Better outside but still weak domestically
SET: คาด SET Index แกว่งตัว Sideways ในสัปดาห์นี้และอาจปรับตัว Underperform ตลาดหุ้นโลกในช่วงต้นสัปดาห์ ที่ได้ Sentiment เชิงบวกจาก ความคืบหน้าในการเจรจาเพดานหนี้สหรัฐฯ โดยมีแนวโน้มที่จะผ่านความเห็น ของสภาคองเกรสในสัปดาห์นี้ แต่อย่างที่เราประเมินไว้ก่อนหน้าว่าปัจจัยนี้มี ความเชื่อมโยงกับตลาดหุ้นไทยในระดับต่ําา จึงคงไม่ได้ส่งผลบวกมากนักเมื่อ เทียบกับตลาดหุ้นอื่น ในทางกลับกันความอ่อนแอของตลาดหุ้นไทยยังคง ขึ้นอยู่กับปัจจัยการเมืองและผลประกอบการของบจ.เป็นสําคัญ
Politics: โดยในส่วนของปัจจัยทางการเมืองนั้น ด้วยความยืดเยื้อและไม่ แน่นอนที่สูงขึ้น รวมถึงความกังวลของนักลงทุนต่อแนวนโยบายรัฐสวัสดิการที อาจเกิดขึ้นจนส่งผลกดดันต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในตลาดทุน ท่าให้เรายังคง เห็นแรงริมขายหุ้นไทยปรากฏออกมาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะจากนักลงทุน ต่างชาติ ซึ่งล่าสุดท่าให้เงินบาทยังคงเดินหน้าปรับตัวอ่อนค่าเป็นอันดับ 1 ของ เอเชียอย่างต่อเนื่อง จนใกล้ทดสอบระดับ 35 บาท/ดอลลาร์ฯแล้ว
Strategy: ด้วย Fund flow ที่ยังคงมีลักษณะอ่อนแรงเช่นนี้ ประกอบกับ Valuation ที่ยังคงอยู่สูงกว่าดัชนีในกรณีฐานของเรา ทําให้หลังจากที่เรา แนะนํานักลงทุนระยะสั้นขายทํากําไรหุ้นบางส่วนไปช่วงปลายสัปดาห์ที่แล้ว ชะลอการลงทุนไว้ก่อน ยังคงมองกรอบการเพิ่มนํ้าหนักพอร์ตหุ้นไทยที่ น่าสนใจ โดยเฉพาะสําหรับนักลงทุนระยะกลาง-ยาวที่บริเวณดัชนี 1490 จุด หรือต่ากว่า ส่วนทางด้านกลุ่มหุ้นทีอาจได้ Sentiment เชิงบวกระยะสั้น มองไปยังกลุ่มหุ้นส่งออกของไทยโดยเฉพาะกลุ่มสินค้าอาหาร/เกษตร ที่ได้ประโยชน์จากเงินบาทอ่อนค่า อาทิ CPF, GFPT, TU, ASIAN, AAI, ITC, SUN, TKN เป็นต้น
Factors: ในส่วนของปัจจัยอื่นที่น่าติดตาม ได้แก่
1) รายงานตัวเลขส่งออก-น่าเข้าของไทยประจําเดือนเม.ย.ในวันที่ 30 พ.ค. ล่าสุดตลาดคาดการณ์หดตัวที่ระดับ 2.1% และ 6.0% ตามลําดับ ส่งผล ให้ดุลการค้ามีแนวโน้มขาดดุลที่ 475 ล้านเหรียญฯ หากตัวเลขส่งออก ออกมาในเกณฑ์ดี คาดเป็นแรงส่งด้านโมเมนตัมให้กับหุ่นกลุ่มนี้ต่อ
2) การประชุมกนง. ในวันที่ 31 พ.ค. ซึ่งล่าสุดเราคาดการณ์ว่าจะมีมติปรับขึ้น ดอกเบี้ยนโยบายอีก 0.25% ไปสู่ระดับ 2.00% และถือเป็นสิ่งที่ตลาด คาดการณ์ไปแล้ว 100% ผ่านราคา Swaps ในตลาดปัจจุบัน ดังนั้น มองประเด็นที่น่าสนใจกว่าได้แก่ ประมาณการติวเลขเศรษฐกิจไทยรอบ ใหม่ของธปท.ที่น่าจะออกมาในรอบนี้
3) รายงานตัวเลขเศรษฐกิจประจําเดือนเม.ย.ของธปท.รวมถึงตัวเลขดุลบัญชี เดินสะพัดในวันที่ 31 พ.ค. ล่าสุดตลาดคาดการณ์เกินดุลที่ระดับ 2.2 พันล้านเหรียญฯ
4) การปรับน้ําหนักและรายชื่อสมาชิกชุดใหม่ของดัชนี MSCI ในช่วงเย็นวันที่
5) รายงานตัวเลข PMI ภาคการผลิตของประเทศสําคัญทั้ง จีน ยุโรป และสหรัฐฯ โดยล่าสุดตลาดคาดการณ์ที่ระดับ 49.5, 44.6, และ 47.0 31 พ.ค. ตามล่าดับ
6) รายงานตัวเลขตลาดแรงงานสหรัฐฯประจําเดือนพ.ค.ในวันที่ 2 มิ.ย. งล่าสุดตลาดคาดการณ์ว่าจะ Soft ลงจากเดือนก่อน ไม่ว่าจะดูในมิติของ Nonfarm Payrolls (190k), Unemployment rate (3.5%) และอัตรา ค่าจ้างรายชั่วโมง (0.3% MoM / 4.4% YoY)
7) การออกมาให้สัมภาษณ์ของ FOMC Voters อย่างนาง Michelle Bowman, นาย Patrick Harker, และนาย Philip Jefferson เป็นต้น ซึ่งอาจเป็น Guidance ที่สําคัญต่อการประชุม FOMC ที่รออยู่ในช่วง เดือนหน้า
บทวิเคราะห์นี้จัดทำขึ้นและเผยแพร่โดยทีมนักวิเคราะห์ของ Trinity Securities