ในขณะที่การสรรหาผู้ที่จะมาดำรงตำแหน่งประธานธนาคารกลางยุโรป (ECB) แทนนายมาริโอ ดรากี ซึ่งจะพ้นวาระในวันที่ 31 ตุลาคมนี้ได้เริ่มต้นขึ้นแล้วนั้น มีแนวโน้มว่านายเยนส์ ไวด์มันน์ จากเยอรมนีจะเป็นตัวเต็งในครั้งนี้
การประชุมผู้นำสหภาพยุโรปที่จัดขึ้นเมื่อวันอังคารที่ผ่านมามีการจัดสรรหน้าที่ของกลุ่มประเทศต่างๆ หลังการเลือกตั้งอียูเสร็จสิ้นไปเมื่อสุดสัปดาห์ "ประชาคมเศรษฐกิจ’ ซึ่งนำโดยพรรค Christian Democrats ของเยอรมนีที่ทำหน้าที่ดูแลนโยบายความสัมพันธ์กับผู้ให้การสนับสนุนพรรค ต่างก็ให้การสนับสนุนนายไวด์มันน์กันอย่างออกนอกหน้า นายเวิร์นเนอร์ บาลเซน ประธานสภากล่าวโทษนโยบายปัจจุบันของ ECB ว่าเป็นการช่วยเหลือทางการเงินกับอิตาลีในทางอ้อม เขากล่าวว่า “มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องปรับนโยบายอัตราดอกเบี้ยใหม่”
แม้ว่าชื่อของนายกอังเกลา แมร์เคิล จะไม่ติดโผตัวเต็งผู้เข้าชิงตำแหน่งนี้ แต่ก็ยังเป็นที่น่าสงสัยอยู่ว่าทำไมประเทศที่ใหญ่ที่สุดในยูโรโซนจึงมีเจตนาที่จะต่อสู้เพื่อให้เยอรมนีกลับมาดูแลเงิน ยูโร อีกครั้ง หลังจากที่เลิกใช้เงินมาร์คเยอรมันมากว่า 20 ปี
สำหรับหลายๆ คนแล้ว นี่ไม่ใช่ข่าวดีแต่อย่างใด และคงพูดได้ไม่เต็มปากว่าหากยูโรโซนดำเนินการตามนโยบายของไวด์มันน์ใน 8 ปีที่ผ่านมา ก็คงไม่ต้องมีการสมัครชิงตำแหน่งประธาน ECB อย่างแน่นอน โครงการที่จะใช้เงินเพียงสกุลเดียวคงต้องมีอันยกเลิกไปเนื่องจากมีการปฏิเสธที่จะรับประกันภาระหนี้สินของอิตาลีและไม่มีทางเลือกอื่นใดนอกจากจะเริ่มต้นใหม่และกลับมาใช้เงินลีราอีกครั้ง
นายมาริโอ ดรากี ประธานธนาคารกลางยุโรปจึงให้สัญญาว่า “จะป้องกันเงินยูโรไว้ให้ดีที่สุด" และยังให้คำมั่นด้วยนโยบายอย่างไม่เป็นทางการอื่นๆ ว่าจะพยายามแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจฝืดเคืองในภูมิภาคให้ได้
ทางด้านนายไวด์มันน์ยังคงยืนยันคัดค้านกลไกการซื้อพันธบัตรที่นายดรากีเสนอเพื่อแก้วิกฤติที่เรียกว่า “ธุรกรรมทางการเงินแบบทันที” นอกจากนี้เขายังคัดค้านนโยบายผ่อนปรนเชิงปริมาณที่นายดรากีกับนายปีเตอร์ แพรต หัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจของเขาได้พยายามโน้มน้าวให้ ECB นำไปใช้ในปี 2015 ซึ่งเป็นผลให้เศรษฐกิจของยูโรโซนมีการเติบโตได้ดีก่อนที่จะชะลอตัวลงในปีที่แล้ว
ประธานธนาคารกลางเยอรมนีจึงตกอยู่ในที่นั่งลำบากเนื่องจากผลที่ออกมาไม่เป็นไปอย่างที่เขาคิด และทำให้ดูเหมือนว่าเขากำลังพยายามโน้มน้าวใจประเทศอื่นๆ ในยูโรโซนอย่างหนัก ไม่เพียงแต่นโยบายที่เขาคัดค้านจะเป็นผลดีมาตลอด 7 ปีเท่านั้น แต่ยังเป็นการแก้ไขที่นับว่าดีกว่าการแก้เพียงระยะสั้นอีกด้วย นี่จึงเป็นสัญญาณว่าประธาน ECB คนต่อไปจะยังคงยึดมั่นในแนวคิดอนุรักษ์นิยมและความไม่ยืดหยุ่นเช่นนี้ได้
นายลูครีเซีย ไรชลิน อดีตผู้บริหารสถาบันวิจัยของ ECB ได้เขียนไว้ใน คอลัมน์ล่าสุด ขององค์กร Project Syndicate ว่า
“หากเศรษฐกิจเกิดการชะลอตัวอีกครั้ง ความสามารถในการบริหารงบประมาณของบางประเทศซึ่งมีอยู่อย่างจำกัด ประกอบกับการขาดเครื่องมือที่ใช้ประคองเศรษฐกิจที่ดี ECB จึงจำเป็นต้องผลักดันนโยบายที่ไม่เป็นทางการอื่นๆ ออกมาให้มากขึ้นกว่าที่มีอยู่”
ในขณะที่สงครามทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีนยังคงตึงเครียด ทางด้านของ ECB เองก็ยังคงมีความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดการชะลอตัวของเศรษฐกิจมากขึ้นไปอีก เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยปัจจุบันไปอยู่ที่ 0% เรียบร้อยแล้ว (ดอกเบี้ยเงินฝากอยู่ที่ -0.4%) ทำให้การบริหารเศรษฐกิจด้วยนโยบายการเงินเพียงอย่างเดียวยากขึ้นไปอีก การปรับลดอัตราดอกเบี้ยให้มากขึ้นอาจทำให้ระบบการธนาคารที่ยังไม่เข้มแข็งเกิดแรงตึงเครียดมากเกินกว่าจะรับไหว ในทำนองเดียวกันหากนำมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) กลับมาใช้อีกครั้งก็จะทำให้วันหนึ่ง ECB ไม่สามารถใช้หนี้ให้กับรัฐบาลได้
สิ่งที่ ECB จะปล่อยให้เกิดขึ้นไม่ได้คือเป้าหมาย อัตราเงินเฟ้อ ซึ่งจำเป็นจะต้อง “อยู่ต่ำกว่าและต้องใกล้เคียง 2%” ในขณะที่ไรชลินแย้งว่าควรจะต่ำกว่านั้น
คำพูดดังกล่าวถูกนำมาใช้ในช่วงยุคปี 90 เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับชาวเยอรมันว่า ECB ยังคงทนทานต่ออัตราเงินเฟ้อได้เช่นเดียวกับธนาคารกลางเยอรมนี แต่ธนาคารกลางเยอรมนีต้องใช้เวลานานกว่าครึ่งหนึ่งของอายุของตัวเองในการป้องกันอันตรายอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องทางตรงด้วย เช่น เมื่อสังคมเริ่มเข้าสู่ยุคของการใช้อุปกรณ์และเครื่องจักรอัตโนมัติ รวมถึงการนำระบบดิจิทัลมาใช้งาน และการที่จีนเข้ามาทำธุรกิจกับทั่วโลกก็ส่งผลให้เกิดความตึงเครียดและแรงกดดันด้านราคาให้เป็นขาลงได้
ในอีกมุมหนึ่ง ความต้องการการตัดสินใจที่เด็ดขาดและดุดัน อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้ไวด์มันน์เป็นตัวเลือกที่ดีที่สุดในขณะนี้ หากมีการชะลอตัวทางเศรษฐกิจเกิดขึ้นอีกครั้ง ECB อาจต้องดำเนินนโยบายบางอย่างที่ไม่ถูกใจชาวเยอรมัน แล้วอะไรจะดีไปกว่าการให้คนเยอรมันเป็นคนชี้แจงนโยบายด้วยตัวเอง
นอกจากนั้น การที่ให้คนเยอรมันรับตำแหน่งนี้อาจเป็นการช่วยป้องกันไม่ให้เกิดความเสี่ยงต่อความมั่นคงของยูโรได้ อย่างเช่นการพิจารณาเรื่องงบประมาณอุดหนุนที่มีไม่เพียงพอและระดับหนี้สินที่มีของอิตาลี นายมัตเตโอ ซาลวินี รักษาการนายกรัฐมนตรีของอิตาลีและรัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทยประกาศเมื่อวันอังคารที่ผ่านมาว่าเขาต้องการที่จะให้ ECB รับประกันหนี้สาธารณะ ซึ่งเขาน่าจะต้องการที่จะได้รับคำสารภาพจากทีมของนายไวด์มันน์และนายหลุยส์ เดอ กินโดส อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ของสเปน ซึ่งปัจจุบันเป็นรองประธาน ECB เขาได้ทำตามหน้าที่ในขณะที่ดำรงตำแหน่งเดิมอย่างเต็มที่แล้วแม้จะไม่มีใครเห็นค่าก็ตาม
นอกเหนือไปจากกำหนดการที่จะต้องเสนอชื่อแต่งตั้งให้เสร็จก่อนพ้นวาระของนายดรากีแล้ว ก็ไม่มีความแน่นอนอย่างอื่นเลย ผู้ที่ได้รับเลือกมาดำรงตำแหน่งนี้จะต้องทำหน้าที่รับรองความปลอดภัยให้กับยูโร ซึ่งต้องขอบคุณในความคิดริเริ่มของนายดรากีที่ประธาน ECB คนที่สี่จะมีเครื่องมือสำหรับการรับมือกับสถานการณ์ไม่คาดฝันมากขึ้นกว่าที่คนก่อนๆ เคยมี ซึ่งเขาหรือเธอคนนี้จะจำเป็นต้องใช้เครื่องมือเหล่านี้ทั้งหมดและเป็นไปได้ว่าอาจต้องใช้เพิ่มอีกหลายอย่างในระหว่างการทำงาน