แนวโน้มเดือนมิถุนายน: Dot Plot เฟด ชี้ชะตาทิศทางเงินดอลลาร์และตลาดการเงิน  

เผยแพร่ 08/06/2566 08:23
อัพเดท 09/07/2566 17:32
SETI
-

สำหรับเดือน มิถุนายน 2023

Theme: Dot Plot เฟด ชี้ชะตาทิศทางเงินดอลลาร์และตลาดการเงิน  

Economic & Markets Review

ในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ตลาดการเงินเคลื่อนไหวผันผวน ท่ามกลางแรงกดดันจากความกังวลปัญหาเพดานหนี้สหรัฐฯ ซึ่งสุดท้ายสภาคองเกรสสหรัฐฯ ก็มีมติผ่านร่างกฎหมายขยายเพดานหนี้ได้สำเร็จก่อนเวลาที่กำหนด (ต้นเดือนมิถุนายน) ส่งผลให้ผู้เล่นในตลาดกล้าที่จะกลับมาเปิดรับความเสี่ยงมากขึ้นในช่วงปลายเดือน และนอกเหนือจากประเด็นเพดานหนี้สหรัฐฯ ทั้งนี้ ผลตอบแทนของตลาดหุ้นทั่วโลกแตกต่างกันอย่างชัดเจน โดยเฉพาะตลาดหุ้นสหรัฐฯ ที่หุ้นกลุ่มเทคฯ ที่เกี่ยวข้องกับธีมการลงทุน AI อย่าง หุ้นกลุ่ม Semiconductor สามารถพุ่งขึ้นต่อเนื่องได้ ส่งผลให้ดัชนีหุ้น Nasdaq พุ่งขึ้นกว่า +10% ทางฝั่งเอเชีย ตลาดหุ้นญี่ปุ่นก็ปรับตัวขึ้นกว่า +5% หนุนโดยการอ่อนค่าลงของเงินเยน (JPY) จากระดับ 134 เยนต่อดอลลาร์ สู่ระดับเกือบ 141 เยนต่อดอลลาร์ ตามการแข็งค่าขึ้นของเงินดอลลาร์ +1.4% ที่ได้แรงหนุนจากความต้องการสินทรัพย์ปลอดภัยในช่วงตลาดกังวลปัญหาเพดานหนี้ และมุมมองของผู้เล่นในตลาดที่คาดหวังว่า เฟดมีโอกาสเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยต่อ

แม้ว่า บรรยากาศในตลาดการเงินโดยรวมจะกลับมาเปิดรับความเสี่ยงในช่วงปลายเดือน แต่ตลาดหุ้นไทยกลับปรับตัวขึ้นได้เพียง +0.5% กดดันโดยความกังวลปัญหาการเมืองไทย ซึ่งยังมีความไม่แน่นอนของการจัดตั้งรัฐบาลและผู้เล่นในตลาดส่วนใหญ่ต่างกังวลต่อนโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาลใหม่ (หากพรรคก้าวไกลจัดตั้งรัฐบาลสำเร็จ) ส่งผลให้นักลงทุนต่างชาติต่างเทขายหุ้นไทยรุนแรงในเดือนพฤษภาคมกว่า 3.3 หมื่นล้านบาท นอกจากนี้ ความไม่นอนของการเมืองไทยยังกดดันให้ นักลงทุนต่างชาติพลิกกลับมาขายบอนด์ไทยกว่า 4.6 หมื่นล้านบาท หลังรับรู้ผลการเลือกตั้ง (รวมทั้งเดือน นักลงทุนต่างชาติซื้อบอนด์ไทยสุทธิ +7.1 พันล้านบาท) ซึ่งฟันด์โฟลว์นักลงทุนต่างชาติที่ไหลออกในเดือนพฤษภาคม ก็เป็นอีกปัจจัยที่กดดันให้เงินบาทผันผวนอ่อนค่าลง -1.4% (ปัจจัยอื่นๆ คือ การแข็งค่าขึ้นของเงินดอลลาร์ การปรับฐานของราคาทองคำ รวมถึงการอ่อนค่าของเงินหยวนจีน)

Figure1: ผลตอบแทนของตลาดหุ้นทั่วโลก ในเดือนที่ผ่านมา และ นับตั้งแต่ต้นปี (YTD) ข้อมูล ณ วันที่ 2 มิถุนายน 2566 

 

Figure2: ผลตอบแทนของดัชนีหุ้นในแต่ละกลุ่มอุตสาหกรรม ในเดือนที่ผ่านมา และ นับตั้งแต่ต้นปี (YTD)  ข้อมูล ณ วันที่ 2 มิถุนายน 2566

Figure3: ผลตอบแทนของตราสารหนี้ทั่วโลก และความเคลื่อนไหวของบอนด์ยีลด์ 10ปี ในเดือนที่ผ่านมา และ นับตั้งแต่ต้นปี (YTD) ข้อมูล ณ วันที่  2 มิถุนายน 2566

 

 

Figure4: ผลตอบแทนของสินค้าโภคภัณฑ์และค่าเงินหลัก ในเดือนที่ผ่านมา และ นับตั้งแต่ต้นปี (YTD) ข้อมูล ณ วันที่  2 มิถุนายน 2566

Markets Outlook

สำหรับในเดือนมิถุนายน เราประเมินว่า ปัจจัยเสี่ยงที่กดดันตลาดการเงินโดยรวมได้คลี่คลายลงไปพอสมควร อย่างไรก็ดี ผู้เล่นในตลาดจะรอลุ้นผลการประชุมเฟดในเดือนมิถุนายน ว่า เฟดจะส่งสัญญาณต่อการดำเนินนโยบายการเงินในอนาคตอย่างไร หลังจากที่อัตราเงินเฟ้อและภาพรวมเศรษฐกิจสหรัฐฯ ได้ชะลอตัว แต่ทว่า ตลาดแรงงานสหรัฐฯ ยังคงแข็งแกร่งและตึงตัวอยู่ นอกจากนี้ ผู้เล่นในตลาดจะรอติดตามผลการประชุมของบรรดาธนาคารกลางหลักอื่นๆ อาทิ ธนาคารกลางยุโรป (ECB) ธนาคารกลางอังกฤษ (BOE) ซึ่งผู้เล่นในตลาดต่างคาดว่า ทั้ง ECB และ ECB จะส่งสัญญาณชัดเจน พร้อมเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยต่อเนื่อง ส่วนธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ตลาดมองว่า BOJ อาจส่งสัญญาณใช้นโยบายการเงินที่ผ่อนคลายต่อ ซึ่งอาจส่งผลกดดันให้เงินเยนญี่ปุ่นยังไม่สามารถพลิกกลับมาแข็งค่าขึ้นได้

โดยในส่วนนโยบายการเงินของเฟดนั้น เรามองว่า ตลาดการเงินได้รับรู้ แนวโน้มการ “คงอัตราดอกเบี้ย” ในการประชุมเดือนมิถุนายน ไปมากแล้ว (CME FedWatch Tool ชี้ว่า ตลาดให้โอกาสเฟดคงอัตราดอกเบี้ยสูงถึง 82%) ทว่า ผู้เล่นในตลาดยังคงคาดหวังว่า เฟดมีโอกาสเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยต่อได้ในการประชุมเดือนกรกฎาคม หรือ เดือนกันยายน (CME FedWatch Tool ชี้ว่า ตลาดให้โอกาสเฟดขึ้นอัตราดอกเบี้ยราว 63%) ทำให้ เรามองว่า ผู้เล่นในตลาดอาจปรับมุมมองต่อแนวโน้มดอกเบี้ยนโยบายของเฟดใหม่ หากคาดการณ์อัตราดอกเบี้ยเฟด หรือ Dot Plot ใหม่ ชี้ชัดว่า เฟดจะคงอัตราดอกเบี้ย ซึ่งอาจจะต้องเห็นจำนวนเจ้าหน้าที่เฟด (แต่ละ Dot แทนความเห็นเจ้าหน้าที่เฟดแต่ละท่าน) ที่คาดการณ์อัตราดอกเบี้ยที่ระดับ 5.125% (ค่ากลางของ 5.00-5.25%) เพิ่มมากขึ้นจากเดิม 10 ท่าน และควรเห็นจำนวนเจ้าหน้าที่เฟดที่คาดการณ์การเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยลดลงจาก 7 ท่าน ซึ่งในกรณีดังกล่าว เงินดอลลาร์ก็มีโอกาสปรับตัวอ่อนค่าลง เพื่อสะท้อนการปรับมุมมองใหม่ของผู้เล่นในตลาด 

และนอกเหนือจากแนวโน้มดอกเบี้ยนโยบายของเฟด เรามองว่า หากบรรดาธนาคารกลางหลัก อย่าง ECB และ BOE เดินหน้าขึ้นดอกเบี้ย พร้อมกับส่งสัญญาณชัดเจนว่า การขึ้นดอกเบี้ยต่อเนื่องยังมีความจำเป็นอยู่ เพื่อควบคุมปัญหาเงินเฟ้อสูง (แม้ว่าอัตราเงินเฟ้อจะชะลอตัวลงต่อเนื่องแล้วก็ตาม) ภาพดังกล่าวอาจหนุนให้สกุลเงินฝั่งยุโรป อย่าง เงินยูโร (EUR) และเงินปอนด์อังกฤษ (GBP) แข็งค่าขึ้นได้บ้าง หลังจากที่ปรับตัวอ่อนค่าลงตลอดเดือนที่ผ่านมา กดดันให้เงินดอลลาร์โดยรวมอ่อนค่าลง อย่างไรก็ดี เงินดอลลาร์อาจพอได้แรงหนุนอยู่บ้าง หากธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ยังคงย้ำจุดยืนใช้นโยบายการเงินที่ผ่อนคลาย ทำให้เงินเยนญี่ปุ่น (JPY) ทรงตัวใกล้เคียงกับระดับปัจจุบัน หรือ แข็งค่าขึ้นได้ยาก 

นอกจากแนวโน้มดอกเบี้ยนโยบายของบรรดาธนาคารกลางหลัก เรามองว่า ปัจจัยสำคัญที่อาจส่งผลกระทบต่อตลาดการเงิน โดยเฉพาะ ตลาดการเงินฝั่งเอเชีย คือ แนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจีน ซึ่งในช่วงที่ผ่านมาเศรษฐกิจจีนฟื้นตัวได้แย่กว่าที่ตลาดคาดไปมาก กดดันให้ นักลงทุนต่างขายสินทรัพย์จีน (โดยเฉพาะหุ้นจีน/หุ้นฮ่องกง) และทำให้เงินหยวนอ่อนค่าลง อนึ่ง เราประเมินว่า ภาพการฟื้นตัวเศรษฐกิจที่แย่กว่าคาด อาจเพิ่มโอกาสให้ทางการจีนจำเป็นต้องใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม และธนาคารกลางจีน (PBOC) มีโอกาสใช้นโยบายการเงินที่ผ่อนคลายมากขึ้น โดยในกรณีดังกล่าว ตลาดก็อาจกลับมามีมุมมองที่เป็นบวกต่อแนวโน้มเศรษฐกิจจีนมากขึ้น ทำให้ตลาดหุ้นจีน/ฮ่องกงอาจปรับตัวขึ้น และค่าเงินหยวนก็มีโอกาสแข็งค่าขึ้นได้ 

ส่วนในฝั่งไทยนั้น ประเด็นสำคัญ ยังคงเป็นสถานการณ์การเมืองหลังการเลือกตั้งใหญ่ โดยเราประเมินว่า นักลงทุนต่างชาติ รวมถึงผู้เล่นในตลาดอาจยังคงมีความกังวลต่อแนวโน้มการจัดตั้งรัฐบาล ทำให้ผู้เล่นในตลาดอาจยังไม่กล้าเปิดรับความเสี่ยงมากนัก กดดันให้ ตลาดหุ้นไทย (ดัชนี SET) มีโอกาสแกว่งตัวในกรอบ Sideway จนกว่าจะเห็นความชัดเจนของการจัดตั้งรัฐบาล 

ส่วนในมุมมองของค่าเงินบาท เรามองเงินบาทมีแนวโน้มผันผวน Sideway หรือ Sideway Down ในกรอบกว้าง 34.00-34.90 บาทต่อดอลลาร์ (จับตาแนวรับแรก 34.40-34.50 บาทต่อดอลลาร์) โดยเรามองว่า โมเมนตัมฝั่งอ่อนค่าของเงินบาทนั้นแผ่วลงชัดเจน สะท้อนผ่านการที่เงินบาทยังไม่สามารถอ่อนค่าลงทะลุโซนแนวต้าน 34.80-34.90 บาทต่อดอลลาร์ไปได้ไกล ทั้งนี้ ปัจจัยกดดันเงินบาทฝั่งอ่อนค่าจะยังคงเป็น ความไม่แน่นอนของสถานการณ์การเมืองไทย ซึ่งอาจกระทบต่อทิศทางฟันด์โฟลว์นักลงทุนต่างชาติ (โดยเฉพาะ ฟันด์โฟลว์ฝั่งหุ้น) นอกจากนี้ ภาพการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจีนที่อาจแย่กว่าคาด ก็อาจเป็นอีกปัจจัยที่กดดันเงินบาทได้ ผ่านการอ่อนค่าลงของค่าเงินหยวนและแรงขายสินทรัพย์เสี่ยงในฝั่ง EM Asia ขณะที่ปัจจัยหนุนฝั่งแข็งค่า จะมาจากการกลับตัวอ่อนค่าลงชัดเจนของเงินดอลลาร์ ซึ่งต้องรอลุ้นว่า ผลการประชุมเฟดจะเป็นไปตามที่เราคาดการณ์ไว้หรือไม่ และหากเงินดอลลาร์ย่อตัวลง ราคาทองคำก็มีโอกาสปรับตัวขึ้นต่อได้ ทำให้ผู้เล่นในตลาดอาจทยอยขายทำกำไรทองคำ ซึ่งโฟลว์ธุรกรรมดังกล่าวก็สามารถหนุนการแข็งค่าของเงินบาทได้บ้าง 

ในเชิงเทคนิคัล ทั้งสัญญาณจาก RSI และ MACD ชี้ว่า เงินบาทมีโอกาสแกว่งตัว sideway หรือ sideway down โดยเรารอความชัดเจนของ RSI Bearish Divergence และสัญญาณ bearish จาก MACD จึงจะมั่นใจในการมองว่า เงินบาทมีแนวโน้มทยอยแข็งค่าขึ้นได้บ้าง และหากพิจารณาการเคลื่อนไหวของเงินบาทรายวันผ่านกราฟแท่งเทียน จะเริ่มเห็นแท่งเทียนเช่น Shooting star หรือ Doji มากขึ้น ซึ่งอาจสะท้อนถึงความลังเลของตลาดว่าเงินบาทจะอ่อนค่าต่อหรือไม่ ทั้งนี้ เงินบาทมีโซนแนวรับแรกแถวเส้นค่าเฉลี่ย EMA 50 วัน หรือ ช่วง 34.40-34.50 บาทต่อดอลลาร์ ซึ่งหากเงินบาทแข็งค่าหลุดระดับดังกล่าว ก็อาจแข็งค่าต่อไปทดสอบระดับ 34.00 บาทต่อดอลลาร์ได้ไม่ยาก 

Risk Factors to keep eyes on

ปัจจัยความเสี่ยงที่ควรติดตามในเดือนนี้ 1) แนวโน้มนโยบายการเงินของบรรดาธนาคารกลางหลัก 2) ภาพการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจีน 3) สถานการณ์การเมืองของไทย และ 4) สงครามรัสเซีย-ยูเครน 

ความคิดเห็นล่าสุด

กำลังโหลดบทความถัดไป...
การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย