สถานการณ์สงครามรัสเซีย-ยูเครน ดูเหมือนเดินทางมาใกล้บทสรุป แต่ในอีก ด้านหนึ่ง สงครามเศรษฐกิจยังน่าจะอยู่ในช่วงของการเริ่มต้น ซึ่งตลาดหุ้น น่าจะกังวลในประเด็นนี้ในลำดับถัดไป โดยจากที่ฝ่ายวิจัยรวบรวมพบว่า ปัจจุบันมีประเทศที่ประกาศคว่ำบาตรรัสเซียแล้ว 13 ประเทศ และมีบริษัท ข้ามชาติขนาดใหญ่อีก 50 บริษัท ภายใต้สถานการณ์ดังกล่าวน่าจะทำให้เกิด การชะลอตัวของเศรษฐกิจในระยะต่อไป ส่วนอีกเรื่องหนึ่งเป็นการประชุม ธนาคารกลาง ซึ่งในสัปดาห์นี้ จะมีการประชุม 3 แห่งได้แก่ Fed, BOE และ BOJ โดยคาดว่า Fed จะปรับชึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% สำหรับ สถานการณ์ในบ้านเรา รอติดตามการประชุม ศบค.วันที่ 18 มี.ค.65 อีกครั้ง SET Index ยังผันผวนแต่กรอบยกขึ้นมาอยู่ในช่วง 1640 – 1671 จุด สถานการณ์ ยูเครน-รัสเซีย ยังเป็นตัวกำหนดทิศทาง พอร์ตจำลองวันนี้ไม่มี การปรับเปลี่ยน หุ้น Top Pick เลือก KBANK (BK:KBANK), KSL และ MAKRO
ทั่วโลกคว่ำบาตรรัสเซียกดดันเศรษฐกิจ แต่ตลาดการเงินรับรู้ไปแล้วพอควร
ความคืบหน้าของความขัดแย้งระหว่างรัสเซีย-ยูเครน เมื่อช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา ประธานาธิบดีปูตินของรัสเซียได้หารือทางโทรศัพท์กับประธานาธิบดีมาครงของ ฝรั่งเศส โดยหลังเสร็จสิ้นการหารือ นายมาครงเผยว่า นายปูตินยังไม่แสดงความตั้งใจที่ จะยุติสงครามในยูเครน อย่างไรก็ตาม ปูตินกล่าวว่าตัวแทนของรัสเซียยังคงเจรจากับ ยูเครนผ่านช่องทางออนไลน์อย่างต่อเนื่อง และผลการเจรจาเริ่มเป็นไปในทางบวกมาก ขึ้น แต่ก็ไม่ได้แจ้งรายละเอียดเพิ่มเติมแต่อย่างใด สถานการณ์ที่รัสเซีย-ยูเครนยังค่อนข้างคลุมเครือส่งผลให้ตลาดการเงินโลกแกว่งตัวผัน ผวนได้ต่อไป ทั้งนี้ หากพิจารณามาตรการคว่ำบาตรของทั่วโลกต่อรัสเซีย พบว่านับตัง แต่วันที่ 24 ก.พ. 2565 เป็นต้นมาที่รัสเซียเข้าปฏิบัติการทางทหารในยูเครน มีประเทศ ที่คว่ำบาตรจำนวน 13 ประเทศ เช่น สหรัฐ, ยุโรป, อังกฤษ, ญี่ปุ่น, ออสเตรเลีย, นิวซีแลนด์ เป็นต้น
รวมไปถึงบริษัทเอกชนอีกหลายแห่ง เช่น BMW, Ford, Boeing, Visa, Mastercard, Google (NASDAQ:GOOGL), Airbus, Toyota, American Express, Microsoft, Netflix (NASDAQ:NFLX), Tiktok, McDonald's, Starbuks เป็นต้น รวมราว 50 บริษัท การคว่ำบาตรรัสเซียจากประเทศและบริษัทเอกชนสร้างความกังวลต่อเศรษฐกิจของ รัสเซียและเศรษฐกิจโลกได้ โดยเฉพาะในระยะสั้นๆ เนื่องจากภาคธุรกิจอาจต้องปรับตัว จากมาตรการคว่ำบาตร ซึ่งอาจมีต้นทุนเพิ่มขึ้นได้ แต่ในระยะกลาง-ยาว เชื่อว่าการ ปรับตัวจะราบลื่นมากขึ้น ทั้งนี้ ASPS เชื่อว่าหากรัสเซียมีท่าทีที่ผ่อนคลายจากการ ปฏิบัติการทางทหาร อาจช่วยให้มาตรการคว่ำบาตรอาจได้รับการผ่อนคลายขึ้นบ้าง ส่งผลให้พัฒนาการของเหตุการณ์ยังต้องตามต่อไปอย่างใกล้ชิด แต่สำหรับตลาดการเงิน ASPS เชื่อว่าตลาดได้ปรับตัวตอบรับความกังวลข้างต้นไปมาก พอสมควรแล้ว สะท้อนจากราคาน้ำมันดิบและราคาทองคำปรับลงจากจุดสูงสุด ขณะที่Bond Yield และตลาดหุ้นโลกก็ปรับฟื้นตัวจากจุดต่ำสุดเช่นเดียวกัน ส่งผลให้ ตลาดการเงินในภาพรวมเริ่มมีเสถียรภาพมากขึ้น และเชื่อว่าหลังจากนี้ ตลาดจะรอ ติดตามความคืบหน้าพัฒนาการของเหตุการณ์ต่อไป ส่วน SET Index ในวันนี้ คาดแกว่ง ตัวในกรอบ 1,640-1,671 จุด
ราคานิกเกิลพุ่งทะยาน สร้างกระแสเก็งกำไรหุ้นสเตนเลส
ราคาฟิวเจอร์นิกเกิลพุ่งขึ้นอย่างร้อนแรงกว่า 180% ในช่วงเวลา 48 ชั่วโมง สู่ระดับ 81,052 ดอลลาร์ในวันอังคารที่ 8 มี.ค 65 ราคานิกเกิลล่าสุดอยู่ที่ 48,033 ดอลลาร์ ซึ่ง สูงกว่าราคาเฉลี่ยในปี 2564 ที่ 18,467 ดอลลาร์ หลังรัสเซียซึ่งเป็นผู้ผลิตนิกเกิล ประมาณ 10% ของโลก กำลังเผชิญการคว่ำบาตรจากนานาชาติจากการบุกยูเครน โดย นิกเกิลเป็นส่วนประกอบสำคัญในการผลิตเหล็กกล้าไร้สนิม (Stainless Steel) เกรดออ สเตนิติก แม้นิกเกิลจะคิดเป็นสัดส่วน 8-20% ในเชิงปริมาณของวัตถุดิบทั้งหมด แต่หาก คิดเป็นสัดส่วนในเชิงมูลค่าอาจมีสัดส่วนสูงถึง 80% ของต้นทุนการผลิตสเตนเลสเกรด ออสเตนิติกทั้งหมด ส่งผลให้เกิดกระแสเก็งกำไรว่าราคาสเตนเลสจะปรับตัวสูงขึ้นตาม ราคานิกเกิล โดยบริษัทที่ทำธุรกิจสเตนเลสในประเทศไทยประกอบด้วย INOX,LHK,TGPRO,TCJ น่าจะได้ประโยชน์ระยะสั้นจากราคาผลิตภัณฑ์ที่ปรับตัวขึ้น โดยเฉพาะ INOX ที่น่าจะได้ประโยชน์สูงสุดเพราะเป็นผู้ผลิตสเตนเลสรีดเย็นรายเดียว ในประเทศไทย ส่วน LHK,TGPRO และ TCJ เป็นผู้ซื้อสเตนเลสรีดเย็นมาแปรสภาพเป็น
สินค้าประเภทต่างๆ อาจมองว่าได้รับผลเชิงลบจากต้นทุนวัตถุดิบที่ปรับขึ้น แต่ในระยะ สั้นจะได้ประโยชน์จากสต็อกต้นทุนวัตถุดิบต่ำที่มีอยู่ ซึ่งน่าจะเห็นอัตรากำไรที่ดีกว่า ปกติในระยะสั้น
หากอ้างอิงจากข้อมูลกำไรรายไตรมาสในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา (2561-2564) จะพบว่ากำไร ของ LHK ค่อนข้างมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับกำไรของ INOX โดยมี R2 สูงถึง 0.6422 อีกทั้งราคา LHK ยังปรับตัวขึ้นน้อยกว่า INOX มาก โดยตั้งแต่ต้นปี 2565 ราคาหุ้น LHK ปรับตัวขึ้นเพียง 9% ขณะที่ราคาหุ้น INOX ปรับขึ้น 46% นับตั้งแต่ต้นปี โดยหุ้น LHK มีค่า Trailing PER ต่ำที่สุดในบรรดาบริษัทที่เกี่ยวข้องกับสเตนเลส อยู่ที่ 7.48 เท่า ส่วน INOX,TGPRO มีค่า Trailing PER ที่ 14.52 เท่า 21.28 เท่า ในขณะที่ TCJ มีผล ประกอบการขาดทุน 12 เดือนล่าสุดจึงไม่สามารถคำนวนค่า PER ได้
ราคาพลังงานเพิ่มสูง ภาครัฐลดค่าครองชีพ
จากราคาพลังงานโลกที่ทรงตัวสูงจากความกังวลรัสเซีย-ยูเครน โดยเฉพาะน้ำมันดิบ ส่งผลให้ภาครัฐเดินหน้าผลักดันมาตรการลดผลกระทบอย่างต่อเนื่อง เช่น
อนุมัติปรับลดภาษีสรรพสามิตน้ำมันที่ใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้า เหลือ 0%
เป็นเวลา 6 เดือน (สิ้นสุด 15 ก.ย. 2565) โดยคาดว่าจะช่วยให้ค่าไฟฟ้าลดลง
ประมาณ 1–1.50 บาทต่อหน่วย ช่วยบรรเทาภาระต่อประชาชนและธุรกิจ
• อุดหนุนค่าครองชีพประชาชนผ่านบัตรสวัสดิการ
• ตรึงราคาน้ำมันดีเซลให้ไม่เกินลิตรละ 30 บาท
• พิจารณาปรับลดภาษีน้ำมันดีเซล และน้ำมันเบนซิน
• ขอความร่วมมือผู้ผลิตสินค้าตรึงราคาขายปลีก เช่นบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ปรับเพิ่มเฉพาะราคาขายส่ง แต่ยังไม่ปรับราคาขายปลีก
เชื่อว่ามาตรการข้างต้นมีส่วนช่วยบรรเทาภาระค่าครองชีพของประชาชนได้ในระยะสั้น แต่หากความขัดแย้งรัสเซีย-ยูเครนยืดเยื้ออาจสร้างแรงกดดันด้านราคาต่อไปได้ ซึ่งอาจ ส่งผลกระทบต่อผู้ผลิตและผู้บริโภค รวมถึงหุ้นบางกลุ่ม เช่น กลุ่มขนส่ง, กลุ่มวัสดุ ก่อสร้าง, กลุ่มผลิตสินค้าอุปโภคบริโภค แต่ก็มีบางกลุ่มที่ได้ประโยชน์ เช่น กลุ่ม พลังงาน-ปิโตร, กลุ่มอาหาร, กลุ่มค้าปลีก, กลุ่มโรงพยาบาล เป็นต้น และถึงแม้ว่าแรง กดดันด้านราคาของไทยจะสูง ASPS เชื่อว่า กนง. จะคงอัตราดอกเบี้ยต่ำต่อ เพราะ กนง. น่าจะให้น้ำหนักกับการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจมากกว่าควบคุมเสถียรภาพด้านราคา
ตลาดหุ้นไทยยังมีเสน่ห์ดึงดูด Fund flow ในช่วงนี้
ภาพรวมสินทรัพย์เสี่ยง รวมถึงตลาดหุ้นโลกยังอยู่ในความกังวลจาก 2 ปัจจัย
1. สงครามยูเครน-รัสเซีย ที่ยังร้อนแรง และกำลังตามมาด้วยสงครามเศรษฐกิจ
2. การขึ้นดอกเบี้ยของ Fed ในวันที่ 16 มี.ค. 65 นี้ ตลาดคาดปรับชึ้นราว 0.25%
จึงทำให้เห็นการโยกย้ายเม็ดเงินจากสินทรัพย์เสี่ยงสู่สินทรัพย์ปลอดภัยมากขึ้น อย่างไรก็ตามหากพิจารณาในมุมประเทศไทย ถือว่าได้เปรียบประเทศอื่นๆ ดังนี้
1. กนง. น่าจะยังไม่ขึ้นดอกเบี้ยนโยบายในปีนี้คงไว้ที่ 0.5% ต่างจาก Fed ที่ ตลาดคาดว่าตลอดทั้งปีจะมีการขึ้นดอกเบี้ยถึง 6 ครั้ง ตามกลไกทุกๆครั้งที่ขึ้น ดอกเบี้ยตลาดหุ้นจะมีการซื้อขายบน P/E ที่ถูกลง
2. ไทยและบริษัทในไทย ไม่ได้อยู่ใน 13 ประเทศ และ 50 บริษัท ที่คว่ำบาตร รัสเซีย
จึงทำให้เห็นเม็ดเงินต่างชาติไหลเข้าตลาดหุ้นอย่างต่อเนื่อง ต่างชาติยังซื้อสุทธิหุ้นไทย ในวันศุกร์105 ล้านเหรียญฯ หรือ 624 ล้านบาท ซื้อสุทธิสะสม MTD 3.3 พันล้านบาท สวนทางกับตลาดหุ้นอื่นๆ ในภูมิภาคที่ถูกขายสุทธิ
ดังนั้น Flow ต่างชาติมีโอกาสไหลเข้าหุ้นไทยต่อเนื่อง จาก 2 ปัจจัยด้านบนและคาด เป็นแรงพยุง SET Index ใหแกว่งตัวผันผวนน้อยกว่าตลาดหุ้นอื่นๆ โดยคาดกรอบ การเคลื่อนไหววันนี้ที่ระดับ 1640-1671 จุด
ยามดอกเบี้ยขาขึ้นหุ้นกลุ่ม ธ.พ. มีเสนห์ แต่ต้องคอยดู Inverted Yield Curve
ในสัปดาห์นี้จะมีการประชุม Fed วันที่ 16 มี.ค. 2565 และน่าจะเป็นการชึ้นดอกเบี้ย ครั้งแรกในรอบ 3 ปี 3 เดือน (นับตั้งแต่เดือน ธ.ค. 2561) ขณะเดียวกัน Bond Yield 10 ปี สหรัฐยังปรับตัวขึ้นต่อเนื่อง ล่าสุดอยู่ที่ 2.03% ถือเป็นบวกต่อหุ้น ธ.พ.
และหากพิจารณาความสัมพันธ์การเคลื่อนไหวของดอกเบี้ยนโยบายสหรัฐกับ Sector ต่างๆ ของตลาดหุ้นทั่วโลก (ปี 2004 - 2022) พบว่า Sector Financials (ธ.พ. + การเงิน) มีค่า Correlation ที่ 0.73 สูงโดดเด่นกว่า Sector อื่นๆ ดังนั้นในการลงทุน ระยะยาว หุ้นกลุ่มธ.พ. ยังมีความจำเป็นต้องเป็นส่วนหนึ่งของพอร์ต ในช่วง ดอกเบี้ยขาขึ้น
อย่างไรก็ตามในยามที่ดอกเบี้ยระยะสั้นเร่งตัวขึ้นมาเร็วกว่าดอกเบี้ยระยะยาว ทั้งจาก การใช้นโยบายการเงินแบบตึงตัว บวกกับความกังวลสงครามรัสเซียยืดเย้อ แบบ ปัจจุบัน มีสิ่งที่นักลงทุนจำเป็นต้องติดตามอย่างใกล้ชิดคือ Spread Bond Yield 10 ปี – 2 ปี ของสหรัฐ ล่าสุดอยู่ที่ 24 bps. ซึ่งถ้าลงไปต่ำกว่า 0 จะเกิด Inverted Yield Curve ทำให้นักลงทุนกลับมากังวลเรื่องเศรษฐกิจชะลอตัวอีกครั้ง และส่งผลให้ตลาด หุ้นกลับมาผันผวน ถือเป็นอีกความเสี่ยงหนึ่งของตลาดหุ้นที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด
ส่วนวันนี้ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของ SET Index 1640 – 1671 จุด หุ้น Toppick แนะนำ หุ้น KBANK (ได้ประโยชน์จากการเข้าสู่ช่วงนโยบายการเงินตึง ตัว), MAKRO (หุ้นสินค้าจำเป็นมีเกราะป้องกันเงินเฟ้อ ราคา Laggard), KSL (กำไรงวด 1Q65 ออกมาดีกว่าคาด ได้แรงหนุนต่อจากราคาน้ำตาลที่สูงกว่าปกติ)
บทความนี้จัดทำและเผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์ ASIA Plus Securities