กราฟเด่นประจำวัน: ในระยะสั้นอาจได้เห็นบิทคอยน์ที่ $50,000

เผยแพร่ 24/11/2564 16:25
BTC/USD
-

ถึงแม้ว่ามนุษย์เรายังต้องเผชิญกับวิกฤตเงินเฟ้อ แต่สินทรัพย์คานความเสี่ยงไม่ว่าจะเป็นทองคำหรือบิทคอยน์กลับไม่สามารถทำหน้าที่ของตัวเองได้ มิหนำซ้ำกลับปรับตัวลดลง และยังไม่มีทีท่าว่าจะกลับขึ้นมาได้เมื่อไหร่ บิทคอยน์ สกุลเงินดิจิทัลอันดับหนึ่งในแง่ของมูลค่าตามราคาตลาด ร่วงลงจากจุดสูงสุดตลอดกาลที่ $68,000 เกือบ 20% มีราคาซื้อขายในปัจจุบันต่ำกว่า $56,000 และอาจจะกำลังมุ่งหน้าลงไปทำจุดต่ำสุดนับตั้งแต่วันที่ 20 ตุลาคม

สาเหตุของขาลงระลอกนี้เกิดขึ้นมาจากการประกาศกฎหมายใหม่ของประธานาธิบดีโจ ไบเดน ให้ผู้ที่มีรายได้เกิน $10,000 จากคริปโตฯ ต้องเสียภาษี ซึ่งข่าวนี้ออกมาในช่วงเวลาเดียวกันกับที่จีนเดินหน้ากวาดล้างคริปโตฯ ภายในประเทศอีกครั้ง ถึงแม้ว่าขาลงครั้งนี้จะลงมาอยู่ต่ำกว่า $60,000 แต่ราคากลับไม่ยอมปรับตัวลดลงไปต่ำกว่า $55,860 มิหนำซ้ำ เรายังพบว่ามีแท่งเทียนขาขึ้นเกิดขึ้น ณ บริเวณนี้ สร้างความเป็นไปได้ที่อาจจะเป็น double-bottom แล้วปรับตัวกลับขึ้นไป คำถามคือจังหวะนี้ควรมองว่าเป็นการย่อลงมาเพื่อซื้อคืนหรือไม่? จากการวิเคราะห์ทางเทคนิค เราไม่คิดเช่นนั้นBTC/USD Daily

จากรูปจะเห็นได้ว่าหลังจากหลุดกรอบรูปธงลงมา ราคาบิทคอยน์ได้พยายามที่จะดีดตัวกลับขึ้นไป การหลุดกรอบธงขาลงมาเช่นนี้อาจจะไม่ทำให้ฝั่งขาขึ้นรู้สึกพอใจนัก เพราะพวกเขาต้องการแท่งเทียนขาขึ้นอีกอย่างน้อยถึงสองแท่งในการยืนยันว่าแนวรับนี้จะสามารถพยุงราคาเอาไว้ได้ 

ตามทฤษฎีแล้ว อาจจะต้องรอให้เกิดแท่งเทียนขาขึ้นอย่างน้อยทั้งหมด 5 แท่งก่อนจึงจะเรียกความเชื่อมั่นให้กลับมา แต่เพราะบิทคอยน์ยังถือว่าเป็นสินทรัพย์ใหม่ ไม่มีหนังสือหรืองานวิจัยใดรองรับว่าเมื่อเกิดแท่งเทียนแบบนี้ขึ้น ถัดมาจะต้องเป็นรูปอะไร ดังนั้น นักวิเคราะห์จึงทำได้เพียงเฝ้าดูราคาที่ระดับแนวรับแนวต้านจิตวิทยา ส่วนตัวแล้ว พฤติกรรมแท่งเทียนเดียวที่ผมยังมองว่าสามารถใช้ร่วมกับตลาดบิทคอยน์ได้คือรูปแบบธง (Pennant) และนี่คือเหตุผลอ้างอิงว่าทำไมขาลงหลังจากรูปแบบธงถึงมีความสำคัญ

1.) โดยปกติแล้ว ทันทีที่เกิดรูปแบบธง มักจะต้องตามมาด้วยแรงส่งของราคาเพื่อแสดงถึงความต่อเนื่องของเทรนด์ หากจะให้เป็นไปตามทฤษฎี กับกราฟบิทคอยน์ตอนนี้จะต้องเกิดขาลง 16% ภายในระยะเวลาทั้งหมด 5 แท่ง จึงจะถือว่าตรงตามทฤษฎี

2.) ก่อนที่ราคาจะทะลุกรอบรูปธงลงมา จะเห็นว่ามีการบีบอัดของแรงเกิดขึ้นภายในกรอบ ก่อนที่จะหมดแรง ราคาได้ตัดสินใจทะลุกรอบพักตัวลงมา เป็นไปตามทฤษฎีของรูปแบบธงตามตำราอย่างแม่นยำ

3.) ตำแหน่งที่เกิดการฟอร์มตัวรูปธงนั้นคือจุดต่ำสุดก่อนหน้าที่ $57,612 เริ่มเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 28 ตุลาคม ณ บริเวณนั้นพึ่งจะเป็นจุดที่ราคาทะลุแนวรับ $60,000 สร้างความผันผวนระหว่างนักลงทุนทั้งสองฝ่ายว่าควรที่จะลงต่อหรือซื้อสวนเพื่อพยุงราคาเอาไว้ ณ ตรงนั้นถือว่าเป็นจุดที่เหมาะสมในการฟอร์มตัวรูปธง

4.) รูปแบบธงนั้นเกิดขึ้นทันทีที่ราคาลงมาทดสอบเส้นค่าเฉลี่ย 50 วันที่ทำหน้าที่เป็นแนวรับครั้งแรก และยังเป็นบริเวณกรอบราคาขาขึ้นด้านล่างอีกด้วย

เหตุผลที่เราเชื่อว่าขาลงของบิทคอยน์นั้นมีโอกาสไปต่อเป็นเพราะเหตุผลที่กล่าวมานั้นส่วนหนึ่ง และอีกส่วนหนึ่งคือตามธรรมชาติแล้วรูปแบบธง มักจะส่งสัญญาณการไปต่อของเทรนด์นั้นๆ และเหตุผลในข้อสามและสี่ก็ดูเหมือนว่าจะสอดคล้องกัน หนึ่งคือการเกิดในบริเวณที่เป็นแนวรับสำคัญ และสองคือการดีดตัวกลับขึ้นมาเมื่อวันจันทร์นั้นเหมือนการขึ้นมารับแรงส่งขาลงที่เหลือ

หากว่าเกิดขาลงระลอกต่อไปขึ้นจริง แรงส่งจากรูปแบบธงนี้จะถือว่าสมบูรณ์ รูปแบบธงยังคงทำหน้าที่เป็นเหมือนที่พักแรงเช่นเคย ที่สำคัญขาลงครั้งนี้จะเป็นการตอกย้ำรูปแบบ “Peak & Trough” ในระยะสั้น ซึ่งหมายถึงการทำจุดต่ำสุดที่ต่ำลงเรื่อยๆ และไม่มีความคิดที่จะสร้างจุดสูงสุดที่สูงกว่าเดิม 

สำหรับการวัดราคาเป้าหมายว่าขาลงครั้งนี้จะพาบิทคอยน์ไปถึงจุดไหน ตามความเห็นของเรา คาดว่าราคาอาจจะปรับตัวลดลงในระดับเดียวกันกับที่ลงมาจาก $68,000 ระยะทางจากจุดสูงสุดในวันที่ 15 พฤศจิกายนลงมาจนถึงวันที่ 19 พฤศจิกายน คิดเป็นการปรับตัวลดลง $10,650 หากวัดจากระดับราคาในปัจจุบันลงไปอีก $10,650 จะพบว่ามีโอกาสที่ราคาจะลงไปถึง $48,000

สิ่งที่เราอธิบายมาทั้งหมดนั้นเป็นเพียงความเป็นไปได้หนึ่งเท่านั้น ตราบใดที่ราคาบิทคอยน์ยังวิ่งอยู่ในกรอบขาขึ้นสีเขียว เราก็ยังอยากจะให้พิจารณาว่าขาลงตอนนี้ยังเป็นเพียงการย่อเท่านั้น จนกว่าราคาจะวิ่งลงมาจนหลุดแนวรับปัจจุบัน จึงค่อยพิจารณาว่าเป็นแนวโน้มขาลงในระยะสั้น

กลยุทธ์การเทรด

เทรดเดอร์ที่ไม่ชอบความเสี่ยง จะยังเชื่อมั่นในแนวโน้มขาขึ้น และยังไม่คิดที่จะเทรดสวนเทรนด์ในตอนนี้

เทรดเดอร์ที่รับความเสี่ยงได้ปานกลาง จะรอจนกว่าราคาสร้างจุดปิดต่ำกว่ากรอบราคาสีเขียว และอาจจะรอให้มีการย่อกลับขึ้นมาทดสอบกรอบสีเดียวอีกครั้งด้วย เพื่อลดความเสี่ยง

เทรดเดอร์ที่รับความเสี่ยงได้สูง จะวางคำสั่งขายทันที นักลงทุนอาจจะพิจารณารับความเสี่ยงเพื่อทำกำไรจากขาลงรอบต่อไปเพราะการฟอร์มตัวรูปธงได้

ตัวอย่างการเทรด

- จุดเข้า: $58,000

- Stop-Loss: $60,000

- ความเสี่ยง: $2,000

- เป้าหมายในการทำกำไร:$52,000

- ผลตอบแทน: $6,000

- อัตราความเสี่ยงต่อผลตอบแทน: 1:3

ความคิดเห็นล่าสุด

กำลังโหลดบทความถัดไป...
การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย