Sentiment จากปัจจัยทางการเมืองในประเทศ น่าจะค่อยๆ คลายตัวในระดับหนึ่ง หลังจากที่ 8 พรรคการเมือง ร่วมลงนามใน MOU ร่วมจัดตั้งรัฐบาล ซึ่งทำให้เชื่อว่า การโหวตเลือกนายกรัฐมนตรี และจัดตั้งรัฐบาล จะเดินหน้าได้ราบรื่นยิ่งขึ้น อย่างไร ก็ตามประเด็นที่จะเข้ามาอยู่ในความสนใจแทน คือแนวทางการปฎิบัติตามนโยบาย ที่แต่ละพรรคร่วมรัฐบาลได้หาเสียงไว้ ซึ่งมีทั้งผลบวก และผลลบต่อบริษัทจด ทะเบียน ASPS Research ได้นำแนวนโยบายที่แถลงใน MOU 23 ข้อ มาพิจารณา ควบคู่กับนโยบายของ ก้าวไกล ที่จะทำใน 100 วันแรก พบว่ามีบางส่วนที่ต้องจับ ตา เช่น การปรับโครงสร้างการผลิตไฟฟ้า,การปฎิรูปที่ดินทั้งระบบ, การนำกัญชา กลับเข้าไปอยู่ในบัญชียาเสพติด รวมถึงการปรับเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำ ทั้งนี้ภาพรวม เห็นว่า น่าจะเป็นผลดีต่อการบริโภคจับจ่ายใช้สอยในประเทศ
SET Index มีสัญญาณเชิงบวกมากขึ้น เห็นได้จากการดีดตัวขึ้นวานนี้ อย่างไรก็ ตามยังต้องรอ Fund Flow เข้ามาสนับสนุน วันนี้ประเมินว่า SET Index น่าจะอยู่ ในกรอบ 1520 – 1537 จุด Top Pick เลือก CENTEL, COM7 และ CPALL (BK:CPALL)
DEBT CELLING สหรัฐยังไม่จบ...ส่วนหนี้ครัวเรือนไทยสูงยังน่ากังวล
การเจรจาขยายเพดานหนี้สหรัฐฯ ในช่วงที่ผ่านมา เพื่อหลีกเลี่ยงการผิดนัดชำระหนี้แม้ จะผ่านการหารือกันมาแล้วหลายครั้ง แต่ล่าสุดก็ยังไม่สามารถบรรลุข้อตกลงกันได้ ทำให้ เหลือระยะเวลาในการเจรจาไม่ถึง 10 วัน ก่อนครบกำหนดวันชำระหนี้วันที่ 1 มิ.ย. ขณะที่เงินสดของกระทรวงการคลังลดลงอย่างต่อเนื่องเหลืออยู่เพียง 68 พันล้านเหรียญ ฯ ในวันที่ 18 พ.ค. ส่งผลให้ CDS สหรัฐฯ 1 ปีปรับตัวสูงขึ้นมาอีกครั้ง
ส่วนประเด็นภายในประเทศวานนี้ สศช. ได้เผยสถานการณ์หนี้สินครัวเรือนไทยใน 4Q65 พบว่าหนี้สินครัวเรือน +3.5%YoY พุ่งแตะ 15.09 ล้านล้านบาท หลักๆ เพิ่มขึ้นเกิดจาก การขยายตัวของหนี้บ้านและหนี้เพื่อการอุปโภคบริโภค โดยเฉพาะสินเชื่อส่วนบุคคล ภายใต้กำกับ อาทิบัตรกดเงินสด ที่ขยายตัวสูงถึง 20.8%
ขณะเดียวกันอัตราดอกเบี้ยนโยบายบ้านเราที่มีการทยอยปรับขึ้นมาอยู่ในระดับ 1.75% เป็นอีกหนึ่งต้นทุนที่เพิ่มภาระให้กับประชาชนต้องแบกรับ ดังนั้น ในการประชุม กนง. ใน วันที่ 31 พ.ค. นี้ จึงต้องติดตามอย่างใกล้ชิด เนื่องจากผลลัพธ์ที่ตามมาอาจทำให้คุณภาพ สินเชื่อรายย่อยแย่ลงได้ รวมถึงอาจกระตุ้นให้หนี้สินครัวเรือนระยะถัดไปสูงขึ้นจนเป็นตัว ฉุดรั้งการขยายตัวทางเศรษฐกิจ
สรุป ประเด็นการเจรจาขยายเพดานหนี้ในสหรัฐยังไม่สามารถได้ข้อยุติแต่ยังเชื่อว่า จะสามารถบรรลุข้อตกลงได้ภายในสิ้นเดือนนี้ ส่วนบ้านเราหนี้สินครัวเรือนไทยใน 4Q65 อยู่ในระดับสูง และอาจเป็นเรื่องที่น่ากังวลมากขึ้นหาก กนง. ไม่หยุดขึ้น ดอกเบี้ย เนื่องจากจะทำให้ประชาชนต้องแบกรับภาระต้นทุนที่สูงขึ้น จนอาจส่งผล ต่อคุณภาพสินเชื่อรายย่อยที่แย่ลงได้
ตลาดหุ้นมีโอกาสฟื้น หลังพรรคร่วมรัฐบาลเซ็น MOU
ความกังวลต่อเสถียรภาพและการเปลี่ยนผ่านรัฐบาลกดดันตลาดหุ้นไทย หรือ SET Index ใน 8 วันทำการที่ผ่านมา ย่อตัวลงมากว่า 85 จุด จาก 1576 จุด เหลือ 1491 จุด ในวานนี้(ต่ำสุดในรอบ 2 ปี) แล้วค่อยฟื้นๆ ขึ้นมาบ้างโดยปิดที่ 1529 จุด
ในมุมมองของฝ่ายวิจัยฯ คาดว่าตลาดหุ้นมี Sentiment ที่ดีขึ้น หลังพรรคร่วม รัฐบาล 8 พรรค เซ็น MOU ในวานนี้ 3 ส่วนหลักๆคือ
1. มีเพียง 11 นโยบายเท่านั้น ที่นโยบาย 100 วันแรกของพรรคก้าวไกล ทับ ซ้อนข้อตกลง MOU 23 ข้อ และนโยบายที่ทับซ้อนมีผลกระทบต่อหุ้นใน ตลาดน้อย อาทิ 2 นโยบายที่กระทบต่อตลาดหุ้น คือ การปรับโครงสร้างค่า ไฟฟ้า, การปฏิรูปที่ดิน อย่างไรก็ตามยังมีนโยบายในการกระจายงบประมาณ พร้อมกับช่วยเหลือ SME น่าจะเป็นบวกต่อหุ้นอุปโภคบริโภค อย่าง MAKRO CBG SNNP CPALL CRC CPN COM7
2. มีนโยบายใน MOU ที่กระทบต่อหุ้นในตลาด แต่ไม่ได้เร่งทำใน 100 วันแรก ของพรรคก้าวไกลอาทิ การขึ้นค่าแรง, การยกเลิกการผูกขาดทางธรกิจ เป็นต้น ดีต่อหุ้นธุรกิจขนาดใหญ่ GULF TRUE CPALL CPN BDMS และหุ้นที่มี Labor Intensive CK STEC HANA KCE ให้มีโอกาสฟื้นตัวในช่วงสั้น
3. มีการเพิ่มเงื่อนไขในฉบับร่าง หนุนการเปลี่ยนผ่านรัฐบาลมีโอกาสราบรื่นขึ้น ได้ อาทิ มีการเพิ่มเติมท่อน “ภารกิจของรัฐบาลทุกพรรคที่จะผลักดันร่วมกันนั้น ต้องไม่กระทบกับรูปแบบของรัฐและการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมี พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และการดำรงอยู่ในสถานะ อันเป็นที่สักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้ขององค์พระมหากษัตริย์” รวมถึงมีการตัดข้อ 2.เดิมในฉบับ ร่างที่ระบุว่า “เพื่อสร้างความสมานฉันท์ในสังคม ทุกพรรคจะร่วมผลักดันการ อำนวยความยุติธรรมในคดีที่เกี่ยวข้องกับการแสดงออกทางการเมืองผ่านกลไก ของรัฐสภา” ทั้ง 2 ส่วน คาดน่าจะหนุนให้ สว. น่าจะโหวตให้ นาย พิธา ลิ้มเจริญ รัตน์ เป็นนายกฯ คนที่ 30 เพิ่มขึ้นได้ สงผลให้โอกาสเกิดความไม่สงบทาง การเมืองน้อยลง ดีต่อหุ้นกลุ่มท่องเที่ยว อย่าง AOT (BK:AOT), CENTEL, ERW, MINT
ในมุมกลยุทธ์การลงทุนฝ่ายวิจัยฯ ทำการคัดเลือก “หุ้นที่คาดหวังการฟื้นกลับจากความ คืบหน้านโยบายก้าวไกล” โดยผ่านเงื่อนไขต่างๆ ดังนี้
1. หุ้นย่อตัวหลังเลือกตั้ง (15 – 22 พ.ค. 66) และเริ่มฟื้น
2. มี Beta สูงกว่า 1 หวังฟื้นแรงกว่าตลาด
3. ได้แรงหนุนจากความคืบหน้านโยบายก้าวไกล ทั้งในมุมหุ้นลงลึกเกินไป หรือได้ แรงหนุนจากนโยบายหาเสียง
ส่วนวันนี้ประเมินกรอบการเคลื่อนไหว SET ที่ 1520 – 1537 จุด Toppick ในวันนี้ แนะนำ COM7, CENTEL, CPALL
กระแสขึ้นค่าแรงขั้นต่ำทันที 450 บาท แต่ละอุตสาหกรรมกระทบมากแค่ ไหน
วานนี้พรรคก้าวไกลเป็นแกนนำ แถลงโครงสร้าง MOU 23 ข้อ ซึ่งหนึ่งในนโยบายที่สำคัญ คือ การร่วมฟื้นฟูเศรษฐกิจ โดยยึดหลักเพิ่มรายได้ประชาชน ลดความเหสื่อมล้ำ และ สร้างระบบเศรษฐกิจที่เติบโตอย่างเป็นธรรม ซึ่งนโยบายดังกล่าว สอดคล้องกับ นโยบาย ของพรรคก้าวไกล ซึ่งมีใจความสำคัญว่า จะขึ้นค่าแรง 450 บาททันที ในปี 2566 ดังนั้น ฝ่ายวิจัยฯจึงนำเสนอ ผลกระทบในแต่ละอุตสาหกรรม โดยมีรายละเอียด ดังนี้
อุตสาหกรรมรับเหมาก่อสร้าง : เป็นอุตสาหกรรมที่มีการใช้แรงงานจำนวนมาก โดย ต้นทุนค่าแรงที่อิงกับค่าแรงขั้นต่ำ จะอยู่ในส่วนของคนงานก่อสร้างที่มีทั้งการจ้างโดยตรง และการจ้างผ่านผู้รับเหมาช่วง ซึ่งคิดเป็นสัดส่วน 20-30% ของต้นทุนก่อสร้าง โดยเงินที่ จ้างผ่านผู้รับเหมาช่วงจะมีการรวมทั้งค่าแรงงานและค่าวัสดุก่อสร้างเข้าไปด้วย หากตั้ง สมมุติฐานว่าค่าแรงอย่างเดียวคิดเป็นสัดส่วน 50% ของค่าจ้างเหมาช่วง เท่ากับว่าต้นทุน ที่อิงกับค่าแรงขั้นต่ำน่าจะมีสัดส่วนประมาณ 10-15% ของต้นทุนก่อสร้าง ดังนั้นการปรับ ขึ้นค่าแรงขั้นต่ำทุก 1% จะกระทบต่อต้นทุนการก่อสร้าง 0.10-0.15% แต่ในทางปฏิบัติ หากมีการปรับเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำจริง บริษัทรับเหมาก่อสร้างและบริษัทที่รับเหมาช่วงจะ แบ่งกันรับภาระค่าแรงที่เพิ่มขึ้นไปคนละส่วน อีกทั้งบริษัทรับเหมางานภาครัฐจะมีเงิน ชดเชยจากค่า K ซึ่งมีเงินเฟ้อเป็นองค์ประกอบในการคำนวณด้วย ดังนั้นผลกระทบที่ เกิดขึ้นจากการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำทุก 1% ฝ่ายวิจัยประเมินว่าจะกระทบต่อต้นทุนการ ก่อสร้างไม่เกิน 0.1% อย่างไรก็ตามอุตสาหกรรมรับเหมาก่อสร้างเป็นอุตสาหกรรมที่มี อัตรากำไรสุทธิต่ำมากเพียง 2-3% เท่านั้น การเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อยของต้นทุน ก่อสร้างจึงกระทบต่อกำไรของกลุ่มฯค่อนข้างมีนัยสำคัญ
อุตสาหกรรมนิคม : ฝ่ายวิจัยประเมินว่าผลกระทบของการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ จะมี ผลกระทบต่อยอดขายที่ดินนิคมฯ ในวงจำกัด เนื่องจากช่วงปี 2553 – 2555 ที่มีการปรับ ขึ้นค่าแรงจาก 215 บาท/วัน เป็น 300 บาท/วัน (+40%YoY) ยอดขายยอดขายที่ดินนิคม ฯ ไม่ได้ลดลง อย่างไรก็ตาม ช่วงเวลาดังกล่าว มีการปรับลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลลลง มาเป็นการชดเชยด้วย ในรอบนี้จึงต้องรอติดตามว่าจะมีแนวทางใดเข้ามาดึงดูดความ น่าสนใจในการเข้ามาลงทุนเป็นการชดเชย แม้ค่าแรงจะปรับเพิ่ม แต่ประเทศไทยยังมี จุดเด่นที่เหนือกว่าประเทศอื่นๆ ในกลุ่มอาเซียน เช่น โครงสร้างพื้นฐานที่พร้อมและ กรรมสิทธิ์ในการเป็นเจ้าของที่ดิน เป็นต้น
อุตสาหกรรมพัฒนาที่อยู่อาศัย : แนวโน้มการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำในระดับสูงของรัฐบาล ชุดใหม่ ภายใต้การนำของพรรคก้าวไกลที่จะปรับขึ้นเป็น 450 บาท/วัน ย่อมส่งผลเชิงลบ ต่อต้นทุนการพัฒนาโครงการของผู้ประกอบการที่อยู่อาศัยทุกราย โดยหากพิจารณา โครงสร้างต้นทุนสัดส่วนหลัก 30-40% มาจากต้นทุนที่ดิน ตามด้วยต้นทุนก่อสร้างและ แรงงาน 40-50% ที่เหลือเป็นงานโครงสร้างและอื่น ๆ ภายใต้การปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ และปัจจัยอื่นไม่มีการเปลี่ยนแปลง หากอิงจากข้อมูลของผู้ประกอบการบางรายประเมิน ต้นทุนการพัฒนาจะเพิ่มขึ้น 10% ย่อมกระทบต่อประสิทธิภาพทำกำไร แต่เชื่อว่า ผู้ประกอบการจะสามารถจัดการกับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวได้ ผ่านการส่งผ่านไปยัง ราคาขายตามต้นทุนใหม่ ซึ่งหมายถึงราคาขายอาจต้องปรับขึ้น 5-10% เพื่อรักษามาร์จิ้น ไว้ รวมถึงบริหารจัดการต้นทุนอื่น เช่น ใช้ประโยชน์จากระบบ Precast ในการก่อสร้าง มากขึ้นเพื่อลดแรงงานคน, ปรับรูปแบบสินค้า เปลี่ยนวัสดุ ลดขนาดบ้าน ฯลฯ เพื่อไม่ให้ กระทบต่อมาร์จิ้นอย่างมีนัยฯ ทั้งนี้จากการศึกษาข้อมูลเรื่องประสิทธิภาพทำกำไรตลอด ช่วงกว่า 10 ปีที่ผ่านมา (ปี 2551-2565) พบว่า ผู้ประกอบการยังสามารถรักษา Gross Margin ในกรอบ 33-35% และ Norm Profit กรอบ 13-15% แม้เผชิญกับวัฏจักรเรื่อง ต้นทุนก่อสร้างและแรงงานที่ปรับขึ้นก็ตาม (ยกเว้นปี 2563 ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด และส่วนใหญ่เน้นขาย สต๊อกพร้อมลดราคา ทำให้ GP ปีดังกล่าวลงมาอยู่ที่ 31% และ Norm Profit อยู่ที่ 12.5% ก่อนเห็นการฟื้นตัวขึ้นในปีถัดไป)
อุตสาหกรรมท่องเที่ยวและสนามบิน : กลุ่มที่มีโครงสร้างรายได้จากไทยเป็นหลัก อย่าง ERW, CENTEL มีสัดส่วนค่าแรงราว 25% - 30% ของ OPEX โดยภายใต้ Sensitivity Analysis พบว่าทุก 30% ที่เพิ่มขึ้นของค่าแรงขั้นต่ำ จะกระทบต่อประมาณการกำไรปกติ ราว 6% - 7% (สุทธิจากอัตราภาษี 20%) อย่างไรก็ดีประเด็นค่าแรงขั้นต่ำต่อกลุ่มโรงแรม ยังต้องติดตาม เพราะธุรกิจโรงแรมมี Service chart สูง ซึ่งหลังรวม Service chart น่าจะ สูงกว่าค่าแรงขั้นต่ำ ขณะที่ MINT ด้วยโครงสร้างรายได้ที่มาจาก EU ราว 50% ของรายได้ รวม จึงประเมินได้รับผลกระทบจากกรณีค่าแรง ต่ำสุดเมื่อเทียบกับกลุ่มฯ ส่วน AOT ช่วง 1H66 (ต.ค. 65 – มี.ค. 66) มีสัดส่วนค่าใช้จ่ายพนักงาน 32% ของ OPEX แต่ส่วนใหญ่ ฐานเงินเดือนไม่ได้อิงกับค่าแรงขั้นต่ำต่อวัน มีเล็กน้อยที่อิงกับค่าแรงขั้นต่ำในกลุ่มสัญญา จ้าง Outsource จึงคาดว่ากระทบน้อยกว่า 2 บริษัทข้างต้น โดยกลยุทธ์การลงทุนหุ้น Reopening ใน SET50 เรียงดังนี้ MINT(FV@B38) 2Q66 มีโอกาส Outperform กลุ่มฯ จาก High Season ใน EU และผลกระทบค่าแรงต่ำกว่ากลุ่มฯ > AOT(FV@B80) ส่วนลด ให้กับคู่ค้าเริ่มกลับสู่ระดับปกติและราคาหุ้นตั้งแต่เปิดประเทศช่วงปี 2564 ยังขึ้นช้ากว่า กลุ่มฯ > CENTEL(FV@B60) ราคานี้ Risk to reward เริ่มน่าสนใจ
อุตสาหกรรมพลังงานและปิโตรเคมี: ภาพรวมธุรกิจในอุตสาหกรรมพลังงานไม่ได้อิงกับ การใช้แรงงาน โดยโครงสร้างต้นทุนส่วนใหญ่จะอิงกับราคาพลังงาน, ค่าเสื่อมราคา เป็น หลัก ในขณะที่ค่าใช้จ่ายพนักงาน (SG&A) ส่วนใหญ่จะเป็นการจ่ายในรูปแบบของ เงินเดือน, โบนัส ดังนั้นการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำจึงไม่ได้ส่งผลผลกระทบโดยตรงอย่างมีนัย ฯ ต่อโครงสร้างต้นทุน หรือผลการดำเนินงานบริษัทในกลุ่มนี้
อุตสาหกรรมค้าปลีก: คาดได้รับผลกระทบจากการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็น 450 บาท/วัน อยู่ บ้าง ทั้งนี้หากพิจารณาเฉพาะหุ้นกลุ่มพาณิชย์ที่เราศึกษา ส่วนใหญ่จะได้รับผลกระทบไม่ มากนัก เพราะพนักงานที่ได้รับค่าแรงขั้นต่ำมีสัดส่วนน้อยเมื่อเทียบกับจำนวนพนักงาน ทั้งหมด (ราว 10% - 20%) ดังนั้นค่าใช้จ่ายที่จะเพิ่มขึ้นจากการปรับขึ้นค่าแรงจะมีสัดส่วน ต่ำกว่า 0.5% ของยอดขายของแต่ละราย แต่คาดหมายยอดขายที่จะเพิ่มขึ้นได้ในระยะ ถัดไปได้ จากกำลังซื้อที่มีเพิ่มขึ้น นอกจากนี้คาดค่าแรงที่สูงขึ้นจะชดเชยได้บางส่วนจาก ค่าใช้จ่ายอื่นๆที่มีแนวโน้มลดลงในช่วง 2H66 โดยเฉพาะค่าสาธารณูปโภค ที่มีจะประหยัด ได้ จากค่าไฟฟ้าที่ลดลง ตามค่า FT ที่เริ่มลดลงแล้วตั้งแต่งวด เม.ย.66 - ก.ค.66 และยังมี แนวโน้มลดลงได้ต่อไปอีกในงวด ส.ค. 66 – พ.ย. 66 ด้านธุรกิจร้านอาหาร อย่าง M ค่าใช้จ่ายพนักงานคิดเป็นสัดส่วนราว 50% ของ SG&A บน Sensitivity Analysis ทุก 30% ที่เพิ่มขึ้นของค่าแรงขั้นต่ำ จะกระทบต่อประมาณการกำไรปกติ M ราว 12% (สุทธิ จากอัตราภาษี 20%)
อุตสาหกรรมสื่อสาร : หากมีการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็น 450 บาท/วัน ผลต่อการ ดำเนินงานของหุ้นในกลุ่ม ICT มีน้อยมาก เพราะพนักงานส่วนใหญ่จะได้รับผลตอบแทนที่ สูงกว่าอยู่แล้ว นอกจากนี้ยังเป็นอุตสาหกรรมที่มีการใช้งาน AI ช่วยในการดำเนินงานแทน พนักงานด้วย (เช่นงาน Call center ของบริษัทที่ให้บริการโทรศัพท์มือถือ)
สรุป ประเด็นการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็น 450บาท/วัน หากเกิดขึ้นจริง คาดผลกระทบใน แต่ะละอุตสาหกรรมแตกต่างกันออกไป แต่อยู่ในวงจำกัด(ไม่มีนัยฯมากนัก) ดังนั้นหาก ราคาหุ้นตอบสนองต่อประเด็นนี้มากเกินไป ถือเป็นโอกาสในการสะสมหุ้นพื้นฐาน แข็งแกร่ง
บทความนี้จัดทำและเผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์ ASIA Plus Securities