🏃 คว้าข้อเสนอ Black Friday ก่อนใคร รับส่วนลดสูงสุด 55% สำหรับ InvestingPro ตอนนี้!รับส่วนลด

ภาพรวมดูไม่สดชื่น 

เผยแพร่ 31/05/2566 09:19
SETI
-

ตัวเลขการค้าระหว่างประเทศเดือน เม.ย.66 ของบ้านเราพบว่าหดตัวมากกว่าคาด โดยการส่งออกติดลบ 7.62% YoY และ 21.45% MoM และมียอดขาดดุลการค้า 1.47 พันล้าน USD ขณะที่ยอดรวมงวด 4 เดือนแรกของปีเราขาดดุลการค้าไปแล้ว 4.52 พันล้าน USD ภายใต้สถานการณ์การค้าระหว่างประเทศดังกล่าวการที่จะทำ ให้ GDP Growth เราเข้าเป้า 3.2 –3.5% ต้องเร่งให้เครื่องยนต์หลักอีก 3 ตัว ได้แก่ การบริโภคภาคครัวเรือน การลงทุนภาครัฐ และเอกชน ทำงานอย่างเต็มที่ ซึ่งดู เหมือนยังยากในช่วงที่บ้านเราอยู่ระหว่างการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ อีกเรื่องหนึ่งคือการ ประชุม กนง. วันนี้ซึ่งเชื่อว่าจะเห็นการปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายขึ้น 0.25% มาสู่ ระดับ 2% แต่ต้องติดตามมุมมอง การส่งสัญญาณว่าจะมีการปรับขึ้นต่อเนื่อง หรือไม่ ซึ่งในมุมมองของเราเห็นว่า น่าจะคงที่ระดับ 2% ต่อไปอีกระยะหนึ่ง

ภาพของตัวเลขเศรษฐกิจดูไม่สดใส สะท้อนผ่านตัวเลขการส่งออก-นำเข้า เดือน เม.ย.ที่หดตัว ส่วนการประชุม กนง. วันนี้คาดปรับขึ้นดอกเบี้ย 0.25% คาด SET Index อยู่ในกรอบ 1520 – 1545 จุด Top Pick เลือก CRC, MAJORและ GULF

ปัจจัยลบ ยังกดดัน SET INDEX ต่อ แนวรับวันนี้ 1520 จุด

วันนี้ SET Index มีโอกาสผันผวนในทิศทางลง โดยมองกรอบแนวรับที่ระดับ 1520 จุด หลังมีปัจจัยกดดัน 3 ปัจจัย ดังนี้

• (-) Debt Ceiling สหรัฐ และการขึ้นดอกเบี้ยของ Fed แม้ล่าสุดความเสี่ยงต่อ การผิดนัดชำระหนี้ของสหรัฐฯ ปรับตัวลดลงต่อเนื่อง หลังทำเนียบขาวและพรรค รีพับลิกันบรรลุข้อตกลงในการขยายเพดานหนี้ได้สำเร็จ ทำให้รัฐบาลสหรัฐฯ สามารถชำระค่าใช้จ่ายต่างๆ ได้ โดยข้อตกลงดังกล่าวจะเป็นการเพิ่มเพดานหนี้ ไปอีก 2 ปีซึ่งประเด็นอยู่ที่ หลังจากร่างกฎหมายฉบับดังกล่าว จะต้องส่งผ่านไป ยังสภาคองเกรสเพื่ออนุมัติต่อไป ในวันนี้ ซึ่งต้องติดตามว่า ผลลัพธ์จะออกมาตาม คาดหรือไม่ ขณะที่ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯที่ออกมาดีกว่าคาด หนุนให้ตลาดคาด ว่าการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของ Fed จะยังคงมีอยู่ โดยการสำรวจของ Fed Watch Tool เผยว่าในการประชุมรอบเดือน มิ.ย. มีโอกาสสูงถึง 58% ที่ Fed จะ ขึ้นดอกเบี้ยไปสู่ 5.50%

• (-) ราคาน้ำมันดิบปรับตัวลงแรง โดยวานนี้ราคาน้ำมัน WTI ปรับตัวลงแรง -4% หลุด 70 เหรียญฯ ท่ามกลางความไม่แน่นอนเกี่ยวกับผลการประชุม OPEC+ ใน วันที่ 4 มิ.ย.66 หลังนายอเล็กซานเดอร์ โนวัค รองนายกรัฐมนตรีรัสเซีย กล่าวว่า รัสเซียไม่สนับสนุนให้มีการปรับลดกำลังการผลิตน้ำมันเพิ่มเติมในการประชุม ของกลุ่ม OPEC+ ซึ่งก่อนหน้านี้มีความคาดหวังว่า กลุ่ม OPEC+ จะปรับลดกำลัง ผลิตมากขึ้นในการประชุมครั้งดังกล่าว เนื่องจากราคาน้ำมันดิบอยู่ระดับต่ำเพียง 70 เหรียญฯ หลัง OPEC+ ยืนยันตามมติในเดือน ต.ค.65 ว่าในการปรับลดกำลัง การผลิต 2 ล้านบาร์เรล/วันจนถึงสิ้นปี 2566

• (-)การประชุม กนง. วันนี้ ซึ่งตลาดคาดว่าจะขึ้นดอกเบี้ยสู่ระดับ 2.00% เช่นกัน สังเกตได้จากตราสารหนี้ระยะสั้นของไทยที่ปรับตัวขึ้นแรงในเดือน พ.ค.66 ฝ่าย วิจัยฯ ประเมินว่าการขึ้นดอกเบี้ยตามกลไกเป็นตัวจำกัด Upside ของตลาดหุ้น ไทยให้ซื้อขายบน PE ที่ต่ำลง กดดันตลาดหุ้นช่วงสั้นๆ

สรุป ปัจจัยกดดันตลาดหุ้นวันนี้ มีอยู่ 3 ประเด็น ซึ่งต้องติดตามผลลัพธ์ว่าจะออกมา ตามตลาดคาดหรือไม่ ซึ่งหากผลลัพธ์ไม่เป็นตามคาด อาจทำให้ SET Index อยู่ใน ภาวะผันผวนแบบนี้ไปสักระยะ โดยวันนี้มองกรอบการเคลื่อนไหวของ SET Index ระดับ 1520-1545 จุด

เศรษฐกิจโลกชะลอ กดดันส่งออกไทยหดตัว 7 เดือนติด

กระทรวงพาณิชย์เผย การส่งออกไทยเดือน เม.ย. 2566 มีมูลค่า 21.7 หมื่นล้านดอลลาร์ หรือ -7.6%YoY (หดตัวสูงกว่าตลาดคาดที่ 2.05%) ซึ่งถือเป็นการติดลบต่อเนื่องเป็น เดือนที่ 7 ส่วนการนำเข้ามีมูลค่า 23.2 หมื่นล้านดอลลาร์ หรือ -7.3%YoY (หดตัวสูง ตลาดคาดที่ 5.3%) ส่งผลให้ขาดดุลการค้า 1.47 พันล้านดอลลาร์

ขณะที่ภาพรวม 4 เดือนแรกของปี 2566 (ม.ค - เม.ย.) การส่งออก -5.2%YoY ส่วนการ นำเข้า -2.2%YoY และขาดดุลการค้ากว่า 4.52 พันล้านดอลลาร์ ทำให้ภาคการค้า ระหว่างประเทศของไทยในช่วงที่เหลือของปีนี้ อาจจะต้องเผชิญกับความท้าทายอย่าง หนักเพื่อพลิกกลับมาขยายตัวได้อีกครั้ง

ภาคการค้าที่ชะลอตัวลงหลักๆ มาจาก Demand ลดลง หลังเศรษฐกิจโลกเผชิญกับ ความไม่แน่นอน ทำให้การส่งออกเกือบทุกกลุ่มสินค้าได้รับแรงกดดัน ทั้งสินค้า อุตสาหกรรม (มีสัดส่วนการส่งออกมากสุดที่ 73.42% ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมด) หด ตัวราว -11.1%YoY, สินค้าแร่และเชื้อเพลิง หดตัวราว -13.7%YoY, สินค้าอุตสาหกรรม การเกษตร หดตัวราว -12%YoY ทั้งนี้มีเพียงสินค้าประเภทไก่สดแช่เย็น แช่แข็ง (อาทิ CPF TFG GFPT) ที่สงออกได้ดี YoY ในเดือน เม.ย.

สำหรับในมุมของการนำเข้าในเดือน เม.ย. สินค้าต้นทางการผลิต ที่อยู่ในหมวดสินค้า วัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป หดตัวกว่า -10.8% ส่วนหนึ่งอาจสะท้อนได้ว่าการผลิตในระยะ ถัดไปมีแนวโน้มลดลง และมีโอกาสกระทบต่อภาคการส่งออกในอนาคตได้เช่นกัน

ขณะที่เช้านี้ ทางการจีนรายงาน ดัชนี PMI ภาคการผลิตเดือน พ.ค. อยู่ที่ 48.8 จุด ต่ำกว่า ตลาดคาดที่ 51.4 และปรับตัวลดลงจากเดือนก่อนที่ 49.2 สะท้อนภาคธุรกิจของจีนกำลัง อยู่ในภาวะชะลอตัว ซึ่งอาจเป็นปัจจัยกดดันต่อภาคการส่งออกสินค้าจากไทยไปจีนได้

สรุป เศรษฐกิจโลกไม่แน่นอน ทำให้ Demand ปรับตัวลดลง จนภาพรวมการค้า ระหว่างประเทศของไทยชะลอตัว ขณะที่ภาคการท่องเที่ยวในช่วงนี้อยู่ในช่วง Low Season อาจเป็นปัจจัยกดดันดุลบัญชีเดินสะพัดในเดือน เม.ย. นอกจากนี้บ้านเรา กำลังอยู่ในช่วงรอยต่อทางการเมือง อาจส่งผลต่อการชะลอตัวในการบริโภค ภายในประเทศ และการลงทุนในภาครัฐ-เอกชน

ตลาดหุ้นไทยอยู่ในช่วงปรับสมดุล ขาด FUND FLOW สนับสนุน

ในเดือน พ.ค. ที่ผ่านมา เป็นช่วงของการเปลี่ยนผ่านทางการเมือง ซึ่งนักลงทุนยังกังวลใน เสถียรภาพทางการเมือง และปรับตัวของธุรกิจตามนโยบายของรัฐบาลใหม่ ส่งผลให้ ต่างชาติขายสุทธิหุ้นไทยต่อเนื่องกว่า -3.2 หมื่นล้านบาท (mtd) ขณะเดียวกันเม็ดเงินที่ เคยเข้ามาในตราสารหนี้ไทยช่วงครึ่งแรกของเดือน พ.ค. สูงถึง 6.8 หมื่นล้านบาท แต่หลัง เลือกตั้งถูกรินขายลดลงมาเรื่อยๆ จนเหลือยอดซื้อสะสมเพียง 9.8 พันล้านบาท (mtd)

Fund Flow ที่ไหลออก กดดันสัดส่วนการถือครองหุ้นไทยของต่างชาติลดลงจนถือครอง ทางตรงเหลือเพียง 23.67% (หากไม่นับ DELTA เหลือ 18.98% เท่านั้น) เมื่อรวมกับ NVDR จะเป็น 29.3% (หากไม่นับ DELTA เหลือ 24.8%)

ภาพรวม SET Index ในเดือน พ.ค. 66 ยังบวก 9.74 จุด หรือ 0.6% (mtd) ถ้าอ้างอิง จากหุ้นใน SET100 ที่ขึ้นแรง พบว่า แรงผลักดันหลักๆ มาจากหุ้น DELTA +33% (mtd) หนุนให้ SET บวก 32 จุด นอกจากนี้ยังมีหุ้นอื่นๆ ที่ขึ้นแรงเกิน 10% อาทิ หุ้นเกี่ยวกับ เทคโนโลยี SABUY NEX FORTH COM7 หุ้นการเงิน TIDLOR TQM TIPH หุ้นได้ ประโยชน์บาทอ่อน TU และหุ้นสื่อ BEC

สรุปภายใต้ปัจจัยแวดล้อมยังมีความไม่แน่นอน Fund Flow ยังชะลอการไหลเข้า ประเมินวันนี้SET Index เคลื่อนไหวในกรอบ 1520 – 1545 จุด กลยุทธ์แนะนำหุ้น ที่ย่อตัวลงมาลึก และมีปัจจัยเฉพาะตัวหนุน อย่าง MAJOR, GULF, CRC เป็น Top picks ในวันนี้

บทความนี้จัดทำและเผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์ ASIA Plus Securities

ความคิดเห็นล่าสุด

กำลังโหลดบทความถัดไป...
การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย