📊 ดูวิธีการที่นักลงทุนชั้นนำสร้างพอร์ตของพวกเขาค้นหาไอเดียการเทรด

เฟดมีมติ “คง”ดอกเบี้ย ตามคาด พร้อมประกาศเริ่มปรับลดอัตราการลดงบดุล (QT)

เผยแพร่ 02/05/2567 12:21

เฟดมีมติคงดอกเบี้ย ตามคาด

พร้อมประกาศเริ่มปรับลดอัตราการลดงบดุล (QT) จาก 9.5 หมื่นล้านดอลลาร์ต่อเดือน เหลือ 6 หมื่นล้านดอลลาร์ต่อเดือน ในเดือนมิถุนายน

  • Fed Funds Target Range

Actual: 5.25-5.50%        Previous: 5.25-5.50% 

KTBGM: 5.25-5.50%       Consensus: 5.25-5.50%

    • คณะกรรมการนโยบายการเงินธนาคารกลางสหรัฐฯ (FOMC) มีมติให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ 5.25-5.50% ตามคาด และประกาศปรับอัตราการลดงบดุล (QT) เป็น 6.0 หมื่นล้านดอลลาร์ต่อเดือน ในเดือนมิถุนายน
    • ในช่วงการแถลงต่อสื่อมวลชน ประธานเฟด Jerome Powell ได้ส่งสัญญาณว่า เฟดยังไม่มีแนวโน้มจะขึ้นดอกเบี้ย  ทว่าเฟดก็ยังไม่มั่นใจต่อแนวโน้มการชะลอตัวของอัตราเงินเฟ้อ ทำให้เฟดยังมีความจำเป็นต้องคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับปัจจุบันได้นานตามความเหมาะสม และการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ก็ไม่ได้เป็นปัจจัยในการพิจารณานโยบายการเงิน
    • เรายังคงมุมมองเดิมว่า เฟดอาจเริ่มทยอยลดดอกเบี้ยได้ในการประชุม 31 กรกฎาคม – 1 สิงหาคม หากอัตราเงินเฟ้อและตลาดแรงงานสหรัฐฯ กลับมาชะลอตัวลงต่อเนื่อง ทว่า เรายอมรับว่า หากรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ออกมาแข็งแกร่งกว่าที่เราประเมินไว้ การลดดอกเบี้ยของเฟดก็อาจถูกเลื่อนไปได้ และเฟดอาจลดดอกเบี้ยในปีนี้ น้อยกว่าที่เราประเมินไว้ อย่างไรก็ดี เรายังคงมองว่า โอกาสที่เฟดจะขึ้นดอกเบี้ยต่อนั้นมีน้อยมาก และจะเกิดขึ้นได้ หากมีปัจจัยเสี่ยงเงินเฟ้อด้านสูงที่ชัดเจน เช่น สงครามในตะวันออกกลางที่รุนแรงและยืดเยื้อ
    • Next FOMC Decision: June 13 2024 (1 AM BKK)

คณะกรรมการนโยบายการเงินธนาคารกลางสหรัฐฯ (FOMC) มีมติให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับ 5.25-5.50% พร้อมประกาศปรับลดอัตราการลดงบดุล (QT) เหลือ 6 หมื่นล้านดอลลาร์ต่อเดือน ในเดือนมิถุนายน

  • FOMC มองข้อมูลเศรษฐกิจล่าสุดสะท้อนการขยายตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจในอัตราที่แข็งแกร่ง อีกทั้งภาวะตลาดแรงงานโดยรวมยังคงแข็งแกร่งอยู่ ขณะที่อัตราเงินเฟ้อได้ชะลอตัวลงต่อเนื่อง แต่ยังคงอยู่ในระดับสูง และในช่วงไม่กี่เดือนมานี้ อัตราเงินเฟ้อกลับไม่ได้มีแนวโน้มที่จะชะลอลงสู่เป้าหมายที่ 2% ของเฟด โดยคณะกรรมการ FOMC ได้ให้ความสำคัญต่อการบรรลุเป้าหมายการจ้างงานที่เต็มศักยภาพและเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อที่ 2% ซึ่งคณะกรรมการก็มองว่า แม้แนวโน้มเศรษฐกิจยังมีความไม่แน่นอน แต่ความเสี่ยงที่จะส่งผลต่อการบรรลุเป้าหมายดังกล่าวก็มีความสมดุลมากขึ้นตั้งแต่ปีที่ผ่านมา โดยความเสี่ยงเงินเฟ้อยังคงเป็นสิ่งที่เฟดให้ความสำคัญอย่างมาก ดังนั้น คณะกรรมการจึงมีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ 5.25-5.50% พร้อมกับเดินหน้าลดงบดุล (QT) โดย FOMC มีความมุ่งมั่นอย่างยิ่งที่จะทำให้อัตราเงินเฟ้อกลับสู่ระดับเป้าหมายที่ 2%
  • นอกจากนี้ คณะกรรมการ FOMC ได้ประกาศปรับลดอัตราการลดงบดุล โดยในแต่ละเดือน เฟดจะปล่อยให้พันธบัตรรัฐบาลครบอายุโดยไม่มีการซื้อเพิ่มเติมราว 2.5 หมื่นล้านดอลลาร์ ลดลงจากอัตราก่อนหน้าที่ 6.0 หมื่นล้านดอลลาร์ และเฟดจะปล่อยให้ตราสารหนี้ที่มีสินเชื่อที่อยู่อาศัยเป็นหลักประกัน (MBS) ครบอายุโดยไม่มีการซื้อเพิ่มเติมราว 3.5 หมื่นล้านดอลลาร์ ตามเดิม ทำให้เฟดจะลดอัตราการทำ QT ลงจากเดือนละ 9.5 หมื่นล้านดอลลาร์ เหลือ 6.0 หมื่นล้านดอลลาร์
  • ถ้อยแถลงของประธานเฟด ได้สะท้อนว่า เฟดยังไม่รีบลดดอกเบี้ยจนกว่าเฟดจะมั่นใจว่า อัตราเงินเฟ้อจะกลับสู่เป้าหมาย 2% ได้อย่างยั่งยืน ทว่า เฟดก็ยังไม่ได้พิจารณาขึ้นดอกเบี้ยเช่นกัน ส่วนการเลือกตั้งสหรัฐฯ ที่ในเดือนพฤศจิกายน ก็ไม่ได้เป็นปัจจัยในการดำเนินนโยบายการเงิน

เราคงมองว่า เฟดมีโอกาสทยอยลดดอกเบี้ยในเดือนสิงหาคมได้ หากอัตราเงินเฟ้อกลับมาชะลอลงต่อเนื่อง พร้อมการชะลอลงของการจ้างงานที่ชัดเจน

  • เราเห็นด้วยกับเฟดว่า ข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ล่าสุด ยังไม่ได้สะท้อนถึงความจำเป็นในการต้องรีบลดดอกเบี้ยแต่อย่างใด อย่างไรก็ดี เราคงเห็นความไม่สอดคล้องกันของรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ โดยเฉพาะในข้อมูลที่อาจสะท้อนแนวโน้มการเติบโตเศรษฐกิจ อาทิ ยอดการจ้างงานที่กระจุกตัวเพียงในส่วนการจ้างงานภาครัฐและในส่วนของ Health care & Social Assistance ขณะที่ ยอดการจ้างงานในส่วนกลุ่ม White Collar (การเงิน, เทคฯ และ professional services อื่นๆ เช่น กฎหมายและบัญชี) กลับมีแนวโน้มชะลอตัวลงอย่างชัดเจน หรือจะเป็นยอดการจ้างงานแบบ Full-time ที่ยังคงลดลงต่อเนื่อง สวนทางกับยอดการจ้างงานแบบ Part-time ที่เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ เรายังเห็นความเปราะบางของการใช้จ่ายครัวเรือนสหรัฐฯ มากขึ้น จากรายงานหนี้ครัวเรือนล่าสุด ที่สะท้อนถึงความเสี่ยงการผิดนัดชำระหนี้ที่พุ่งสูงขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่ม First Jobbers ทั้งในส่วนหนี้บัตรเครดิตและหนี้รถยนต์ ทำให้เราประเมินว่า เศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังมีโอกาสชะลอตัวลงมากขึ้น โดยเฉพาะในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ สอดคล้องกับ เทรนด์ของดัชนี Growth Surprise Index ที่จัดทำโดย Bloomberg Economics ที่ปรับตัวลดลงต่อเนื่อง ส่วนดัชนี Inflation Surprise Index ก็ปรับตัวสูงขึ้น และอาจเป็นปัจจัยที่ทำให้ บรรดาเจ้าหน้าที่เฟดต่างย้ำจุดยืนว่า “เฟดจะไม่รีบลดดอกเบี้ย” 
  • ดังนั้น หากนับจากวันนี้เป็นต้นไป อัตราเงินเฟ้อสหรัฐฯ อาทิ อัตราเงินเฟ้อ CPI และ PCE พลิกกลับมาชะลอตัวลงได้ เช่น โมเมนตัมรายเดือนกลับมาต่ำกว่า +0.30%m/m รวมถึง ยอดการจ้างงานนอกภาคเกษตรกรรม (Nonfarm Payrolls) ลดลงต่อเนื่อง จนต่ำกว่าระดับ +2.0 แสนตำแหน่ง เราจะยังเชื่อว่า เศรษฐกิจสหรัฐฯ มีแนวโน้มที่จะชะลอลงต่อเนื่อง และอัตราเงินเฟ้อก็มีแนวโน้มจะทยอยกลับสู่เป้าหมาย 2% ของเฟดได้ ทำให้เฟดสามารถเริ่มทยอยลดดอกเบี้ยลงได้ตั้งแต่การประชุม 31 กรกฎาคม – 1 สิงหาคม และหากภาพเศรษฐกิจสหรัฐฯ ชะลอตัวลงมากขึ้นตามคาด เฟดยังสามารถทยอยลดดอกเบี้ยต่อเนื่องได้ในการประชุมถัดไป รวมเป็นการลดดอกเบี้ย 4 ครั้ง (-100bps) 
  • ทั้งนี้ เรายอมรับว่า หากรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังคงแข็งแกร่งกว่าที่เราคาดการณ์ไว้และอัตราเงินเฟ้อไม่ได้ชะลอลงตามคาด การลดดอกเบี้ยครั้งแรกของเฟดนั้นอาจเกิดขึ้นช้ากว่าที่เราประเมิน โดยเฟดอาจเริ่มลดดอกเบี้ยในการประชุมเดือนกันยายนอย่างเร็วสุด และเฟดอาจลดดอกเบี้ยไม่เกิน 3 ครั้ง
  • แม้ว่า แนวโน้มดอกเบี้ยเฟดยังมีความไม่แน่นอน ทว่ามุมมองของผู้เล่นในตลาดก็คาดหวังว่าเฟดอาจลดดอกเบี้ยราว 1-2 ครั้งในปีนี้ (จาก CME FedWatch Tool ล่าสุด) ทำให้เรามองว่า ผู้เล่นในตลาดอาจไม่ได้ปรับเปลี่ยนมุมมองแนวโน้มดอกเบี้ยเฟดไปจากเดิมมากนัก ยกเว้นจะเห็นความเสี่ยงด้านสูงต่อแนวโน้มเงินเฟ้อ หรือตลาดแรงงานสหรัฐฯ ยังมีความแข็งแกร่งอยู่ ซึ่งภาพดังกล่าว ทำให้เงินดอลลาร์และบอนด์ยีลด์สหรัฐฯ อาจไม่ได้ปรับตัวขึ้นต่อไปได้มากนัก และหากสิ่งที่เราประเมินไว้ นั้นเริ่มถูกต้อง เราคาดว่า ผู้เล่นในตลาดก็อาจกลับมามองว่า เฟดมีโอกาสลดดอกเบี้ยได้มากกว่าที่ตลาดกำลังประเมินอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งจะกดดันให้เงินดอลลาร์และบอนด์ยีลด์มีโอกาสปรับตัวลงได้ ดังนั้น เราจึงคงมุมมองเดิมว่า เงินบาทอาจมีจุดอ่อนค่าสุดไม่เกิน 37.25 บาทต่อดอลลาร์ (ตามที่เราได้ประเมินไว้ วันที่ 5 เมษายน) และ ผู้เล่นในตลาดก็สามารถทยอย “Buy on Dip” บอนด์ระยะยาวสหรัฐฯ และไทยได้

ความคิดเห็นล่าสุด

กำลังโหลดบทความถัดไป...
การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย