ไฮไลท์สำคัญ จะอยู่ที่ รายงานอัตราเงินเฟ้อ CPI สหรัฐฯ ผลการประชุมของธนาคารกลางอังกฤษ รวมถึง ถ้อยแถลงของบรรดาเจ้าหน้าที่เฟด และธนาคารกลางยุโรป (ECB) ขณะเดียวกัน บรรยากาศในตลาดการเงินก็อาจผันผวนไปตามรายงานผลประกอบการของบรรดาบริษัทจดทะเบียน รวมถึงปัจจัยการเมืองสหรัฐฯ ในประเด็นขยายเพดานหนี้
**ราคาทองคำ = สัญญาทองคำตลาด COMEX ส่งมอบเดือน มิ.ย.
FX Highlight
-
เงินดอลลาร์มีแนวโน้มเคลื่อนไหว sideways หลังจากอ่อนค่าลงในสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยผู้เล่นในตลาดจะรอลุ้นรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญ โดยเฉพาะ อัตราเงินเฟ้อ CPI
-
แม้ว่า เฟดจะส่งสัญญาณหยุดขึ้นดอกเบี้ย แต่เงินดอลลาร์อาจแข็งค่าขึ้นได้บ้าง หากอัตราเงินเฟ้อไม่ได้ชะลอลงชัดเจน ทำให้ผู้เล่นในตลาดเชื่อว่าเฟดอาจคงอัตราดอกเบี้ยในระดับสูงได้นานกว่าการประชุมเดือนกรกฎาคม
-
อย่างไรก็ดี เงินดอลลาร์ก็อาจอ่อนค่าลงได้ จากประเด็นความกังวลปัญหาเพดานหนี้สหรัฐฯ (US Debt Ceiling) ซึ่งจากการศึกษาของเราพบว่า เงินดอลลาร์มักจะอ่อนค่าลง -1.4% ในช่วง 1 เดือน ก่อนสภาคองเกรสจะขยายเพดานหนี้ได้สำเร็จ
-
นอกจากนี้ หากสกุลเงินฝั่งยุโรป ทั้ง เงินยูโร (EUR) และเงินปอนด์ (GBP) แข็งค่าขึ้น จากการส่งสัญญาณพร้อมเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยต่อของบรรดาเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางยุโรป (ECB) และธนาคารกลางอังกฤษ (BOE) ก็อาจกดดันเงินดอลลาร์ได้เช่นกัน
-
อนึ่ง บรรยากาศในตลาดการเงิน (Risk Appetite/Sentiment) ก็อาจส่งผลต่อทิศทางเงินดอลลาร์ได้ โดยหากตลาดผิดหวังกับรายงานผลประกอบการ กลับมาอยู่ในภาวะปิดรับความเสี่ยง (Risk-Off) ก็อาจหนุนให้เงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้นได้บ้าง
-
เนื่องจากเป็นช่วงใกล้การเลือกตั้งใหญ่ เราประเมินว่า ฟันด์โฟลว์นักลงทุนต่างชาติอาจมีไม่มากหรือไม่มีทิศทางที่ชัดเจน แต่อย่างน้อย แรงขายสินทรัพย์ไทยอาจเบาบางลง หลัง SET เริ่มส่งสัญญาณกลับตัว/รีบาวด์ขึ้น
-
ทั้งนี้ เงินบาทยังมีโฟลว์ธุรกรรมจ่ายเงินปันผลให้กับนักลงทุนต่างชาติ เป็นปัจจัยกดดันเงินบาทฝั่งอ่อนค่าได้ในสัปดาห์นี้ ซึ่งเราคาดว่า ยอดจ่ายปันผลอาจสูงราว 180-200 ล้านดอลลาร์
-
ในเชิงเทคนิคัล ทั้งสัญญาณจาก RSI และ MACD กลับมาชี้ว่า เงินบาทมีโอกาสแกว่งตัว sideways down หรือทยอยแข็งค่าขึ้น โดยมีเส้นค่าเฉลี่ย EMA 50 วัน แถว 34.20-34.30 บาทต่อดอลลาร์ เป็นโซนแนวต้านแรก หากเงินบาทอ่อนค่าเหนือระดับ 34.00 บาทต่อดอลลาร์ได้ ส่วนโซนแนวรับจะอยู่แถว 33.50 บาทต่อดอลลาร์
Gold Highlight
-
ราคาทองคำอาจเริ่มแกว่งตัว sideways down จากแรงขายทำกำไร อย่างไรก็ดี ต้องรอจับตา 1) รายงานอัตราเงินเฟ้อ CPI สหรัฐฯ 2) การเจรจาขยายเพดานหนี้สหรัฐฯ 3) ผลการประชุมธนาคารกลางอังกฤษ (BOE) และ 4) บรรยากาศในตลาดการเงิน
-
เรามองว่า ตลาดอาจเริ่มให้น้ำหนักประเด็นเพดานหนี้สหรัฐฯ เพิ่มมากขึ้น ในช่วงเดือนพฤษภาคม ซึ่งจากสถิติในอดีตสะท้อนว่า ราคาทองคำอาจปรับตัวขึ้นราว +1.6% ในช่วง 1 เดือนก่อนสภาคองเกรสขยายเพดานหนี้
-
ทั้งนี้ โซนแนวต้านของราคาทองคำอาจอยู่ในช่วง 2,060 ดอลลาร์ต่อออนซ์ หลังผู้เล่นส่วนใหญ่ได้ทยอยเข้าซื้อสะสมทองคำ ในจังหวะที่ราคาทองคำย่อตัวลง โดยเฉพาะในช่วงโซน 1,990 ดอลลาร์ต่อออนซ์
-
นอกจากนี้ ในเชิงเทคนิคัล สัญญาณจาก RSI และ MACD ชี้ว่า ราคาทองคำอาจมีโอกาสแกว่งตัวลดลง sideways down อีกทั้งกราฟรายวันยังเกิด Evening Star Pattern ยิ่งเพิ่มโอกาสราคาทองคำย่อตัวลงมากขึ้น
-
เราคงเป้าราคาทองคำไว้ที่ 2,100 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ทำให้เรายังคงมองว่า ผู้เล่นในตลาดอาจรอจังหวะราคาทองคำปรับฐานในการทยอยเข้าซื้อได้ โดยผู้เล่นอาจทยอยแบ่งไม้เข้าซื้อในโซนแนวรับ 1,980-1,990 ดอลลาร์ต่อออนซ์ แต่หากราคาหลุดแนวรับถัดไปแถว 1,950 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ผู้เล่นในตลาดอาจชะลอการ เพื่อประเมินภาพตลาดอีกครั้ง