รับส่วนลด 40%
ใหม่! 💥 รับ ProPicks เพื่อดูกลยุทธ์ที่ให้ผลตอบแทน ชนะดัชนี S&P 500 มากกว่า 1,183% รับส่วนลด 40%

จับตาเงินเฟ้อสหรัฐฯ ปิดดีล เฟดเร่งลดคิวอี

เผยแพร่ 07/12/2564 08:24
อัพเดท 09/07/2566 17:32
  • สัปดาห์ที่ผ่านมา ตลาดการเงินยังคงไม่กล้าเปิดรับความเสี่ยงจากทั้งความกังวลการระบาด Omicron รวมถึงแนวโน้มเฟดเร่งใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวด
  • ตลาดจะรอลุ้นรายงานอัตราเงินเฟ้อทั่วไป (CPI) สหรัฐฯ ซึ่งอาจสนับสนุนให้เฟดประกาศเร่งลดคิวอีได้ นอกจากนี้ ความกังวลปัญหาการระบาดของ Omicron จะยังคงกดดันบรรยากาศในตลาดการเงินต่อในช่วงนี้ จนกว่าจะมีข้อมูลทางวิทยาศาสตร์เพิ่มเติม

  • เงินดอลลาร์มีโอกาสเคลื่อนไหว sideways โดยปัจจัยหนุนยังเป็นโอกาสเฟดเร่งลดคิวอี ซึ่งการเร่งตัวขึ้นของเงินเฟ้อจะยิ่งเพิ่มโอกาสดังกล่าว ส่วนความต้องการ Safe Haven ท่ามกลางความกังวลการระบาด Omicron อาจไม่ได้ช่วยหนุนเงินดอลลาร์มากนัก โดยเฉพาะในกรณีที่บอนด์ยีลด์ 10ปี สหรัฐฯ ย่อตัวลง ส่วนเงินบาทยังมีโอกาสผันผวนในฝั่งอ่อนค่าต่อ ตามแรงขายสินทรัพย์ไทยจากความกังวลปัญหาการระบาดของ Omicron อนึ่งเรามองว่า แนวต้านสำคัญของเงินบาทจะอยู่ที่ระดับ 34.00 บาทต่อดอลลาร์ ซึ่งเป็นโซนที่ผู้ส่งออกต่างรอขายเงินดอลลาร์ และธปท. อาจเข้ามาช่วยดูดซับความผันผวนค่าเงินที่สูงขึ้นเร็วในช่วงที่ผ่านมา

  • มองกรอบเงินบาทสัปดาห์นี้
    33.60-34.00
    บาท/ดอลลาร์

  • มุมมองเศรษฐกิจทั่วโลก

    • ฝั่งสหรัฐฯ – ตลาดจะรอลุ้นแนวโน้มอัตราเงินเฟ้อของสหรัฐฯ ว่าจะปรับตัวขึ้นในอัตราเร่งขนาดไหนและเงินเฟ้อจะมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องหรือไม่ ซึ่งจะเป็นปัจจัยสำคัญที่อาจหนุนให้เฟดใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวดได้เร็ว อาทิ เฟดอาจปรับลดคิวอีเพิ่มขึ้นและสามารถยุติการทำคิวอีได้ในเดือนมีนาคมปีหน้า ทั้งนี้ ตลาดประเมินว่า อัตราเงินเฟ้อทั่วไป (CPI) ในเดือนพฤศจิกายน อาจเร่งตัวขึ้นสู่ระดับ 6.7% โดยได้แรงหนุนจากการฟื้นตัวต่อเนื่องของเศรษฐกิจ ซึ่งจะช่วยหนุนให้ราคาสินค้ากลุ่ม Reopening (อาหารนอกบ้าน, การเดินทาง, ค่าที่พัก, ค่ารถมือ 1 และ มือ 2) ยังคงปรับตัวสูงขึ้น ขณะเดียวกัน ราคาบ้านและค่าเช่าที่อาศัยก็มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง ช่วยหนุนให้ อัตราเงินเฟ้อยังปรับตัวขึ้นต่อได้ ทั้งนี้ แนวโน้มเงินเฟ้อหรือราคาสินค้าและบริการที่ปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง รวมถึงความกังวลการระบาดของ Omicron อาจสร้างแรงกดดันต่อการบริโภคได้ ซึ่งจะสะท้อนผ่าน ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคโดย U of Michigan (Consumer Sentiment) เดือนธันวาคม ที่อาจปรับตัวลดลงเล็กน้อยสู่ระดับ 67 จุด

    • ฝั่งยุโรป – ตลาดมองว่า สถานการณ์การระบาดระลอกใหม่ของ COVID ที่ยังคงรุนแรงอยู่ในหลายประเทศ โดยเฉพาะ เยอรมนี รวมถึงความกังวลต่อแนวโน้มการระบาดของ “Omicron” อาจส่งผลกระทบให้เศรษฐกิจยุโรปส่งสัญญาณชะลอตัวลงมากขึ้นในอนาคตได้ ซึ่งภาพดังกล่าวอาจสะท้อนผ่านความเชื่อมั่นของบรรดานักลงทุน (Sentix Investors Confidence) ในเดือนธันวาคม ที่อาจปรับตัวลดลงสู่ระดับ 12 จุด จาก 18.3 จุด ในเดือนก่อนหน้า เช่นเดียวกันกับดัชนีความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจของเยอรมนี (ZEW Economic Sentiment) ในเดือนธันวาคม ก็มีแนวโน้มปรับตัวลดลงสู่ระดับ 25 จุด จาก 31.7 จุด สะท้อนว่า บรรดานักวิเคราะห์และนักลงทุนสถาบันต่างมีความกังวลมากขึ้นว่า การระบาดของ COVID ในปัจจุบันและความเสี่ยงการระบาดของ Omicron อาจทำให้การบริโภคภาคเอกชนชะลอตัวลงได้ หากรัฐบาลจำเป็นต้องใช้มาตรการ Lockdown ที่เข้มงวดมากขึ้น ซึ่งภาพดังกล่าวจะกดดันโมเมนตัมการฟื้นตัวเศรษฐกิจของยุโรป ทำให้ สินทรัพย์ในฝั่งยุโรป รวมถึง เงินยูโร (EUR) ยังไม่สามารถปรับตัวขึ้นหรือแข็งค่าไปได้มากนัก

    • ฝั่งเอเชีย – ผู้เล่นในตลาดจะจับตาแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจีนที่อาจส่งผลกระทบต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าโซนเอเชีย ผ่านรายงานยอดการส่งออกและนำเข้า ซึ่งตลาดมองว่า ยอดการส่งออกของจีนในเดือนพฤศจิกายนจะขยายตัวได้กว่า +18%y/y หนุนโดยความต้องการสินค้าที่เพิ่มสูงขึ้นตามการฟื้นตัวเศรษฐกิจโลกในช่วงที่ผ่านมา สอดคล้องกับรายงานดัชนี PMI ภาคการผลิตอุตสาหกรรมของจีนที่ยอดคำสั่งซื้อเพื่อส่งออกขยายตัวในอัตราเร่งขึ้น นอกจากนี้ ยอดการนำเข้าก็จะขยายตัวราว 20%y/y ซึ่งจะหนุนการฟื้นตัวของภาคการส่งออกประเทศคู่ค้าสำคัญจีนอย่างไทยเช่นกัน นอกเหนือจากรายงานข้อมูลเศรษฐกิจดังกล่าว ตลาดจะรอจับตาแนวโน้มการปรับเปลี่ยนนโยบายการเงินของบรรดาธนาคารกลางในเอเชีย ซึ่งตลาดประเมินว่า ความเสี่ยงการระบาดของ Omicron อาจทำให้บรรดาธนาคารกลางในเอเชียยังไม่รีบเร่งปรับใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวดมากขึ้น เว้นว่าจะเผชิญปัญหาเงินเฟ้อที่รุนแรง โดยในส่วนของธนาคารกลางออสเตรเลีย (RBA) รวมถึงธนาคารกลางอินเดีย (RBI) ก็มีแนวโน้มคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับ 0.10% และ 4.00% ตามลำดับ เพื่อช่วยหนุนการฟื้นตัวเศรษฐกิจ

    • ฝั่งไทย – ตลาดจะจับตาสถานการณ์การระบาด COVID-19 อย่างใกล้ชิด หลังประเทศไทยมีรายงานพบผู้ติดเชื้อ Omicron แม้ว่า ตลาดอาจยังไม่กล้าเปิดรับความเสี่ยง จากความกังวลการระบาดของ Omicron ซึ่งภาพดังกล่าวสามารถเป็นแรงกดดันฝั่งอ่อนค่าให้กับเงินบาทได้ แต่เรามองว่า ข้อมูลเชิงวิทยาศาสตร์ ณ ปัจจุบันซึ่งชี้ว่า ความรุนแรงของ Omicron ยังไม่ได้น่ากลัวมากนัก แม้จะสามารถแพร่ระบาดได้ดีกว่า Delta ก็ตาม อาจพอช่วยลดความกังวลของผู้เล่นในตลาดได้บ้าง อีกทั้ง อัตราการฉีดวัคซีนในไทยก็มีความคืบหน้าไปมากพอสมควร (ครบ 2 เข็ม ราว 64%) ซึ่งจะช่วยลดความรุนแรงของการระบาดระลอกใหม่ได้ และอาจทำให้รัฐบาลไม่จำเป็นต้องใช้มาตรการ Lockdown ที่เข้มงวดมาก

    Weekahead carlendar

ความคิดเห็นล่าสุด

การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย