รับส่วนลด 40%
ใหม่! 💥 รับ ProPicks เพื่อดูกลยุทธ์ที่ให้ผลตอบแทน ชนะดัชนี S&P 500 มากกว่า 1,183% รับส่วนลด 40%

บทวิเคราะห์ว่า...แนวโน้มของตลาดจะเป็นอย่างไรในช่วงเช้านี้

เผยแพร่ 10/10/2565 08:41
อัพเดท 09/07/2566 17:32

ตลาดหุ้นเอเชียมีโอกาสเปิดร่วงลงอย่างหนักตามตลาดหุ้นสหรัฐและตลาดหุ้นยุโรปปิดตลาดร่วงลงอย่างหนักในคืนวันศุกร์ที่ผ่านมา

ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดร่วงลงอย่างรุนแรงในวันศุกร์ (7 ต.ค.) หลังจากการเปิดเผยข้อมูลการจ้างงานที่แข็งแกร่งของสหรัฐในเดือนก.ย. ทำให้นักลงทุนวิตกว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะเดินหน้าปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างมากต่อไป และจะส่งผลให้เศรษฐกิจสหรัฐเข้าสู่ภาวะถดถอย

ทั้งนี้ ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 29,296.79 จุด ร่วงลง 630.15 จุด หรือ -2.11%, ดัชนี S&P500 ปิดที่ 3,639.66 จุด ร่วงลง 104.86 จุด หรือ -2.80% และดัชนี Nasdaq ปิดที่ 10,652.40 จุด ร่วงลง 420.91 จุด หรือ -3.80%

แม้ตลาดร่วงลงอย่างหนักในวันศุกร์ แต่ดัชนีดาวโจนส์, S&P500 และ Nasdaq ปรับตัวขึ้นได้เป็นสัปดาห์แรกหลังจากร่วงลง 3 สัปดาห์ติดต่อกัน โดยในรอบสัปดาห์นี้ ดัชนีดาวโจนส์บวก 1.99%, ดัชนี S&P500 ปรับตัวขึ้น 1.51% และดัชนี Nasdaq เพิ่มขึ้น 0.73%

ตลาดหุ้นนิวยอร์กถูกกดดันในวันศุกร์จากความเป็นไปได้ที่เพิ่มขึ้นถึง 92% ที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.75% เป็นครั้งที่ 4 ติดต่อกันในการประชุมวันที่ 1-2 พ.ย. โดยเพิ่มขึ้นจาก 83.4% ก่อนการเปิดเผยข้อมูลการจ้างงาน

กระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยในวันศุกร์ว่า ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรเพิ่มขึ้น 263,000 ตำแหน่งในเดือนก.ย. สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ที่ระดับ 250,000 ตำแหน่ง แต่ต่ำกว่าระดับ 315,000 ตำแหน่งในเดือนส.ค. ส่วนอัตราการว่างงานลดลงสู่ระดับ 3.5% จากระดับ 3.7% ในเดือนส.ค.

ด้านนายจอห์น วิลเลียมส์ ประธานเฟดสาขานิวยอร์กกล่าวว่า เฟดจำเป็นต้องปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกเพื่อควบคุมเงินเฟ้อซึ่งอยู่ในระดับสูงเกินไป

บรรดานักลงทุนจะจับตาการเปิดเผยข้อมูลดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ของสหรัฐในสัปดาห์หน้า เพื่อหาสัญญาณบ่งชี้ถึงระดับเงินเฟ้อ

หุ้นทั้ง 11 กลุ่มของดัชนี S&P500 ลดลง โดยกลุ่มเทคโนโลยีร่วงลงมากที่สุด 4.14%

ดัชนีหุ้นเซมิคอนดักเตอร์ที่ตลาดหุ้นฟิลาเดลเฟียร่วงลง 6.06% หลังบริษัทแอดวานซ์ ไมโคร ดีไวเซส (เอเอ็มดี) ผู้ผลิตชิปรายใหญ่ของสหรัฐ ปรับลดคาดการณ์รายได้ในไตรมาส 3/2565 เนื่องจากความต้องการชิปชะลอตัวลงมากกว่าที่คาดการณ์ไว้ และคาดว่ารายได้ของบริษัทในไตรมาส 3 จะต่ำกว่าที่คาดไว้ก่อนหน้านี้ราว 1 พันล้านดอลลาร์โดยหุ้นเอเอ็มดี ปิดร่วงลง 13.9%

หุ้นเฟดเอ็กซ์ คอร์ป ปิดลดลง 0.5% หลังจากคาดว่าปริมาณการขนส่งจะลดลง เนื่องจากลูกค้าวางแผนที่จะส่งพัสดุในช่วงเทศกาลวันหยุดลดน้อยลง

ตลาดหุ้นยุโรปปิดลดลงในวันศุกร์ (7 ต.ค.) หลังจากการเปิดเผยข้อมูลการจ้างงานที่แข็งแกร่งของสหรัฐทำให้เกิดความวิตกว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างรุนแรงเพื่อสกัดเงินเฟ้อที่ระดับสูง

ทั้งนี้ ดัชนี STOXX 600 ปิดที่ 391.67 จุด ลดลง 4.68 จุด หรือ -1.18% แต่ยังคงปรับตัวขึ้นเกือบ 1% ในรอบสัปดาห์นี้ ซึ่งแข็งแกร่งที่สุดในรอบ 1 เดือน

ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 5,866.94 จุด ลดลง 69.48 จุด หรือ -1.17%, ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมนีปิดที่ 12,273.00 จุด ลดลง 197.78 จุด หรือ -1.59% และดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 6,991.09 จุด ลดลง 6.18 จุด หรือ -0.09%

ตลาดหุ้นยุโรปปิดปรับตัวลงเป็นวันที่ 3 ติดต่อกัน หลังสหรัฐเปิดเผยข้อมูลการจ้างงานนอกภาคเกษตรเพิ่มขึ้นเกินคาดในเดือนก.ย. และอัตราการว่างงานลดลง ซึ่งทำให้มีการคาดการณ์กันว่า เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก 0.75% เป็นครั้งที่ 4 ในเดือนพ.ย.

ส่วนธนาคารกลางยุโรป (ECB) ได้เปิดเผยรายงานการประชุมครั้งก่อนเมื่อวันพฤหัสบดี ซึ่งก็ทำให้ตลาดวิตกว่า ECB จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างมากเพื่อควบคุมเงินเฟ้อในยูโรโซน

บรรดานักลงทุนจะจับตาการเปิดเผยดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือนก.ย.ของสหรัฐในวันพฤหัสบดีหน้า เพื่อประเมินแนวโน้มการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของเฟด

หุ้นกลุ่มเทคโนโลยีที่อ่อนไหวต่ออัตราดอกเบี้ย ร่วงลง 4.3% ขณะที่หุ้นกลุ่มอสังหาริมทรัพย์และอุตสาหกรรมร่วงลง 2.4% และ 2.3% ตามลำดับ

หุ้นกลุ่มผู้ผลิตชิปในยุโรป อาทิ อินฟิเนียน และบีอี เซมิคอนดักเตอร์ ร่วงลงราว 3-7% หลังซัมซุง อิเล็กทรอนิกส์ของเกาหลีใต้ และเอเอ็มดี บริษัทผลิตชิปของสหรัฐ ส่งสัญญาณว่า ความต้องการชิปที่ลดลงนั้น อาจรุนแรงเกินคาด

หุ้นอาดิดาสของเยอรมนี ร่วงลง 5.2% หลังบริษัททบทวนการเป็นหุ้นส่วนธุรกิจกับ คานเย เวสต์ นักร้องเพลงแรปและนักออกแบบแฟชั่นของสหรัฐ

แต่หุ้นเรโนลต์ของฝรั่งเศส พุ่งขึ้น 4.9% หลังธนาคาร ODDO BHF ปรับเพิ่มคำแนะนำลงทุนหุ้นเรโนลต์

หุ้นเครดิต สวิส พุ่ง 5.4% หลังเปิดเผยว่าจะซื้อคืนหุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ์วงเงิน 3 พันล้านฟรังก์สวิส (3 พันล้านดอลลาร์)

ตลาดหุ้นลอนดอนปิดลดลงในวันศุกร์ (7 ต.ค.) โดยหุ้นกลุ่มการเงินและกลุ่มอุตสาหกรรมถ่วงตลาดลง หลังจากการเปิดเผยข้อมูลการจ้างงานที่แข็งแกร่งของสหรัฐบ่งชี้ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างมาก ซึ่งกระตุ้นแรงเทขายหุ้นทั่วโลก

ทั้งนี้ ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 6,991.09 จุด ลดลง 6.18 จุด หรือ -0.09% แต่ปรับตัวขึ้นในรอบสัปดาห์นี้ หลังร่วงลง 3 สัปดาห์ติดต่อกัน

อย่างไรก็ตาม FTSE 100 ปรับตัวลง 5.3% แล้วในปีนี้ โดยถูกกดดันจากการที่ธนาคารกลางทั่วโลกคุมเข้มนโยบายการเงินเพื่อสกัดเงินเฟ้อ

ตลาดหุ้นลอนดอนปรับตัวลง หลังสหรัฐเปิดเผยข้อมูลบ่งชี้ว่า ตลาดแรงงานยังคงตึงตัว ซึ่งจะสนับสนุนให้เฟดเดินหน้าปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างรุนแรง

หุ้นกลุ่มการเงินที่อ่อนไหวต่ออัตราดอกเบี้ย อาทิ กลุ่มธนาคารและกลุ่มประกันร่วงลง 0.5% และ 1.3% ตามลำดับ ขณะที่กลุ่มอุตสาหกรรม ร่วงลง 2.3%

ส่วนหุ้นบีพีและหุ้นเชลล์ ปรับตัวขึ้น 1.9% และ 1.4% ตามลำดับ หลังสัญญาน้ำมันดิบปรับตัวขึ้น

หุ้นกลุ่มพลังงานปรับตัวขึ้น 5.6% แล้วในปีนี้ หลังกลุ่มโอเปกพลัสตัดสินใจปรับลดการผลิตน้ำมันลงมากที่สุดนับตั้งแต่ปี 2563 แม้มีความวิตกเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจถดถอยและอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นก็ตาม

และจากตัวเลขเศรษฐกิจที่ออกมาแย่ของจีนในวันเสาร์ที่ผ่านมา มีโอกาสทำให้ตลาดหุ้นจีนร่วงลงเช่นกัน

ผลสำรวจของไฉซินที่เปิดเผยในวันนี้ (8 ต.ค.) บ่งชี้ว่า กิจกรรมภาคบริการของจีนในเดือนก.ย.หดตัวลงเป็นครั้งแรกในรอบ 4 เดือน เนื่องจากข้อจำกัดต่าง ๆ ในการควบคุมโรคโควิด-19 ได้ส่งผลกระทบต่ออุปสงค์และความเชื่อมั่นทางธุรกิจ

ทั้งนี้ ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการจีนซึ่งจัดทำโดยไฉซิน ลดลงสู่ระดับ 49.3 ในเดือนก.ย. จาก 55.0 ในเดือนส.ค. เนื่องจากมาตรการควบคุมโรคโควิด-19 ได้ส่งผลกระทบต่ออุปทานและอุปสงค์ รวมถึงจำกัดการเดินทางทั่วประเทศ โดยดัชนี PMI ซึ่งอยู่ต่ำกว่าระดับ 50 บ่งชี้ว่า ภาคบริการหดตัวลง

ผลสำรวจของไฉซินบ่งชี้ว่า บริษัทในภาคบริการกำลังเผชิญกับภาวะอุปสงค์ที่ซบเซา, การผลิตที่หดตัวลง และต้นทุนที่สูงขึ้น แม้คำสั่งซื้อจากต่างประเทศฟื้นตัวขึ้นก็ตาม

สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า เศรษฐกิจจีนแสดงสัญญาณฟื้นตัวในเดือนส.ค. โดยผลผลิตภาคอุตสาหกรรมและยอดค้าปลีกเพิ่มขึ้นเกินคาด แต่เศรษฐกิจก็ยังคงได้รับผลกระทบจากมาตรการควบคุมโรคโควิด-19 ที่ยืดเยื้อ และการทรุดตัวของภาคอสังหาริมทรัพย์

และอาจกดดันให้ตลาดหุ้นยุโรปฟิวเจอร์ส และตลาดหุ้นสหรัฐฟิวเจอร์สมีการปรับตัวลงอย่างต่อเนื่องในเช้านี้

และอาจส่งผลให้ BTC ETH มีการปรับตัวลงตามเช่นกัน โดยเฉพาะในเวลา 05:00-07:00 ที่ต้องจับตาดูในเช้าวันนี้

และจากตัวเลขเศรษฐกิจจีนที่ออกมาแย่ เป็นข้อบ่งชี้ว่า...เศรษฐกิจของจีนได้มีการชะลอตัวลงอย่างเห็นได้ชัด เนื่องจากเศรษฐกิจในภาคการบริการของจีนได้กลับมาติดลบอีกครั้ง!!!

และจากปัจจัยดังกล่าว อาจทำให้สกุลเงินหยวนมีการอ่อนค่าลงในช่วงการเปิดตลาดเอเชียในช่วงเช้านี้

ทำให้ราคาทองคำมีโอกาสที่จะปรับตัวลงอย่างต่อเนื่อง จากการอ่อนค่าของสกุลเงินหยวน และการร่วงลงของตลาดหุ้นจีนในวันนี้

แนวรับ-แนวต้านของราคาทองคำในวันนี้

แนวต้าน 1,703$ 1,709$ 1,712$

แนวรับ 1,690$ 1,680$ 1,673$

สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดลดลงในวันศุกร์ (7 ต.ค.) โดยถูกกดดันหลังจากสหรัฐเปิดเผยตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรที่สูงกว่าคาด ซึ่งจะทำให้ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อไป

ทั้งนี้ สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนธ.ค. ลดลง 11.5 ดอลลาร์ หรือ 0.67% ปิดที่ระดับ 1,709.3 ดอลลาร์/ออนซ์ แต่ยังคงปิดบวก 2.2% ในรอบสัปดาห์นี้

สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนธ.ค. ลดลง 40.5 เซนต์ หรือ 1.96% ปิดที่ 20.255 ดอลลาร์/ออนซ์

สัญญาพลาตินัมส่งมอบเดือนม.ค. ลดลง 3.9 ดอลลาร์ หรือ 0.42% ปิดที่ 917.9 ดอลลาร์/ออนซ์

สัญญาพัลลาเดียมส่งมอบเดือนธ.ค. ลดลง 84.20 ดอลลาร์ หรือ 3.7% ปิดที่ 2,191.30 ดอลลาร์/ออนซ์

กระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยในวันศุกร์ว่า ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรเพิ่มขึ้น 263,000 ตำแหน่งในเดือนก.ย. สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 250,000 ตำแหน่ง ส่วนอัตราการว่างงานลดลงสู่ระดับ 3.5% จากระดับ 3.7% ในเดือนส.ค.

นักวิเคราะห์ตลาดระบุว่า ข้อมูลการจ้างงานที่แข็งแกร่งของสหรัฐบ่งชี้ว่าตลาดแรงงานอยู่ในภาวะที่ดีกว่าที่ตลาดคาดไว้ และจะสนับสนุนให้เฟดเดินหน้าปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อไป

สัญญาทองคำได้รับผลกระทบจากดัชนีดอลลาร์และอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐที่ปรับตัวขึ้น หลังการเปิดเผยข้อมูลจ้างงาน

ดอลลาร์ที่แข็งค่าขึ้นจะลดความน่าดึงดูดของทอง โดยทำให้สัญญาทองมีราคาแพงขึ้นสำหรับผู้ถือครองเงินสกุลอื่น ขณะที่การดีดตัวขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐจะเพิ่มต้นทุนค่าเสียโอกาสในการถือครองทองคำ เนื่องจากทองคำเป็นสินทรัพย์ที่ไม่มีผลตอบแทนในรูปดอกเบี้ย

บรรดานักลงทุนเพิ่มการคาดการณ์ที่ว่า เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.75% ในการประชุมกำหนดนโยบายการเงินในเดือนพ.ย. ซึ่งจะเป็นการปรับขึ้นดอกเบี้ย 0.75% ติดต่อกันเป็นครั้งที่ 4 หลังจากปรับขึ้น 0.75% ในเดือนมิ.ย., ก.ค. และก.ย.

ขณะเดียวกัน นักลงทุนจะจับตารายงานการประชุมของเฟดประจำเดือนก.ย.ในวันที่ 12 ต.ค.นี้ และตัวเลขดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ในวันที่ 13 ต.ค. เพื่อหาสิ่งบ่งชี้ทิศทางอัตราดอกเบี้ยของเฟดต่อไป

และจากตัวเลขเศรษฐกิจที่ออกมาแย่ของจีนในวันเสาร์ที่ผ่านมา มีโอกาสทำให้ตลาดหุ้นจีนมีการปรับตัวร่วงลง และกดดันให้ตลาดหุ้นยุโรปฟิวเจอร์สและตลาดหุ้นสหรัฐฟิวเจอร์สมีการปรับตัวร่วงลงตามเช่นกัน เนื่องจากความวิตกเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจโลกถดถอย เนื่องจากจีนนั้นเป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจ หรือ GDP ใหญ่เป็นอันดับที่ 2 ของโลก

ทำให้ราคาน้ำมันอาจมีการย่อตัวลงได้ในระยะสั้นๆในช่วงเปิดตลาดเอเชียในช่วงเช้าวันนี้ จากการร่วงลงของตลาดหุ้นทั่วโลก โดยเฉพาะการร่วงลงของตลาดหุ้นจีนซึ่งเป็นประเทศผู้นำเข้าน้ำมันดิบรายใหญ่ของโลก และเป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดเป็นอันดับที่ 2 ของโลก

จากตัวเลขเศรษฐกิจจีนที่ออกมาแย่ เป็นข้อบ่งชี้ว่า...อุปสงค์การใช้น้ำมันในจีนอาจลดลง เนื่องจากเศรษฐกิจในภาคการบริการของจีนได้กลับมาติดลบอีกครั้ง!!!

สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดพุ่งขึ้นในวันศุกร์ (7 ต.ค.) เนื่องจากตลาดยังคงขานรับกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) และชาติพันธมิตร หรือโอเปกพลัส มีมติปรับลดกำลังการผลิตครั้งใหญ่ที่สุดในรอบ 2 ปี

ทั้งนี้ สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนพ.ย. พุ่งขึ้น 4.19 ดอลลาร์ หรือ 4.7% ปิดที่ 92.64 ดอลลาร์/บาร์เรล ซึ่งเป็นระดับปิดสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 29 ส.ค. 2565 และในรอบสัปดาห์นี้ สัญญาน้ำมันดิบ WTI พุ่งขึ้น 16.5%

ส่วนสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (BRENT) ส่งมอบเดือนธ.ค. พุ่งขึ้น 3.5 ดอลลาร์ หรือ 3.7% ปิดที่ 97.92 ดอลลาร์/บาร์เรล ซึ่งเป็นระดับปิดสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 30 ส.ค. 2565 และในรอบสัปดาห์นี้ สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ พุ่งขึ้น 15%

ตลาดน้ำมันดิบยังคงได้แรงหนุนจากการที่กลุ่มโอเปกพลัสตัดสินใจในวันพุธ (5 ต.ค.) ที่จะลดการผลิตน้ำมันลง 2 ล้านบาร์เรลต่อวันโดยเริ่มตั้งแต่เดือนพ.ย.เพื่อหนุนราคาน้ำมัน

บรรดานักวิเคราะห์ด้านพลังงานของคอมเมิร์ซแบงก์ รีเสิร์ชเปิดเผยในวันศุกร์ว่า โอเปกพลัสตัดสินใจปรับลดการผลิต เพื่อป้องกันไม่ให้มีปริมาณน้ำมันส่วนเกินในไตรมาส 4 ของปีนี้

ก่อนหน้านี้ความวิตกเกี่ยวกับอุปสงค์น้ำมันท่ามกลางแนวโน้มที่จะเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยและการแข็งค่าขึ้นอย่างมากของเงินดอลลาร์สหรัฐนั้น ได้ทำให้ราคาน้ำมันดิบร่วงลงในช่วงสิ้นเดือนก.ย.สู่ระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนม.ค. 2565

และจากการที่ตลาดหุ้นทั่วโลกมีโอกาสที่จะร่วงลงในช่วงเปิดตลาดเอเชียในช่วงเช้าของวันนี้ จะหนุนสกุลเงินปลอดภัยอย่างสกุลเงินเยน JPY และสกุลเงินฟรังก์สวิส CHF ให้มีการแข็งค่าขึ้น

ในขณะที่สกุลเงินหยวนมีโอกาสอ่อนค่าลงจากตัวเลขเศรษฐกิจของจีนที่ออกมาแย่ และจากการร่วงลงของตลาดหุ้นจีน

และจากการอ่อนค่าของสกุลเงินหยวนของจีน จะเป็นปัจจัยกดดันให้สกุลเงินดอลลาร์ออสเตรเลีย AUD และสกุลเงินดอลลาร์นิวซีแลนด์ NZD มีการอ่อนค่าลงเช่นกัน

และหนุนดัชนีดอลลาร์สหรัฐ DXY ให้มีการปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่องต่อจากในคืนวันศุกร์ที่ผ่านมา

ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กในวันศุกร์ (7 ต.ค.) โดยได้แรงหนุนจากการคาดการณ์ที่ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.75% เป็นครั้งที่ 4 ในการประชุมเดือนพ.ย. หลังจากสหรัฐเปิดเผยตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรที่สูงกว่าคาด

ทั้งนี้ ดัชนีดอลลาร์ ซึ่งเป็นดัชนีวัดความเคลื่อนไหวของดอลลาร์เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก 6 สกุลในตะกร้าเงิน เพิ่มขึ้น 0.48% แตะที่ระดับ 112.7950

ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับเงินเยนที่ระดับ 145.34 เยน จากระดับ 145.05 เยน และแข็งค่าเมื่อเทียบกับฟรังก์สวิสที่ระดับ 0.9949 ฟรังก์ จากระดับ 0.9905 ฟรังก์ แต่ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์แคนาดาที่ระดับ 1.3725 ดอลลาร์แคนาดา จากระดับ 1.3751 ดอลลาร์แคนาดา

ยูโรอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 0.9737 ดอลลาร์ จากระดับ 0.9798 ดอลลาร์, เงินปอนด์อ่อนค่าลงแตะที่ระดับ 1.1076 ดอลลาร์ จากระดับ 1.1151 ดอลลาร์ และดอลลาร์ออสเตรเลียอ่อนค่าลงแตะที่ระดับ 0.6369 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.6408 ดอลลาร์สหรัฐ

ดอลลาร์แข็งค่าขึ้น หลังกระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยในวันศุกร์ว่า ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรเพิ่มขึ้น 263,000 ตำแหน่งในเดือนก.ย. สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ที่ระดับ 250,000 ตำแหน่ง แต่ต่ำกว่าระดับ 315,000 ตำแหน่งในเดือนส.ค. ส่วนอัตราการว่างงานลดลงสู่ระดับ 3.5% ในเดือนก.ย. จากระดับ 3.7% ในเดือนส.ค.

ทั้งนี้ นักลงทุนมองว่า ตัวเลขจ้างงานที่สูงกว่าคาดดังกล่าวและอัตราว่างงานที่ลดลงนั้น บ่งชี้ถึงความแข็งแกร่งในตลาดแรงงานสหรัฐ และจะเป็นปัจจัยหนุนให้เฟดเร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อไป

ในขณะที่สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ USD ได้รับปัจจัยหนุนหลายอย่างจากความเป็นไปได้ที่มากขึ้นเรื่อยๆในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยสูงถึง 0.75% ของเฟดอีกครั้งในการประชุมเฟดครั้งถัดไปที่จะเกิดขึ้นในต้นเดือนหน้า จากการที่ตัวเลขการจ้างงานออกมาดีกว่าคาด และอัตราการว่างงานออกมาลดลงในคืนวันศุกร์ที่ผ่านมา บ่งชี้ให้เห็นว่าตลาดแรงงานในสหรัฐยังคงมีความแข็งแกร่งอยู่ และจากรายได้เฉลี่ยต่อชั่วโมงเมื่อเทียบเดือนต่อเดือนยังออกมาอยู่ที่ 0.3% เท่าเดิม บ่งชี้ว่าอัตราเงินเฟ้ออาจจะยังไม่ลดลงง่ายๆ จากการที่ผู้บริโภคยังคงมีกำลังซื้อสินค้าในราคาที่แพงอยู่ เป็นปัจจัยที่กระตุ้นให้เฟดอาจตัดสินใจขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.75% เป็นครั้งที่ 4 ติดต่อกันในการประชุมเดือนหน้า

นักลงทุนเพิ่มคาดการณ์เกือบ 100% ที่ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.75% ในการประชุมกำหนดนโยบายการเงินในเดือนพ.ย. หลังการเปิดเผยตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรที่สูงกว่าคาด ซึ่งจะเป็นปัจจัยหนุนให้ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย

ล่าสุด FedWatch Tool ของ CME Group บ่งชี้ว่า นักลงทุนให้น้ำหนัก 92% ที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.75% สู่ระดับ 3.75-4.00% ในการประชุมวันที่ 1-2 พ.ย. หลังจากที่ก่อนหน้านี้ให้น้ำหนัก 77.1%

หากเฟดปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.75% ในเดือนพ.ย. ก็จะส่งผลให้เฟดขึ้นดอกเบี้ย 0.75% ติดต่อกันเป็นครั้งที่ 4 หลังจากปรับขึ้น 0.75% ในเดือนมิ.ย.,ก.ค.และก.ย.

กระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยว่า ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรเพิ่มขึ้น 263,000 ตำแหน่งในเดือนก.ย. สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 250,000 ตำแหน่ง ส่วนอัตราการว่างงานลดลงสู่ระดับ 3.5% จากระดับ 3.7% ในเดือนส.ค.

ทั้งนี้ นักลงทุนมองว่า ตัวเลขจ้างงานที่สูงกว่าคาดดังกล่าว และอัตราว่างงานที่ลดลงสู่ระดับ 3.5% ในเดือนก.ย. เป็นการบ่งชี้ความแข็งแกร่งในตลาดแรงงานสหรัฐ และจะเป็นปัจจัยหนุนให้เฟดเร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อไป

และสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ USD ยังได้รับแรงหนุนในฐานะที่เป็นสกุลเงินปลอดภัยในยามที่เศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มที่จะชะลอตัว จากการที่เศรษฐกิจจีนได้ส่งสัญญาณถึงการชะลอตัว จากการที่ตัวเลขเศรษฐกิจในยูโรโซนและอังกฤษที่ออกมาแย่ลงอย่างต่อเนื่องบ่งชี้ให้เห็นว่าเศรษฐกิจของยูโรโซนและอังกฤษมีความเสี่ยงเป็นอย่างมากที่จะเข้าสู่ภาวะถดถอยจากปัญหาเงินเฟ้อในยุโรปที่ยังคงพุ่งสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องจากปัญหาวิกฤตพลังงานในยุโรปและสงครามระหว่างรัสเซียและยูเครน จากการที่เศรษฐกิจสหรัฐเองก็มีความเสี่ยงที่จะเข้าสู่ภาวะถดถอยเช่นเดียวกันจากการเร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อจัดการปัญหาเงินเฟ้อ และความเสี่ยงจากการที่เงินเฟ้อทั่วโลกจะยังคงสูงขึ้นเรื่อยๆจากการลดกำลังการผลิตน้ำมันของกลุ่ม OPEC+ ถึง 2 ล้านบาร์เรลต่อวันนับตั้งแต่เดือนหน้าเป็นต้นไปซึ่งเป็นช่วงที่ยุโรปกำลังจะเข้าสู่ช่วงหน้าหนาวพอดี ทำให้ทางยุโรปมีโอกาสที่จะขาดแคลนน้ำมันมากขึ้น ส่งผลให้วิกฤตการณ์พลังงานในยุโรปรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ และจะทำให้ราคาน้ำมันพุ่งขึ้นเป็นอย่างมาก!!!

และจากวิกฤตพลังงานในยุโรปที่มีโอกาสรุนแรงขึ้นในเดือนหน้าจะส่งผลโดยตรงต่อสกุลเงินยูโร EUR และสกุลเงินปอนด์ GBP ให้มีการอ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่อง เป็นปัจจัยหนุนดัชนีดอลลาร์สหรัฐ DXY ให้ปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่องเช่นเดียวกันในช่วง 1-2 เดือนข้างหน้า

ทำให้คู่สกุลเงิน EURJPY GBPJPY AUDJPY NZDJPY มีโอกาสปรับตัวลงในวันนี้

เช่นเดียวกับคู่สกุลเงิน EURCHF GBPCHF AUDCHF NZDCHF ที่มีโอกาสปรับตัวลงในวันนี้เช่นกัน

ในขณะที่คู่สกุลเงิน CADJPY CADCHF มีโอกาสปรับตัวลงด้วยจากราคาน้ำมันที่อาจจะมีการย่อตัวลงในระยะสั้น

ในขณะที่คู่สกุลเงิน EURUSD GBPUSD AUDUSD NZDUSD มีโอกาสปรับตัวลงในวันนี้เช่นเดียวกัน

ส่วนคู่สกุลเงิน USDCAD มีโอกาสปรับตัวขึ้นจากการย่อตัวลงในระยะสั้นของราคาน้ำมัน

ในขณะที่คู่สกุลเงินอย่าง USDJPY และ USDCHF อาจมีการปรับตัวขึ้นได้ไม่มาก จากการแข็งค่าของสกุลเงินเยน JPY และสกุลเงินฟรังก์สวิส CHF ในวันนี้

ขณะที่ปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตามในสัปดาห์นี้ ได้แก่ กระแสเงินทุนต่างชาติ สถานการณ์ค่าเงินในภูมิภาค มุมมองต่อทิศทางนโยบายการเงินของเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) และแนวโน้มเศรษฐกิจโลกที่ปรับทบทวนใหม่โดย กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ส่วนตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญ ได้แก่ ตัวเลขคาดการณ์เงินเฟ้อในมุมมองผู้บริโภค ดัชนีราคาผู้บริโภค ดัชนีราคาผู้ผลิต ยอดค้าปลีกเดือนก.ย. ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนต.ค. (เบื้องต้น) และจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ นอกจากนี้ตลาดยังรอติดตามบันทึกการประชุมเฟด (20-21 ก.ย.) ผลการประชุมธนาคารกลางเกาหลีใต้ และตัวเลขเศรษฐกิจจีนเดือนก.ย. ด้วยเช่นกัน

ความคิดเห็นล่าสุด

ko
การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย