สัญญาณที่ถูกส่งออกมาจาก Fed และ ธปท. สะทัอนภาพทิศทางอัตราดอกเบี้ย นโยบายที่ยังมีโอกาสปรับตัวขึ้นได้อีกในช่วงเวลาที่เหลือของปี ถือเป็นสัญญาณ ลบสำหรับตลาดหุ้น เนื่องจากจะทำให้Market Earning Yield Gap แคบลง และ อีกสัญญาณหนึ่งที่เห็นในตลาดหุ้นไทยได้แก่ ปริมาณการซื้อขายที่ลดลง โดย วานนี้มีระดับ Turnover ที่ต่ำเพียง 47% และตัวเลขสะสม Ytd มีค่า Turnover ต่ำ เพียง 64.8% ถือเป็นระดับที่ต่ำกว่าปกติมาก และถือเป็นภาวะตลาดที่ซบเซา ขาด แรงขับเคลื่อน สภาพแวดล้อมดังกล่าวจะทำให้SET Index อยู่ใน Freeze Zone กล่าวคือขยับได้น้อยมากเฉพาะอย่างยิ่งการขยับขึ้น
ประเมินจากปัจจัยแวดล้อมทางพื้นฐาน ที่ยังขาดแรงขับเคลื่อน คาดว่า SET Index น่าจะเคลื่อนไหวในกรอบแคบช่วง 1550 – 1570 จุด หุ้น Top Pick เลือก KBANK (BK:KBANK), SCC และ SCGP
Fed Dot-Pot เซอร์ไพรส์ตลาด คาดขึ้นดอกเบี้ยสู่ 5.6%
วานนี้ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ค่อนข้างผันผวน โดยปิดตัวราว -1.32% ถึง +0.4% แม้ Fed จะมีมติเอกฉันท์คงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับ 5.0 – 5.25% ในการประชุมรอบนี้ตาม คาด หลังจากที่ปรับขึ้นดอกเบี้ย 10 ครั้งติดต่อกันนับเดือนมี.ค.2565
ขณะที่นายเจอโรม พาวเวล (ประธาน Fed) เผยว่าการคงดอกเบี้ยรอบนี้จะช่วยให้ เจ้าหน้าที่ Fed สามารถประเมินผลกระทบของการดำเนินนโยบายการเงินได้ เนื่องจากปัจจุบันมองว่าการขึ้นดอกเบี้ยตั้งแต่ช่วงปีก่อน อาจยังไม่ส่งผ่านไปยัง เศรษฐกิจอย่างเต็มรูปแบบ อีกทั้งเงินเฟ้อไม่ได้ปรับตัวลดลงเร็วตามที่คาดการณ์ไว
นอกจากนี้Fed ได้ปรับประมาณการหลายตัวเลขเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ในปี 2566 มี ทิศทางที่ดีขึ้นเมื่อเทียบกับคาดการณ์เดือน มี.ค. อาทิ GDP +1.0%YoY (เดิมคาด 0.4%), Unemployment Rate 4.1% (เดิมคาด 4.5%), PCE Inflation 3.2%YoY (เดิมคาด 3.3%)
ภาพรวมเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ที่ยังมีโอกาสขยายตัวต่อได้ ทำให้การคาดการณ์ อัตราดอกเบี้ยนโยบาย (Dot Plot) ของเจ้าหน้าที่ Fed ส่งสัญญาณปรับขึ้นอัตรา ดอกเบี้ย 0.25% อีก 2 ครั้ง สู่ระดับ 5.6% ภายในสิ้นปีนี้ซึ่งปรับตัวสูงจากเดิมที่ 5.1% จึงกลายเป็นปัจจัยกดดันที่มีต่อตลาดหุ้นวานนี้
ขณะที่ Fed Watch Tool ยังคงคาดว่า Fed มีโอกาสขึ้นดอกเบี้ยเพียง 1 ครั้งสู่ระดับ 5.25% - 5.5% ซึ่งมีความเป็นไปได้หากพิจารณาภายใต้สมมติฐาน Real interest rate ของดอกเบี้ยกับเงินเฟ้อพื้นฐานพลิกกลับมาเป็นบวก 0.2% ครั้งแรกนับตั้งแต่ปี (คาดดอกเบี้ย 5.5% - Core CPI พ.ค. 5.3%) ทำให้ตัวเลขเงินเฟ้อที่จะประกาศใน เดือนถัดๆไปค่อนข้างมีความสำคัญ
สรุป Fed คงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 5.25% ตามคาด แต่ Dot Pot ส่งสัญญาณปรับขึ้น อัตราดอกเบี้ย 0.25% อีก 2 ครั้ง สู่ระดับ 5.6% ภายในสิ้นปีนี้ ซึ่งปรับตัวสูงจากเดิมที่ 5.1% จึงกลายเป็นปัจจัยกดดันที่มีต่อตลาดหุ้นวานนี้
กนง.ไม่ได้ปิดมุมมองการขึ้นดอกเบี้ยในอนาคต กดดันตลาดหุ้น ไทยต่อไป
ธปท. กล่าวใน Monetary Policy Forum ครั้งที่ 2/2566 ชี้นโยบายตอนนี้ ยังเหมาะสม กับภาวะเศรษฐกิจไทย ด้าน กนง. พร้อมดำเนินนโยบายการเงินเชิงรุกต่อไป แม้เงิน เฟ้อจะกลับสู่กรอบเป้าหมาย 1%-3% แล้วก็ตาม เนื่องจากดอกเบี้ยระดับต่ำ จะช่วย กระตุ้นเศรษฐกิจได้ในระยะสั้น แต่ระยะยาวจะเป็นการสะสมความไม่สมดุลในระบบ การเงิน สุดท้ายอาจเกิดความผันผวนทางเศรษฐกิจ และเศรษฐกิจไทยอาจสูญเสีย เสถียรภาพระยะยาว ทำให้เกิดวิกฤติกับ ธพ.ได้ดังนั้นสิ่งที่กนง.ให้ความสำคัญคือ ไม่ อยากให้ดอกเบี้ยต่ำมาก เพราะอาจทำให้เกิดความไม่สมดุลในระบบการเงินได้ขณะที่ หากอัตราดอกเบี้ยสูงขึ้น แม้ไม่ได้กระตุ้นเศรษฐกิจมาก แต่มั่นคงระยะยาว ก็เป็นอีกมิติ ที่กนง.พิจารณา
ดังนั้นหลักการคิดเรื่อง Neutral rate ไม่ใช่แค่รักษาเสถียรภาพด้านราคา แต่ต้อง รักษาเสถียรภาพในระบบการเงินให้ดีด้วย โดยการพิจารณาอัตราดอกเบี้ยที่เป็น กลางต่อเศรษฐกิจ (Neutral Rate) ของไทย หลักๆ ดูจากอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงของ ไทย(Real Interest Rate) คือ ดอกเบี้ย – Demand ทั้งนี้ในฝั่งของ Demand จะแทนด้วย 3 ตัวแปรหลัก ได้แก่ Core CPI, Headline CPI, Real 10-year yield อีกทั้ง สิ่ง ที่ กนง. ใช้ในการพิจารณาการขึ้นดอกเบี้ย คือ แนวโน้มเศรษฐกิจไทย ส่วนแนวโน้ม เศรษฐกิจต่างประเทศนั้น จะนำมาใช้ประกอบการพิจารณาก็ต่อเมื่อจะมีนัยสำคัญต่อ เศรษฐกิจ ไม่ว่าจะเป็นเงินเฟ้อ ภาวะเศรษฐกิจ หรือภาวะการเงิน
โดยภาพเศรษฐกิจไทย ธปท.ยังย้ำมุมมองเดิม กล่าวคือมีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่องในปี นี้คาดว่า GDP จะขยายตัว 3.6% ส่วนปีหน้าขยายตัว 3.8% จากแรงส่งของจำนวน นักท่องเที่ยว และการบริโภคเอกชน
ทั้งนี้ กนง. ส่งสัญญาณถึงความเป็นไปได้ที่จะขึ้นดอกเบี้ยในอนาคตจากระดับ 2.00% สู่ระดับ 2.25% ดังนั้นหากดอกเบี้ยขยับขึ้นต่อเนื่อง จะสร้างแรงกดดันต่อ SET Index ในแง่มุมของ PE ที่ซื้อขายถูกลงจากระดับ 16.67 เท่าสู่ 16.00 เท่า และ กดดัน Market Earning Yield Gap(ผลตอบแทนระหว่าง SET Index และตราสารหนี้) ให้แคบลงจาก 3.96% สู่ระดับ 3.71% ลดแรงดึงดูด Fund Flow ต่างชาติในการไหลเข้า SET Index ขณะที่อีกแรงเสริมที่กดดัน Set Index คือ การเร่งขึ้นดอกเบี้ยของ Fed (รายละเอียด ตามหัวข้อด้านบน) ที่ทำให้ Dollar Index แข็งค่าขึ้น กดดันค่าเงินบาทอ่อนค่าลงตาม เชิงมูลค่า ถือเป็นการลดแรงจูงใจของนักลงทุนต่างชาติในอนาคต
สรุป กนง. ไม่ได้ปิดโอกาสในการขึ้นดอกเบี้ยในอนาคต สอดคล้องเศรษฐกิจไทยที่มี แนวโน้มขยายตัวต่อเนื่อง ซึ่งการดำเนินนโยบายการเงินระยะถัดไปจะพิจารณาจาก ข้อมูลและภาพรวมของเศรษฐกิจทั้งในและต่างประเทศในช่วงเวลานั้นๆ ซึ่งหากมีการ ปรับขึ้นดอกเบี้ยต่อ จะสร้างแรงกดดันต่อ SET Index ในเชิงมูลค่าทันที
ตลาดหุ้นไทยซึม อยู่ในโหมด Sector Rotation
วานนี้มูลค่าซื้อขายหุ้นไทยยังเบาบางเหลือ 3.6 หมื่นล้านบาทต่อวัน คิดเป็น Turnover ต่อปี เหลือเพียง 47% เท่านั้น ซึ่งต่ำกว่า ทั้งค่าเฉลี่ย Turnover ต่อปี นับตั้งแต่ต้นปีที่ 64.8% และในช่วงปี 2020 – 2022 ที่ Turnover ต่อปี อยู่ในกรอบที่ สูงถึง 84% -108.8% เป็นต้น
ภายใต้สภาพคล่องซื้อขายที่หดหาย ทั้งจากความไม่นอนทางการเมือง และดอกเบี้ย นโยบายล่าสุดที่ 2% สูงกว่าในอดีต ทั้งยังมีความกังวลว่าจะสูงขึ้นอีก กดดันให้การซื้อ ขายหุ้นในช่วงนี้ อยู่ในโหมด Sector Rotation โดยสังเกตจาก กลุ่มหุ้นที่เคยขึ้นมาแรง เริ่มชะลอการขึ้น อาทิ กลุ่มท่องเที่ยว, ICT, การแพทย์, ยานยนต์ เป็นต้น แต่กลุ่มหุ้นที่ ลงลึก เริ่มกลับมา Outperform อาทิ กลุ่มปิโตรฯ, บรรจุภัณฑ์, อาหาร เป็นต้น
ดังนั้นกลยุทธ์การลงทุนแนะนำ หุ้นที่มีโอกาสได้แรงหนุนจากกระแส Sector Rotation สูง IVL, PTTGC, SCGP, ITC, TU, CBG, GPSC, BCPG, GULF เป็นต้น
ส่วนวันนี้คาด SET เคลื่อนไหวในกรอบ 1650 – 1670 จุด Top pick เลือก หุ้น Anti - Commodity ที่มีโอกาสถูกทำ Window Dressing สูง อย่าง SCGP, SCC และ KBANK ได้กระแส Fed และ กนง. มีโอกาสขึ้นดอกเบี้ยต่อ
บทความนี้จัดทำและเผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์ ASIA Plus Securities