ตลาดน้ำมันดิบกำลังอยู่ในจุดที่ระส่ำระส่ายเพราะมีปัจจัยมากมายที่ออกมากระหน่ำซ้ำเติมความขาดแคลนท่ามกลางความต้องการที่สูงขึ้น เริ่มต้นที่ระบบเก็บสถิติข้อมูลพลังงานของกระทรวงแรงงานสหรัฐฯ (EIA) ที่ล่มเป็นสัปดาห์ที่สองติดต่อกันจนไม่สามารถให้ข้อมูลตัวเลขที่สำคัญได้ในวันที่ปริมาณการกลั่นน้ำมันของอเมริกาลดลงต่ำกว่า 18 ล้านบาร์เรลต่อวัน ซึ่งถือว่าต่ำที่สุดนับตั้งแต่ปี 2014 ความสามารถในการผลิตน้ำมันที่มีอยู่อย่างจำกัดคือสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ราคาสินค้าและพลังงานสูงขึ้น และไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาเงินเฟ้อภายในประเทศเลย
เรื่องที่สองก็คือการคลายมาตรการคุมเข้มโควิดของประเทศจีน ฟังดูเหมือนอาจจะเป็นข่าวดี แต่อย่าลืมว่านี่หมายถึงประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่สองของโลกกลับมาแล้ว พร้อมกับความต้องการพลังงานที่มีมากขึ้น ในวันที่โลกกำลังผลิตน้ำมันไม่ทัน
เรื่องที่สามคือกำลังการผลิตน้ำมันของประเทศลิเบียกำลังได้รับผลกระทบจากการประท้วงทางการเมือง และการประท้วงในเอกวาดอร์ ซึ่งเคยเป็นอดีตสมาชิกกลุ่ม OPEC นั้นก็อาจส่งผลถึงความสามารถในการผลิตน้ำมัน หากคิดว่าจะหันไปพึ่งพี่ใหญ่ของกลุ่ม OPEC อย่างซาอุดิอาระเบียหรือสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ละก็เลิกคิดไปได้เลย พวกเขาไม่สามารถเพิ่มกำลังการผลิตจนละเมิดกฎของกลุ่ม OPEC เพื่อสามารถกดราคาน้ำมันให้ลงมาได้
ประเด็นเหล่านี้เริ่มทำให้เกิดความคิดที่ไม่สมควรจะคิดขึ้นมาอย่างเช่นไอเดียของผู้นำฝรั่งเศสที่เสนอในที่ประชุม G7 ว่าควรมีการจำกัดราคาพลังงานทั่วโลก ถ้าทำเช่นนั้นจริงจะยิ่งเป็นการซ้ำเติมปัญหาให้มีความรุนแรงมากขึ้น ในอดีตมนุษยชาติเคยได้บทความจากความพยายามเช่นนี้มาแล้ว แม้ว่าโอกาสที่ไอเดียนี้จะเป็นจริงมีน้อย แต่มันก็แสดงให้เห็นแล้วว่ากลุ่มผู้นำฝั่งตะวันตกเริ่มหมดไอเดียที่จะแก้ปัญหาวิกฤตครั้งนี้โดยไม่ร่วมมือกับรัสเซียได้
เมื่อมองไปทางไหนก็มีแต่ข่าวร้ายเช่นนี้ แล้วการวิเคราะห์ทางเทคนิคเห็นเป็นเช่นไร
กรอบการวิ่งของราคาน้ำมันเมื่อเร็วๆ นี้เราวิเคราะห์ให้เป็นกรอบสามเหลี่ยมรูปธง ซึ่งเป็นรูปแบบที่บ่งบอกว่าราคามีโอกาสจะไปต่อในทิศทางเดิม เพราะเทรนด์ก่อนหน้านี้ของราคาน้ำมันนั้นเป็นแนวโน้มขาลง ดังนั้นเราจีงเชื่อว่าการทะลุกรอบสามเหลี่ยมลงไปจะเกิดขึ้นหลังจากขาขึ้นระยะสั้นรอบนี้เสร็จสมบูรณ์ สาเหตุที่เราไม่เชื่อว่าขาขึ้นรอบนี้จะไปไหนได้ไกล เพราะรูปแบบที่ราคาจำเป็นต้องใช้สำหรับการเปลี่ยนเทรนด์นั้นมีอยู่แค่สองจุด เมื่อเทียบกับทฤษฎีที่ต้องการอย่างน้อยสี่จุด ขาขึ้นชั่วคราวหลังจากขาลง 18% จึงกลายเป็นการเปิดพื้นที่ให้ราคาน้ำมันปรับตัวลดลงได้ง่ายขึ้น
จุดตัดสินใจของการสร้างเทรนด์ใหญ่ในครั้งนี้ว่าฝ่ายไหนจะเป็นผู้ชนะจะอยู่ที่เส้นเทรนด์หลักของทั้งสองฝ่าย ถ้าอยากให้ฝั่งขาลงชนะ ราคาจะต้องลงมาจนเจาะเส้นเทรนด์ไลน์ที่ลากมาตั้งแต่จุดต่ำสุดของเดือนธันวาคม ที่ตอนนี้คร่อมอยู่ระหว่างเส้นค่าเฉลี่ย 100 และ 50 วันให้ได้ เช่นเดียวกัน ถ้าฝั่งขาขึ้นอยากเป็นผู้คุมเกมต่อ ราคาจะต้องยืนเหนือเส้นเทรนด์ไลน์ขาลง ที่ลากมาตั้งแต่จุดสูงสุดของวันที่ 7 มีนาคม ยิ่งขึ้นยืนเหนือได้แรงเท่าไหร่ โอกาสชนะก็มีมากเท่านั้น
กลยุทธ์การเทรด
เทรดเดอร์ที่ไม่ชอบความเสี่ยง จะรอจนกว่าราคาจะสามารถสร้างจุดสูงสุดใหม่ หรือการขึ้นยืนเหนือจุดสูงสุดของวันที่ 7 พฤษภาคม เพื่อยืนยันการเป็นขาขึ้นระยะยาวให้ได้ก่อน
เทรดเดอร์ที่รับความเสี่ยงได้ปานกลาง จะตัดสินใจเข้าเมื่อราคาสามารถทะลุผ่านเส้นเทรนด์ไลน์ขาลงจากจุดสูงสุดในวันที่ 7 พฤษภาคมได้
เทรดเดอร์ที่รับความเสี่ยงได้สูง จะวางคำสั่งซื้อตอนนี้ทันที ฟังดูเหมือนง่าย แต่ถ้าเกิดว่าเป็นการลงทุนตามแบบแผนที่คิดมาอย่างรอบคอบทั้งในแง่ของเวลา งบประมาณ และสภาวะทางอารมณ์แล้ว จะพบว่าผลลัพธ์การยอมเสี่ยงนั้นคุ้มค่า
ตัวอย่างการเทรด (ขาขึ้น)
- จุดเข้า: $110
- Stop-Loss: $107.50
- ความเสี่ยง: $2.5
- เป้าหมายในการทำกำไร:$120
- ผลตอบแทน: $10
- อัตราความเสี่ยงต่อผลตอบแทน: 1:4