แม้ผลการเลือกตั้งที่ออกมา จะทำให้ถูกคาดหมายว่าเรามีโอกาสได้รัฐบาลที่มี เสถียรภาพกล่าวคือ เป็นรัฐบาลที่มีเสียงข้างมาก (เบื้องต้น 310 เสียง จาก 500 เสียง) แต่ประเด็นที่กลับมาสร้างความกังวลให้กับ SET Index มีอยู่ 2 ส่วน เริ่มจาก กระบวนการในการโหวตเลือกนายกรัฐมนตรี ซึ่งต้องเป็นคะแนนเสียงเกินกึ่งหนึ่ง ของรัฐสภา หรือไม่น้อยกว่า 376 เสียง หมายความว่าต้องมีเสียงบางส่วนของ สมาชิกวุฒิสภา หรือ ส.ส.พรรคที่ไม่ได้ร่วมรัฐบาล เข้ามาช่วยโหวตสนับสนุน ซึ่งถือ ว่าเป็นเรื่องยาก และหากมองในกรอบเวลาที่เหลืออีกราว 2 เดือน ก่อนที่จะเปิด สมัยประชุมรัฐสภา ทำให้มีโอกาสที่จะเห็นกระแสที่แกว่งไปมา และนำมาซึ่งความ ผันผวน ส่วนอีกเรื่องหนึ่งเป็นแรงกดดันที่เกิดขึ้นกับหุ้นที่อาจเสียประโยชน์จาก แนวนโยบายของพรรคก้าวไกล ซึ่งเป็นหุ้น Market Cap ใหญ่หลายตัว
ประเมินว่าการเคลื่อนไหวของ SET Index น่าจะมีความผันผวนต่างจากที่เราเคย คิดไว้ก่อนหน้า นักลงทุนต้องใช้ความระมัดระวังมากขึ้น วันนี้คาดว่า SET Index อยู่ในกรอบ 1520-1555 จุด หุ้น Top Pick วันนี้เลือก CPN, KTB และ SNNP
GDP GROWTH 1Q66 ไทยโต 1.9%QOQ และ 2.7%YOYสูงกว่าคาด
วานนี้ตลาดหุ้นสหรัฐรีบราวด์กลับขึ้นมาปิดตัวตัวในแดนบวกราว +0.1 % ถึง +1.2% จากความกังวลเรื่องความเสี่ยงต่อการผิดนัดชำระหนี้ของสหรัฐฯ ที่ดูผ่อนคลายมากขึ้น หลังปธน. โจ ไบเดน เผยว่ามีมุมมองเชิงบวกต่อการหารือเกี่ยวกับการขยายเพดานหนี้ใน วันนี้ (16 พ.ค.) และท้ายที่สุดแล้วเชื่อว่าทั้งฝ่ายพรรคเดโมแครตและรีพับกัน จะสามารถ บรรลุข้อตกลงร่วมกันได้
ในมุมบ้านเราวานนี้สภาพัฒน์เผย GDP ไทยใน 1Q66 เติบโต +1.9%QoQ และ +2.7%YoY สูงกว่าตลาดคาดที่ +1.8%QoQ และ +2.3%YoY ทำให้ประเทศไทยรอดพ้น จากภาวะ Technical Recession (GDP ติดตลบติดต่อกัน 2Q)
GDP ไทยใน 1Q66 ที่กลับมาขยายตัวได้โดดเด่น ส่งผลให้ภาพรวมเศรษฐกิจสามารถ กลับมายืนเหนือระดับก่อนเกิดโควิดได้แล้ว โดยดัชนี GDP ไทยล่าสุดจะอยู่ที่ 100.4 จุด
สำหรับการเติบโตหลักๆ ได้รับปัจจัยหนุนจากการขยายตัวของภาคบริการ ที่ภาค ท่องเที่ยวฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งผลผลิตในภาคเกษตรที่เพิ่มขึ้น บวกกับอัตราเงิน เฟ้อที่ชะลอตัวลง ส่งผลให้องค์ประกอบ GDP ใน 1Q66 ปรับตัวดีขึ้นหลายองค์ประกอบ เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า อาทิ การใช้จ่ายรัฐ -6.2YoY% (เดิม -7.1%), การลงทุน รัฐ +4.7YoY% (เดิม +1.5%), การส่งออก -0.7YoY% (เดิม +3.0%), และการนำเข้า - 4.8YoY% (เดิม -1.0%) นอกจากนี้สภาพัฒน์ยังคงคาดการณ์ GDP ปี 66 ไว้ที่2.7-3.7% รวมถึงปรับเพิ่มประมาณการในส่วนการบริโภคภาคเอกชนเป็น 3.7%YoY (เดิม 3.2%)
สรุป ความกังวลเรื่องความเสี่ยงต่อการผิดนัดชำระหนี้สหรัฐผ่อนคลายมากขึ้น หลัง รัฐบาลสหรัฐเตรียมเจรจาต่อรองเกี่ยวกับการปรับเพิ่มเพดานหนี้ในวันนี้ ส่วนในมุม ของบ้านเรา GDP ใน 1Q66 ขยายตัวได้ดีหลักๆ มาจากภาคบริการ ส่วนระยะถัดไป เศรษฐกิจไทยยังมีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่องจากการบริโภคภายในประเทศเป็นหลัก
ความกังวลเรื่องเสถียรภาพ และการเปลี่ยนผ่านนโยบาย กดดันตลาด หุ้นผันผวนช่วงสั้น
วานนี้ตลาดหุ้นต่างประเทศแกว่งทรงตัวในกรอบแคบทั้ง สหรัฐฯ ยุโรป และเอเชีย ราว - 0.8% ถึง +1.7% ซึ่งแตกต่างจากตลาดหุ้นไทยที่วานนี้ปรับตัวลง 19.97 จุด หรือ -1.28% ปิดที่ระดับ 1541.38 จุด สาเหตุหลักมาจากความกังวลหลังจากเกิดการสลับขั้วการจัดตั้ง รัฐบาล โดยมีวาระสำคัญ คือ
1. การโหวตเลือกนายกรัฐมนตรี จะผ่านการคัดเลือกต้องได้เสียงเกินกึ่งหนึ่งของ รัฐสภา ซึ่งประกอบด้วย ส.ส. 500 คน และ ส.ว. 250 คน รวม 750 คน หมายความว่าต้องได้คะแนนเสียงสนับสนุน 376 คน ขึ้นไป (ปัจจุบันพรรคก้าวไกล รวมเสียงสส.พรรคร่วมรัฐบาล 310 เสียง) หากไม่ได้เสียงจาก ส.ว. หรือ ส.ส. ที่ไม่อยู่ในพรรคร่วมรัฐบาล สนับสนุน ก็อาจทำให้กระบวนการในการโหวตเลือก นายกรัฐมนตรี ต้องยืดยาวออกไป ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อเศรษฐกิจ-การลงทุน ดังนั้น ในช่วง 60 วันจากนี้ ก่อนที่จะเปิดประชุมรัฐสภา ต้องติดตามดูว่าจะมีความ คืบหน้า หรือทิศทางที่จะทำให้กระบวนการในการโหวตเลือกนายกรัฐมนตรี เดินหน้าต่อได้อย่างไร
2. การเปลี่ยนผ่านนโยบายของพรรคก้าวไกล ซึ่งเน้นปรับโครงสร้างทั้งระบบให้ มีประสิทธิภาพมากขึ้น ลดการผูกขาด พร้อมกับเพิ่มสวัสดิการทุกช่วงวัย ใน ระยะสั้นนักลงทุนมีการตีความว่าเป็น Sentiment เชิงลบต่อหุ้นบางบริษัท และวานนี้ (15 พ.ค. 66) ปรับฐานลงมาแรง โดยฝ่ายวิจัยฯ แจกแจงSentiment เชิงลบต่อหุ้นตามนโยบายหาเสียง
สรุปตลาดหุ้นไทยยังอยู่ในช่วงรอความชัดเจนในมุมการจัดตั้งรัฐบาล - โหวตเลือก นายกรัฐมนตรีรวมถึงรายละเอียดของการเดินหน้านโยบายต่างๆ ที่ได้หาเสียงไว้ทำ ให้เกิดความผันผวนในช่วงสั้น กลยุทธ์แนะนำหุ้นได้ประโยชน์จากนโยบายรัฐบาล ใหม่ อย่าง CPN HMPRO COM7 CPN SNNP KCE NEX KTB KBANK (BK:KBANK) ส่วน Toppick ในวันนี้เลือก KTB CPN SNNP
กระแสความกังวลต่อกลุ่มโรงไฟฟ้า หากก้าวไกลเป็นรัฐบาล
วานนี้ ราคาหุ้นกลุ่มโรงไฟฟ้าปรับตัวลง ด้วยสาเหตุนโยบายของพรรคก้าวไกลต่อการปรับ ลดค่าไฟฟ้า โดยสรุปประเด็นหลักได้ 2 แนวทาง
1) การปรับลดค่าไฟฟ้าผ่านการพยายามจัดสรรก๊าซธรรมชาติซึ่งเป็นเชื้อเพลิงหลักของ โรงไฟฟ้าประเทศไทย โดยให้สัดส่วนก๊าซธรรมชาติที่ทุกๆกลุ่มต้องใช้อยู่ภายใต้ Energy Pool เดียวกัน และให้มีต้นทุนเดียวกัน คือ เป็นราคาเฉลี่ยก๊าซจากทั้งในอ่าวไทย (สัดส่วน 52%) ราคาก๊าซแหล่งอื่นๆบนบก (สัดส่วน 3%) และก๊าซฯที่นำเข้า (สัดส่วน 45% แบ่งเป็น LNG 28.8% และก๊าซฯพม่า 16.2%) และให้เปลี่ยนนโยบายการใช้ก๊าซธรรมชาติ สำหรับปิโตรเคมี โดยให้ PTTGC ปรับเปลี่ยนเครื่องจักรไม่ให้ใช้ก๊าซฯในอ่าว ให้ใช้แนฟทา เป็นวัตถุดิบแทน เพื่อเอาก๊าซธรรมชาติในอ่าวไปใช้ในโรงไฟฟ้าเพื่อลดต้นทุนเชื้อเพลิง
2) การปรับค่าความพร้อมจ่าย (AP: Availability Payment) ซึ่งเป็นรายได้ส่วนหนึ่งใน สัญญาซื้อขายไฟฟ้าที่ทำไว้กับกฟผ. (EGAT) สำหรับโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ IPP ที่ได้รับ คัดเลือกเป็นผู้ผลิตไฟฟ้าผ่านการประมูล โดยพรรคก้าวไกลมองว่าปัจจุบันปริมาณสำรองไฟฟ้าเหลือค่อนข้างสูง ไม่จำเป็นต้องให้โรงไฟฟ้าเดินเครื่องเต็ม ถึงแม้โรงไฟฟ้ามีความ พร้อมจ่ายก็ตาม จึงเหมือนต้องไปบิดเบือนสัญญาที่ทำไว้
ซึ่งจากประเด็นดังกล่าว ถือเป็นปัจจัยกดดันผู้ประกอบการทั้งปิโตรเคมีที่รับก๊าซฯ ไปเป็น วัตถุดิบเช่น PTTGC รวมถึงการปรับราคาที่มีนำเสนอไปให้ใช้ราคาขาย LNG ให้เป็นต้นทุน กับทุกกลุ่ม ซึ่งจะเพิ่มต้นทุนไม่เฉพาะกลุ่มปิโตรเคมี แต่อาจกระทบไปยังกลุ่มอุตสาหกรรม กลุ่มขนส่ง กลุ่มครัวเรือน ที่ใช้ก๊าซเป็นเชื้อเพลิง เพราะจะทำให้ต้นทุนสูงขึ้น
เช่นเดียวกับผู้ประกอบการโรงไฟฟ้า IPP ที่นโยบายพรรคก้าวไกลมีการแตะไปที่ค่าความ พร้อมจ่ายที่เป็นส่วนประกอบในสัญญาซื้อขายไฟฟ้า ซึ่งโดยปกติแล้วการประมูลโรงไฟฟ้า IPP จะเป็นการประมูลด้วย IRR ผลตอบแทนการลงทุนตลอดอายุโครงการ โดย ผู้ประกอบการมีสัญญาระบุไว้ชัดเจนรวมถึงมีข้อความที่ระบุในเชิงห้ามแก้ไขสัญญา อีกทั้ง เป็นการทำตามกฎเกณฑ์การประมูลต่างๆ ที่ถูกต้อง ดังนั้นการเข้ามาแทรกแซงในสัญญา ซื้อขายไฟฟ้าฉบับเดิม ไม่น่าจะทำได้ หรือหากถ้าจะทำก็ต้องมีภาระชดเชยให้กับผู้ถือ สัญญา เพราะเป็นการทำผิดสัญญา แต่ทั้งนี้ประเด็นดังกล่าวอาจจะกระทบสัญญาที่จะ เกิดขึ้นใหม่ ก็จะทำให้สัญญาใหม่ๆ มีโอกาสทำกำไรได้น้อยลงเมื่อเทียบกับในอดีตที่ผ่าน มา ซึ่งก็จะทำให้ความน่าสนใจลงทุนของผู้ประกอบการสำหรับโครงการในประเทศไทย ลดลง ก็จะเป็นภาระต่อ EGAT ต่อไปที่หากไม่มีเอกชนเข้ามาลงทุน กฟผ.ก็ต้องดำเนินการ ลงทุนเองทั้งหมด แต่อย่างไรก็ตามในช่วงที่ผ่านมาผู้ประกอบการโรงไฟฟ้าได้หันไปลงทุน ในต่างประเทศมากขึ้น เนื่องจากโครงการในประเทศไทยที่ลดลง และผลตอบแทนการ ลงทุนที่ต่ำ จึงไม่น่าสนใจอยู่แล้ว
บทความนี้จัดทำและเผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์ ASIA Plus Securities