หากให้คิดย้อนกลับไปในอดีตแล้วให้พูดถึงดีลการซื้อกิจการที่เคยเกิดขึ้น เป็นการยากที่จะบอกได้ว่าเคยมีดีลไหนที่ใหญ่ไปมากกว่าการเข้าซื้อกิจการ Twitter (NYSE:TWTR) แพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียชื่อดัง โดยมหาเศรษฐีและ CEO คนเก่งของบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าอีลอน มัสก์
เรื่องราวที่น่าทึ่งของข้อตกลงนี้เริ่มต้นขึ้นในต้นเดือนเมษายนเมื่ออีลอน มัสก์เปิดเผยสัดส่วนการถือหุ้น 9% ในทวิตเตอร์ สร้างความตกใจให้กับตลาดลงทุน และผู้ที่ใช้งานแพลตฟอร์มทวิตเตอร์ ตั้งแต่นั้นมา เรื่องราวนี้ก็เหมือนจะปรากฎขึ้นบ้างในสื่อหลักเป็นครั้งคราว แต่มีความเคลื่อนไหวในสื่อทางการเงินมากกว่า อันที่จริงหัวข้อนี้กลายเป็นเกมการเมือง ซึ่งนักการเมืองและผู้เชี่ยวชาญต่างให้ความสำคัญกับคุณค่าของทวิตเตอร์ในแง่ของเสี่ยงต่อการส่งต่อไปยังมือของเอกชน
การเข้าซื้อกิจการประมาณ 44 พันล้านดอลลาร์เป็นอะไรที่มากกว่าการสร้างกระแส ดีลนี้ทำให้หุ้น Tesla (NASDAQ:TSLA) ซึ่งเมื่อเดือนที่แล้วมีมูลค่าตลาดสูงกว่า 1 ล้านล้านดอลลาร์ ปรับตัวลดลงอย่างมีนัยสำคัญ และดีลนี้อาจจะส่งผลกระทบต่อการแข่งขันชิงตำแหน่งประธานาธิบดีในปี 2024 หากมัสก์สามารถยึดแพลตฟอร์ม และคืนสถานะการเข้าถึงแพลตฟอร์มให้กับอดีตประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์
ทำความเข้าใจกับกระบวนการควบรวมบริษัท
ด้วยการใช้แบบจำลอง นักลงทุนสามารถคำนวณคร่าวๆ ได้ว่าตลาดมีความเชื่อมากแค่ไหนในความเป็นไปได้ที่มักส์จะมีโอกาสซื้อกิจการทวิตเตอร์ได้สำเร็จ สมมติว่าบริษัท ABC มีราคาซื้อขายหุ้นอยู่ที่ 70 ดอลลาร์ เมื่อบริษัทอื่นประกาศว่าจะซื้อหุ้น ABC เป็นเงินสด 100 ดอลลาร์ต่อหุ้น ในตัวอย่างนี้ หุ้น ABC มักจะไม่พุ่งสูงถึง $100 เพราะมีความเสี่ยง
ในกรณีศึกษาส่วนใหญ่ สิ่งที่น่าสังเกตมากที่สุดคือปัจจัยที่ทำให้ข้อตกลงไม่ผ่าน คณะกรรมการอาจปฏิเสธข้อตกลง แม้เราจะเห็นผ่านสื่อว่าคณะกรรมการยอมรับเงื่อนไขของมัสก์แล้ว แต่ในความเป็นจริง หลายคนเชื่อว่าคณะกรรมการของทวิตเตอร์ไม่ยอมรับข้อเสนอของมัสก์จากใจจริง เพราะถ้ากรณีเช่นนี้เกิดขึ้นกับบริษัทอื่น ผู้ถือหุ้นก็สามารถลงคะแนนปัดตกมตินี้ได้อยู่แล้ว
ต่อให้ผู้ถือหุ้นเห็นชอบในเงื่อนไขข้อตกลงนี้ แต่หน่วยงานต่อต้านการผูกขาดการค้าก็สามารถเข้ามาขัดขวางได้ ตัวอย่างล่าสุดที่เคยเกิดขึ้นคือการควบรวมกิจการระหว่าง NVIDIA (NASDAQ:NVDA) และ Arm Holdings บริษัทเอ็นวีเดียตัดสินใจยุติข้อตกลงนี้ หลังจากที่คณะกรรมาธิการการค้าแห่งสหพันธรัฐของสหรัฐฯ และหน่วยงานกำกับดูแลการผูกขาดการค้าทำให้ดีลนี้กลายเป็นเรื่องที่ยุ่งยากขึ้นมา
กลับไปที่ตัวอย่างของเรา สมมติว่าในข้อเสนอ $100 หุ้น ABC จะสามารถซื้อขายได้สูงถึง $95 ที่ราคานั้น เราสามารถคำนวณราคาต่อรอง ที่ตลาดวางบนดีลที่กำลังจะเกิดขึ้นได้
การควบรวมกิจการที่รับประกันว่าจะสำเร็จจะทำให้หุ้น ABC มีมูลค่า 100 ดอลลาร์ในขณะนี้ (เราจะไม่พูดถึงเงื่อนไขเชิงเวลาเพราะอย่างที่บอกว่านี่คือตัวอย่างแบบง่ายๆ ) หากข้อตกลงไม่ผ่าน เราสามารถสรุปได้ว่าหุ้น ABC จะปรับตัวกลับไปเป็นราคาเริ่มต้นที่ 70 ดอลลาร์ ดังที่เราจะเห็น สมมติฐานนี้ไม่ใช่ข้อเท็จจริงที่แน่นอน แต่ในการคำนวณแบบง่าย เป็นค่าประมาณที่แม่นยำที่สุด หากดีลการควบรวมกิจการล้มเหลว
อัตราต่อรองของเราเท่ากับส่วนต่างระหว่างราคาหุ้นเดิมและราคาปัจจุบัน (ในกรณีนี้คือ $95 น้อยกว่า $70 หรือ $25) หารด้วยส่วนต่างระหว่างราคาเดิมกับค่าเสียเวลา (ในกรณีนี้ $100 น้อยกว่า $70 หรือ 30 เหรียญสหรัฐ) ในตัวอย่างนี้หุ้น ABC ที่ 95 ดอลลาร์คือโอกาสประมาณ 83.3% ($25/$30) ที่การควบรวมกิจการจะดำเนินต่อไป
$54.20 สามารถรับประกันอะไรได้หรือไม่
โมเดลที่เรียบง่ายนี้สามารถให้กรอบการทำความเข้าใจการควบรวมกิจการของ Twitter ยังคงต้องใช้เวลา เพราะยังมีอีกหลายด่านที่อีลอน มัสก์ต้องเดินผ่าน เริ่มต้นด้วยขาขึ้นของราคาหุ้นอีลอน มัสก์เสนอซื้อหุ้นที่ราคา 54.20 ดอลลาร์ต่อหุ้นให้กับบริษัท แต่ในช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา มัสก์ทวีตว่าข้อตกลงดังกล่าว "ถูกระงับชั่วคราว" โดยให้เหตุผลว่าเป็นเพราะข้อมูลการวิเคราะห์บัญชีปลอมบนเว็บไซต์
การระงับการควบรวมกิจการชั่วคราวไม่ใช่เรื่องสำคัญ นักวิเคราะห์เชื่อว่าตอนนี้มัสก์กำลังแสดงละครบทหนึ่งต่อสาธารณะเพียงเพื่อให้ได้เจรจาในข้อตกลงใหม่ ที่มีราคาถูกลงกว่าเดิม สังเกตได้ว่าความคาดหวังของตลาดในตอนนี้ที่มีต่อหุ้นทวิตเตอร์มีมากเพียงใดหลังจากที่มหาเศรษฐีบอกกับสื่อว่าข้อเสนอเล็กๆ น้อยๆ นั้น “เป็นไปไม่ได้”
ดังนั้นนักลงทุนไม่สามารถมองว่าหุ้นทวิตเตอร์ที่ $54.20 เป็นขาขึ้นที่รับประกันได้ อย่างน้อยก็เป็นไปได้ที่ อีลอน มัสก์กำลังวางแผนที่จะอยากได้หุ้นในราคาที่น้อยกว่านั้นอย่างมาก โดยขู่ว่าจะไม่เล่นเกมซื้อกิจการทวิตเตอร์อีกต่อไปหากบอร์ดบริหาร Twitter บอกว่าไม่
ตามกฎหมายแล้ว มัสก์ไม่สามารถเดินจากไปได้ง่ายๆ เพราะมักส์จะต้องจ่ายค่าธรรมเนียมในการยกเลิกสัญญาประมาณ 1 พันล้านดอลลาร์ มัสก์เคยตกลงที่จะซื้อบริษัท ซึ่งถ้ามาทำเหมือนจะซื้อแล้วไม่ซื้อเช่นนั้นอาจทำให้เกิดกรณีที่เรียกว่า Material Adverse Effect (MAE) หรือผลกระทบอย่างร้ายแรงที่เกิดขึ้นต่อกิจการ ตามทฤษฎีแล้ว Twitter สามารถฟ้องมัสก์เพื่อบังคับให้เขาทำตามข้อตกลงที่เคยตกลงกันไว้
แต่ในทางปฏิบัติ คณะกรรมการอาจไม่ว่างพอสำหรับความขัดแย้งที่ยืดเยื้อ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อธุรกิจได้ (โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อฝั่งรีพลับลิกันอาจมองว่าการฝ่าฝืนกฎของคณะกรรมการเป็นหลักฐานเพิ่มเติมเกี่ยวกับอคติทางการเมือง) ดังนั้นสมมุติว่าหากมัสก์เสนอตัวเลข $44.20 บริษัท Twitter อาจยอมรับเงื่อนไขนี้
ความเสี่ยงที่มี
โมเดลการคำนวณจะแนะนำว่าหุ้น TWTR ที่ไม่มีดีลของมัสก์จะลดลงไปที่ระดับราคาก่อนที่มัสก์จะเสนอซื้อหุ้น แต่หุ้น TWTR ที่มีราคาปิดที่ 45.85 ดอลลาร์ในวันที่ 13 เมษายน ค่อนข้างน่าเหลือเชื่อที่ราคาหุ้นซึ่งเคยอยู่ต่ำกว่าจุดปิดที่ 39.31 ดอลลาร์เมื่อวันที่ 1 เมษายน จะสามารถปรับตัวขึ้นได้ 27% ก่อนที่มัสค์จะประกาศสัดส่วนการถือหุ้นครั้งแรก
หากมัสก์เริ่มเดินหมากของเขาต่อ บริษัทวิตเตอร์จะได้รับ 1 พันล้านดอลลาร์ แต่นั่นแทบจะไม่ได้ 1 ดอลลาร์ต่อหุ้นหลังหักภาษี และไม่มีทางที่ตลาดจะให้ความสำคัญกับการโพสต์ข้อเสนอของทวิตเตอร์เหมือนกับที่เคยทำมาก่อน
ที่น่าสนใจก็คือ หุ้นเทคโนโลยี ซึ่งรวมถึงหุ้นโซเชียลมีเดีย ร่วงลงตั้งแต่มัสก์ประกาศข้อเสนอในวันที่ 14 เมษายน นี่คือความเคลื่อนไหวบนดัชนี NASDAQ 100 index และหุ้นบริษัทโซเชียลมีเดียที่ใหญ่ที่สุด ในวันที่ 13 เมษายน:
- NASDAQ 100: -12.1%
- Twitter: -15.9%
- Meta Platforms: -6.6%
- Snap: -30.2%
- Pinterest: -5.2%
หุ้น Meta Platforms (NASDAQ:FB) และ Pinterest (NYSE:PINS) ปรับตัวขึ้น แม้ว่าหุ้นเมต้าจะปรับตัวลดลงมาตลอดทั้งปี ในขณะที่หุ้น Pinterest ปรับตัวขึ้นได้เพราะโพสต์รายงานผลประกอบการที่แข็งแกร่งในปลายเดือนเมษายน
ในทางกลับกัน รายงานประจำไตรมาสแรกของ Twitter มีอัตราการเติบโตของรายได้ต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ ในขณะเดียวกัน การเปลี่ยนแปลงนโยบายความเป็นส่วนตัวของ Apple (NASDAQ:AAPL) ยังคงกดดันหุ้นบริษัทโฆษณาออนไลน์ทุกประเภท ตัวอย่างเช่นหุ้นบริษัท Trade Desk (NASDAQ:TTD) ที่ปรับตัวลดลง 22% ในช่วงห้าสัปดาห์ที่ผ่านมา
หากไม่เกิดกรณีการซื้อทวิตเตอร์ของอีลอน มัสก์ขึ้น หรือหุ้นเทคฯ ยักษ์ใหญ่บางตัวที่ปรับตัวขึ้นจากรายงานผลประกอบการที่ดีขึ้น หุ้น TWTR อาจจะมีราคาซื้อขายต่ำกว่า 30 ดอลลาร์ไปแล้ว การเทขายหุ้น TWTR ออก 25-30% จากราคาปิดที่ 39 ดอลลาร์ ก่อนที่มัสก์จะประกาศซื้อหุ้นทวิตเตอร์ เช่นนี้ก็เท่ากับว่ากรอบราคาการวิ่งที่แท้จริงของหุ้นทวิตเตอร์คือไม่เกิน $27 - $29 ดอลลาร์เท่านั้น
เข้าใจความเป็นไปได้
การประเมินลักษณะการวิ่งของหุ้นก็ยังคงเป็นเพียงการประมาณการ แต่ไม่ว่าจะมองจากมุมไหน ตลาดกำลังสร้างสถานการณ์จำลองว่ามีความเป็นไปได้ใดบ้างสำหรับดีลนี้ สมมติว่ามักส์จะไม่เจรจาใหม่ และหุ้น TWTR ปรับตัวลดลงเหลือ 28 ดอลลาร์ หากข้อตกลงล้มเหลว อัตราต่อรองโดยหุ้น TWTR ที่ 38 ดอลลาร์ จะมีค่าเท่ากับ 38% มีโอกาสที่หุ้นทวิตเตอร์จะขึ้นไปที่ 49.20 ดอลลาร์ มีความเป้นไปได้ 50/50 ที่มัสก์จะซื้อหุ้นทวิตเตอร์ที่ 54.20 ดอลลาร์ หรือได้จ่ายที่ 44.20 ดอลลาร์สำหรับข้อเสนอที่ 28 ดอลลาร์ และเรายังมองว่ามีโอกาสต่ำกว่า 50% ที่จะกลายเป็นจริง
นักลงทุนสามารถสร้างข้อมูล ที่ป้อนให้กับโมเดลนี้ตามความเชื่อเกี่ยวกับโอกาสที่มัสก์จะทำดีลนี้สำเร็จได้ด้วยตัวของพวกเขาเอง แต่นักลงทุนต้องยอมรับว่าตลาดเชื่อไปแล้วมากกกว่า 50% ว่ามัสก์มีโอกาสจะทำสำเร็จ นักลงทุนต้องลองโต้แย้งในข้อเสนอของมัสก์ที่ให้ต่ำกว่า 45 ดอลลาร์ 25 ดอลลาร์หรือน้อยกว่า ตามความเห็นของผมโอกาสที่ข้อตกลงจะสำเร็จก็ยังอยู่ที่ประมาณ 75%
ข้อมูลทั้งหมดบอกว่าตลาดกำลังให้ความสนใจอย่างมากต่อข้อตกลงนี้ นักลงทุนที่เชื่อว่ามักส์จะต้องผ่านมันไปได้ และอาจจะได้เป็นเจ้าของหุ้น Twitter ในราคาที่ 38 ดอลลาร์ แต่พวกเขาก็ควรเข้าใจด้วยว่า ณ จุดนี้การเป็นเจ้าของหุ้นนี้ก็ถือเป็นการเทรดสวนเทรนด์ของอีลอน มัสก์อย่างหนึ่ง