เงินบาท ไม่น่าจะอ่อนทะลุ 37 บาท/USD 

เผยแพร่ 03/05/2567 09:08
SETI
-

แม้ประเมินว่า FED จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 5.5% นานไปจนถึง 4Q67 แต่ก็มีบางมุมมองที่เห็นว่าเงินบาทในเชิงเปรียบเทียบไม่น่าจะอ่อน ค่าทะลุ 37 บาท/USD เริ่มจาก REAL INEREST RATE ซึ่งของสหรัฐอยู่ ที่ 2% (เงินเฟ้อ 3.5%YOY) ส่วนบ้านเราอยู่ที่ 2.97% (เงินเฟ้อ -0.47%) ซึ่งเห็นได้ว่า REAL INTEREST RATE ของบ้านเรายังสูงกว่าอย่างมี นัยสำคัญ ในอีกด้านหนึ่งเริ่มเห็น BOJ ออกมาแทรกแซงโดยการขาย USD ซื้อ JPY ซึ่งมีส่วนทำให้USD ชะลอการแข็งค่า นอกจากนี้ในมุมของ เศรษฐกิจไทย ยังเห็นสัญญาณการฟื้นตัวที่ชัดเจนขึ้นนำโดยการลงทุน ภาครัฐที่มีการเร่งเบิกจ่ายงบประมาณ และ การลงทุนภาคเอกชนที่เห็น การขอรับการส่งเสริมการลงทุนเพิ่มขึ้นชัดเจน องค์ประกอบดังกล่าว น่าจะถือเป็นสัญญาณบวกจาก FUND FLOW ต่อตลาดหุ้นไทย

ในทางปัจจัยพื้นฐานมีมุมมองต่อ SET INDEX มากขึ้น โดยในระยะกลาง การปรับขึ้นไปเหนือ 1400 จุดเกิดขึ้นได้ไม่มาก ส่วนวันนี้กรอบ 1361 – 1376 จุด หุ้น TOP PICK เลือก GULF, SCC และ WHA

ลุ้นเงินบาทชะลออ่อนค่า หวังหนุน FLOW ไหลเข้าไทย

เงินบาทที่อ่อนค่าอย่างรวดเร็วในช่วงเดือนที่ผ่านมาจนทะลุ 37 บาท/USD ส่วนหนึ่ง เป็นผลมาจากทิศทางดอกเบี้ยสหรัฐฯ ที่มีโอกาสยืนอยู่ในระดับสูงนานกว่าคาด อย่างไรก็ตาม แนวโน้มเงินบาทบ้านเรา เชื่อว่าจะเห็นการชะลออ่อนค่ามากขึ้นจาก 2 ปัจจัยหนุน ได้แก่

1. อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงปัจจุบันของไทยยังสูงกว่าสหรัฐฯ โดยล่าสุดบ้านเรา อยู่ที่ 2.97% (ดอกเบี้ย 2.5% ลบด้วยเงินเฟ้อ -0.47%) ส่วนสหรัฐฯ อยู่ที่ 2.0% (ดอกเบี้ย 5.5% ลบด้วยเงินเฟ้อ 3.5%) ทำให้มีความน่าสนใจในการ เพิ่มแรงดึงดูดให้เม็ดเงินไหลเข้ามาในไทยมากขึ้น ขณะที่เช้านี้ (3 พ.ค. 67) เวลา 10.30 น. รอติดตามการรายงานตัวเงินเฟ้อไทยเดือน เม.ย.67 โดย CONSENSUS คาดว่าจะยังอยู่ในโซนหดตัวต่อเนื่องที่ -0.25%YOY

2. รัฐบาลญี่ปุ่นแทรกแซงค่าเงินตั้งแต่ช่วงต้นสัปดาห์ หนุนค่าเงินเย็นแข็งค่ามาก สุดในรอบ 3 สัปดาห์ โดย BOJ เผยว่ารัฐบาลญี่ปุ่นได้ทุ่มเงินเกือบ 6 หมื่น ล้าน USD เข้าซื้อเยนและเทขายดอลลาร์ในวันที่ 29 เม.ย. 67 ที่ผ่านมาราว 3.5 หมื่นล้าน USD หลังเงินเยนดิ่งลงแตะระดับ 160.24 เยน/ดอลลาร์ ซึ่งเป็น ระดับต่ำสุดในรอบ 34 ปีและในวันที่ 1 พ.ค. 67 ด้วยวงเงินอีกราว 2.35 หมื่น ล้าน USD กดดันให้ DOLLAR INDEX อ่อนค่าลง เคลื่อนไหวอยู่บริเวณ 105.3 จุด ซึ่งน่าจะหนุนให้ค่าเงินในแถบเอเชียแข็งค่าขึ้นในระยะถัดไป

สรุป แนวโน้มเงินบาทบ้านเรา เชื่อว่าจะเห็นการชะลออ่อนค่ามากขึ้นจาก 2 ปัจจัยหนุน ล่าสุด ได้แก้ อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงปัจจุบันของไทยยังสูงกว่าสหรัฐฯ บวกกับรัฐบาล ญี่ปุ่นแทรกแซงค่าเงินตั้งแต่ช่วงต้นสัปดาห์

แรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยทยอยกลับมา

ภาพรวมเศรษฐกิจไทยที่มีแนวโน้มขยายตัวต่ำในช่วงปลายปีที่ผ่านมา โดย GDP GROWTH ในปี 2566 ขยายตัวเพียง 1.9% YOY ขณะที่ ธปท. ประเมินภาพรวม เศรษฐกิจโดยรวมใน 1Q67 จะโตราว 1%QOQ สะท้อนถึงความคาดหวังว่าจะเห็นแรง กระตุ้นเศรษฐกิจมากขึ้นในช่วงที่เหลือของปีนี้ เพื่อเป็นแรงส่งให้เศรษฐกิจไทยปรับตัว เพิ่มขึ้นต่อเนื่องราว 2.4-2.7%YOY

ขณะที่แรงขับเคลื่อนที่มีความคืบหน้าชัดเจนมากขึ้น เห็นว่าจะเป็นการเรื่องการใช้จ่าย ภาครัฐ (G) ผ่านมาตรการต่างๆ ในการเร่งเบิกจ่ายงบประมาณประจำปี 2567 ภายใน กรอบระยะเวลา 5 เดือน นอกจากนี้ยังมีสัญญาณที่ดีขึ้นในด้านการลงทุนภาคเอกชน (I) โดย BOI ได้ยอดขอส่งเสริมการลงทุนใน 1Q67 โตก้าวกระโดด ด้วยเม็ดเงินราว 2.26 แสนล้านบาท หรือ +31%YOY นำโดยอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ยานยนต์ และชิ้นส่วน ปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์

สรุป เศรษฐกิจไทยยังมีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่อง ขณะที่แรงขับเคลื่อนที่มีความคืบหน้า ชัดเจนมากขึ้น เห็นว่าจะเป็นการเรื่องการใช้จ่ายภาครัฐ (G) รวมถึงการลงทุน ภาคเอกชน (I) ถือเป็นบวกต่อหุ้นกลุ่มที่เกี่ยวข้อง อาทิ SCC SCCC TASCO WHA AMATA

กำไร 1Q67 ที่คาดสดใส ยังช่วยผลักให้ SET ทยอยฟื้นได้

ล่าสุดบริษัทจดทะเบียนประกาศกำไรงวด 1Q67 ออกมาแล้ว 28 บริษัท (คิดเป็น สัดส่วน 30% ของ MARKET CAP.) มีกำไรสุทธิรวม 1.10 แสนล้านบาท เติบโต +23.4%QOQ และ -3.6%YOY ซึ่งถือว่าดีกว่าตลาดคาดราว 3%(อ้างอิง BLOOMBERG CENSENSUS)

ขณะที่ฝ่ายวิจัยฯ ทำการรวบรวมข้อมูล EARNING PREVIEW งวด 1Q67 จาก BLOOMBERG CONSENSUS 130 บริษัท (คิดเป็นสัดส่วน 68% ของ MARKET CAP.) มีกำไรสุทธิรวม 1.81 แสนล้านบาท เติบโต +68.7%QOQ และ -0.8%YOY ซึ่ง ที่เติบโต QOQ แรงส่วนหนึ่งมาจากค่าเงินบาทอ่อนค่า 7%QOQ และ ราคาน้ำมันดิบ ฟื้นตัว16%QOQ / 10%YOY จึงทำให้มีโอกาสสูงที่กำไร 1Q67 จะสูงแตะระดับ 3 แสน ล้านบาท(กำไร 1Q66 อยู่ระดับ 2.8 แสนล้านบาท)ซึ่งสถิติในอดีต เวลากำไรบริษัทจด ทะเบียนผ่านพ้นจุดต่ำสุดและค่อยๆ ทยอยฟื้น QOQ หุ้นก็มีโอกาสฟื้นขึ้นต่อเนื่องไป ด้วย

ดังนั้น จึงเป็นประเด็นที่ต้องติดตามว่าผลลัพธ์จะออกมาตามที่ฝ่ายวิจัยฯคาดหรือไม่ ซึ่งหุ้นส่วนใหญ่จะประกาศงบในช่วง 2 สัปดาห์สุดท้าย(7-16 พ.ค.67) โดยวันประกาศ ของหุ้นที่ฝ่ายวิจัยฯศึกษา

สรุป คือ กำไรงวด 1Q67 ที่ทยอยประกาศออกมานั้นฟื้นตัวเด่นและดีกว่าตลาดคาด ลุ้นกำไร 1Q67 กลับไปแตะระดับสูง 3 แสนล้านบาทได้ ซึ่งโดยปกติแล้ว กำไรที่โดดเด่น มักจะช่วยหนุนให้การย่อตัวของ SET INDEX มีอีกไม่มาก และค่อยๆ ฟื้นตัวได้ดีใน ระยะถัดไป โดยวันนี้คาดกรอบการเคลื่อนไหวของ SET INDEX ที่ระดับ 1361-1376 จุด

กระแสขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 400 บาท แต่ละอุตสาหกรรมกระทบมาก แค่ไหน

วานนี้ รมว.แรงงาน ประกาศชัดเจนว่า 1 ต.ค.67 จะปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 400 บาท/วัน ทุกอาชีพ ทุกกิจการทั่วประเทศ(ปรับขึ้นเฉลี่ย 10%) ดังนั้น ฝ่ายวิจัยฯจึงมานำเสนอ ผลกระทบในแต่ละอุตสาหกรรมว่าจะกระทบมากน้อยเพียงใด โดยมีรายละเอียด ดังนี้

อุตสาหกรรมรับเหมาก่อสร้าง : เป็นอุตสาหกรรมที่มีการใช้แรงงานจำนวนมาก โดย ต้นทุนค่าแรงที่อิงกับค่าแรงขั้นต่ำ จะอยู่ในส่วนของคนงานก่อสร้างที่มีทั้งการจ้าง โดยตรงและการจ้างผ่านผู้รับเหมาช่วง ซึ่งคิดเป็นสัดส่วน 20-30% ของต้นทุน ก่อสร้าง โดยเงินที่จ้างผ่านผู้รับเหมาช่วงจะมีการรวมทั้งค่าแรงงานและค่าวัสดุ ก่อสร้างเข้าไปด้วย หากตั้งสมมุติฐานว่าค่าแรงอย่างเดียวคิดเป็นสัดส่วน 50% ของค่าจ้างเหมาช่วง เท่ากับว่าต้นทุนที่อิงกับค่าแรงขั้นต่ำน่าจะมีสัดส่วนประมาณ 10- 15% ของต้นทุนก่อสร้าง ดังนั้นการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำทุก 1% จะกระทบต่อต้นทุน การก่อสร้าง 0.10-0.15% แต่ในทางปฏิบัติ หากมีการปรับเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำจริง บริษัทรับเหมาก่อสร้างและบริษัทที่รับเหมาช่วงจะแบ่งกันรับภาระค่าแรงที่เพิ่มขึ้นไปคน ละส่วน อีกทั้งบริษัทรับเหมางานภาครัฐจะมีเงินชดเชยจากค่า K ซึ่งมีเงินเฟ้อเป็น องค์ประกอบในการคำนวณด้วย ดังนั้นผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการปรับขึ้นค่าแรงขั้น ต่ำทุก 1% ฝ่ายวิจัยประเมินว่าจะกระทบต่อต้นทุนการก่อสร้างไม่เกิน 0.1% สำหรับ การปรับเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำขึ้นจาก 363 บาทเป็น 400 บาท หรือปรับเพิ่มขึ้น 10% จะทำ ให้บริษัทรับเหมามีอัตรากำไรขั้นต้นลดลงราว 1% จากปัจจุบันที่บริษัทรับเหมาฯ มี GROSS MARGIN เฉลี่ย 6-10% และมี NET PROFIT MARGIN 2-6% ถือว่า ค่อนข้างมีนัยสำคัญต่อผลประกอบการของบริษัทรับเหมาก่อสร้างโดยผู้ที่ได้รับ ผลกระทบมากได้แก่บริษัทรับเหมาที่มีอัตรากำไรต่ำและให้แรงงานสูง อย่าง ITD,NWR

อุตสาหกรรมนิคม : ฝ่ายวิจัยประเมินว่าผลกระทบของการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ จะมี ผลกระทบต่อยอดขายที่ดินนิคมฯ ในวงจำกัด เนื่องจากหากย้อนไปปี 2553 – 2555 ที่มีการปรับขึ้นค่าแรงจาก 215 บาท/วัน เป็น 300 บาท/วัน (+40%YOY) หาก เปรียบเทียบการขึ้นค่าแรงกับกับยอด PRE-SALE ของ AMATA พบว่า ยอด PRESALE ไม่ได้ลดลง อย่างไรก็ตาม ช่วงเวลาดังกล่าว มีการปรับลดอัตราภาษีเงินได้นิติ บุคคลลลงมาเป็นการชดเชยด้วยในรอบนี้จึงต้องรอติดตามว่าจะมีแนวทางใดเข้ามา ดึงดูดความน่าสนใจในการเข้ามาลงทุนเป็นการชดเชย แม้ค่าแรงจะปรับเพิ่ม แต่ ประเทศไทยยังมีจุดเด่นที่เหนือกว่าประเทศอื่นๆในประเทศเพื่อบ้าน เช่น โครงสร้าง พื้นฐานที่พร้อมและกรรมสิทธิ์ในการเป็นเจ้าของที่ดิน เป็นต้น ขณะที่กลุ่มขนส่ง (LOGISTICS) มีผลค่อนข้างจำกัดเช่นกัน เนื่องจากเงินเดือนอยู่ในระดับที่สูงกว่า ค่าแรงขั้นต่ำและ COMMISSION ขึ้นกับจำนวนที่ขายได้

อุตสาหกรรมพัฒนาที่อยู่อาศัย : แนวโน้มการปรับขึ้นค่าแรงสู่ระดับ 400 บาท/วัน ย่อมส่งผลเชิงลบต่อต้นทุนการพัฒนาโครงการของผู้ประกอบการที่อยู่อาศัยทุกราย โดยหากพิจารณาโครงสร้างต้นทุนสัดส่วนหลัก 30-40% มาจากต้นทุนที่ดิน ตาม ด้วยต้นทุนก่อสร้างและแรงงาน 40-50% ที่เหลือเป็นงานโครงสร้างและอื่น ๆ ภายใต้ การปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ และปัจจัยอื่นไม่มีการเปลี่ยนแปลง หากอิงจากข้อมูลของ ผู้ประกอบการบางรายประเมินต้นทุนการพัฒนาจะเพิ่มขึ้น 10% ย่อมกระทบต่อ ประสิทธิภาพทำกำไร แต่เชื่อว่าผู้ประกอบการจะสามารถจัดการกับการเปลี่ยนแปลง ดังกล่าวได้ ผ่านการส่งผ่านไปยังราคาขายตามต้นทุนใหม่ ซึ่งหมายถึงราคาขายอาจ ต้องปรับขึ้น 5-10% เพื่อรักษามาร์จิ้นไว้ รวมถึงบริหารจัดการต้นทุนอื่น เช่น ใช้ ประโยชน์จากระบบ PRECAST ในการก่อสร้างมากขึ้นเพื่อลดแรงงานคน, ปรับ รูปแบบสินค้า เปลี่ยนวัสดุ ลดขนาดบ้าน ฯลฯ เพื่อไม่ให้กระทบต่อมาร์จิ้นอย่างมีนัยฯ ทั้งนี้จากการศึกษาข้อมูลเรื่องประสิทธิภาพทำกำไรตลอดช่วงกว่า 10 ปีที่ผ่านมา (ปี 2551-2565) พบว่า ผู้ประกอบการยังสามารถรักษา GROSS MARGIN (GP) ใน กรอบ 31-35% และ NORM PROFIT MARGIN กรอบ 12-15% แม้เผชิญกับวัฏจักร เรื่องต้นทุนก่อสร้างและแรงงานที่ปรับขึ้นก็ตาม (ยกเว้นปี 2563 ที่ได้รับผลกระทบจาก โควิด และส่วนใหญ่เน้นขายสต๊อกพร้อมลดราคา ทำให้ GP ปีดังกล่าวลงมาอยู่ที่ 31- 32% ก่อนเห็นการฟื้นตัวขึ้นในปีถัดไป) ฝ่ายวิจัยประเมินประเด็นการขึ้นค่าจ้างข้างต้น ยังไม่น่ากังวลเท่าปัญหาอื่น โดยเฉพาะเศรษฐกิจไทยที่ยังไม่ฟื้นตัวเต็มกำลัง, ดอกเบี้ย ไทยระดับสูง และการเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อของแบงค์ ที่เข้ามากระทบต่อกำลังซื้อ และมีผลเชิงลบต่อยอดขายและโอนฯ ซึ่งมีน้ำหนักกดดันต่อการทำกำไรมากกว่า ประเด็นเรื่องค่าแรง

อุตสาหกรรมท่องเที่ยวและสนามบิน : อิงข้อมูลปี 2566 เริ่มด้วย CENTEL มีค่าใช้จ่าย ผลประโยชน์ของพนักงานราว 5 พันล้านบาท หรือราว 25% ของ OPEX (CGS + SG&A) ส่วน ERW มีค่าใช้จ่ายผลประโยชน์พนักงานราว 1.6 พันล้านบาท หรือ 29% ของ OPEX ขณะที่ MINT รายได้กว่า 50% มาจากใน EU ผลกระทบจึงจำกัดกว่ากลุ่ม ฯ ด้าน AOT (BK:AOT) สัดส่วนพนักงานที่รับค่าแรงขั้นต่ำมีไม่สูง โดยผลต่อโรงแรมไทยอย่าง CENTEL และ ERW เนื่องจากมีการปรับขึ้นสู่ 400 บาท ในจังหวัดท่องเที่ยว ตั้งแต่ 13 เม.ย. 67 ผลกระทบจากการปรับในจังหวัดที่เหลือ 400 บาทต่อวันรอบที่เหลือจึงน้อย ประกอบกับพนักงานส่วนใหญ่ในธุรกิจโรงแรมได้รับสูงกว่าค่าแรงขั้นต่ำ การขึ้นค่าแรง เป็นต้นทุนของทั้งระบบ ภายใต้แนวโน้มการฟื้นตัวของนักท่องเที่ยวต่างชาติมาไทย คาดเห็นการส่งผ่านต้นทุนส่วนเพิ่มไปยังค่าห้องพัก (ADR) ทั้งอุตสาหกรรมในช่วง ถัดไป อย่างไรก็ดีธุรกิจร้านอาหาร (สัดส่วนราว 58% ของรายได้ปี 2566) การส่งผ่าน ต้นทุนอาจต้องใช้เวลานานกว่าธุรกิจโรงแรม จากภาวะหนี้ครัวเรือนต่อ GDP ใน ระดับสูง

การลงทุนหุ้นในกลุ่มฯ ยังคงเลือก AOT(FV@B74) ที่ได้รับประโยชน์มากสุดจากการ ฟื้นตัวของนักท่องเที่ยวต่างชาติมาไทย ส่วนกลุ่มโรงแรมให้คำแนะนำ NEUTRAL ทั้ง 3 ตัว แม้ MINT(FV@B35) ทิศทางกำไรปกติงวด 2Q67 จะดีกว่ากลุ่มฯ จาก SEASONALITY ใน EU (ไทยเป็น LOW SEASON) แต่ราคาหุ้น OUTPERFORMED ตลาดพอสมควร จากความคาดหวังกับมหกรรมกีฬาใหญ่ในภาคพื้นยุโรป ทั้ง โอลิมปิก ปารีส (26 ก.ค. –11 ส.ค. 67) และฟุตบอลยูโรที่เยอรมนี (14 มิ.ย. –14 ก.ค. 67) น่าจะสะท้อนไปแล้ว จึงมองกลุ่มโรงแรมไทยไทยทั้ง CENTEL(FV@B46) และ ERW (FV@B5.5) ที่มีโมเมนตัม QOQ ต่อเนื่อง 3 ไตรมาส หลังผ่าน LOW SEASON ในงวด 2Q และราคาหุ้นปรับตัวขึ้นช้ากว่า มีความน่าสนใจกว่าในเชิงกลยุทธ์

อุตสาหกรรมเช่าซื้อ : ฝ่ายวิจัยมองสัดส่วนพนักงานที่มีค่าแรงขั้นต่ำไม่สูง ในทางตรง ข้ามคาดหวังแรงส่งจากการขึ้นค่าแรง หนุนกำลังซื้อในประเทศดีขึ้น บวกต่อทั้งการ ได้รับวงเงินสินเชื่อและความสามารถในการชำระหนี้ เลือก MTC(FV@B51) > TIDLOR(FV@B26) > SAWAD (FV@B42.5) รวมทั้งกลุ่มบัตรเครดิต อย่าง AEONTS (ไม่ได้จัดทำบทวิเคราะห์)

อุตสาหกรรมพลังงานและปิโตรเคมี: ภาพรวมธุรกิจในอุตสาหกรรมพลังงานไม่ได้อิง กับการใช้แรงงาน โดยโครงสร้างต้นทุนส่วนใหญ่จะอิงกับราคาพลังงาน, ค่าเสื่อม ราคา เป็นหลัก ในขณะที่ค่าใช้จ่ายพนักงาน (SG&A) ส่วนใหญ่จะเป็นการจ่ายใน รูปแบบของเงินเดือน, โบนัส ดังนั้นการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำจึงไม่ได้ส่งผลผลกระทบ โดยตรงอย่างมีนัยฯ ต่อโครงสร้างต้นทุน หรือผลการดำเนินงานบริษัทในกลุ่มนี้

อุตสาหกรรมค้าปลีก : คาดได้รับผลกระทบจากการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็น 400 บาท/ เดือน แต่หากพิจารณาเฉพาะหุ้นกลุ่มพาณิชย์ที่เราศึกษา ส่วนใหญ่จะได้รับ ผลกระทบไม่มากนัก เพราะพนักงานที่ได้รับค่าแรงขั้นต่ำมีสัดส่วนน้อยเมื่อเทียบกับ จำนวนพนักงานทั้งหมด (มีสัดส่วน 10% - 20%) โดยค่าใช้จ่ายที่จะเพิ่มขึ้นจากการ ปรับขึ้นค่าแรงจะมีสัดส่วนต่ำกว่า 0.5% ของยอดขายของแต่ละราย นอกจากนี้คาด ผลจากค่าแรงที่สูงขึ้นจะชดเชยได้บางส่วนจากยอดขายที่จะเพิ่มขึ้นในระยะถัดไป ตาม กำลังซื้อที่มีมากขึ้น

อุตสาหกรรมสื่อสาร : ผลกระทบต่อการดำเนินงานของหุ้นในกลุ่ม ICT มีน้อยมาก หากมีการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็น 400 บาท/เดือน เพราะพนักงานส่วนใหญ่จะได้รับ ผลตอบแทนที่สูงกว่าค่าแรงขั้นต่ำอยู่แล้ว นอกจากนี้ยังเป็นอุตสาหกรรมที่มีการใช้ งาน AI ช่วยในการดำเนินงานแทนพนักงานระดับต้นด้วย (เช่นงาน CALL CENTER ของบริษัทที่ให้บริการโทรศัพท์มือถือ)

อุตสาหกรรมเครื่องดื่ม : คาดได้รับผลกระทบจากการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็น 400บาท/ เดือนเล็กน้อย เนื่องจากพนักงานส่วนใหญ่ได้รับค่าตอบแทนที่สูงกว่าค่าแรงขั้นต่ำอยู่ แล้ว อีกทั้งยังมีการใช้งานเครื่องจักรอัตโนมัติในโรงงาน ซึ่งช่วยในการดำเนินงานแทน พนักงานระดับต้นอีก

อุตสาหกรรมการแพทย์ : หากดูโครงสร้างต้นทุน ค่าธรรมเนียมแพทย์+ต้นทุนยา มี สัดส่วนเกือบ 70% ดังนั้นการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำกระทบต่อกลุ่มโรงพยาบาลจำกัด เพราะบุคคลากรทางการแพทย์ได้รับค่าตอบแทนสูงกว่าค่าแรงขั้นต่ำอยู่แล้ว มอง ในทางตรงกันข้ามการขึ้นค่าแรงจะส่งผลเชิงบวกทางอ้อมจากความสามารถในการ บริโภคที่เพิ่มขึ้น

สรุป ประเด็นการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็น 400บาท/วัน หากเกิดขึ้นจริง คาดผลกระทบใน แต่ะละอุตสาหกรรมแตกต่างกันออกไป แต่อยู่ในวงจำกัด(ไม่มีนัยฯมากนัก) ดังนั้นหาก ราคาหุ้นตอบสนองต่อประเด็นนี้มากเกินไป ถือเป็นโอกาสในการสะสมหุ้นพื้นฐาน แข็งแกร่ง

บทความนี้จัดทำและเผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์ ASIA Plus Securities

ความคิดเห็นล่าสุด

กำลังโหลดบทความถัดไป...
การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย