วในการรักษาผู้ติดเชื้อและมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐที่จะทำให้ผู้คนกล้าที่จะออกมาจับจ่ายใช้สอยดังเดิม ต่อให้จะมีการล็อกดาวน์หรือมาตรการที่เข้มงวดอย่างไร มนุษย์ก็ยังต้องเดินทางเพื่อติดต่อซื้อขายสินค้าซึ่งการเดินทางเหล่านั้นยังจำเป็นต้องพึ่งพาการใช้น้ำมันซึ่งการใช้งานน้ำมันจะเพิ่มขึ้นหรือลดลงก็ขึ้นอยู่กับว่าเศรษฐกิจของประเทศนั้นๆ ฟื้นตัวและปลอดจากโควิดได้มากเพียงใด
ถึงแม้ว่าในตอนนี้จะมีข่าวดีเกี่ยวกับวัคซีนต้านโควิดเข้ามาแล้ว แต่ธุรกิจหลายๆ ประเภทก็ยังไม่สามารถฟื้นตัวกลับมา แม้แต่จะขึ้นมาหายใจเหนือน้ำยังลำบาก ผลสำรวจจากสำนักงานที่ปรึกษาบอสตันเมื่อไม่นานมานี้ระบุว่ากลุ่มธุรกิจขนาดเล็กยังประสบปัญหากำไรตกต่ำ ในขณะที่ผลสำรวจจากธนาคารกลางสหรัฐฯ พบว่าธุรกิจขนาดเล็กที่ยังสามารถพาตัวเองให้รอดมาได้เป็นกังวลว่าเมื่อไหร่ที่ขาดความเชื่อเหลือจากภาครัฐ พวกเขาก็พร้อมที่จะล้มลงได้ทันที
ในไตรมาสสุดท้ายของปี 2020 เราก็ได้เห็นแล้วว่าเศรษฐกิจทางฝั่งยูโรโซนเข้าสู่ภาวะถดถอยเป็นครั้งที่สองจน IMF ต้องลดตัวเลขคาดการณ์การเติบโตของฝั่งยูโรโซนในปี 2021 ลงเหลือ 4.2% ยิ่งสถานการณ์ในอเมริกาใต้ยิ่งไม่ต้องพูดถึง IMF ประเมินว่าเศรษฐกิจของอเมริกาใต้จะไม่สามารถกลับไปสู่ในช่วงก่อนโควิดได้จนถึงปี 2023 เป็นอย่างน้อย
ข่าวดีก็คือประเทศหรือภูมิภาคใดที่ได้โอกาสฟื้นตัวแล้วก็สามารถฟื้นตัวกลับมาได้เร็วเมื่อเทียบกับวิกฤตเศรษฐกิจในปี 2008 ที่ต้องใช้เวลาเป็นปี ในมุมมองของนักเศรษฐศาสตร์ การฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็วหรือที่เรียกว่าการฟื้นตัวแบบรูปตัววี (V-shape Recovery) เป็นรูปแบบที่สามารถเจอได้เมื่อเศรษฐกิจมีการถดถอยอย่างรวดเร็วเหมือนกับการตีลูกเทนนิสอัดกำแพง ยิ่งตีแรงเท่าไหร่ การสะท้อนก็ยิ่งกลับมาแรงเท่านั้น
ตอนนี้เราก็อยู่กับโควิดมาได้เกือบหนึ่งปีเต็มจนทุกคนเรียนรู้ที่จะอยู่กับเจ้าเชื้อไวรัสนี้ได้แล้ว คำถามสำคัญจึงอยู่ที่ว่าการฟื้นตัวครั้งนี้จะเป็นไปตามทฤษฎีที่พูดถึงก่อนหน้านี้หรือจะมีความพิเศษเพราะเรากำลังอยู่ในสถานการณ์พิเศษ