ถึงแม้ว่าตลาดหุ้นจีนอย่าง Shanghai Composite จะสามารถปรับตัวขึ้นได้เมื่อวานนี้ แต่ก็ยังถือว่าน้อยกว่าดัชนีตลาดหุ้นในภูมิภาคเดียวกันอย่างเช่นดัชนี Nikkei ของญี่ปุ่นและ KOSPI ของเกาหลีใต้ สาเหตุที่เป็นเช่นนั้นเพราะตัวเลขดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ของประเทศจีนที่ไม่ได้ปรับตัวขึ้นมาก ทำให้ธนาคารกลางจีน (PBoC) ยังไม่ต้องรีบร้อนในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ต่างจากของสหรัฐฯ ที่เมื่อมีการยืนยันแล้วว่าธนาคารกลางจะขึ้นอัตราดอกเบี้ย ตลาดหุ้นอเมริกาก็โดนทุบทันที
การตัดสินใจเช่นนี้ของธนาคารกลางจีนยิ่งทำให้นักลงทุนเกิดความสับสนมากยิ่งขึ้นไปอีก พวกเขาควรลงทุนเพิ่มเพราะเศรษฐกิจจีนมีการเติบโตที่ดูมีสภาพคล่องดีกว่า หรือควรเทขายเพราะการทำนโยบายการเงินแบบตึงตัวของธนาคารกลางสหรัฐฯ การลังเลที่ไม่สามารถเลือกทิศทางได้ กำลังเกิดขึ้นกับตลาดทุนทั่วโลก และยิ่งเห็นได้ชัดเจนเมื่อเปรียบเทียบจากกราฟคู่สกุลเงิน EUR/JPY ธนาคารกลางญี่ปุ่นจะเลือกดำเนินตามรอยใคร? จะทำนโยบายการเงินให้ตึงตัวมากขึ้นเช่นเดียวกันกับตะวันตก? หรือเน้นไปที่การเติบโตทางเศรษฐกิจในระยะยาว?
ถึงกราฟ EUR/JPY จะปรับตัวขึ้นมาจากจุดต่ำสุดในเดือนธันวาคม แต่เพราะสถานการณ์ความตึงเครียดระหว่างรัสเซียยูเครนก็ได้ทำให้คู่สกุลเงินนี้ปรับตัวลดลง 1.2% ในวันศุกร์ที่ผ่านมา หลังจากขึ้นไปทดสอบกรอบราคาด้านบน หรือจุดสูงสุดนับตั้งแต่เดือนพฤษภาคมปีที่แล้ว ซึ่งเป็นจุดสูงสุดของคู่สกุลเงินนี้มาตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ปี 2018
จุดสังเกตก็คือขาลงครั้งนี้เป็นแท่งเทียนรูปแบบกลืนกิน (Bearish Engulfing) ตามทฤษฎีแล้วหมายความว่าแรงขายสามารถเข้ามากุมตลาด และแท่งนี้ก็สามารถทำลายแรงหนุนขาขึ้นไปได้เกือบครึ่งหนึ่ง กรอบราคาขาขึ้นระยะสั้น (สีเขียว) เกิดขึ้นมาตั้งแต่ช่วงกลางเดือนธันวาคมปี 2021 หลังจากธนาคารกลางยุโรปประกาศจะทำนโยบายการเงินตึงตัวตามธนาคารกลางสหรัฐฯ ในช่วงปลายเดือนธันวาคม ธนาคารกลางญี่ปุ่นเคยออกมากล่าวว่ายังเร็วเกินไปที่จะใช้นโยบายการเงินตึงตัวแบบฉับพลัน
ตามความเห็นของเรา การขึ้นไปชนกรอบราคาขาลงใหญ่ (สีแดง) ที่เกิดขึ้นมาตั้งแต่กลางปี 2021 แล้วปรับตัวลดลงทำให้เห็นภาพรวมที่ชัดเจนขึ้น แม้ว่าจะไม่เห็นความแตกต่างระหว่างเศรษฐกิจของทั้งสองประเทศแบบ 100% แต่เหตุผลที่สกุลเงินเยนแข็งค่ากว่าเพราะเทรนด์ของธนาคารกลางในภูมิภาคนี้ยังไม่คิดจะเปลี่ยนมาตึงตัวตามตะวันตก จึงยังทำให้สกุลเงินเยนอยู่ในสถานะสินทรัพย์สำรองปลอดภัยที่สูงกว่ายูโร เมื่อมองในมุมนี้ ก็สามารถเข้าใจได้ทั้งในมุมของปัจจัยพื้นฐาน และกราฟ EUR/JPY ก็แสดงออกมาได้อย่างตรงไปตรงมา
หากนักลงทุนที่เชื่อในสกุลเงินยูโรว่าจะขึ้น ก็สามารถเข้าซื้อตามกรอบราคาสีเขียวได้ แต่หากเชื่อว่าในระยะยาว ก็สามารถขายตามกรอบสีแดงได้ และถ้ายิ่งราคาสามารถเบรกเอาท์กรอบไม่ว่าจะกรอบไหนก็ตาม ก็จะยิ่งได้ความชัดเจนถึงแนวโน้มของกราฟในอนาคต สิ่งที่นักลงทุนควรจับตาตอนนี้คือกรอบด้านบนของสีเขียว และกรอบด้านบนของสีแดงกำลังใกล้จะบรรจบกันแล้ว เพิ่มความเป็นไปได้ว่าจะขึ้นยาวหรือลงยาว ก็อยู่กับลักษณะการวิ่งของ EUR/JPY ในช่วงนี้
กลยุทธ์การเทรด
เทรดเดอร์ที่ไม่ชอบความเสี่ยง จะรอจนกว่าราคาทะลุกรอบฝั่งใดฝั่งหนึ่งออกมาก่อน หากหลุดกรอบสีเขียวขึ้นมาก็จะเข้าซื้อ หากหลุดกรอบสีแดงลงมาก็จะตัดสินใจขาย
เทรดเดอร์ที่รับความเสี่ยงได้ปานกลาง จะวางคำสั่งขายเมื่อราคาขึ้นมาชนแนวต้านจากกรอบราคาทั้งสองสี
เทรดเดอร์ที่รับความเสี่ยงได้สูง จะวางคำสั่งขายใกล้ๆ กับแท่งเทียนขาลงกลืนกินที่พึ่งเกิดขึ้น ส่วนจำนวนเงินที่จะลง ขึ้นอยู่กับว่าต้องการหลีกเลี่ยงความเสี่ยงมากน้อยเพียงใด
ตัวอย่างการเทรด (สำหรับขาลง)
- จุดเข้า: 132.50
- Stop-Loss: 133.00
- ความเสี่ยง: 50 จุด
- เป้าหมายในการทำกำไร:130.50
- ผลตอบแทน: 200 จุด
- อัตราความเสี่ยงต่อผลตอบแทน: 1:4