ผลการเจรจาระหว่างรมว.ต่างประเทศ ของรัสเซีย-ยูเครน ไม่มีข้อสรุป แต่ ปธน.รัสเซีย ยังเปิดทางที่จะเจรจากับ ปธน.ยูเครน ส่วนราคาน้ำมันย่อยลงจาก ความคาดหวังจะเห็น Supply เพิ่มขึ้น ขณะที่รัสเซียยืนยันส่งมอบน้ำมันตาม สัญญาที่ทำไว้ สำหรับตัวเลขเงินเฟ้อเดือน ก.พ.65 ของสหรัฐ อยู่ที่ 7.9% YoY ตามคาดทำให้ตลาดการเงินไม่ได้ตอบสนองกับตัวเลขดังกล่าวมากนัก โดยใน การประชุม Fed สัปดาห์หน้าคาดหวังว่าจะเห็นการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย นโยบายในอัรา 0.25% ส่วนตลาดหุ้นบ้านเรา สรุปผลประกอบการงวด 4Q64 มีกำไรสุทธิ 2.84% โต 50% YoY ทั้งปี 2564 มีกำไร 1.018 ล้านล้านบาท คิด เป็น EPS 86.1 บาท/หุ้น ส่วนปี 2565 คาด EPS ที่ 88.9 บาท/หุ้น SET Index ผันผวนในกรอบเดิมช่วง 1630 – 1660 จุด โดยมีสถานการณ์ รัสเซีย-ยูเครน เป็นตัวกำหนดทิศทางพอร์ตจำลองวันนี้ไม่มีการปรับเปลี่ยน หุ้น Top Pick เลือก GPSC, SCB และ MINT
การเจรจารัสเซีย-ยูเครนระดับรัฐมนตรีไม่คืบหน้า แต่ลุ้นเจรจาระดับประธานาธิบดี
ตลาดหุ้นโลกวานนี้ถูกกดดันในหลายภูมิภาค อาทิ เช่น ยุโรปปรับลง 1-3%, สหรัฐปรับ ลง 0.2-1% ขณะที่ทองคำก็ดีดตัวกลับขึ้นมายืนเหนือระดับ 2,000 ดอลลาร์ต่อออนซ์ได้ อีกครั้ง สาเหตุหลักมาจากการเจรจาระหว่างรัฐมนตรีครั้งแรกของรัสเซียและยูเครนยัง ไม่สามารถหาข้อสรุปการหยุดยิงได้ แต่ยังทว่าความหวังการเจรจายังไม่หมดไปเสีย ทีเดียว เพราะทางรัฐมนตรีต่างประเทศของรัสเซียระบุว่า นาย Putin ประธานาธิบดี รัสเซีย ”ไม่ปฏิเสธการเจรจากับนาย Zlensky ประธานาธิบดีรัสเซียยูเครน” ในอนาคต จึงยังมีความเป็นไปได้ว่าทั้ง 2 ประเทศจะยังเดินหน้าเข้าหาโต๊ะเจรจาอยู่
อย่างไรก็ตาม ราคาน้ำมันดิบ Brent วานนี้ปรับตัวลง 1.6% เนื่องจากนาย Putin ประธานาธิบดีรัสเซียระบุว่า รัสเซียจะยังเดินหน้าส่งออกน้ำมันไปยังประเทศที่อาจไม่ เป็นมิตร (Unfriendly) กับรัสเซีย รวมถึงเยอรมนีและฮังการีได้ปฏิเสธคว่ำบาตรการ ส่งออกน้ำมันของรัสเซียของสหรัฐ
จากการเจรจาที่ไม่คืบหน้าเท่าที่ควรข้างต้น ส่งผลให้ตลาดหุ้นโลกอยู่ในแนวโน้ม แกว่งตัวผันผวนต่อไปได้อีกระยะหนึ่ง ในระหว่างรอการเจรจารอบต่อไป โดยคาดว่า SET Index จะอยู่ในโหมด Wait and see โดยมองกรอบการเคลื่อนไหววันนี้ที่ ระดับ 1,630-1,660 จุด
อัตราเงินเฟ้อสูง ธนาคารกลางโลกเร่งลด QE และขึ้นอัตราดอกเบี้ย บวกกับหุ้น ธนาคาร
สภาวะอัตราเงินเฟ้อที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นสูงในหลายประเทศ โดยเฉพาะสหรัฐและยุโรป โดยวานนี้ สหรัฐรายงานอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเดือน ก.พ. 2565 พบว่าขยายตัว 7.9%yoy และอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานขยายตัว 6.4%yoy แม้จะขยายตัวตามตลาดคาด แต่ก็นับว่า สูงสุดในรอบ 40 ปี ขณะที่ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเดือน ก.พ. ของอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน ขยายตัว 5.8% ส่วนอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานขยายตัว 2.7%
ยุโรป: การประชุมธนาคารกลางยุโรป (ECB) วานนี้ ยังคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 0% ตาม ตลาดคาด แต่ได้ปรับลด GDP ปี 2565 เหลือ 3.7% จาก 4.2% ส่วนอัตราเงินเฟ้อปรับ เพิ่มเป็น 5.1% จาก 3.8% และ ECB ยังส่งสัญญาณปรับลดวงเงินซื้อพันธบัตร Asset Purchase Programe (APP) เดือน พ.ค. 2565 เหลือ 3 หมื่นล้านยูโร (เดิม 4 หมื่นล้าน ยูโร), เดือน มิ.ย. 2565 เหลือ 2 หมื่นล้านยูโร (เดิม 4 หมื่นล้านยูโร) และตั้งแต่ 3Q65 เป็นต้นไป วงเงินจะขึ้นกับข้อมูลเศรษฐกิจเป็นหลัก (Data-dependent)
สัญญาณล่าสุดของ ECB ข้างต้น กระตุ้นให้บางส่วนในตลาดกังวลว่า ECB อาจหยุดซื้อ พันธบัตรได้เร็วสุด 3Q65 แต่ ASPS เชื่อว่า ECB ไม่น่ารีบหยุดซื้อ เพราะ ECB จะ ประเมินคู่กับข้อมูลเศรษฐกิจเป็นหลัก ประกอบกับก่อน COVID-19 ECB ก็อัดฉีด APP เดือนละ 2 หมื่นล้านยูโร มาก่อนแล้ว
สหรัฐ: จากอัตราเงินเฟ้อที่ขยายตัวสูง (ดังที่กล่าวข้างต้น) ตอกย้ำคาดการณ์ของตลาด ว่าธนาคารคกลางสหรัฐ (Fed) จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมวันที่ 15-16 มี.ค. 2565 นี้ โดยตลาดคาดว่า Fed จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยเดือน มี.ค. 2565 ราว 0.25% และ ตลอดทั้งปี2565 จะขึ้น 6 ครั้ง
จากท่าทีของหลายประเทศที่เร่งลด QE และปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย คาดว่าจะเป็นบวก ต่อหุ้นในกลุ่มที่ได้ประโยชน์จากอัตราดอกเบี้ยขาขึ้น เช่น ธนาคาร (SCB, KBANK (BK:KBANK), BBL) และกลุ่มประกัน (BLA)
ดัชนีเป้าหมาย 1810 จุด ยังดูแข็งแรง...ตลาดย่อตัวลงมาถือเป็นโอกาสในการสะสม ชอบ GPSC, SCB, MINT
ภาพรวมกำไรบริษํทจดทะเบียนงวด 4Q64 อยู่ที่ 2.8 แสนล้านบาท เติบโต 39%QoQ และ 50%YoY ถือว่ารับมือโควิดโอไมครอนได้ดี สังเกตได้จากหุ้นในกลุ่มที่อิงการฟื้นตัว เศรษฐกิจในประเทศฟื้นเด่นขึ้น อาทิ กลุ่ม TRANS, CONS, MEDIA, HELTH, PROP, COMM เป็นต้น
หนุนกำไรทั้งปี 2564 ที่ฝ่ายวิจัยฯรวบรวมในเบื้องต้น 1.02 ล้านล้านบาท คิดเป็น EPS64F ที่ 86.1 บาท/หุ้น เติบโต 62% เมื่อเทียบกับปี 2563 ถือเป็นการกลับมา เติบโตเกือบทุก Sector หลังโลกค้นพบวัคซีนต้านโควิด และทยอยฉีดให้ประชาชนในปี 2564 ทั้งในต่างประเทศและในไทย ทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจเดินหน้าต่อได้
ส่วนกำไรปี 2565 เบื้องต้นฝ่ายวิจัยฯ ประเมินอยู่ที่ 1.05 ล้านล้านบาท คิดเป็น EPS65F ที่ 88.9 บาท/หุ้น ถือว่าเป็นการฟื้นกลับมาอยู่ในระดับใกล้เคียงช่วงก่อนเกิด โควิด 19 คือ EPS62F อยู่ที่ 88.1 บาท/หุ้น อีกทั้งยังมีแรงหนุนจากราคาน้ำมันที่ปรับ ขึ้นมาแรงในช่วงต้นปี 2565 โดยทุกๆ 5 เหรียญ/บาร์เรล ที่เพิ่มขึ้นจากสมมุติฐานราคา น้ำมันระยะยาวที่ 65 เหรียญ/บาร์เรล หนุน EPS65F เพิ่มขึ้นได้ 1 บาท/หุ้น โดยกลุ่ม หุ้นที่เติบโตเด่นยังคงเป็นกลุ่ม Old Economy หรืออิงการฟื้นตัวเศรษฐกิจในประเทศ เป็นหลัก
ในมุม Valuation ตลาดหุ้นไทย ณ ปัจจุบันที่ 1647 จุด ถือว่าไม่แพง เนื่องจากมีค่า P/E65F เพียง 18.5 เท่า ถูกกว่าตามกลไกที่ควรจะเป็น คือ ภายใต้ดอกเบี้ยนโยบายที่ 0.5% P/E มีโอกาสขยับขึ้นไปได้ถึง 21 เท่า) และในมุมดัชนีเป้าหมายที่ฝ่ายวิจัย กำหนด 1810 จุด คิดเป็นระดับ MEYG อยู่ที่ 4.4% ถือว่าไม่แพงเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ย ในอดีต ตลาดจะซื้อขายกันอยู่ในระดับ MEYG อยู่ที่ 4%
ดังนั้นกำไรที่ยังแข็งแรง Valuation ตลาดหุ้นไทยยังน่าสนใจ ในยามที่ตลาดหุ้นย่อตัว ลงมาถือเป็นโอกาสในการเข้าสะสมหุ้นพื้นฐานดี ส่วนหุ้น Top pick ในวันนี้ยังชอบ GPSC, SCB, MINT
บทความนี้จัดทำและเผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์ ASIA Plus Securities