รับส่วนลด 40%
ใหม่! 💥 รับ ProPicks เพื่อดูกลยุทธ์ที่ให้ผลตอบแทน ชนะดัชนี S&P 500 มากกว่า 1,183% รับส่วนลด 40%

FUND FLOW เข้ามาขับเคลื่อนตลาดอีกครั้ง 

เผยแพร่ 09/08/2565 10:16
อัพเดท 09/07/2566 17:32

ปัจจัยแวดล้อมทางพื้นฐานที่อยู่ในความสนใจอยู่ที่สถานการณ์ในช่องแคบไต้หวัน และทะเลจีนใต้ ซึ่งสถานการณ์ปัจจุบันยังเต็มไปด้วยการซ้อมรบด้วยกระสุนจริงแม้ จะประเมินสถานการณ์แล้วยังไม่ถึงระดับที่จะนำไปสู่การใช้กำลังทางทหารระหว่าง กัน แต่ก็มีความเสี่ยงในเรื่องของอุบัติเหตุหรือความผิดพลาดที่เกิดขึ้นจากการซ้อม รบ ส่วนรัสเซีย-ยูเครน สถานการณ์ก็ยังมองไม่เห็นจุดยุติด้วยการเจรจา แต่อย่างไร ก็ตาม เป็นข้อสังเกตุว่าตลาดการเงินโลกดูเหมือนว่าจะไม่ตอบสนองความเสี่ยงเชิง ภูมิรัฐศาสตร์ดังกล่าวอย่างมีนัยสำคัญ สำหรับตลาดหุ้นไทยมองเห็นทิศทางของ Fund Flow ที่ไหลเข้ามาชัดเจนขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการซื้อสุทธิในตลาดหุ้น หรือการ เปิด long ในตลาด Future ส่วนหนึ่งน่าจะเป็นความคาดหวังว่าเงินบาทไม่น่าจะ อ่อนค่าเพิ่ม หลังเงินเฟ้อเดือน ก.ค. เบาลง ขณะที่ กนง. กำลังปรับขึ้นดอกเบี้ย

SET Index น่าจะผันผวนทิศทางขึ้นกรอบ 1600 – 1615 จุด พอร์ตจำลองวันนี้ ไม่ มีการปรับเปลี่ยน โดยให้ถือเป็นเงินสด 20% หุ้น Top Pick เลือก BAM, KBANK (BK:KBANK) และ VNG

ความเสี่ยงภูมิรัฐศาสตร์ยังมี พร้อมจับตาตัวเลขเงินเฟ้อสหรัฐคืนพรุ่งนี้

จีนประกาศขยายเวลาซ้อมรบรอบเกาะไต้หวัน (ไม่ใช่แค่ที่ทะเลเหลืองและทะเลปั๋วไห่) พร้อมกับแถลงว่า ไต้หวันเป็นส่วนหนึ่งของจีนอยู่แล้ว การซ้อมรบบนดินแดนและน่านน้ำ ของประเทศตัวเองนั้นเป็นเรื่องปกติ ขณะที่ฝั่งไต้หวันประกาศซ้อมรบด้วยกระสุนจริงเป็น เวลา 2 วันในเขตผิงตง ระหว่างวันที่ 9-11 สิงหาคมนี้ซึ่งประเด็นดังกล่าว ยังกดดันตลาด หุ้น โดยเฉพาะหุ้นกลุ่ม Semiconductor ปรับตัวลง อาทิ Nvidia -6.30%, AMD -2.19% เป็นต้น นักลงทุนจึงต้องติดตามความคืบหน้าของทั้ง 2 ประเทศต่อไปว่าจะมีพัฒนาการ อย่างไร?ขณะที่ฝั่งรัสเซีย-ยูเครนก็ไม่มีพัฒนาการเชิงบวกเท่าไหร่ ซึ่งล่าสุดมีเพียงห ประชาชาติ ตุรกี รัสเซีย และยูเครนทำข้อตกลงร่วมกัน ก็ทำให้ยูเครนและรัสเซียกลับมา ส่งออกธัญพืชและปุ๋ยได้อีกครั้ง ความเสี่ยงเชิงเชิงภูมิรัฐศาสตร์ของทั้ง 2 เหตุการณ์ยังมีแต่ ดูเหมือนว่าการตอบสนองของตลาดการเงินโลก จะยังอยู่ในระดับที่ไม่มีนัยสำคัญ

ส่วนวันนี้นักลงทุนให้น้ำหนักการรายงานอัตราเงินเฟ้อสหรัฐฯ เดือน กค.65 โดยตลาดคาด +8.7%YoY (ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ +9.10%YoY) ในส่วนประเทศไทยติดตามการ ประชุม กนง.ในวันที่ 10 สค 65 ที่ตลาดคาดขึ้นดอกเบี้ย 0.25% มาอยู่ที่ 0.75% (ขึ้น ดอกเบี้ยครั้งแรกรอบ 4 ปี)

ทั้งนี้คาดว่าประเด็นการขึ้นดอกเบี้ยในไทย ถือเป็นเรื่องหนึ่งที่คอยกดดันตลาดหุ้น อย่างไรก็ตามยังพอมีหุ้นที่สามารถรับมือกับปัจจัยดังกล่าวได้ดี และน่าจะ Outperform ตลาดได้อาทิ หุ้นกลุ่มธนาคารพาณิชย์(KBANK BL SCB KTB), กลุ่ม ประกัน(BLA), กลุ่มที่ได้ประโยชน์หาก Fund Flow ไหลเข้า (PTT (BK:PTT) PTTEP IVL SCC CPALL (BK:CPALL) CRC ADVANC) เป็นต้น

สรุปแนวทางเรื่องการปรับขึ้นค่า FT ในปัจจุบัน

คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน หรือ กกพ. ได้ประกาศปรับขึ้นค่า ft ในรอบ ก.ย.-ธ.ค. 65 เพิ่มขึ้น 68.66 สตางค์/หน่วย ส่งผลให้อัตราคาไฟฟ้างวดใหม่อยู่ที่ 4.72 บาท/หน่วย โดยในส่วนของ กกพ.ได้ยืนยันว่า ได้ส่งเอกสารให้แก่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) การไฟฟ้านครหลาวง (กฟน.) และ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) เป็นที่เรียบร้อย และมีผลตามกฏหมายตั้งแต่วันที่ 27 ก.ค. เป็นต้นมา

อย่างไรก็ตามสถานการณ์ปัจจุบันได้เปลี่ยนแปลงไป เนื่องจากนายกรัฐมนตรีเห็นว่าการ ปรับขึ้นค่าไฟฟ้าดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่อภาคประชาชน จึงต้องการหารือกับทาง กกพ. เพื่อทบทวนการปรับขึ้นค่าไฟฟ้า หรือเสนอแนวทางออกมาตรการเพื่อช่วยเหลือภาค ประชาชนอีกครั้ง ซึ่งจากแหล่งข่าว โจทย์ที่รัฐบาลต้องการมี 2 แนวทางได้แก

1. กกพ. พิจารณาแนวทางต่ออายุมาตรการดูแลผู้ใช้ค่าไฟฟ้าไม่เกิน 300 หน่วย/เดือน ประเภทบ้านที่อยู่อาศัย และกิจการขนาดเล็ก จนถึงสิ้นปี 2565 โดยกลุ่มผู้ใช้ดังกล่าวที่ จ่ายค่าไฟฟ้าใก้แก่การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) จะได้รับ ส่วนลดค่าไฟจากการลดค่า ft ที่ 0.23 บาท/หน่วย (จ่ายเท่าอัตราเดิมกับเดือน ม.ค.-ส.ค.) อย่างไรก็ตาม โดยปกติมาตรการดังกล่าว รัฐฯจะเป็นผู้จัดสรรงบประมาณ ซึ่งครั้งนี้ทางรัฐฯ ไม่สามารถจัดสรรงบมาได้ จึงทำให้ กกพ. ไม่สามารถดำเนินการได้

2. ให้ กกพ.พิจารณาแนวทางสูตรคิดคำนวณค่าไฟใหม่ ภายใต้หลักเกณฑ์ผู้ใช้ไฟฟ้า น้อยจะจ่ายค่า ft ที่ต่ำกว่า ผู้ที่ใช้ไฟมาก แต่ กกพ. ยังไม่สามารถดำเนินการได้ทันที เพราะต้องใช้เวลาในการพิจารณา และเปิดรับฟังความเห็นกับผู้มีส่วนได้เสียอีกครั้ง โดยรวมแล้ว การเข้าแทรกแซงของรัฐฯจะส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการในกลุ่ม โรงไฟฟ้า SPP ที่ขายไฟฟ้าให้แก่ลูกค้าภาคอุตสาหกรรม ซึ่งต้องแบกรับต้นทุนพลังงาน ไว้เอง เพราะหากไม่สามารถปรับขึ้นค่า ft ได้จริง จะส่งผลให้รายได้ไม่สามารถเพิ่มขึ้น ตามต้นทุนพลังงานที่ยังมีแนวโน้มปรับตัวขึ้นต่อเนื่องในช่วง 2H65 ตาม lag time ของ ราคาน้ำมัน จึงเป็นส่วนกดดันให้อัตรากำไร และผลประกอบการของ BGRIM และ GPSC ซึ่งมีสัดส่วนขายไฟฟ้าให้ลูกค้าอุตสาหกรรมที่ค่อนข้างสูงราว 23% และ 26% ของรายได้รวม ตามลำดับ ปรับตัวลดลงได้ อีกทั้งยังถือเป็น sentiment เชิงลบต่อทั้ง BGRIM และ GPSC จากความไม่ชัดเจนสำหรับแนวทางในปัจจุบัน ซึ่งยังคงต้องติดตาม ข้อสรุปอีกครั้ง ว่าการเจรจาจะจบลงที่รูปแบบใด

กระทรวงแรงงานส่งสัญญาณปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ ส่งผลต่อต้นทุนแต่ละ กลุ่มอย่างไรบ้าง?

รัฐมนตรีกระทรวงแรงงานเปิดเผยว่า คณะกรรมการค่าจ้าง (ไตรภาคี) จะพิจารณาอัตรา ค่าจ้างในเดือน ส.ค นี้ หลังสรุปตัวเลขจาก 77 จังหวัดเสร็จสิ้นตั้งแต่เดือน ก.ค ที่ผ่านมา เบื้องต้นคาดจะปรับค่าจ้างขั้นต่ำขึ้นราว 5-8% อิงอัตราเงินเฟ้อ โดยมีเป้าหมายจะให้มีผล บังคับใช้ในวันที่ 1 ม.ค 66 ฝ่ายวิจัยได้รวบรวมผลกระทบที่จะเกิดขึ้นทั้งทางลบและ ทางบวก โดยอุตสาหกรรมที่น่าจะเสียประโยชน์ คือ อุตสาหกรรมที่มีโครงสร้างต้นทุน แรงงานในสัดส่วนสูง ได้แก่อุตสาหกรรมรับเหมาก่อสร้าง เกษตรอาหาร พัฒนาที่อยู่อาศัย ชิ้นส่วน ค้าปลีก ส่วนอุตสาหกรรมที่น่าจะได้ประโยชน์ คือ อุตสาหกรรมที่อิงกับกำลังซื้อ ของผู้บริโภคได้แก่ อุตสาหกรรมท่องเที่ยว การเงิน และโรงพยาบาลโดยมีรายละเอียด ดังนี้

อุตสาหกรรมที่เสียประโยชน์(-)

อุตสาหกรรมรับเหมาก่อสร้าง : เป็นอุตสาหกรรมที่มีการใช้แรงงานจำนวนมาก ทั้งรูปแบบ การจ้างงานโดยตรงและการจ้างผ่านผู้รับเหมาช่วง โดยต้นทุนค่าแรงที่อิงกับค่าแรงขั้นต่ำ จะอยู่ในส่วนของคนงานก่อสร้างที่มีทั้งการจ้างโดยตรงและการจ้างผ่านผู้รับเหมาช่วง ซึ่ง คิดเป็นสัดส่วน 20-30% ของต้นทุนทั้งหมด โดยเงินที่จ้างผ่านผู้รับเหมาช่วงจะมีการรวมทั้ง ค่าแรงงานและค่าวัสดุก่อสร้างเข้าไปด้วย หากตั้งสมมุติฐานว่าค่าแรงอย่างเดียวคิดเป็น สัดส่วน 50% ของค่าจ้างเหมาช่วง เท่ากับว่าต้นทุนที่อิงกับค่าแรงขั้นต่ำน่าจะมีสัดส่วน ประมาณ 10-15% ของต้นทุนทั้งหมด ดังนั้นการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำทุก 1% จะกระทบต่อ ต้นทุนการก่อสร้าง 0.10-0.15% แต่ในทางปฏิบัติ หากมีการปรับเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำจริง บริษัทรับเหมาก่อสร้างและบริษัทที่รับเหมาช่วง จะแบ่งกันรับภาระค่าแรงที่เพิ่มขึ้นไปคน ละส่วน อีกทั้งบริษัทรับเหมางานภาครัฐ จะมีเงินชดเชยจากค่า K ซึ่งมี เงินเฟ้อ เป็น องค์ประกอบในการคำนวณด้วย ดังนั้นผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำทุก 1% ฝ่ายวิจัยประเมินว่าจะกระทบต่อต้นทุนการก่อสร้างไม่เกิน 0.1%

อุตสาหกรรมเกษตร-อาหาร : มีโครงสร้างค่าแรง (DL) ในไทยเฉลี่ยราว 1.5-8% ของ ต้นทุนรวม แม้ว่าปัจจุบันผู้ประกอบการส่วนใหญ่จะจ่ายค่าแรงสูงกว่าค่าแรงขั้นต่ำอยู่แล้ว แต่หากมีการปรับเพิ่มค่าแรงขึ้นต่ำ ผู้ประกอบการก็ต้องปรับเพิ่มค่าแรงให้พนักงานด้วย เช่นกัน โดยฝ่ายวิจัยทำ Sensitivity หากผู้ประกอบการปรับเพิ่มค่าแรงขึ้น 5% โดย สมมติฐานอื่นไม่เปลี่ยนแปลง จะส่งกระทบแนวโน้มกำไรสุทธิกลุ่มเกษตร-อาหารปี 2566 ราว 4.7% จากปัจจุบัน

อุตสาหกรรมพัฒนาที่อยู่อาศัย : เนื่องจากโครงสร้างต้นทุนสัดส่วนหลัก 30 -40% มาจาก ต้นทุนที่ดิน ตามด้วยต้นทุนก่อสร้างและแรงงานราว 40 -50% ที่เหลือเป็นงานโครงสร้าง และอื่น ๆ และหากพิจารณาแยกเฉพาะต้นทุนค่าแรงงานที่อิงกับค่าแรงขั้นต่ำ จะอยู่ในงาน ก่อสร้างที่ส่วนใหญ่ผ่านการจ้างงานกับผู้รับเหมา คาดคิดเป็น 20% ของต้นทุนรวม หรือ ราว 13% ของยอดขาย (อิง Gross Margin ขายฯ เฉลี่ย 33%) ภายใต้สมมติฐานการปรับ ขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 5% จะกระทบต่อต้นทุนรวมเพิ่มขึ้น 1 % อย่างไรก็ดีในทางปฏิบัติ ผลกระทบการขึ้นค่าแรงส่วนใหญ่จะอยู่กับกลุ่มบริษัทผู้รับเหมาที่ได้ว่าจ้างในการจัดการ งานก่อสร้าง เนื่องจากใช้วิธีการ Outsource กับผู้รับเหมาฯ และปกติงานก่อสร้างที่อยู่ อาศัยมีการทำสัญญาล่วงหน้า และต้องใช้ระยะเวลาในการก่อสร้างเพื่อส่งมอบ ดังนั้นจึงไม่ กระทบต่อโครงการเดิมที่สร้างเสร็จแล้ว ส่วนโครงการที่อยู่ระหว่างก่อสร้าง ปกติในสินค้า กลุ่มคอนโดฯ มีการกำหนดต้นทุนเรียบร้อย และบางบริษัท ทำสัญญากับผู้รับเหมาแบบ Turnkey กล่าวคือผู้รับเหมาเป็นผู้รับภาระค่าใช้จ่ายทั้งหมด ส่วนแนวราบอาจมีการเจรจา ต่อรองเรื่องต้นทุน ขณะที่โครงการใหม่ จะถูกส่งผ่านไปยังราคาขายใหม่ตามต้นทุนใหม่ นอกจากนี้ปัจจุบันผู้ประกอบการอสังหาฯ มีการนำเทคโนโลยีเข้าช่วยในงานก่อสร้าง เช่น Precast สามารถลดแรงงานคนได้พอสมควร รวมถึงบริหารจัดการต้นทุนอื่น เพื่อไม่ให้ กระทบต่อมาร์จิ้นอย่างมีนัยฯ ทั้งนี้จากการศึกษาข้อมูลเรื่องประสิทธิภาพทำกำไรตลอด ช่วงกว่า 10 ปีที่ผ่านมา (ปี 2551 -2564) พบว่า ผู้ประกอบการยังสามารถรักษา Gross Margin ในกรอบ 32 -34% และ Norm Profit ในกรอบ 13 -15% แม้เผชิญกับวัฏจักรเรื่อง ต้นทุนก่อสร้างและแรงงานที่ปรับขึ้นก็ตาม (ยกเว้นปี 2563 ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด และส่วนใหญ่เน้นขายสต๊อก พร้อมลดราคา ทำให้ GP ปีดังกล่าวลงมาอยู่ที่ 31% และ Norm Profit อยู่ที่ 12.5% ก่อนเห็นการฟื้นตัวขึ้นในปีถัดไป)

อุตสาหกรรมชิ้นส่วนฯ : มีสัดส่วนค่าแรงงานเฉลี่ย 5 -8% ของต้นทุนรวม โดยฝ่ายวิจัยทำ Sensitivity หากผู้ประกอบการปรับเพิ่มค่าแรงขึ้น 5% โดยสมมติฐานอื่นไม่เปลี่ยนแปลง จะส่งกระทบแนวโน้มกำไรสุทธิกลุ่มชิ้นส่วนปี 2566 ราว 2.2% จากปัจจุบัน โดย ผู้ประกอบการชิ้นส่วนในไทยจ่ายค่าแรงให้ลูกจ้างรายวันสูงกว่าค่าแรงขึ้นต่ำอยู่แล้ว แต่มี โอกาสขึ้นค่าแรงอีกเพื่อป้องกันการย้ายงานในอนาคตได้

อุตสาหกรรมรับเหมา ICT : แรงงานส่วนใหญ่ไม่ได้เป็นลูกจ้างรายวันในบริษัท แต่จะเป็น การจัดหาแรงงานภายนอก (Outsource) ทำให้ภาระการจ่ายค่าแรงส่วนใหญ่ตกไปอยู่กับ ผู้รับเหมาช่วงที่มารับงานแทน ทั้งนี้หากผู้ประกอบการปรับเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำขึ้น 5% โดย สมมติฐานอื่นไม่เปลี่ยนแปลง คาดจะส่งกระทบแนวโน้มกำไรสุทธิน้อยกว่า 4.1% จาก ปัจจุบัน

อุตสาหกรรมที่ไม่เสียประโยชน์ (+/0 )

อุตสาหกรรมพลังงาน : ภาพรวมธุรกิจในอุตสาหกรรมพลังงานไม่ได้อิงกับการใช้แรงงาน โดยโครงสร้างต้นทุนส่วนใหญ่จะอิงกับราคาพลังงาน, ค่าเสื่อมราคา เป็นหลัก ในขณะที่ ค่าใช้จ่ายพนักงาน (SG&A) ส่วนใหญ่จะเป็นการจ่ายในรูปแบบของเงินเดือน, โบนัส ดังนั้น การปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำจึงไม่ได้ส่งผลผลกระทบโดยตรงอย่างมีนัยฯ ต่อโครงสร้างต้นทุน หรือผลการดำเนินงานบริษัทในกลุ่มนี้

อุตสาหกรรมสื่อโฆษณา : การปรับเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำกระทบกลุ่มจำกัด จากโครงสร้าง ต้นทุนส่วนใหญ่จะเป็นในรูปแบบของ ค่าเสื่อมราคาของป้ายโฆษณา และ ค่าตัดจำหน่าย รายการโทรทัศน์ เป็นหลัก ส่วนค่าใช้จ่ายพนักงานส่วนมากจะจ่ายเป็นรายเดือน โดยรวม แล้วจึงไม่กระทบต่อกำไรสุทธิของบริษัทในกลุ่มนี้

อุตสาหกรรม logistics : การปรับเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำกระทบค่าใช้จ่ายระดับต่ำ เนื่องจาก ต้นทุนส่วนใหญ่เป็นค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับการขนส่ง ได้แก่ ค่าระวาง ค่าน้ำมัน นอกจากนี้ พนักงานที่ทำงานในบริษัทขนส่งต่างๆ ได้รับค่าตอบแทนเป็นเงินเดือนซึ่งสูงกว่าอัตรา ค่าแรงขั้นต่ำ ดังนั้นการปรับค่าแรงขั้นต่ำขึ้นไม่ส่งผลต่อกลุ่มนี้อย่างมีนัยสำคัญ

อุตสาหกรรมโทรศัพท์มือถือ ICT : เป็นอุตสาหกรรมที่ได้ประโยชน์จากค่าจ้างที่เพิ่มขึ้น เพราะสินค้าและบริการของธุรกิจมือถือ เป็นสินค้าอุปโภคที่แปรตามค่าจ้างแรงงาน กล่าวคือ เมื่อค่าจ้างเพิ่มขึ้น จะหนุนต่อการใช้งานมือถือเพิ่มและซื้อเครื่องโทรศัพท์ใหม่ ตามกำลังซื้อที่เพิ่มขึ้น ในขณะที่ผลกระทบเชิงลบจากค่าจ้างพนักงานที่เพิ่มขึ้น ไม่ได้มี นัยสำคัญ เพราะพนักงานส่วนใหญ่รับค่าจ้าง เงินเดือน สูงกว่าค่าจ้างขั้นต่ำอยู่แล้ว

อุตสาหกรรมโรงพยาบาล : ต้นทุนค่าใช้จ่ายผลตอบแทนของพนักงานในกลุ่มรพ. จะสูง กว่าค่าแรงขั้นต่ำอยู่แล้ว ซึ่งเราคาดว่าค่าใช้จ่ายของพนักงานที่ได้รับค่าแรงขั้นต่ำในกลุ่ม รพ. มีน้อยกว่า 1% ต่อรายได้รวม ดังนั้นการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำจึงไม่ได้ส่งผลกระทบ โดยตรงอย่างมีนัยฯ ต่อโครงสร้างต้นทุน แต่อย่างไรก็ตามกลุ่มรพ.อาจได้รับผลประโยชน์ ทางอ้อม จากกำลังซื้อของผู้บริโภคที่สูงขึ้น ตามค่าแรงขั้นต่ำที่มากขึ้น

อุตสาหกรรมค้าปลีกฯ : มีโครงสร้างต้นทุนค่าแรงขั้นต่ำเฉลี่ยราว 1 -3% ของรายได้รวม ซึ่ง ต้นทุนค่าใช้จ่ายพนักงานที่อิงกับค่าแรงขั้นต่ำ จะอยู่ในส่วนของค่าใช้จ่ายของพนักงานขาย หน้าร้าน หรือพนักงาน Part -time โดยฝ่ายวิจัยได้ทำ Sensitivity Analysis ในกรณี ผู้ประกอบการ ปรับเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำขึ้น 1% โดยสมมติฐานอื่นไม่เปลี่ยนแปลง พบว่า แนวโน้มกำไรสุทธิในปี 2566 ของกลุ่มค้าปลีกฯ จะลดลงราว 0.2-0.9% จากปัจจุบัน ซึ่ง หากอิงข่าวล่าสุด ถ้ากระทรวงแรงงานปรับเพิ่มขึ้นค่าแรงขั้นต่ำที่ 5% จะกระทบแนวโน้ม กำไรในปี 2566 ในหุ้นกลุ่มค้าปลีก ลดลงราว 1% - 4.5% แต่อย่างไรตาม เรามองว่าแนวโน้มกำไรที่ลดลงจากต้นทุนค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้น จะสามารถชดเชยได้บางส่วนจากกำลัง ซื้อของผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้น จากการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเช่นกัน

อุตสาหกรรมท่องเที่ยว : โครงสร้างค่าใช้จ่ายพนักงานของกลุ่มโรงแรมไทยปี 2564 อย่าง CENTEL และ ERW จะคิดเป็นสัดส่วน 26% และ 32% ของต้นทุนและค่าใช้จ่าย (CGS + SG&A) ตามลำดับ ซึ่งปัจจุบันกลุ่มโรงแรมจ่ายเกินค่าจ้างขั้นต่ำพอสมควร แต่อาจ จำเป็นต้องปรับเพิ่มขึ้นบ้าง เพื่อจูงใจให้แรงงานเข้าสู่อุตสาหกรรม ภายใต้ Sensitivity Analysis หากกำหนดค่าจ้างขึ้นเฉลี่ย 6.5% (ค่าเฉลี่ยของ 5% - 8%) สุทธิจากภาษีเท่ากับ ค่าแรงขึ้นประมาณ 5.2% เมื่อนำไปคูณกับสัดส่วนค่าแรง จะส่งผลต่อประมาณการ CENTEL และ ERW ราว 1.3% และ 1.6% ตามลำดับ (ยังไม่รวมผลด้านบวกจากกำลังซื้อ ที่สูงขึ้น) ด้วยตัวเลขผลกระทบไม่สูงมาก

อุตสาหกรรมยานยนต์ : แรงงานส่วนใหญ่เป็นแรงงานฝีมือรับค่าแรงเกินขั้นต่ำ แต่เมื่อทั้ง ระบบขึ้น อาจมีผลต่อเนื่องถึงบริษัทในกลุ่ม เพื่อจูงใจให้คนทำงาน ทั้งนี้ หากอิงจาก stanly ที่มีสัดส่วนค่าแรงคิดเป็นสัดส่วน 12% ของต้นทุนผลิต ซึ่งกระทบต่อประมาณการกำไร ปกติไม่เกิน 0.62% จึงมองผลต่อหุ้นในกลุ่มฯ ไม่เกิน 1% โดย AH ที่มีฐานการผลิตใน ต่างประเทศจะได้รับผลกระทบจากประเด็นค่าแรงในไทยน้อยกว่ากลุ่ม

ค้นหากลุ่มหุ้น OUTPERFORM และ UNDERPERFORM เวลามีการขึ้น ค่าแรงขั้นต่ำ

ปัจจุบันคาดว่า กระทรวงแรงงานจะมีการปรับขึ้นค่าแรงช่วง 4Q65 ช่วง 5 – 8% และหาก ไปดูข้อมูลในอดีตในช่วง 12 – 13 ปีที่ผ่านมา พบว่า กระทรวงแรงงานมีการขึ้นค่าแรงขั้น ต่ำมาแล้ว 6 ครั้ง หากไม่นับปี 2011 มีการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำในจังหวัดกรุงเทพฯ และ ปริมณฑล อยู่ในช่วง 3 – 15 บาท/วัน หรือมีการปรับขึ้น 1% - 5% เป็นต้น แสดงว่าการ ขึ้นค่าแรงขั้นต่ำในปี 2022 นี้ถือว่า อยู่ในระดับสูงเมื่อเทียบกับในอดีต

ดังนั้นฝ่ายวิจัยฯ ลองทำการศึกษาในเชิงปริมาณ หาพฤติกรรมการเคลื่อนไหวของหุ้นแต่ละ Sector ในช่วงเวลา 1 เดือน หลังมีการประกาศขึ้นค่าแรงขึ้นต่ำ ทั้ง 6 รอบที่ผ่านมา พบว่า กระทบต่อ SET Index จำกัด โดย SET ยังปรับขึ้นได้เฉลี่ย +0.9% แต่มีความน่าจะเป็นให้ ผลตอบแทนเป็นบวก 50% และยังมีกลุ่มหุ้นที่ Outperform ตลาด ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มที่ได้ ประโยชน์จากกำลังซื้อเพิ่มขึ้น อาทิ HELTH +7.2%, FIN+6.3%, INSUR+4.5%, TOURISM +2.8% ในทางตรงกันข้ามกลุ่มหุ้นที่ Underperform ตลาด และต้องแบกรับ ต้นทุนที่เพิ่มขึ้นกระทบต่อกำไรชัด อาทิCONS -1.0% ซึ่งกลุ่มหุ้นดังกล่าว น่าจะนำไปปรับ ใช้ในการปรับพอร์ต เพื่อรับมือกับประเด็นการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำในระยะถัดไปได้

สำหรับกลยุทธ์วันนี้ ภายใต้ความความเสี่ยงทางด้านภูมิรัฐศาสตร์ รวมถึงการเข้าสู่ช่วง ขึ้นดอกเบี้ยของกนง. ประเมิน SET เคลื่อนไหวในกรอบจำกัด 1600 -1615 จุด Top pick วันนี้เลือก KBANK (หุ้นใหญ่ได้แรงหนุนจาก Fund Flow และการเข้าสู่ช่วง ดอกเบี้ยขาขึ้น), VNG (งบ 2Q65 สวย เพิ่มขึ้นต่อในงวด 3Q65), BAM (ราคาหุ้น Laggard พื้นฐาน และยังได้แรงหนุนหากรัฐมีการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ)

บทความนี้จัดทำและเผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์ ASIA Plus Securities

ความคิดเห็นล่าสุด

การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย