Economic Highlight
ผู้เล่นในตลาดจะรอลุ้นรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญสหรัฐฯ อาทิ ดัชนี ISM PMI ภาคการผลิตและภาคการบริการ รวมถึงยอดการจ้างงานนอกภาคเกษตรกรรม (Nonfarm Payrolls) พร้อมทั้งติดตามถ้อยแถลงของบรรดาเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางหลัก
**ราคาทองคำ = สัญญาทองคำตลาด COMEX ส่งมอบเดือน ธ.ค.
FX Highlight
- สัปดาห์ที่ผ่านมา เงินดอลลาร์ยังคงได้แรงหนุนจากภาวะปิดรับความเสี่ยงของตลาดการเงิน และความกังวลแนวโน้มเฟดอาจคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับสูงได้นาน (Higher for Longer)
- อย่างไรก็ดี เราประเมินว่า การปรับตัวขึ้นของเงินดอลลาร์อาจเริ่มจำกัดลง และมีโอกาสที่เงินดอลลาร์อาจพลิกกลับมาอ่อนค่าลงได้บ้าง หากรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ในสัปดาห์นี้ไม่ได้ออกมาดีกว่าคาด
- ควรจับตารายงานข้อมูลตลาดแรงงานสหรัฐฯ ซึ่งจะเริ่มตั้งแต่ ยอดตำแหน่งงานเปิดรับ (Job Openings) ไปจนถึง ยอดการจ้างงานนอกภาคเกษตรกรรม (Nonfarm Payrolls) ในช่วงปลายสัปดาห์
- อนึ่ง ในช่วงสุดสัปดาห์ รายงานดัชนี PMI ของจีน นั้นออกมาดีกว่าคาด ก็อาจช่วยหนุนให้เงินหยวนของจีนและสกุลเงินฝั่งเอเชียแข็งค่าขึ้นได้บ้าง ในช่วงสัปดาห์ที่จะถึงนี้
- ส่วนปัจจัยในประเทศ เรามองว่า ผู้เล่นในตลาดจะรอลุ้น รายงานอัตราเงินเฟ้อ CPI และการประชุมหารือกันระหว่างนายกฯ กับผู้ว่าฯ ธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งอาจส่งผลต่อทิศทางฟันด์โฟลว์นักลงทุนต่างชาติ โดยเฉพาะฟันด์โฟลว์ตลาดบอนด์
- อีกปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อทิศทางค่าเงินบาท คือ โฟลว์ธุรกรรมทองคำ และโฟลว์ธุรกรรมน้ำมันดิบ ซึ่งในช่วงที่ผ่านมาโฟลว์ธุรกรรมดังกล่าวก็มีส่วนกดดันให้เงินบาทอ่อนค่าลง (โฟลว์ซื้อทองคำและน้ำมันดิบ)
- ในเชิงเทคนิคัล การอ่อนค่าของเงินบาทในช่วงที่ผ่านมาอาจเริ่มชะลอลงและติดโซนแนวต้านสำคัญแถว 36.85 บาทต่อดอลลาร์ สัญญาณจากทั้ง RSI และ MACD (Time Frame รายวัน) ชี้ว่า เงินบาทมีโอกาสแกว่งตัว sideway หรือ ทยอยแข็งค่าขึ้นได้บ้าง หลังเริ่มเกิดสัญญาณ Bearish Divergence บน RSI (RSI เข้าสู่โซน Overbought อีกด้วย) และ MACD Forest
- นอกจากนี้ ในส่วนของ Time Frame ที่สั้นลง เช่น H4 และ H1 สัญญาณจากทั้ง RSI และ MACD ชี้ว่า โมเมนตัมฝั่งอ่อนค่าเริ่มชะลอลงบ้าง อย่างไรก็ดี หากเงินบาททยอยแข็งค่าขึ้นได้ ก็อาจยังติดโซนแนวรับแรกแถว 36.20-36.30 บาทต่อดอลลาร์ และมีแนวรับ 36.00 บาทต่อดอลลาร์ เป็นแนวรับสำคัญถัดไป
Gold Highlight
- ราคาทองคำปรับตัวลดลงหนัก มากกว่าที่เราประเมินไว้ หลังทั้งเงินดอลลาร์และบอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ ต่างปรับตัวขึ้น
- สัปดาห์นี้ ไฮไลท์สำคัญยังคงเป็นรายงานข้อมูลเศรษฐกิจฝั่งสหรัฐฯ และถ้อยแถลงของบรรดาเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางหลัก
- ราคาทองคำมีโอกาสรีบาวด์ขึ้นได้ หากรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ไม่ได้ออกมาดีกว่าคาด แต่ทว่า ราคาทองคำปรับตัวลดลงหลุดจากโซนแนวรับ 1,845 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ก็จะเปิดโอกาสลดลงต่อทดสอบโซน 1,820 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ได้ไม่ยาก ซึ่งอาจเกิดขึ้น หากรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ออกมาดีกว่าคาด หนุนให้ทั้งเงินดอลลาร์และบอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ ปรับตัวขึ้นต่อเนื่อง
- ในเชิงเทคนิคัล สัญญาณจาก RSI และ MACD (Time Frame รายวัน) ยังคงชี้ว่า ราคาทองคำมีแนวโน้มปรับตัวลดลงต่อ ทว่า RSI เริ่มเข้าสู่โซน Oversold ส่วน สัญญาณจาก Time Frame ที่สั้นลง อย่าง H4 และ H1 ชี้ว่า ราคาทองคำมีโอกาสรีบาวด์ขึ้นได้บ้าง จากสัญญาณ Bullish Divergence บน RSI
- เราคงเป้าราคาทองคำไว้ที่ 2,100 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ทำให้เรายังคงมองว่า ผู้เล่นในตลาดอาจรอจังหวะราคาทองคำปรับฐานในการทยอยเข้าซื้อได้