SET INDEX ติดลบต่อเนื่องมาถึง 7 วัน ซึ่งในเชิงสถิติแล้วพบว่า ในช่วง 5 ปีที่ผ่าน มาเกิดขึ้นเพียง 7 ครั้งเท่านั้น หากมองในมุมนี้ก็เป็นไปได้ที่จะเห็น TECHNICAL REBOUND เล้กน้อย ส่วนประเด็นทางพื้นฐานที่จะมีผลต่อทิศทางตลาดได้แก่ ตัวเลขเงินเฟ้อเดือน ก.พ.67 ที่ออกมา -0.77% YOY ใกล้เคียงกับที่ตลาดคาด นับเป็นการติดลบ YOY ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 5 โดยคาดว่าจะยังเห็นตัวเลขเดือน มี.ค. และ เม.ย. ที่ติดลบต่อไปอีก ภาพดังกล่าวอาจเป็นแรงหนุนให้การประชุม กนง. รอบ 10 เม.ย.67 มีโอกาสปรับลดอกเบี้ยนโยบายมากขึ้น บนความคาดหวัง ดังกล่าวทำให้ในช่วงเวลาจากนี้ จนถึงการประชุม กนง. อาจทำให้อัตรา แลกเปลี่ยนมีความผันผวน ส่วน SENTIEMTN จากตลาดหุ้นต่างประเทศเช้านี้ ตลาดสหรัฐปรับตัวลดลง 1-1.65% ต้นเหตุมาจากหุ้น TECH ไม่ได้เกิดจากภาพ MACRO ดังนั้นผลกระทบที่จะส่งต่อมายังตลาดหุ้นบ้านเราจึงน่าจะไม่มาก
มีโอกาสเห็น TECHNICAL REBOUND ภายใต้ปัจจัยแวดล้อมทางปัจจัยพื้นฐาน ที่ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลง วันนี้ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของ SET INDEX ที่ 1350 –1367 จุด หุ้น TOP PICK เลือก ADVANC, HMPRO และ PTTGC
ปัจจัยแวดล้อมดูหน่วงๆ อาจเป็นแรงถ่วงตลาดหุ้นไทย
วานนี้ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ร่วงลงราว -1% ถึง -1.7% โดยมีแรงกดดันหลักๆ มาจาก ปัจจัยเฉพาะตัวของหุ้นกลุ่มเทคฯ นำโดยหุ้น APPLE INC ร่วงเกือน 3% หลังเผย ยอดขาย IPHONE ในจีนลดลง 24% รวมถึงหุ้น TESLA ร่วงราว 4% หลังเผย ยอดขายในจีนลดลง 19% บวกกับกระแสสงครามตัดราคารถ EV นอกจากนี้ นัก ลงทุนยังรอจับตาถ้อยแถลงของประธาน FED คืนนี้ (วันที่ 7 มี.ค. เวลาตี 2) ในเรื่อง นโยบายการเงินและภาวะเศรษฐกิจสหรัฐต่อสภาคองเกรส ขณะที่ BOND YIELD สหรัฐฯ ยังคงเห็นภาพการย่อตัวมา สะท้อนถึงความคาดหวังดอกเบี้ยขาลงในช่วง กลางปีนี้
ในฝั่งเอเชีย รัฐบาลจีนได้เปิดเผยรายงานการทำงานของรัฐบาล (GOVERNMENT WORK REPORT) โดยได้กำหนดเป้าหมายในปี 2567 ว่าจะเห็นเศรษฐกิจขยายตัวได้ ราว 5% ส่วนการขาดดุลงบประมาณทางการคลังตั้งเป้าเอาไว้ที่ 3% ของ GDP อย่างไรก็ตาม การประเมิน GDP GROWTH ของจีนที่ขยายตัวไม่ได้โดเด่น ทำให้ กลายเป็นปัจจัยที่เข้ามากดดันตลาดหุ้นในช่วงสั้นๆ
สรุป ตลาดหุ้นโลกที่ปรับตัวลดลงหลังไร้ปัจจัยหนุนใหม่ๆ อาจเป็น SENTIMENT เชิง ลบที่ส่งผ่านมายังตลาดหุ้นบ้านเราในช่วงสั้นๆ ได้เช่นกัน
เงินเฟ้อ ก.พ. -0.77% แต่ดีขึ้นครั้งแรกในรอบ 7 เดือน
วานนี้กระทรวงพาณิชย์รายงานเงินเฟ้อทั่วไป (CPI) เดือน ก.พ. -0.77%YOY ลดลง ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 5 ซึ่งการหดตัวหลักๆ ยังคงเป็นราคาสินค้ากลุ่มอาหารสด รวมทั้งกลุ่มพลังงาน อย่างไรก็ตามตัวเลขล่าสุดถือว่าติดลบน้อยลงกว่าตลาดคาดที่ +0.8%YOY และเดือนก่อนที่ -1.11%YOY บวกกับเป็นครั้งแรกที่ปรับขึ้นจากเดือน ก่อนหน้า ในรอบ 7 เดือน ส่วน CORE CPI ล่าสุด +0.43%YOY ต่ำสุดในรอบ 27 เดือน อีกทั้งยังเป็นระดับใกล้เคียงกับช่วงก่อนโควิด-19 ซึ่งดอกเบี้ยนโยบายในขณะนั้น ยืนอยู่ราว 1.75%
ส่งผลให้เงินเฟ้อไทยใน 1Q67 กระทรวงพาณิชย์คาดอาจหดตัวราว -0.7%YOY ถึง - 0.8%YOY โดยในเดือน มี.ค. – เม.ย. 67 ยังมีโอกาสเห็นเงินเฟ้อติดลบ ก่อนจะพลิก กลับเป็นบวกในเดือน พ.ค. 67 เนื่องจากฐานราคาในปีก่อนน้อยลง ประกอบกับ มาตรการช่วยลดค่าครองชีพต่างๆ ของภาครัฐจะหมดลงในเดือน เม.ย. นี้
ในมุมมองของตลาดการเงิน ยังคงเห็นความคาดหวังดอกเบี้ยขาลงในช่วง 2Q67 นี้ หลังเงินเฟ้อไทยติดลบ 5 เดือน กด BOND YIELD 1 – 8 Y ของไทย ต่ำกว่าดอกเบี้ย นโยบาย ส่วน BOND YIELD 10Y ของไทย ล่าสุดอยู่ที่ 2.55% ซึ่งเข้าใกล้ระดับ ดอกเบี้ยนโยบายมากขึ้นทุกที
ขณะที่ในมุมของฝ่ายวิจัยฯ มองว่าเงินเฟ้อไทยที่อยู่ในระดับต่ำ จะยิ่งเพิ่มโอกาสของ การที่จะต้องใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่แรงขึ้น ผ่านนโยบายการเงินผ่อนคลาย และนโยบายการคลังที่เข้มข้น
สรุป ประเด็นเงินเฟ้อไทยหดตัว 5 เดือนติดต่อกัน แม้จะสร้างความผันผวนให้ต่อ ตลาดหุ้นในช่วงสั้น แต่ SET INDEX ได้ตอบรับประเด็นลบมาในระดับหนึ่งแล้ว จนอยู่ในระดับกรอบแนวรับสำคัญ 1350 จุด และ P/E 67F ที่ระดับ 14.5 เท่า แนะนำเข้าสะสม หุ้นได้รับอานิสงค์จากความหวังการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านนโยบายการเงินและการ คลังเพิ่มเติม MTC, TIDLOR, SAWAD, AOT (BK:AOT), MINT, ERW, CENTEL, AP, SPALI, ADVANC, JMART, CPAXT, BJC, CPALL (BK:CPALL), CRC
ตลาดหุ้นไทยผันผวนลงมา 7 วันติด เน้น SELECTIVE
เงินเฟ้อไทยเดือน ก.พ. 67 ยังติดลบ และลบติดต่อกันเป็นเดือนที่ 5 เป็นส่วนหนึ่งที่ กดดันตลาดหุ้นไทยวานนี้ให้ปรับตัวลงต่อ -0.24% หรือ -3.33 จุด มาอยู่ที่ 1359.26 จุด และเป็นการปรับตัวลดลงติดต่อกัน 7 วันติด จาก 1402 จุด หรือลดลงกว่า -3% ส่วนวันนี้ SET มีโอกาสผันผวนตามตลาดหุ้นโลกได้เช่นกัน
อย่างไรก็ตามในเชิงปริมาณ พบว่า ตลอด 5 ปีที่ผ่านมา หรือ 1213 วันซื้อขาย SET INDEX ไม่เคยลบติดต่อกันเกิน 10 วันติด โดยมีการลบติดต่อกัน 10 วันติดแค่ 1 ครั้ง, ลบ 9 วันติดแค่ 1 ครั้ง และลบ 8 วันติดแค่ 4 ครั้ง ขณะที่ปัจจุบัน SET INDEX ปรับตัวลง มาแล้ว 7 วันติด ดังนั้นเชื่อว่า DOWNSIDE ในช่วงสั้นๆ ของ SET เริ่มจำกัด และน่าจะมี โอกาสรีบาวน์คืนกลับมาได้บ้างในอีกไม่กี่วันข้างหน้า
กลยุทธ์ยามที่ SET INDEX ผันผวน การเลือกหุ้นต้อง SELECTIVE เน้นเลือกหุ้นผัน ผวนต่ำ และหุ้นที่มีปัจจัยบวกเฉพาะตัว อย่าง หุ้นได้ประโยชน์จาก BOND YIELD ปรับตัวลดลง MTC, SPALI, AP หุ้นผันผวนต่ำ BDMS, BEM, ADVANC หุ้นรับหน้า ร้อน HMPRO, CRC, CPN ซึ่งทั้ง 3 บริษัทมักปรับตัวเพิ่มขึ้นได้ดีกว่าตลาดในช่วง เดือน มี.ค. เป็นต้น
บทความนี้จัดทำและเผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์ ASIA Plus Securities