Yield in focus / EYG checkup
• UST yield: Bond yield สหรัฐฯยังคงเดินหน้าปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง จากเหตุผลที่เรากล่าวไปก่อนหน้านี้ทั้งการ Price out ความเป็นไปได้ใน การลดดอกเบี้ยของ Fed ในระดับรุนแรง และความคาดหวังในการดํารง ตําแหน่งปธน.ของนาย Donald Trump ที่สูงขึ้น ซึ่งหากเกิดขึ้นจริง จะนํามาสู่แนวโน้มการใช้จ่ายภาครัฐที่สูงขึ้น (Bond supply ที่เพิ่มขึ้น) และแรงกดดันเงินเฟ้อที่สูงขึ้นจากสงครามการค้า (รูปที่ 1) ไม่นับรวมกับ ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯในช่วงหลัง ที่มักออกมาสร้าง Positive surprise โดยส่วนใหญ่ (รูปที่ 2)
• Thailand case: อย่างไรก็ดี เรายังไม่เห็นสัญญาณการปรับขึ้นของ Bond yield ไทยมากนัก แถมยังมีการปรับลงเล็กน้อยในช่วง 2 สัปดาห์ที่ ผ่านมาด้วยซ้ํา (รูปที่ 384) ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะว่า แนวโน้มเงินเฟ้อและ การเติบโตของเศรษฐกิจไทยยังคงอยู่ในระดับต่ํา ตราบใดที่ภาพยังเป็น เช่นนี้ มองเป็นผลบวกทางอ้อมต่อมายัง SET Index ผ่านมาตรวัด Earning yield gap ในประเทศที่ยังคงทรงตัวเหนือค่าเฉลี่ยต่อไปได้ (รูปที่ 5) และทําให้เราประเมินว่า หากดัชนี SET จะปรับฐานลงในรอบนี้ ก็อาจจะมี Downside ที่ไม่ลึกเหมือนกับตลาดหุ้นโลกอื่นๆ
• Strategy: ด้วยเหตุนี้ ในเชิงกลยุทธ์ เรายังไม่ได้มีความกังวลใจต่อกลุ่ม Rate-sensitive และ Bond-liked ภายในประเทศมากนัก ไม่ว่าจะเป็นกลุ่ม Finance, Residential, REIT (รูปที่ 6), IFF, Utilities โดยมองว่านักลงทุน ยังคงสามารถถือครองลงทุนหุ้นในกลุ่มนี้ได้ต่อไป ทั้งนี้ ปัจจัยที่น่าติดตาม ในระยะสั้น ได้แก่ท่าทีของนักลงทุนสถาบันในประเทศ ที่เมื่อวันอังคารมี การขายสุทธิหุ้นไทยเป็นครั้งแรกในรอบ 16 วันทําการ รวมถึงการอ่อนค่า ของเงินบาทในระดับรุนแรงสุดของทวีป หากวัดในช่วง 1 สัปดาห์ที่ผ่านมา
บทวิเคราะห์นี้จัดทำขึ้นและเผยแพร่โดยทีมนักวิเคราะห์ของ Trinity Securities