การเจรจาเรื่องเพดานหนี้สหรัฐ ที่ยังไม่ได้ข้อยุติ ขณะที่ Fed Minute สะท้อนภาพ ว่ามีโอกาสที่อัตราดอกเบี้ยนโยบายยังอาจปรับขึ้นไปได้อีก ทำให้ Fed Watch Tool เริ่มเห็นความน่าจะเป็นที่เพดานดอกเบี้ยจะขยับขึ้นไปที่ 5.5% ถือเป็นแรง กดดันต่อตลาดหุ้น ส่วนปัจจัยในบ้านเราน้ำหนักยังอยู่ที่เรื่องการเมือง ซึ่งแม้จะมี การเซ็น MOU ในกลุ่มพรรคร่วมรัฐบาล แต่ก็เริ่มเห็นกระแสความขัดแย้งในกลุ่ม พรรคร่วมรัฐบาล ซึ่งเป็นภาวะที่สร้างความไม่มั่นใจให้กับนักลงทุน ส่วน สถานะ ของ Fund Flow ซึ่งยังคงเห็นนักลงทุนต่างชาติ ขายสุทธิออกมาอย่างต่อเนื่อง โดย ส่วนหนึ่งน่าจะเกิดจากความกังวลสถานการณ์ทางการเมือง และหากพิจาณาจาก กรอบเวลาตามกฎหมาย กว่าที่เราจะมีรัฐบาลใหม่เข้ามาบริหาร เร็วที่สุดคงเป็น เดือน ส.ค.66 ซึ่งช่วงเวลาที่เป็นสุญญากาศนี้อาจทำให้Flow ยังไม่ไหลเข้า
ประเมินว่า SET Index น่าจะผันผวนแต่ยังสามารถยืนเหนือแนวรับ 1520 จุดได้ ส่วนแนวต้านอยู่ที่ 1545 จุด ทั้งนี้หาก SET Index จะปรับขึ้นไปยืนเหนือกรอบดัง กล่าได้ ต้องอาศัยFund Flow หนุน Top Pick เลือก COM7, KBANK (BK:KBANK) และPTTEP
ปัจจัยภายนอก อาจกดดันตลาดหุ้นไทยผันผวน
หลายปัจจัยเสี่ยงหรือความไม่แน่นอนที่ถาโถมเข้ามาในช่วงนี้ ยังคงกดดันตลาดหุ้นโลก ต่อเนื่อง ทำให้วานนี้มีการปรับตัวลงแรง โดยในฝั่งสหรัฐฯ ดิ่งลงราว -0.6% ถึง -1.2% ส่วนฝั่งยุโรปร่วงลงราว -1.7% ถึง -1.9%
เริ่มจากการเจรจาขยายเพดานหนี้สหรัฐฯ ไม่คืบหน้า และอาจยืดเยื้อไปจนถึงสัปดาห์ หน้า แม้เหลือเวลาอีกเพียงไม่กี่วันก่อนถึงเส้นตายในวันที่ 1 มิ.ย.ขณะที่ในวันนี้ (25 พ.ค.) จะมีการต่อรองการขยายเพดานหนี้เป็นครั้ง 4 ทั้งนี้ทาง Reuter ประเมินว่าหากสหรัฐฯ ผิดนัดชำระหนี้ จะทำให้ไม่สามารถชำระค่าใช้จ่ายได้ในหลายภาคส่วน ทั้งโครงการ ประกันสุขภาพ เงินเดือนพนักงานข้าราชการในหน่วยงานต่างๆ
นอกจากนี้รายงานการประชุม FOMC Meeting Minutes เมื่อวันที่ 2-3 พ.ค. เผยว่า เจ้าหน้าที่เฟดบางส่วนยังคงเห็นด้วยกับการเดินหน้าปรับขึ้นดอกเบี้ยต่อไป สอดคล้องกับ ความเห็นของผู้ว่าการเฟด Christopher Waller ที่เผยล่าสุดว่า Fed ควรขึ้นดอกเบี้ยต่อ ในการประชุมรอบเดือน ก.ค. โดย Fed Watch Tool เผยว่ามีโอกาสราว 47% ที่ Fed จะยังปรับขึ้นดอกเบี้ยอีก 0.25% มาอยู่ที่ 2.25% ใน 3Q66
ในส่วนแถบยุโรป สำนักงานสถิติแห่งชาติอังกฤษ (ONS) ได้เผยตัวเลขเงินเฟ้ออังกฤษ เดือน เม.ย. +8.7%YoY ชะลอตัวลงจากเดือนก่อนที่ 10.1%YoY ตามราคาพลังงานที่ ปรับตัวลดลงแต่ยังถือว่าสูงกว่าตลาดคาดที่ 8.3%YoYเนื่องจากราคาแอลกอฮอล์ยาสูบ ร้านอาหาร รวมถึงเงินเฟ้อภาคบริการยังปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ทำให้BoE มีโอกาสปรับ ขึ้นดอกเบี้ยไปอยู่ที่ 5.25 – 5.50% และอาจจะยิ่งเป็นปัจจัยกระตุ้นในเกิด Recession ตามมาภายในหลังได้
สรุป ความเสี่ยงต่อการผิดนัดชำระหนี้ของสหรัฐที่ยังไม่คลี่คลาย และมีโอกาสยืดเยื้อ ไปจนถึงสัปดาห์หน้า บวกกับดอกเบี้ยทั้งในสหรัฐฯ – อังกฤษ มีโอกาสยังไม่สิ้นสุด วงจรขาขึ้น ซึ่งปัจจัยภายนอกเหล่านี้อาจเป็น Sentiment เชิงลบที่เข้ามากดดัน ตลาดหุ้นไทยได้เช่นกัน
การเมืองยังเป็นสุญญากาศ เน้น SELECTIVE BUY
สถานการณ์ทางการเมือง ที่ปัจจุบันถือว่าอยู่ในช่วงของสุญญากาศ กล่าวคือยังจะไม่มี รัฐบาลใหม่เข้าบริหารประเทศจน กระบวนการโหวตเลือกนายกฯ และตั้ง ครม. แล้วเสร็จ ซึ่งเร็วที่สุดคงเป็นกลางเดือน ส.ค. 66 บวกกับความไม่แน่นอนระหว่างพรรคร่วมรัฐบาล ทั้งพรรคก้าวไกล-เพื่อไทย ที่อยู่ในช่วงตกลงเก้าอี้ประธานสภา รวมถึงประเด็นหัวหน้า พรรคเพื่อไทยถูกตั้งคำถามเกี่ยวกับ Advance MOU จากสมาชิกพรรคไทยสร้างไทย
ความไม่แน่นอนดังกล่าว เป็นส่วนหนึ่งที่ส่งผลให้SET Index ผันผวน ในช่วงนี้ อย่างไรก็ ตามมีประเด็นบวก 2 ประเด็นที่หนุนให้หุ้นบางกลุ่มมีโอกาสดีดตัวช่วงสั้น ดังนี้
• ราคาน้ำมันดิบ Brent ปรับตัวขึ้นแรงในช่วงสัปดาห์นี้โดยปรับตัวขึ้น 4%wtd จากการเข้าสู่ฤดูกาลขับขี่ และความคาดหวังผลการประชุม OPEC+ ช่วงต้น เดือนหน้า ขณะที่หุ้นกลุ่มน้ำมันในไทยยัง Laggard อาทิ PTT (BK:PTT) +0.8% PTTEP +1.3% IRPC +2.6% ESSO +0.6% เป็นต้น ซึ่งโดยปกติแล้วตลาดหุ้นไทยมี สัดส่วนกำไรหุ้นกลุ่มพลังงานงาน-ปิโตรฯ สูงถึง 31%(ราว 1 ใน 3 จากสัดส่วน ทั้งหมด) และหากพิจารณาในมุม Market Cap หุ้นกลุ่มพลังงานงาน-ปิโตรฯ มี สัดส่วนรวม 23%(ราว 1 ใน 4 จากสัดส่วนทั้งหมด)
• ยอดส่งออกรถยนต์เติบโตขึ้น MoM สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส. อ.ท.) เปิดเผยยอดส่งออกรถยนต์สำเร็จรูปเดือน เม.ย.66 อยู่ที่ 79,940 คัน เพิ่มขึ้น 43.53%YoY เนื่องจากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน เกิดปัญหาขาด แคลนชิปจากการเกิดสงครามยูเครน และการล็อคดาวน์เซี่ยงไฮ้ที่มีปัญหาการ แพร่ระบาดของโควิด-19 จึงส่งออกเพิ่มขึ้นในตลาดเอเชีย ออสเตรเลีย ตะวันออกออกกลาง แอฟริกา และยุโรป ทั้งนี้ยอดส่งออกรถยนต์ที่ขยายตัว YoY และค่าเงินบาทที่อ่อนค่าเล็กน้อย น่าจะเป็นแรงช่วยหนุนให้ยอดส่งออก ประจำเดือน เม.ย.66 ดีขึ้นได้และจะประกาศใน 1 ถึง 2 วันนี้ซึ่งหุ้นที่ได้ ประโยชน์ คือ KCE HANA SVI TU CPF GFPT เป็นต้น
สรุป ประเด็นการเมืองถือเป็นหนึ่งในปัจจัยที่ทำให้ SET Index ผันผวนในเดือนนี้ ขณะที่ความไม่แน่นอนของพรรคร่วมรัฐบาลยิ่งเป็นการตอกย้ำความสั่นคลอนของ การจัดต้องรัฐบาล ดังนั้น SET Index มีโอกาสผันผวนในระยะกลาง-ยาว ขณะที่ ระยะสั้นฝ่ายวิจัยฯ เห็นปัจจัยบวกเล็กๆ 2 ปัจจัย คาดเป็นแรงพยุงให้ SET Index กลับไปทดสอบแนวต้านที่ระดับ 1545 จุดได้สำเร็จ
เดือน พ.ค. ตลาดหุ้นไทยยังบวก กองทุนถือเป็นพระเอกช่วยพยุง
นักลงทุนต่างชาติยังรอความแน่นอนจากปัจจัยทางด้านการเมือง พร้อมกับค่าเงินบาทที่ อ่อนค่ามา 1.2%mtd อยู่ที่ 34.66 บาท/เหรียญ ส่งผลให้มียอดขายสุทธิหุ้นไทยในเดือน นี้ 2.1 หมื่นล้านบาท (mtd) กดดันให้ตลาดหุ้นไทยยังอยู่ในภาวะผันผวนอยู่
แต่จะเห็นได้ว่าในเดือน พ.ค. 66 (mtd) ตลาดหุ้นไทย +0.5%mtd แม้ยังขึ้นได้น้อยกว่า ตลาดหุ้นอื่นๆ ในเอเชีย แต่ยังถือว่า Outperform กว่าตลาดหุ้นยุโรปและสหรัฐ รวมถึง ยังได้แรงพยุงนักลงทุนสถาบันในประเทศที่ซื้อสะสมสุทธิต่อเนื่องกว่า 2.5 หมื่นล้านบาท (mtd)
ในภาวะตลาดหุ้นที่ยังขาดแรงซื้อจากนักลงทุนต่างชาติ กลยุทธ์การลงทุนต้อง พิถีพิถันในการเลือกหุ้น เน้น Selective Buy หุ้นที่มีปัจจัยหนุนเฉพาะตัว อย่าง PTTEP ราคา Laggard ราคาน้ำมันดิบ ที่ได้แรงหนุนจากการใกล้เข้าสู่ช่วงฤดูกาลขับ ขี่, KBANK ได้แรงหนุนจากนโยบายรัฐบาลใหม่ที่เน้น SME และความคาดหวังการขึ้น ดอกเบี้ยในสัปดาห์หน้า, COM7 ราคาย่อตัวลงมาลึก ได้แรงหนุนจากโอกาสในการใช้ เทคโนโลยีในการศึกษาที่มากขึ้น เป็น 3 Top pick ในวันน
บทความนี้จัดทำและเผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์ ASIA Plus Securities