SET ผันผวน แต่เริ่มเห็นปัจจัยบวกเข้ามาบ้าง 

เผยแพร่ 07/06/2566 09:50
อัพเดท 09/07/2566 17:32
SETI
-

SET ผันผวน แต่เริ่มเห็นปัจจัยบวกเข้ามาบ้าง ปัจจัยภายนอกดูดีขึ้น หลัง World Bank ปรับคาดการณ์เศรษฐกิจโลกปี 2023 เติบโตขึ้นอีก 0.4% เป็น 2.1% โดยเฉพาะความหวังแรงขับเคลื่อนจากเศรษฐกิจ จีนที่ถูกปรับขึ้น 1.3% เป็น 5.6% รวมถึงไทยถูกปรับขึ้น 0.3% เป็น 3.9%(สูงกว่า สำนักอื่นๆ อย่าง ธปท. คาดเติบโต 3.6%) ขณะที่ปัจจัยในประเทศยังมีแรงหนุน จากตัวเลขเงินเฟ้อไทยเดือน พ.ค. 66 ที่ออกมา 0.53%YoY ต่ำกว่าคาดที่ 1.6% มาก (Core CPI 1.55% คาด 1.6%) ด้วยฐาน CPI เดือน มิ.ย. ปีที่แล้วที่ยกตัว สูงขึ้น น่าจะเป็นแรงกดให้เงินเฟ้อไทยเดือนถัดไปอาจชะลอตัวต่อได้ หรือแรงกดดัน การขึ้นดอกเบี้ยผ่อนคลายลง รวมถึงตัวเลขความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ปรับตัวขึ้นมา อยู่ที่ 56.6 (สูงสุดในรอบ 53 เดือน) ถือเป็น Sentiment ที่ดีต่อตลาดหุ้นไทย

ปัจจัยบวกดังกล่าว น่าจะมาช่วยหนุน SET Index ที่ผันผวนมากในช่วงการ เปลี่ยนผ่านทางการเมือง คาดวันนี้เคลื่อนไหวในกรอบ 1520 – 1545 จุด Top Pick เลือกหุ้นย่อตัวลงมาลึก ได้แรงหนุนจากปัจจัยหนุนใหม่ BEM, CRC และ SCGP

World Bank ปรับประมาณการ GDP โลกขึ้นเป็น +2.1% และ ไทยขึ้นเป็น +3.9%YOY

World bank ปรับประมาณการ GDP โลกปี 2023ขึ้นจาก +1.7%YoY ในเดือน ม.ค. 66 สู่ระดับ +2.1%YoY นำโดยสหรัฐที่คาด GDP +1.1%YoY (เดิมอยู่ที่ +0.5%YoY) เนื่องจากการใช้จ่ายของผู้บริโภคฟื้นตัวได้ดี เช่นเดียวกับจีนที่คาดอยู่ที่ +5.6%YoY จากเดิมคาด 4.3%YoY จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจหลังเปิดประเทศเต็มรูปแบบ นอกจากนี้ยังได้มีการปรับ GDP ยุโรปขึ้นเป็น +0.4% จากเดิมคาดไม่เติบโต ขณะที่ ไทยมีมุมมองดีขึ้นคาด GDP +3.9%YoY (เดิมอยู่ที่ +3.6%YoY)

ขณะที่ประมาณการปี 2024 World bank ปรับลงเกือบทุกประเทศ เริ่มจากโลกที่คาด GDP +2.4%YoY จากเดิมคาด +2.7%YoY เนื่องจากเงินเฟ้อที่ยังอยู่ในระดับสูงทั้ง ฝั่งสหรัฐฯ และยุโรป ทำให้ธนาคารกลางทั่วโลกยังต้องขึ้นดอกเบี้ยหรือคงดอกเบี้ย ระดับสูงไว้ สหรัฐฯ +0.8%YoY(เดิมคาดไม่เติบโต) ยุโรป +1.3%YoY(เดิมอยู่ที่ +1.6%YoY) จีน +4.6%YoY(เดิมอยู่ที่ +5.0%YoY) และไทย +3.6%YoY(เดิมอยู่ที่ +3.7%YoY)

สรุป World Bank ปรับ GDP ปีนี้ขึ้นเกือบทุกประเทศ ทั้งโลก สหรัฐฯ ยุโรป จีน และไทย ขณะที่ปีหน้าปรับประมาณการลงเล็กน้อย หลังกังวลภาวะเงินเฟ้อที่ยังอยู่ในระดับสูง ทั้งฝั่งสหรัฐฯ และยุโรป ประเด็นดังกล่าว คาดสร้าง Sentiment เชิงบวกต่อ SET Index ช่วงสั้น โดยวันนี้มีโอกาสปรับตัวขึ้น ไปทดสอบแนวต้านแรกที่ระดับ 1545 จุด

เงินเฟ้อไทย พ.ค. +0.53%YoY ต่ำสุดในรอบ 21 เดือน

วานนี้กระทรวงพาณิชย์เผยดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป (CPI) เดือน พ.ค. + 0.53%YoY (ต่ำกว่าตลาดคาดอย่างมากที่ 1.6%YoY และเดือนก่อนหน้า 2.67%YoY) อยู่ใน ระดับต่ำสุดในรอบ 21 เดือน หลักๆ ลดลงจากราคาน้ำมันเชื้อเพลิงและค่า Ft รวมถึง สินค้ากลุ่มอาหารสด อาทิ เนื้อสัตว์ น้ามันพืช ฯลฯ ทำให้เงินเฟ้อไทยเฉลี่ย 5 เดือนแรก ขอบปีอยู่ที่ +2.96%YoY (กรอบเป้าหมายทั้งปี 2566 อยู่ที่ 2.2%)

ส่วน Core CPI Core CPI ล่าสุดอยู่ที่ + 1.55%YoY (ต่ำกว่าตลาดคาดที่ 1.60%YoY และเดือนก่อนหน้า 1.66%YoY) ซึ่งแม้จะอยู่ในระดับสูง แต่ยังเริ่มเห็นการ ค่อยๆ ชะลอตัวลงมาต่อเนื่อง

ฝ่ายวิจัยฯ ประเมินเงินเฟ้อทั่วไปมีแนวโน้มลดลงต่อเนื่อง ซึ่งตามแบบจำลองจะอยู่ที่ - 1.07%YoY ในเดือน มิ.ย. ขณะเดียวกัน CPI ล่าสุดยังอยู่ต่ำกว่ากรอบเป้าหมายของ ธปท. ที่ 1-3% จึงมีโอกาสหนุนให้ กนง. คงดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 2.00% ในการประชุม วันที่ 2 ส.ค. นี้ ซึ่งจะช่วยลดแรงกดดันต่อ SET Index อีกทั้งอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงใน ปัจจุบันพลิกกลับมาเป็นบวกที่ 1.47% (ดอกเบี้ย 2.0% - เงินเฟ้อ 0.53%) เป็นบวก ต่อตลาดหุ้น โดยเฉพาะหุ้นอิงกับการบริโภคในประเทศ

อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงปัจจุบันในฝั่งยุโรป ยังคงติดลบ ค่อนข้างสูง(UK -4.2%, EU -2.35%) เมื่อเทียบกับสหรัฐรวมถึงบ้านเรา เนื่องจากเงิน เฟ้อยังค่อนข้างห่างไกลจากรอบเป้าหมายที่ 2%จึงเชื่อว่าจะช่วยหนุนให้ ECB แล BoE เดินหน้าปรับขึ้นดอกเบี้ยต่อ สวนทางกับ Fed ที่คาดว่าจะคงดอกเบี้ยไว้ที่ 5.25% ใน วันที่14 มิ.ย. โดยล่าสุด Fed Watch Tool ให้น้ำหนักสูงถึง 81.7%

ผลกระทบดังกล่าวคาดว่าจะทำให้ค่าเงินในฝั่งยุโรปแข็งค่าขึ้น และกดดันดอลลาร์ให้ อ่อนค่าลง EUR + GBP มีสัดส่วนในตะกร้าเงินดอลลาร์ รวมกันกว่า 69% (ดังรูป ด้านล่าง) ในทางอ้อมจะทำให้ค่าเงินบาทแข็งค่าโดยปริยาย และหนุน Flow ต่างชาติไหล เข้าตลาดหุ้นไทยระยะถัดไป

สรุป เงินเฟ้อไทยชะลอตัวลงต่อเนื่อง และอยู่ในระดับต่ำกว่ากรอบเป้าหมายของ ธปท. ที่ 1-3% จึงมีโอกาสหนุนให้ กนง. คงดอกเบี้ยนโยบายในเดือน ส.ค. ซึ่งจะช่วยลดแรง กดดันต่อ SET Index อีกทั้งอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงในปัจจุบันพลิกกลับมากกว่าศูนย์ เป็นอานิสงส์บวกต่อตลาดหุ้น โดยเฉพาะหุ้นอิงกับการบริโภคในประเทศ อาทิ CPALL (BK:CPALL) CRC COM7 BEM CPN AOT (BK:AOT) CENTEL ERW MAJOR, หุ้นปันผลสูงจ่าย ปีละครั้ง LH AP ADVANC

ขณะเดียวกันอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงปัจจุบันในฝั่งยุโรป ยังคงติดลบค่อนข้างสูงเชื่อว่า จะช่วยหนุนให้ ECB แล BoE เดินหน้าปรับขึ้นดอกเบี้ยต่อ สวนทางกับ Fed โดยผลที่ ตามมาเชื่อว่าจะทำให้ค่าเงินในฝั่งยุโรปแข็งค่าขึ้น และกดดันดอลลาห์ให้อ่อนค่าลง

BANK – Non Bank เสียงเรียกจากผู้คุมกฎ

อิงตาม NEWS PLUS กลุ่มธนาคาร วันที่ 6 มิ.ย. 66จากการที่ ธปท. เตรียมควบคุม ธุรกิจเช่าซื้อรถยนต์ – รถจักรยานยนต์ โดยสถานะปัจจุบัน พ.ร.ฎ. ได้รับการอนุมัติ จาก ครม. ตั้งแต่ 7 มี.ค. 66 ซึ่งขั้นตอนต่อไปคือรอกฤษฎีกาตรวจสอบความถูกต้อง และประกาศลงราชกิจจานุเบกษา คาดมีผลบังคับใช้ 1 พ.ย. 66 หลังจากนั้น ธปท. จึง จะออกประกาศ ธปท. เพื่อลงรายละเอียดและวิธีการกำกับดุแลอีกครั้ง ทั้งนี้ กม. ดังกล่าวไม่รวมถึงผู้ประกอบธุรกิจที่มีหน่วยงานและกฎหมายกำกับดูแลเป็นการ

เฉพาะ เช่น ธนาคารพาณิชย์ / สถาบันการเงินเฉพาะกิจ แต่ยังบังคับใช้กับ บ. ย่อย ของ ธ.พ. ที่ทำธุรกิจเช่าซื้อ

โดยฝ่ายวิจัยคาดว่าการกำกับดูแลในรอบนี้จะเน้นไปที่การให้บริการลูกค้าอย่างเป็น ธรรม (market conduct) อาทิ การเปิดเผยข้อมูลให้กับลูกค้าชัดเจนขึ้น, ค่าธรรมเนียมที่เกี่ยวข้องกับสัญญาเช่าซื้อ, LTV และการตรวจสอบกิจการ สินทรัพย์ และหนี้สิน ของผู้ประกอบธุรกิจ ส่วนด้านอัตราดอกเบี้ย น่าจะยังไม่ถูกกำกับเพิ่มเติม ในรอบนี้ เหตุเพราะ สคบ. ได้มีการกำกับแล้วช่วงต้นปีที่ผ่านมา ซึ่งตามประกาศ สคบ. แบ่งอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง ดังนี้รถยนต์ใหม่ไม่เกิน 10% ต่อปี (Flat rate ประมาณ 5.5%), รถยนต์มือสอง (Flat rate ประมาณ 8.5%) และ รถจักรยานยนต์ ไม่เกิน 23% ต่อปี (Flat rate ประมาณ 12.5% ต่อปี)

ขณะที่ผลต่อ ธ.พ. ที่มีพอร์ตสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ค่อนข้างจำกัด เพราะ ธ.พ. อย่าง TISCO, KKP, SCB เป็นการปล่อยผ่านธนาคาร ด้าน ธ.พ. ที่มีการปล่อยสินเชื่อเช่า ซื้อรถยนต์ผ่าน บ. ย่อย อย่าง KBANK (BK:KBANK), BAY ด้วยการเป็น บ. ลูก ของธนาคาร ทำให้ รูปแบบการดำเนินธุรกิจ, การคิดค่าธรรมเนียมต่างๆ ไม่น่าแตกต่างอย่างมีนัยฯ จาก ประกาศ ธปท. ได้มีการกำกับดูแลในช่วงที่ผ่านมา

กล่าวโดยสรุปฝ่ายวิจัยประเมินว่าผลจาก กม. ข้างต้น ต่อกลุ่มธนาคารค่อนข้าง จำกัด หลังเผชิญการกำกับดูแลอย่างต่อเนื่องในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ทั้งนี้ ในกรณีที่ มีการควบคุม LTV อาจส่งผลต่อการเติบโตด้านสินเชื่อของสินเชื่อเช่าซื้อ รถจักรยานยนต์มากกว่ารถยนต์ เนื่องจากเป็นกลุ่มสินเชื่อที่มีการให้ LTV ค่อนข้าง สูง (อาทิ ดาวน์ 0%) ดังนั้นประเมินผลกระทบต่อ Non –bank ที่มีพอร์ตสินเชื่อเช่าซื้อ รถจักรยานยนต์ จะกระทบมากกว่ากลุ่ม ธ.พ. โดย TIDLOR ที่แม้มีสัดส่วนสินเชื่อที่อิง กับสัญญาเช่าซื้อราว 13% ของพอร์ตสินเชื่อ ณ สิ้นงวด 1Q66 แต่ส่วนใหญ่เป็น รถบรรทุกมือสอง จึงได้รับผลกระทบต่ำกว่า SAWAD (สัดส่วนสินเชื่อสัญญาเช่าซื้อ ราว 37% ของพอร์ตสินเชื่อ, ปล่อยผ่าน SCAP เป็นหลัก) และ MTC (สัดส่วนสินเชื่อ สัญญาเช่าซื้อราว 4% ของพอร์ตสินเชื่อ)

สำหรับการลงทุนหุ้นในกลุ่มธนาคาร มองมีความน่าสนใจเชิง Valuation ที่ไม่แพง จาก PBV ซื้อขาย 0.7 เท่า อีกทั้งให้ Div Yield สูง เมื่อเทียบกับหุ้นใน SET100 เลือก ธ.พ. ที่คุณภาพสินทรัพย์แกร่งเมื่อเทียบกับกลุ่มฯ สำหรับ ธ.พ. ใหญ่ เรียงดังนี้ KTB(FV@B20.3) > BBL(FV@B174) > SCB(FV@B132) > KBANK(FV@B140) ส่วน ธ.พ. เล็กเลือก TISCO(FV@B108) > KKP(FV@B73)

SET INDEX อยู่ในภาวะเลือกทาง หลังรอความชัดเจน 3 ประเด็น

SET Index อยู่ในโหมดตลาด ”หมี” ตั้งแต่รู้ผลลัพธ์การเลือกตั้ง(15 พ.ค. 66-ปัจจุบัน) ปรับตัวลงราว 2.1% จนล่าสุดอยู่ระดับ 1528.54 จุด (ดัชนี Nasdaq +8.1% ในช่วง เวลาเดียวกัน) ขณะที่ Fund Flow ยังไหลออกต่อเนื่อง โดยมีหุ้นใน SET100 ปรับตัว ขึ้นลงแรงดังนี้

• กลุ่มหุ้นที่สร้างผลตอบแทนเป็นบวก คือ หุ้นขนาดกลาง-เล็ก, หุ้น Technology, หุ้นสื่อ, หุ้นคาดหวังการกระจายรายได้อาทิ DELTA, JAS, NEX, BEC, RBF, ONEE, HANA, FORTH เป็นต้น

• กลุ่มหุ้นที่สร้างผลตอบแทนเป็นลบ คือ หุ้นขนาดใหญ่ที่Old Economy กังวล ผลกระทบ นโยบายรัฐบาลใหม่ อาทิ CBG, CK, CRC, TRUE, GULF, OR, KEX, SCGP, PTTGC เป็นต้น

อย่างไรก็ตามปัจจัยบวกจากตัวเลขเศรษฐกิจต่างๆ ที่ดูดีขึ้น น่าจะมาช่วยหนุน SET Index ที่ผันผวนมากในช่วงการเปลี่ยนผ่านทางการเมืองผันผวนน้อยลงบ้าง สำหรับ กลยุทธ์แนะนำสะสมหุ้น 2 กลุ่ม ดังนี้

1. หุ้นลงลึก และมีปัจจัยบวกหนุน CRC BEM SCGP

2. หุ้นกำไรไตรมาส 2 ดี MAJOR TTCL

สรุป SET Index มีโอกาสดีดตัวขึ้นช่วงสั้น จากปัจจัยบวกรอบด้าน (รายละเอียดตาม หัวข้อก่อนหน้า) โดยวันนี้มองกรอบการเคลื่อนไหวระดับ 1520-1545 จุด ขณะที่หุ้น Top picks เลือก CRC BEM SCGP

บทความนี้จัดทำและเผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์ ASIA Plus Securities

ความคิดเห็นล่าสุด

กำลังโหลดบทความถัดไป...
การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย