แรงกดดันต่อ SET INDEX เริ่มลดระดับลง โดยล่าสุดกระบวนการขายเพื่อ ปรับน้ำหนักของ MSCI ได้ผ่านไปแล้ว ขณะที่ความกังวลเรื่องการเมืองก็ได้ ถูกสะท้อนไปในราคาหุ้นพอสมควร สำหรับในช่วงเวลาที่เหลือของปีเรา มองเห็นแรงหนุนที่กำลังเข้ามา เริ่มจากทิศทางดอกเบี้ยโลกที่คาดว่า ECB จะเป็นผู้นำในการปรับลดลงในสัปดาห์นี้ ตามด้วย FED ที่อาจปรับลดลง ในช่วง 4Q67 ส่วนบ้านเราแม้จะยังไม่ลดดอกเบี้ยแต่ก็อาจได้รับผลดีในมุม ของเงินบาทที่น่าจะแข็งค่าขึ้น ดึงดูด FUND FLOW ไหลเข้า อีกเรื่องหนึ่งที่จะ ทำหน้าที่เป็นแรงหนุนสำคัญคือ ภาพเศรษฐกิจไทยที่คาดว่าจะเติบโตเป็น ขั้นบันไดในช่วงเวลาที่เหลือ ทั้งนี้จากแรงกระตุ้นของการเบิกจ่าย งบประมาณเชิงรุก และ การออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่ม นอกจากนี้ SET INDEX ยังได้ผลบวกโดยตรงจาก LTF หากกลับมา
เชื่อว่า SET INDEX อยู่ในภาวะที่มีDOWNSIDE จำกัด และมีแรงหนุนเข้ามา ชัดเจนมากขึ้น น่าจะทำให้ปรับตัวขึ้นแบบค่อยเป็นค่อยไป วันนี้อยู่ในกรอบ 1340 –1351 จุด หุ้น TOP PICK เลือก ADVANC, BJC และ WHA
ดอกเบี้ยนอกมีทิศทางขาลงชัดเจน ส่วนไทยยังรอดูตัวเลข เศรษฐกิจต่อ หนุนเม็ดเงินชะลอการไหลออกจากไทย
การประชุมธนาคารกลางในเดือนนี้ มีการประชุมกันถึง 5 ประเทศ เริ่มจากยุโรป (ECB) ประชุม 6 มิ.ย.67 ตลาดคาดลดดอกเบี้ย 0.25% เหลือ 4.25% ตามมาด้วยสหรัฐฯ (FED) ประชุม 12 มิ.ย.67 ตลาดคาดคงดอกเบี้ยไว้ระดับเดิม 5.50% ส่วนประเทศอื่น ไทย, ญี่ปุ่น อังกฤษ ตลาดยังมีข้อมูลที่ไม่มากพอที่จะคาดการณ์ได้
ส่วนตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯที่เพิ่งประกาศออกมาก็ชะลอตัว อาทิ PMI ภาคการผลิต เดือน พ.ค.67 อยู่ที่ 48.7 จุด ต่ำกว่าคาดที่ 49.8 จุด ทำให้มุมทิศทางดอกเบี้ยสหรัฐฯ ยังเห็นสัญญาณว่าอยู่ในทิศทางขาลงมากขึ้น โดยตลาดคาดว่าFED จะปรับลดอัตรา ดอกเบี้ย 2 ครั้งในปีนี้ โดยคาดเกิดขึ้นในช่วง ก.ย.67 และ ธ.ค.67 ซึ่งจากก่อนหน้านี้ ตลาดเคยคาดว่า FED อาจจะปรับลดอัตราดอกเบี้ย 1 ครั้งเท่านั้นในปีนี้(เดือน พ.ย. 67) ประเด็นดังกล่าว จึงทำให้ BOND YIELD 10Y สหรัฐฯชะลอตัวจนล่าสุดอยู่ระดับ 4.40% สอดคล้องกับ FEDSPEAK INDEX ที่ส่งสัญญาณ DOVISH มากขึ้น
ขณะที่ประเทศไทย ตลาดคาดยังคงดอกเบี้ยไว้ระดับเดิม 2.50% จนถึงสิ้นปี จากที่ BOND YIELD 10 ปียังทรงตัวระดับเดิม 2.80% และตัวเลขเศรษฐกิจที่ยังไม่สดใส หลัง ดุลบัญชีเดินสะพัดไทยเดือน เม.ย.67 พลิกกลับมาขาดดุล 40 ล้านเหรียญฯ หรือราว 1.44 พันล้านบาท
ดังนั้น การที่ประเทศอื่นๆ มีโอกาสเห็นทิศทางดอกเบี้ยที่เป็นขาลงชัดเจนในปีนี้ ส่วน ไทยมีโอกาสคงดอกเบี้ยในปีนี้สูงจากเหตุผลข้างต้น จึงหนุนเม็ดเงินชะลอการไหลออก จากไทย และชะลอการอ่อนค่าของเงินบาทได้ในระยะถัดไป
ราคาน้ำมันผันผวนช่วงสั้น แต่ระยะยาว OPEC+ ยังปรับลด กำลังการผลิตต่อเนื่อง
ราคาน้ำมันดิบ WTI ปรับตัวลง 3.66% อยู่ที่ระดับ 74.17 เหรียญฯ/บาร์เรล หลัง ประธานาธิบดีโจ ไบเดน ได้เรียกร้องให้ฮามาสยอมรับข้อเสนอใหม่ของอิสราเอลเพื่อ ยุติความขัดแย้งในฉนวนกาซา โดยข้อเสนอดังกล่าว จะเริ่มต้นด้วยการหยุดยิงเป็น เวลา 6 สัปดาห์ และนำไปสู่การยุติการสู้รบอย่างถาวร พร้อมกับเศรษฐกิจสหรัฐที่ ชะลอลงในช่วงสั้นตามหัวข้อก่อนหน้า
อย่างไรก็ตามยังมีแรงหนุนราคาน้ำมันในระยะกลางยาว จากผลการประชุม OPEC+ มีมติขยายเวลาการปรับลดกำลังการผลิตน้ำมันดิบ 3.66 ล้านบาร์เรล/วัน (ประกอบด้วยปรับลดกำลังการผลิตน้ำมันดิบอย่างเป็นทางการของกลุ่มฯ 2.0 ล้าน บาร์เรล/วัน และการปรับลดโดยสมัครใจ 1.66 ล้านบาร์เรล/วัน) ออกไปจนถึงสิ้นปี 2568 จากเดิมที่กำหนดสิ้นสุดลงในปี 2567 และในส่วนของการปรับลดกำลังการ ผลิตโดยสมัครใจเพิ่มเติมอีก 2.2 ล้านบาร์เรล/วัน มีมติให้ขยายกรอบระยะเวลา ดังกล่าวออกไปจนถึง 30 ก.ย. 2567 จากเดิมที่จะสิ้นสุดลงใน 30 มิ.ย. 2567 หลังจาก นั้นจะเริ่มทยอยยุติการรับลดกำลังการผลิต 2.2 ล้านบาร์เรล/วันในช่วงเดือน ต.ค 2567- ก.ย. 2568
อุปสรรคกดดันเศรษฐกิจไทยน้อยลงใน 2H67
GDP ไทยงวด 1Q67 ออกมา +1.5%YOY (สูงกว่าตลาดคาดที่ 0.8%YOY) และระยะ ถัดไปคาดหวังเศรษฐกิจไทยเติบโตแบบขั้นบันได โดย BLOOMBERG คาดการณ์ GDP GROWTH ใน 2Q67 +2.0%YOY, 3Q67 +2.8%YOY, 4Q67 +3.9%YOY โดยตลอดปี 2567 BLOOMBERG คาดการณ์ GDP GROWTH อยู่ที่ +2.8%YOY
โดยสาเหตุหลักมาจากบทบาทของนโยบายการคลัง ที่ทยอยเดินหน้าที่เป็นตัว ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย เชื่อว่าจะเริ่มเห็นความชัดเจนมากขึ้นในช่วง 2Q67-4Q67 ขณะที่เป้าหมายการกระตุ้นเศรษฐกิจไทยของภาครัฐฯ ส่วนใหญ่จะเน้นไปที
• การใช้จ่ายภาครัฐ (G) ผ่านการเร่งเบิกจ่ายงบประมาณปี 2567 วงเงิน 3.60
ล้านลบ. นับตั้งแต่ช่วง 2Q67 เป็นต้นไป เฉพาะอย่างยิ่งด้านการลงทุน
• การลงทุนเอกชน (I) ยังมีแนวโน้มเติบโตเด่น โดยกระทรวงพาณิชย์เผย
ต่างชาติลงทุนไทย 4 เดือนแรกปี 67 (ม.ค.-เม.ย.) เงินสะพัดกว่า 5.5 หมื่น
ล้านบาท และเพิ่มขึ้น +42%YOY
• การบริโภคภาคเอกชน (C) ผ่านนโยบายต่างๆ นำโดยโครงการ DIGITAL
WALLET 10000 บาท/คน ที่จะเริ่มใช้ได้ในช่วง 4Q67 โดยรัฐบาลคาดว่าจะ
กระตุ้นเศรษฐกิจได้ราว 1.2-1.6% ของ GDP ทั้งปี (TURNOVER 0.4-0.6
เท่า) รวมถึงการเพิ่มกำลังซื้อของประชาชนผ่านการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 400
บาท และรัฐบาลเร่งเดินหน้าภาคการท่องเที่ยวอย่างเต็มที่ นอกจากนี้รัฐบาล
ยังอยู่ระหว่างการพิจารณาอีกหลายมาตรการ ทั้งใหม่และเก่า (เช่น โครงการ
EASY E-RECEIPT) เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจไทยในระยะสั้น
อีกทั้งการประชุม ครม. ในวันนี้มีหลายวาระสำคัญ ที่น่าจะเป็นแรงส่งให้เศรษฐกิจไทย เดินหน้าต่อเนื่อง อาทิ
• กระทรวงการคลัง เสนอมาตรการภาษีหนุนท่องเที่ยว หวังช่วยกระตุ้น
เศรษฐกิจใน 3Q67 ช่วงLOW SEASON รวมถึงเสนอมาตรการการเก็บVAT
7% สำหรับสินค้าที่นำเข้ามาจากต่างประเทศที่มีมูลค่าต่ำกว่า 1,500 บาท
• สำนักงานประมาณเสนอกรอบงบประมาณกลางปี เดินหน้าออก พ.ร.บ.
งบประมาณเพิ่มอีก 1.22 แสนลบ. เตรียมทำ พ.ร.บ.ส่งเข้าสภาฯ
• กมธ.สภาฯ จะมีการรายงานผลศึกษาโครงการแลนด์บริดจ์
สรุป นโยบายการคลังที่ทยอยเดินหน้าในช่วง 2Q67-4Q67 โดยมีแรงขับเคลื่อน เศรษฐกิจไทยจากหลายภาคส่วนไม่ว่าจะเป็นการใช้จ่ายภาครัฐ (G) ภาคการการ ลงทุน (I) รวมถึงภาคการบริโภค (C) คาดเป็นตัวช่วยให้ GDP GROWTH ไทยทยอย เติบโตเป็นขั้นบันได อย่างไรก็ตามยังต้องติดตามความเสี่ยงจากความไม่แน่นอนทาง การเมืองอย่างใกล้ชิด เพราะอาจเข้ามากระทบกับความเชื่อมั่นในช่วงสั้นๆ ได้
SET INDEX รับแรงกดมาเยอะ หวังค่อยๆ ดีขึ้น
ในวันศุกร์ที่ผ่านมา เป็นวันที่ MSCI REBALANCE ประจำไตรมาส ทำให้เกิดการ ปรับพอร์ตของกองทุน PASSIVE FUND ต่างประเทศ กดดันให้ SET INDEX ที่ช่วง เช้าวันศุกร์ที่เคย +8 จุด พลิกกลับมาเป็น -5.86 จุด ปิดที่ 1345.66 จุด
และที่สำคัญคือมีมูลค่าซื้อขายจากกองทุนต่างประเทศเข้ามากระจุกตัวช่วง PRECLOSE ถึง 3.5 หมื่นล้านบาท สูงเกือบ 1 เท่าตัวของมูลค่าซื้อขายทั้งวัน หนุนให้ มูลค่าซื้อขายวันศุกร์กระโดดมาอยู่ที่ 7.48 หมื่นล้านบาท
มูลค่าซื้อขายจากการปรับพอร์ตของกองทุนต่างประเทศช่วง PRE-CLOSE กดดัน ให้มีหุ้นขนาดใหญ่ปิดกระโดดลงแรงช่วง ATC อาทิ หุ้นที่หลุดออกจากการคำนวณใน ดัชนี MSCI คือ BTS ช่วง ATC -5%, MTC -1.7%, LH -0.8%, MAJOR -4.4%, FORTH -1.2% นอกจากนี้ยังมีหุ้นอื่นๆ ที่ปิดกระโดดลงอีกช่วง ATC อาทิ JMT - 1.3%, STA -1.3%, BDMS -0.9% เป็นต้น
อย่างไรก็ตามแรงกดดันจากการปรับพอร์ตตามดัชนี MSCI เสร็จสิ้นแล้ว และประเด็น ดังกล่าวไม่ได้ส่งผลต่อมูลค่าพื้นฐานหุ้น อีกทั้งในระยะ 1 เดือนข้างหน้าหุ้นที่ออกจาก MSCI มักจะค่อยๆ ทยอยฟื้นตัวขึ้น แนะนำหุ้นพื้นฐานดี หมดแรงกดดันจาก MSCI คือ LH, MTC, MAJOR ส่วน SET INDEX ประเมินว่าจะค่อยๆ ทยอยฟื้นตัวในเดือน มิ.ย. 67 เช่นกัน โดยวันนี้ประเมินกรอบเคลื่อนไหวที่ 1340 –1351 จุด
บทความนี้จัดทำและเผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์ ASIA Plus Securities