วานนี้ OECD มีการปรับประมาณการเศรษฐกิจโลกขึ้นจาก 2.6% เป็น 2.7% รวมถึงคาดว่า ประเทศกำลังพัฒนามีโอกาสลดดอกเบี้ยได้เร็วกว่าประเทศ พัฒนาแล้ว จากเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับต่ำกว่ามาก ถือเป็น Sentiment ที่ดีต่อ ตลาดหุ้นประเทศกำลังพัฒนา รวมถึงตลาดหุ้นไทย นอกจากนี้ยังเห็นการ เคลื่อนย้ายเม็ดเงินจากหุ้น Growth (ดัชนี Nasdaq -1.3%) มาที่หุ้น Value (ดัชนี Dow Jones +0.3%) มากขึ้น ทั้ง 2 ปัจจัย น่าจะเป็นแรงหนุนให้ต่างชาติเคลื่อนย้ายเม็ดเงินกลับมาซื้อสุทธิหุ้น ไทยมากขึ้น หลังจากวานนี้ต่างชาติกลับมาซื้อสุทธิ 1.6 พันล้านบาท ซึ่งเป็นการ ซื้อสุทธิที่สูงสุดในรอบ 1 เดือนที่ผ่านมา หนุนให้ SET Index มีโอกาสผันผวน น้อยลงกว่าช่วงที่ผ่านๆ มา
คาดวันนี้ SET Index วันนี้ เคลื่อนไหวในกรอบ 1520–1545 จุด Top Pick เลือก หุ้น Value ปันผลสูง ADVANC, SC และหุ้นย่อตัวลง มีโอกาสเข้า SET100 รอบ 2H66 อย่าง ERW
ยอดนำเข้าจีนหดตัวน้อยกว่าคาด อาจลดแรงกดดันต่อภาค การส่งออกในบ้านเรา
สำนักงานศุลกากรจีนเผย ยอดส่งออกของจีนเดือน พ.ค. หดตัวสูงถึง -7.5%YoY (ลดลงแรงกว่าตลาดคาดที่ -0.4%) ซึ่งถือเป็นการปรับตัวลงครั้งแรกในรอบ 3 เดือน หลัง Demand สินค้าจีนในตลาดโลกชะลอตัวลง สอดคล้องกับ PMI ภาคการผลิต ของจีนที่ชะลอตัวติดต่อกัน 2 เดือน ส่วนยอดนำเข้าของจีนเดือน พ.ค. -4.5%YoY ซึ่ง หดตัวน้อยกว่าตลาดคาดที่ -8.0%YoY และติดลบน้อยกว่าเดือนก่อนที่ -7.9%YoY
และเมื่อเทียบ ภาคการค้าระหว่าง ไทย-จีน ถือว่ามีความสัมพันธ์กันค่อนมาก โดยจีน มีการนำเข้าสินค้าจากไทยในปี 2022 สูงสุดเป็นอันดับ 12 ของโลก คิดเป็นสัดส่วน 2.08%ของมูลค่านำเข้าทั้งหมด ขณะที่ไทยมีการส่งออกสินค้าไปจีนในเดือน เม.ย. 2023 สูงสุดเป็นลำดับที่ 1 ของโลก คิดเป็นสัดส่วน 17.1%ของมูลค่าส่งออกทั้งหมด
อีกทั้งการนำเข้าสินค้าของจีน - การส่งออกไทย มีค่า Correlation สูงถึง 0.67 ดังนั้น ยอดนำเข้าของจีนในเดือน พ.ค. ที่หดตัวน้อยกว่าคาด เชื่อว่าจะส่งผ่านมายังภาคการ ส่งออกบ้านเราในเดือน พ.ค. ปรับตัวดีขึ้นเช่นกัน (คาดกระทรวงพาณิชย์รายงานช่วง ปลายเดือน มิ.ย.)
หลายตัวเลขเศรษฐกิจที่ทยอยรายงานออกมาชะลอตัว (อาทิ อัตราเงินเฟ้อ, ดัชนี PMI ภาคการผลิต, การนำเข้า-ส่งออก, ยอดขายบ้าน) สะท้อนถึงความอ่อนแอของ เศรษฐกิจจีน ซึ่งอาจเป็นแรงผลักให้รัฐบาลจีนต้องออกมาตรการกระตุ้นด้านการเงิน และการคลังเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจให้แข็งแกร่งขึ้น อาทิ การลด RRR ของ ธ.พ. ขนาด ใหญ่, การลดดอกเบี้ยเงินฝาก, การช่วยเหลือในภาคอสังหาริมทรัพย์
สรุป ภาคการค้าของจีนอยู่ในโซนหดตัว หลัง Demand สินค้าจีนในตลาดโลกชะลอ ตัวลง แต่ทั้งนี้ยอดการนำเข้าของจีนที่ออกมาในเดือน พ.ค. ยังถือว่าติดลบน้อยกว่า ตลาดคาด จึงเชื่อว่าจะเป็น Sentiment เชิงบวกต่อภาคการส่งออกบ้านเราให้หดตัว ลดลงด้วยเช่นกัน โดยกลุ่มหุ้นที่เกี่ยวข้องและคาดว่าจะได้รับประโยชน์ อาทิ SCGP, III, HANA, KCE, TFG, TU, CPF เป็นต้น
World Bank และ OECD ปรับประมาณการ GDP ฝั่ง EM ขึ้น ส่งผลดีต่อไทย มีโอกาสเห็น Flow ไหลเข้าต่อ
หลัง World bank ปรับประมาณการ GDP โลกปี 2023ขึ้นจาก +1.7% ในเดือน ม.ค. 66 สู่ระดับ +2.1% Developed Market ปรับขึ้นจาก 0.5% สู่ 0.7% และ Emerging Market ปรับขึ้นจาก 3.4% สู่ 4.0% (รายละเอียด Market Talk วันที่ 7 มิ.ย.66) ขณะที่วานนี้ OECD ปรับประมาณการ GDP โลกขึ้นเล็กน้อยเป็น 2.7% ในปีนี้ เพิ่มขึ้นประมาณการงวดก่อนหน้าในเดือนมี.ค.ว่าจะเติบโต 2.6% ขานรับอานิสงส์จากการ ยกเลิกนโยบายโควิดและเปิดประเทศของจีน เหตุผลเดียวกับ World Bank ส่วนในปี หน้า OECD คาดเศรษฐกิจโลก +2.9% ซึ่งไม่เปลี่ยนแปลงจากประมาณการเดิม เนื่องจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางจะเริ่มส่งผลกระทบต่อ เศรษฐกิจอย่างเต็มรูป ซึ่งบั่นทอนแรงกระตุ้นของผู้บริโภค
ส่วนสหรัฐฯ OECD คาดว่า เศรษฐกิจจะเติบโต 1.6% ในปีนี้ ก่อนจะชะลอตัวลงสู่การ ขยายตัว 1% ในปี 2567 เนื่องจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยส่อกระทบเศรษฐกิจ สหรัฐมากเป็นพิเศษ โดยประมาณการรอบก่อน OECD คาดว่า เศรษฐกิจของสหรัฐ จะเติบโตขึ้น 1.5% ในปีนี้ และ 0.9% ในปี 2566
ส่วนเศรษฐกิจจีนมีแนวโน้มที่จะเติบโตขึ้น 5.4% ในปี 2566 ก่อนชะลอตัวลงสู่การ ขยายตัว 5.3% ในปี 2567 โดยก่อนหน้านี้ OECD เคยคาดการณ์การเติบโตของ เศรษฐกิจจีนไว้ว่าจะขยายตัวขึ้น 5.3% ในปี 2566และ 4.9% ในปี 2567 โดยได้รับแรง หนุนจากการยกเลิกมาตรการคุมเข้มโควิด-19
การปรับเพิ่ม GDP ของ OECD และ World Bank โดยเฉพาะในฝั่งประเทศกำลัง พัฒนา ถือเป็น Sentiment ที่ดีต่อตลาดหุ้นประเทศกำลังพัฒนา รวมถึงตลาดหุ้น ไทย
นอกจากนี้หากพิจารณาผลตอบแทนราย Sector ของ S&P500 จะหมุนจากหุ้น Growth มาที่หุ้น Value มากขึ้น สังเกตได้จากภาพทางด้านลง คือ Sector สีแดง-ส้ม จะเป็นหุ้นกลุ่ม Technology และ ICT สร้างผลตอบแทน -2% ถึง –6% ขณะที่ Sector สีเขียว-น้ำเงิน-ม่วง จะเป็นหุ้นกลุ่ม พลังงาน โรงไฟฟ้า อุตสาหกรรม อสังหาฯ สร้าง ผลตอบแทน +1% ถึง +6%
กลยุทธ์การลงทุน
หากพิจารณาเฉพาะประเทศไทย จะเห็นได้ว่าได้แรงหนุนจากการปรับประมาณการขึ้น ของ GDP ฝั่ง Emerging Market ขณะที่หุ้นส่วนใหญ่เป็นกลุ่ม Value หนุนให้ต่างชาติ มีโอกาสซื้อหุ้นไทยเพิ่มเติม หลังจากวานนี้ต่างชาติซื้อหุ้นไทย 1.6 พันล้านบาท สูงสุด ในรอบ 1 เดือน อีกทั้งสัดส่วนการถือครองหุ้นไทยของต่างชาติยังอยู่ในระดับต่ำ โดย ถือครองทางตรง ลดลงมาจากปี มี.ค.66 จาก 24.3% เหลือ 23.67% (หากไม่นับ DELTA เหลือ 18.98%) เมื่อรวมกับ NVDR จะเป็น 29.33% จึงมีช่องว่างอีกมากให้ ต่างชาติซื้อสุทธิ
สรุป World Bank และ OECD ปรับ GDP ปีนี้ขึ้นเกือบทุกประเทศ โดยเฉพาะฝั่ง EM ประเด็นดังกล่าว คาดหนุนให้ Flow ต่างชาติไหลเข้าตลาดหุ้นไทยระยะถัดไป ซึ่งก่อน หน้านี้ Flow ไหลออกมาเยอะ และน่าจะสะท้อนความกังวลช่วงเปลี่ยนผ่านทาง การเมืองมาระดับหนึ่งแล้ว
กลยุทธ์แนะนำหุ้น Value เทคนิคสวย ที่ฝ่ายวิจัยคัดสรรมาให้ ตามตารางทางด้าน ล่าง
Toppick เลือก ADVANC SC ERW
บทความนี้จัดทำและเผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์ ASIA Plus Securities