แม้จะมีปัจจัยที่เข้ามากระตุ้นอัตราเงินเฟ้อในอนาคตให้สูงขึ้น ไม่ว่าจะเป็นราคา น้ำมันที่อยู่ในระดับสูง+เงินบาทที่อ่อนค่า หรือการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำรอบใหม่ ก่อนสงกรานต์ แต่เราก็เชื่อว่าเงินเฟ้อยังอยู่ภายใต้การควบคุมในกรอบนโยบาย และไม่เป็นอุปสรรคต่อการปรับลดดอกเบี้ยนโยบาย สำหรับตัวเลขเงินเฟ้อเดือน ก.พ.67 ของบ้านเรา Bloomberg Consensus คาดว่าจะ -0.8% YoY ซึ่งถือเป็น เงินเฟ้อที่ติดลบต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 5 ส่วนการประชุม กนง. รอบถัดไปจะเกิดขึ้น 10 เม.ย.67 อีกประเด็นหนึ่งที่น่าสนใจได้แก่การประชุม ครม. วานนี้ ซึ่งมีการปรับ กำหนดการพิจารณางบประมาณปี 2567 เร็วขึ้น 2 สัปดาห์ โดยคาดว่าจะนำขึ้น ทูลเกล้าฯ ได้ 3 เม.ย.67 ประเด็นดังกล่าวถือเป็นปัจจัยบวกต่อหุ้นในกลุ่ม วัสดุ ก่อสร้าง และ รับเหมาก่อสร้าง ในอีกมุมหนึ่ง ตลาดฯ กำหนดจะใช้มาตรการ ควบคุม Program Tradingและ Short Sell ที่เข้มงวดในงวด 2Q67
ปัจจัยแวดล้อมมีน้ำหนักค่อนไปทางบวก แต่ระยะสั้นมีความเสี่ยงเรื่อง Downside ของประมาณการกำไร EPS ปี 2567 ลงหลังการประกาศงบ คาด SET Index อยู่ ในกรอบ 1387 –1402 จุด หุ้น Top Pick เลือก CPN, CRC และ MTC
สภาพแวดล้อมในไทยพร้อมรับดอกเบี้ยขาลง
ภาวะการเงินโดยรวมในไทยที่มีความตึงตัวมากขึ้น กดดันภาพรวมเศรษฐกิจบ้านเรา ขยายตัวได้น้อยในช่วงที่ผ่านมา ทำให้การจับจ่ายใช้สอยชะลอตัวลง ส่วนหนึ่งสะท้อน ได้จากเงินเฟ้อที่ปรับตัวลดลงเรื่อยๆ โดยใน 1Q67 อาจยังเห็นภาพของการหดตัว ทั้งนี้ Consensus ได้คาดการณ์เงินเฟ้อทั่วไปของไทยในเดือน ก.พ. 67 จะอยู่ที่ - 0.8%YoY ซึ่งติดลบต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 5(คาดมีการรายงานช่วง1 –11 มี.ค. 67)
สำหรับแนวโน้มเงินเฟ้อไทยมีโอกาสเพิ่มขึ้นในระยะถัดไป โดยมีแรงกระตุ้นจากหลาย ปัจจัย อาทิ การปรับราคาค่าไฟฟ้าในงวดพ.ค.-ส.ค. 67, ราคาดีเซลอาจขยับขึ้นจาก 30 บาท เป็น 32บาท หลังเงินบาทอ่อนค่าทำต้นทุนนำเข้าน้ำมันสูง, การขึ้นค่าแรงขึ้น ต่ำรอบใหม่ช่วง 2Q67 เป็นต้น อย่างไรก็ตามยังเชื่อว่าเงินเฟ้อไทยจะยังอยู่ในระดับต่ำ และไม่สูงกว่ากรอบเป้าหมายที่ 1-3% ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งปัจจุยหนุนสำคัญที่เอื้อต่อ การปรับลดดอกเบี้ยในบ้านเรา
ขณะที่นักลงทุนต่างคาดหวังการกระตุ้นเศรษฐกิจในระยะถัดไป สะท้อนจาก Bond Yield 10 ปี ไทย 2.55% เข้าใกล้ดอกเบี้ยนโยบายมากขึ้นทุกทีซึ่งค่อนข้างคสวนทาง กับ Bond Yield 10 ปี สหรัฐฯ โดยจะขึ้นทำจุดสูงสุดในปีนี้ที่ 4.3%
สรุป ภาพรวมเศรษฐกิจไทยโตช้า บวกกับเงินเฟ้อต่ำ เชื่อว่าจะช่วยเอื้อให้การดำเนิน นโยบายการเงินในบ้านเราผ่อนคลายได้ไวขึ้น ซึ่งช่วงการเริ่มต้นลดดอกเบี้ย มักจะเป็น จุดเริ่มต้นการขึ้นรอบใหญ่ของ FIN เสมอ อาจจะหาโอกาสเข้าเก็งกำไร KTC, AEONTS, TIDLOR, MTC ได้
ครม.เร่งเบิกจ่ายงบประมาณเร็วขึ้น ดัน GDP ไตรมาส 2 ฟื้น
วานนี้รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยถึงความคืบหน้าของการจัดทำ พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2567 วงเงิน 3.48 ล้านล้านบาท และมี มติรับทราบการปรับวันพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี งบประมาณ พ.ศ. 2567เร็วขึ้นประมาณ 2 สัปดาห์ โดยมีรายละเอียด ดังนี้
1. สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบฯ ปี พ.ศ. 2567 วาระที่ 2- 3 เดิมกำหนดวันที่ 3-4 เม.ย.67 เป็นวันที่ 20-21 มี.ค.67
2. วุฒิสภาพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบฯ ปี พ.ศ. 2567เดิมกำหนดวันที่ 9- 10 เม.ย.67 เป็นวันที่ 25-26 มี.ค.67
3. สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี นำร่างพระราชบัญญัติงบฯ พ.ศ. 2567 ขึ้น ทูลเกล้าฯ ถวายเพื่อประกาศบังคับใข้เป็นกฎหมายต่อไป เดิมกำหนดวันที่ 17 เม.ย.67 เป็นวันที่ 3 เม.ย.67
หลังจากนั้น คาดว่าจะมีผลบังคับใช้ และทำให้มีเม็ดเงินลงสู่ระบบเศรษฐกิจในช่วงต้น ไตรมาสที่ 2 ของปีนี
ประเด็นดังกล่าว สอดคล้องกับคาดการณ์ GDP Growth ปีนี้ของสภาพัฒน์ที่อยู่ ในช่วง 2.2%-3.2% ซึ่งส่วนที่ฟื้นตัวเด่นในปีนี้ คือ การอุปโภคภาครัฐฯ(G) ที่คาด +1.5%YoY ฟื้นตัวเด่นจากปี 2566 ที่ -4.6%YoY
ดังนั้น หุ้นที่คาดได้ประโยชน์จากประเด็นดังกล่าว แบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่
1. หุ้นเกี่ยวกับการกลุ่มอุปโภค-บริโภค อาทิ CPALL (BK:CPALL) CRC BJC DOHOME JMART MTC TIDLOR KTC เป็นต้น
2. หุ้นกลุ่มก่อสร้าง-วัสดุก่อสร้าง อาทิ STEC CK TTCL TASCO SCC SCCC เป็นต้น
สรุป การที่ ครม.เร่งเบิกจ่ายงบประมาณเร็วขึ้น 2 สัปดาห์ และคาดมีผลบังคับใช้ช่วงต้น ไตรมาส 2 คาดหนุนให้ GDP ไตรมาส 2 สดใสอีกครั้ง ส่วนเด่นๆ คือ การอุปโภค ภาครัฐฯ( G) ดังนั้น กลยุทธ์การลงทุนเน้นหุ้นอิงกลุ่มอุปโภค-บริโภค, ก่อสร้าง, วัสดุ ก่อสร้าง ซึ่งฝ่ายวิจัยฯคาดว่า ราคาหุ้นจะกลับมา Outperform อีกครั้งหลังจากนี้
บทความนี้จัดทำและเผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์ ASIA Plus Securities