แม้จะยังไม่มีปัจจัยบวกใหม่ๆ เข้ามาผลักดัน แต่ก็เชื่ออย่างหนึ่งว่า SET INDEX อยู่ในภาวะที่มี DOWNSIDE จำกัด จากการที่มีเม็ดเงินลงทุนจาก สถาบันในประเทศ (วายุภักษ์ + THAILAND ESG FUND) เป็นแรง สนับสนุน ทั้งนี้หากมีแรงหนุนเพิ่มไม่ว่าจะเป็น FUND FLOW จากต่างชาติ ที่ไหลกลับ หรือ ปัจจัยแวดล้อมทางพื้นฐาน SET INDEX ก็พร้อมที่จะปรับ ขึ้นรอบใหม่ได้ ส่วนความเสี่ยงยังอยู่ที่สถานการณ์ตะวันออกกลาง และ การเมือง ในเชิงกลยุทธ์แนะนำสะสมหุ้นรอบใหม่ INVESTMENT THEME กำหนดเป็น หุ้นที่ได้ประโยชน์จากทิศทางดอกเบี้ยขาลง อย่าง อสังหาฯ และFINACE ตามด้วยหุ้นที่อยู่ในช่วง EARNING HIGH SEASON อย่าง ท่องเที่ยว-โรงแรม, กลุ่มค้าปลีก และ สินค้าอุปโภค-บริโภค ซึ่งได้ประโยชน์ จากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล SET INDEX อยู่ในช่วงของการพักฐานภายใต้DOWNSIDE จำกัด รอแรง หนุนเพิ่มจาก FUND FLOW ต่างชาติ และ ปัจจัยพื้นฐานใหม่ๆ คาดกรอบ วันนี้ 1440 –1457 จุด หุ้น TOP PICK เลือก BDMS, CPALLและ GPSC
้ำมันชะลอตัว ลดแรงกระแทรกต่อการเปลี่ยนทิศทางดอกเบี้ย วานนี้ ราคาน้ำมับดิบโลกร่วงลงมากกว่า 4% ทำให้ BRENT แตะ 77 เหรียญฯ/บาเรล และ WTI หลุด 74 เหรียญฯ/บาเรล โดยมีแรงกดดัน 2 ส่วนหลักๆ คือ
1. ผิดหวัง “จีน” ไร้แผนกระตุ้นเศรษฐกิจขนาดใหญ่เพิ่มเติม ซึ่งยังไม่เห็น สัญญาณการอัดฉีดเม็ดเงินลงไปในระบบเศรษฐกิจผ่านนโยบายการคลัง
2. ความตึงเครียดตะวันออกลางมีท่าทีอ่อนลง หลังมีกระแสข่าวว่ากลุ่มฮิซบอล เลาะห์-อิสราเอลอาจจะทำข้อตกลงหยุดยิง ขณะที่รองหัวหน้าเฮซบอลลาห์ ยอมรับสนับสนุนแผนหยุดยิงกับอิสราเอล
ผลพวงที่ตามของราคาน้ำมันชะลอตัวลง มักจะกดดันให้เงินเฟ้อทยอยปรับตัวลดลง ตามไปด้วย แต่ในทางกลับกันหากราคาน้ำมันพุ่งขึ้น จะหนุนให้เงินเฟ้อขยับขึ้น เช่นกัน อย่างไรก็ตาม ฝ่ายวิจยฯ ประเมินราคาน้ำมันที่สูงขึ้น จะกระทบต่อเงินเฟ้อสหรัฐฯ ไม่ มากนัก เนื่องจากโครงสร้างเงินเฟ้อสหรัฐฯ สินค้ากลุ่ม ENERGY COMMODITY มี น้ำหนักราว 3.8% เบื้อต้นประเมินราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้นทุกๆ 1% จะผลักให้ดัชนีเงินเฟ้อสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 0.04% ทั้งนี้ หากราคาน้ำมันไม่ได้ปรับตัว เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยฯ เชื่อว่า ROADMAP วัฏจักรดอกเบี้ยขาลง จะมีมุมมองที่ไม่ เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม
นอกจากนี้ หากพิจารณาจาก BLOOMBERG MODEL ภายใต้สมมติฐาน เหตุการณ์ที่ไม่คาดฝัน (SHOCK) เกิดขึ้นใน 4Q67 โดยราคาน้ำมีบดิบ BRENT เพิ่มขึ้น 20 $/BARREL และ DOLLAR แข็งค่าขึ้น 5% พบว่าเงินเฟ้อสหรัฐฯ จะปรับตัว ขึ้นเล็กน้อย เมื่อเทียบกับสถานการปกติ จาก +3%YOY ขยับขึ้นเป็น 3.23%YOY ก่อนที่จะค่อยๆ ทยอยปรับตัวลดลงในท้ายที่สุด
สรุป ฝ่ายวิจัยฯ ประเมินราคาน้ำมันที่ไม่ได้สูงขึ้นอย่างมีนัยฯ จะกระทบต่อเงินเฟ้อ สหรัฐฯ ไม่มากนัก หนุนให้ ROADMAP วัฏจักรดอกเบี้ยขาลงเดินหน้า และมีมุมมองที่ ไม่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม
WORLD BANK ให้ GDP GROWTH ไทยคงเดิมที่ 2.40% WORLD BANK คงประมาณการสำหรับ GDP GROWTH ไทยที่ระดับ +2.40%YOY(คงเดิมจากรอบก่อนหน้า) โดยได้รับการสนับสนุนจากการเร่ง ดำเนินการงบประมาณและการส่งออกสินค้า การท่องเที่ยว และการบริโภค ภาคเอกชน ที่ยังคงเป็นปัจจัยขับเคลื่อนหลักในปีนี้ส่วนปี 2568WORLD BANK คาด GDP GROWTH ไทยที่ระดับ +3.0%YOY(เพิ่มขึ้นจากรอบก่อน 2.8%YOY) ซึ่ง ใกล้เคียงกับ มุมมองของหลายสำนักเศรษฐกิจที่ประมาณการไว้ซึ่งมีค่าเฉลี่ย GDP GROWTH อยู่ที่ +2.6%YOY
ึ่งแม้จะนำการคาดการณ์ GDP GRWOTH ไทยปีนี้ที่น้อยสุดอย่างสำนัก ADB ซึ่งอยู่ ระดับ +2.3%YOY ซึ่งหาก GDP GROWTH ปีนี้โต 2.3% จริง GDP GROWTH ไตร มาส 3 และ 4 จะต้องเติบโต 2.7%YOY ซึ่งถือว่าสูงกว่าช่วง 1H67 อยู่ด
ึ่งเหตุผลสนับสนุนคาดมาจากการมีเม็ดเงินที่สามารถนำมากระตุ้นช่วยเศรษฐกิจได้ ทันที จากเม็ดเงินคงเหลือของงบประมาณปี 2567 + เม็ดเงินใหม่จากการอนุมัติ งบประมาณปี 2568 เพื่อทยอยขับเคลื่อน GDP GROWTH ไทยในช่วง 4Q67-2568 โดยเป้าหมายการกระตุ้นเศรษฐกิจไทยของภาครัฐฯ ส่วนใหญ่จะเน้นไปที่การใช้จ่าย ภาครัฐ (G) และการบริโภคภาคครัวเรือน (C) เป็นหลัก โดยข้อมูลล่าสุด การเบิกจ่าย รายจ่ายลงทุนปี 2567ใช้ไปเพียง 63.3% ของงบประมาณปี 2567(สิ้นสุด ณ 30 ก.ย. 67) ส่วนการเบิกจ่ายรายจ่ายลงทุนปี 2568 เริ่มต้นสัปดาห์แรกที่ 1.85% หรือตีเป็น มูลค่า 1.78 หมื่นล้านบาทแล้ว
สรุป WORLD BANK คงประมาณการ GDP ไทยเท่าเดิมที่ 2.4%YOY ซึ่งเห็นความ โดดเด่นในช่วง 2H67-2567 จากการเบิกจ่ายของภาครัฐฯ (G) และการบริโภคภาค ครัวเรือน (C) เป็นหลัก คาดหวังการอัดฉีดเม็ดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ
ปัจจัยแวดล้อมกด กองทุนวายุภักษ์พยุง ตลาดหุ้นไทยเริ่มถูกปัจจัยแวดล้อมเข้ามาปกคลุมบ้าง กดดันให้ SET INDEX มีโอกาส แกว่งตัวออกข้างด้วยปัจจัยต่างๆ ดังนี้
1. ราคาน้ำมันดิบวานนี้ย่อตัวแรง -5% จากการกระตุ้นเศรษฐกิจจีนน้อยกว่าที่ ตลาดคลาด และความรุนแรงในตะวันออกกลางชะลอลง กดดันตลาดหุ้นไทย ที่มีหุ้นอิงราคาสินค้าโภคภัณฑ์ถึง 1 ใน 3
2. WORLD BANK ปรับลด GDP ไทยปี 2024 ลงเหลือ 2.4% (จาก 2.8% ใน เดือน เม.ย.) ถือว่าเติบโตน้อยกว่าประเทศในแถบเอเชียแปซิฟิกอื่นๆ ที่คาดว่า จะเติบโตเพิ่มขึ้นเป็น 4.8% (จาก 4.5% ในเดือน เม.ย.) และยังถือว่าเป็นกรอบ ล่างเมื่อเทียบกับสำนักเศรษฐกิจอื่นๆ
3. ติดตามความไม่แน่นอนทางการเมือง โดยพรุงนี้ 10 ต.ค. ทางแกนนำพรรค พลังประชารัฐนัดแถลงประเด็นเหตุที่จะนำไปสู่จุดจบพรรคแกนนำรัฐบาล ถือ เป็นหนึ่งเหตุการณ์ที่นักลงทุนคอยจับตา เพราะปกตินักลงทุนต่างชาติไม่ ชอบประเด็นความไม่แน่นอนอยู่แล้ว
แม้จะมีถึง 3 ประเด็นที่อาจกดดันให้ FUND FLOW อาจชะลอในช่วงนี้ แต่เม็ดเงินจาก กองทุนวายุภักษ์ที่ทยอยเข้ามา (1 – 8 ต.ค. สถาบันฯ ซื้อสุทธิหุ้นไทย 1.9 หมื่นล้าน บาท) น่าจะเป็นส่วนช่วยพยุงให้ตลาดหุ้นไทยผันผวนน้อยลง โดยประเมินกรอบการ เคลื่อนไหวของ SET INDEX วันนี้ที่ 1448 – 1468 จุด แนะนำหุ้นได้ประโยชน์จาก เหตุการณ์ตะวันออกกลางผ่อนคลายลง คือ หุ้นอิงการท่องเที่ยว อย่าง BDMS, BH, AOT (BK:AOT), CENTELและหุ้น ANTI-OIL อย่าง BA, AAV, GPSC, BGRIM
บทความนี้จัดทำและเผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์ ASIA Plus Securities