ทิศทางของ FUND FLOW ที่ไหลเข้า USD ASSET หลังการเลือกตั้ง ปธน. มีส่วนอย่างสำคัญทำให้เงินบาทอ่อนค่าโดยล่าสุดอยู่ที่บริเวณ 35 บาท/USD แต่หากพิจารณาผ่านข้อมูลความสัมพันธ์ระหว่างส่วนต่าง BOND YIELD 10 ปี ของสหรัฐฯ-ไทย ซึ่งปัจจุบันมีส่วนต่าง 2.02% ถือ เป็น NEW HIGH ของปีนี้ มีความเป็นไปได้ที่จะยังเห็นเงินบาทอ่อนค่าได้ ต่อเนื่อง สภาวะดังกล่าวทำให้ทิศทางของ FUND FLOW มีโอกาสไหล ออกจากบ้านเราได้ต่อ ส่วนตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐ ล่าสุดตัวเลข PPI เดือน ต.ค. ออกมาสูงกว่าคาด ชี้นำว่าเงินเฟ้อจะยังไม่กลับเข้ามาในกรอบ เป้าหมาย ทำให้FED มีท่าที่ไม่รีบลดดอกเบี้ย ซึ่งเป็นแรงหนุนให้USD แข็ง ค่าต่อ สำหรับในบ้านเรา รอดูมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ล่าสุด DIGITAL WALLETเฟสต่อไป น่าจะจ่ายให้กับกลุ่มผู้สูงอายุที่ได้ลงทะเบียนไว้ แรงกดดันจาก FUND FLOW ที่ยังไหลออกได้ต่อ ขณะที่แรงหนุนจาก ปัจจัยแวดล้อมทางพื้นฐานอ่อนแรง คาด SET INDEX ผัวผวนในกรอบ 1442 –1462 จุด TOP PICK เลือก CPALL (BK:CPALL), PLANB และ SCGP
FED เปลี่ยนมุมมองลดดอกเบี้ย ส่วนไทยเตรียมเฮ แจกเงินเฟส 2 วานนี้ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปรับทรงตัวในกรอบแคบราว -0.5% ถึง -0.7% ดัชนี PPI ทั่วไป (HEADLINE PPI) ปรับตัวขึ้น 2.4%YOY สูงกว่าที่ตลาดคาดที่ระดับ 2.3%YOY และ สูงกว่าเดือน ก.ย. 1.8%ส่วนดัชนี PPI พื้นฐาน (CORE PPI) ซึ่งไม่นับรวมหมวดอาหาร และพลังงาน ปรับตัวขึ้น 3.1%YOY สูงกว่าที่ตลาดคาดที่ระดับ 3.0% และสูงกว่าเดือน ก.ย. 2.8% ซึ่งอาจหนุนให้ CPI ทยอยสูงขึ้นจากการส่งผ่านจากฝั่งผู้ผลิต ส่วนอีก 1 ตัวเลข คือ จำนวนผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงานครั้งแรก (INITIAL JOBLESS CLAIM) ลดลง 4,000 ราย สู่ระดับ 217,000 รายในสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดใน รอบ 6 เดือน และต่ำกว่าคาดที่ระดับ 220,000 ราย
ตัวเลขดังกล่าว ส่งผลให้วานนี้ประธาน FED กล่าวที่รัฐ TAXAS ว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ มี การขยายตัวอย่างต่อเนื่อง และอัตราเงินเฟ้อยังคงอยู่สูงกว่าเป้าหมายที่ระดับ 2% ซึ่ง ทำให้ FED ไม่จำเป็นต้องรีบร้อนในการปรับลดอัตราดอกเบี้ย และสถานการณ์ ดังกล่าวทำให้ FED สามารถดำเนินนโยบายการเงินแบบค่อยเป็นค่อยไปได้ (ลดความ คาดหวังปรับลดดอกเบี้ยลงในปีนี้) ประเด็นดังกล่าวหนุนให้เม็ดเงินไหลเข้าสินทรัพย์ปลอดภัยทั้ง DOLLAR INDEX และ BOND YIELD 10 ปี สหรัฐฯ
ขณะที่ปัจจัยหนุนภายในประเทศ คือ ตัวเลขดัชนีเชื่อมั่น CCI ต.ค.67 อยู่ที่ 56 จุด ปรับตัวขึ้นครั้งแรกในรอบ 8 เดือน ซึ่งมาจากการที่รัฐบาลแจกเงิน 10,000 บาทให้กลุ่ม เปราะบาง สามารถจับจ่ายใช้สอยคล่องตัวขึ้น ส่งเสริมรัฐแจกดิจิทัลวอลเล็ต เฟส 2 ลุ้น สร้างพายุหมุนเศรษฐกิจ ซึ่งความคืบหน้าล่าสุด รมต.คลัง มีแผนที่จะเสนอนโยบาย ดังกล่าว ต่อ ครม. ซึ่งจะเป็นการจ่ายเงิน 1 หมื่นบาทให้กับคนอายุ 60 ปีขึ้นไป โดย ยืนยันว่าไม่ซ้ำซ้อนกับกลุ่มเปราะบางก้อนแรก ประเด็นดังกล่าว คาดสร้าง SENTIMENT เชิงบวกต่อราคาหุ้นกลุ่มค้าปลีก เช่าซื้อ เกษตรอาหาร อาทิ
กลุ่มเกษตร-อาหาร TU CPF CBG SAPPE SNNP ICHI NSL M • กลุ่มค้าปลีก CPALL CRC BJC HMPRO COM7 • กลุ่มเช่าซื้อ MTC SAWAD TIDLOR BAM
ตลาดหุ้นเอเชียปั่นป่วน FUND FLOW ไหลออก และค่าเงินบาทมี โอกาสอ่อนต่อ หลังจากทรัมป์ได้เป็น ปธน. คนที่ 47 ของสหรัฐ ถึงปัจจุบัน (วันที่ 6 พ.ย. –14 พ.ย.67) ตลาดหุ้นโลกผันผวนและปั่นป่วน จากการเคลื่อนย้ายเม็ดเงินไปสู่สินทรัพย์ที่ได้ SENTIMENT เชิงบวก จากนโยบายของพรรค REPUBLICAN โดยเฉพาะตลาดหุ้น NASDAQ สหรัฐ ปรับตัวขึ้นมาแรง 3.6% ในช่วงเวลาดังกล่าว ต่างกับตลาดหุ้นเอเชีย ที่ปรับตัวลงแรงจากความกังวลเรื่องกำแพงภาษี โดย ตลาดหุ้นฟิลิปปินส์ -9.7%, ฮอ งกง -7.5%, เกาหลีใต้ -6.1%, อินโดนีเซีย -3.7%, อินเดีย -2.4% และไทย -2.1% เป็น ต้น
และหากพิจารณา FUND FLOW พบว่า มีการไหลออกจากตลาดหุ้นในภูมิภาคทุก ประเทศ ขายสุทธิตลาดหุ้นไต้หวัน -3.2 พันล้านเหรียญ, เกาหลีใต้ -1.2 พันล้าน เหรียญ, อินเดีย -1.4 พันล้านเหรียญ, ฟิลิปปินส์ -205 ล้านเหรียญ และไทย -244 ล้าน เหรียญ หรือ -8.4 พันล้านบาท
ในมุมค่าเงินบาทยังมีโอกาสอ่อนค่าต่อ ถ้าดูจากส่วนต่าง BOND YIELD 10Y สหรัฐ กับไทย ที่มักจะเคลื่อนไหวในทิศทางเดียวกันเสมอ โดยล่าสุด BOND YIELD 10Y สหรัฐ (4.45%) ที่ทิ้งห่าง BOND YIELD 10Y ไทย (2.43%) กว้างขึ้นเรื่อยๆ ล่าสุดทำ จุดสูงสุดใหม่ที่ 2.02% ความกว้างระดับนี้ปกติค่าเงินบาทจะสูงระดับ 37 บาท/เหรียญ แต่ปัจุบันค่าเงินบาทอยู่ที่ 35 บาท/เหรียญ
แสดงว่าค่าเงินบาทยังมีโอกาสอ่อนค่าเพิ่มขึ้นในช่วงต่อจากนี้ได้ อีกทั้งสัปดาห์หน้ายัง มีประเด็นเสี่ยงการรายงานตัวเลข GDP 3Q67 และประเด็นรอดูศาล รธน. จะรับหรือไม่ คำร้องตรวจสอบพฤติกรรมของอดีตนายกฯ ทักษิณ กดดันให้ FUND FLOW มี โอกาสชะลอไหลเข้า และตลาดหุ้นไทยยังอยู่ในภาวะผันผวนอยู่
บทความนี้จัดทำและเผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์ ASIA Plus Securities