Economic Highlight
ไฮไลท์สำคัญที่ต้องติดตาม คือ ผลการประชุมเฟด ซึ่งเราคาดว่าเฟดจะเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ย +0.25% สู่ระดับ 5.00% ทั้งนี้ ตลาดจะรอลุ้นว่าคาดการณ์อัตราดอกเบี้ย หรือ Fed Dot Plot ใหม่จะสะท้อนแนวโน้มการขึ้นดอกเบี้ยของเฟดอย่างไร
ส่วนในฝั่งยุโรป ตลาดจะรอประเมินแนวโน้มเศรษฐกิจผ่านรายงานดัชนี PMI ภาคการผลิตและภาคการบริการในเดือนมีนาคม นอกจากนี้ ตลาดจะรอลุ้นผลการประชุมธนาคารกลางอังกฤษ (BOE) ว่าจะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยได้มากน้อยเพียงใด
ทางฝั่งเอเชีย ตลาดจะรอประเมินโอกาสการปรับนโยบายการเงินในอนาคตของธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ผ่านรายงานอัตราเงินเฟ้อ CPI เดือนกุมภาพันธ์ รวมถึงรายงานดัชนี PMI ภาคการผลิตและภาคการบริการในเดือนมีนาคม
**ราคาทองคำ = สัญญาทองคำตลาด COMEX ส่งมอบเดือน เม.ย.
FX Highlight
-
เงินบาทแข็งค่าขึ้นมากกว่าเราคาดในสัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งส่วนหนึ่งมาจากโฟลว์ธุรกรรมขายทำกำไรทองคำ หลังราคาทองคำปรับตัวขึ้นตามความต้องการถือสินทรัพย์ปลอดภัย
-
ในสัปดาห์นี้ เงินบาทมีแนวโน้มแกว่งตัว sideways ในช่วงก่อนประชุมเฟด เนื่องจากผู้เล่นในตลาดอาจยังไม่รีบปรับสถานะถือครอง และควรระมัดระวัง ความผันผวนในช่วงตลาดทยอยรับผลการประชุมเฟด
-
โดยเงินดอลลาร์อาจแข็งค่าขึ้นได้ หากเฟดขึ้นดอกเบี้ย +0.25% ตามคาด พร้อมปรับคาดการณ์แนวโน้มดอกเบี้ย หรือ Dot Plot สูงขึ้น และเฟดไม่ได้แสดงความกังวลต่อปัญหาสภาพคล่องระบบธนาคารสหรัฐฯ
-
ในทางกลับกัน หากเฟดไม่ขึ้นดอกเบี้ย หรือ ลดดอกเบี้ย โดยมีปัจจัยสำคัญมาจากความเสี่ยงเสถียรภาพของระบบธนาคาร ก็อาจกดดันให้ตลาดปิดรับความเสี่ยง (Risk-Off) แม้เงินดอลลาร์อาจแข็งค่าขึ้นได้ แต่เรามองว่า ตลาดอาจอยากถือเงินเยนญี่ปุ่น (JPY) และทองคำ รวมถึงบอนด์ เป็นสินทรัพย์ปลอดภัยมากกว่า ซึ่งในกรณีนี้ เงินบาทจะไม่อ่อนค่าไปมาก หากราคาทองคำปรับตัวขึ้นทดสอบหรือทะลุโซนแนวต้าน 2,000 ดอลลาร์ต่อออนซ์
-
เรามองว่า เงินบาทอาจแกว่งตัวในกรอบกว้าง โดยต้องจับตาโซนแนวรับสำคัญแรก คือ 34.00 บาทต่อดอลลาร์ ส่วนโซนแนวต้านสำคัญจะอยู่ในช่วง 34.50 บาทต่อดอลลาร์
-
นอกจากนี้ ควรจับตาความเคลื่อนไหวของตลาดหุ้นไทย หลังดัชนี SET ได้ส่งสัญญาณกลับตัว (แต่ยังไม่ชัดเจน) ซึ่งหากนักลงทุนต่างชาติเริ่มกลับเข้าซื้อหุ้นไทย (ส่วนหนึ่งอาจมารอเก็งกำไรหุ้นไทยในช่วงก่อนการเลือกตั้ง) ก็สามารถช่วยชะลอการอ่อนค่าของเงินบาทได้
-
ในเชิงเทคนิคัล ทั้งสัญญาณจาก RSI และ MACD ยังคงสะท้อนว่า เงินบาทมีโอกาสแกว่งตัว sideways down (ทยอยแข็งค่า) โดยเฉพาะหลังจากที่เงินบาทแข็งค่าหลุดแนวรับเส้นค่าเฉลี่ย EMA 50 วัน
Gold Highlight
-
ราคาทองคำปรับตัวขึ้นได้ต่อเนื่อง มากกว่าที่เราคาดไว้ (เรามองแนวโน้ม Sideways Up หลังราคาทองคำปรับตัวขึ้นเหนือเส้นค่าเฉลี่ย EMA 50 วัน) ตามความต้องการสินทรัพย์ปลอดภัย
-
แม้ว่า ราคาทองคำอาจยังพอได้แรงหนุนจากความต้องการถือสินทรัพย์ปลอดภัย รวมถึงมุมมองของผู้เล่นในตลาดที่คาดว่า เฟดจะส่งสัญญาณชะลอการขึ้นดอกเบี้ย หรือ ใกล้จบรอบการขึ้นดอกเบี้ย แต่เรามองว่า ต้องระวังความผันผวนในช่วงตลาดทยอยรับรู้ผลการประชุมเฟด
-
โดยหากเฟดส่งสัญญาณพร้อมเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยต่อเนื่อง เพื่อคุมปัญหาอัตราเงินเฟ้อที่ยังอยู่ในระดับสูง ซึ่งอาจสะท้อนผ่านคาดการณ์ดอกเบี้ยนโยบาย หรือ Dot Plot ที่ขยับสูงขึ้น ก็อาจกดดันให้ ราคาทองคำปรับตัวลงได้พอสมควร
-
ในเชิงเทคนิคัล สัญญาณจาก RSI อาจเริ่มเห็นภาพคล้าย Bearish Divergence ซึ่งต้องรอจับตาว่า โมเมนตัมการปรับตัวขึ้นของราคาทองคำจะเริ่มอ่อนแรงลงมากขึ้นหรือไม่ ขณะที่สัญญาณจาก MACD คงชี้ว่า ราคาทองคำมีโอกาสปรับตัวขึ้นต่อได้
-
เราคงมุมมองเดิม ที่ให้เป้าราคาทองคำในปีนี้แถวระดับ 2,000 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ซึ่งผู้เล่นในตลาดอาจรอจังหวะ Buy on Dip และอาจพิจารณาไม่ไล่ราคาซื้อ ในกรณีที่ ราคาทองคำปรับตัวทะลุ 1,900 ดอลลาร์ต่อออนซ์ เนื่องจาก Reward to Risk จะเริ่มไม่คุ้ม โดยเฉพาะถ้าให้จุดคัทลอสที่ 1,800 ดอลลาร์ต่อออนซ์ (ต่ำกว่าแนวรับ Fibonacci Retracement 50% แถว 1,815 ดอลลาร์ต่อออนซ์)
-
ในทางกลับกัน หากราคาทองคำปรับตัวขึ้นทะลุโซนแนวต้าน เรามองว่า ผู้เล่นในตลาดอาจรอจับจังหวะกลับตัวของราคาทองคำ (ลุ้นสัญญาณ RSI Bearish Divergence พร้อมติดตามผลการประชุมเฟด ) เพื่อเริ่มเปิดสถานะ Short (มองว่าราคาทองคำมีโอกาสย่อตัวลง) โดยอาจให้จุด stop loss แถว 2,050 ดอลลาร์ต่อออนซ์ และรอขายทำกำไรแถวโซน 1,880-1,900 ดอลลาร์ต่อออนซ์