Cyber Monday Deal: ลดสูงสุด 60% InvestingProรับส่วนลด

บทวิเคราะห์ราคาทองคำ ภาคเช้า เผย 3 ปัจจัยหนุนทองคำฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่ง

เผยแพร่ 08/11/2564 10:02
อัพเดท 09/07/2566 17:32
XAU/USD
-
DX
-
GC
-

สรุป ราคาทองคําวันศุกร์ที่ผ่านมาปิดทะยานขึ้น 25.73 ติอลลาร์ต่อออนซ์ แม้ราคาทองคําจะร่วงลงทดสอบระดับต่ำสุดบริเวณ 1,784.97 ติชิลลาร์ต่อออนซ์ หลังกระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผย ว่า ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรเพิ่มขึ้น 531,000 ตําแหน่งในเดือนต.ค. สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 450,000 ตําแหน่ง ส่วนอัตราการว่างงานปรับตัวลงสู่ระดับ 4.67% โดยต่ํา กว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 4.7% จากระดับ 4.8% ในเดือนก.ย. อย่างไรก็ดี ราคาทองคําฟื้นตัวขึ้นอย่างแข็งแกร่งในเวลาต่อมา โดยได้รับแรงหนุนจากปัจจัยต่างๆ ได้แก่

(1.) อัตรา ผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปี ปรับตัวลงสู่ระดับต่ําสุดนับตั้งแต่วันที่ 24 ก.ย.ที่ 1.435% และถือเป็นการปรับตัวลงครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่วันที่ 19 ก.ค. ซึ่งเป็นปัจจัยหนุนทองคําใน ฐานะสินทรัพย์ที่ไม่ได้ให้ผลตอบแทนในรูปแบบของดอกเบี้ย

(2.) ดัชนีดอลลาร์ ร่วงลงจากระดับสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 25 ก.ย. บริเวณ 94.634 โดยตอลลาร์ในฐานะสกุลเงินปลอดภัยเผชิญกับ แรงเทขาย หลังจากดัชนีดาวโจนส์ปิดบวกที่ระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ขานรับการเปิดเผยข้อมูลการจ้างงานที่แข็งแกร่งในสหรัฐ และข้อมูลเชิงบวกจากการทดลองยาเม็ดต้านโรคโควิด-19 ของบริษัทไฟเซอร์ อิงค์

(3.) แรงซื้อตามทางเทคนิคหลังจากราคาทองคําปรับตัวขึ้นทะลุผ่านระดับสูงสุดของ 2 สัปดาห์ก่อนหน้าบริเวณ 1,813-1,810 ดอลลาร์ต่อออนซ์ สถานการณ์ดังกล่าว หนุนให้ราคาทองคําทะยานขึ้นกว่า 30 ดอลลาร์ต่อออนซ์จากระดับต่ําสุดในระหว่างวันสู่ระดับสูงสุดในรอบกว่า 2 เดือนบริเวณ 1,818.16 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ด้านกองทุน SPDR ถือครองทองคํา ไม่เปลี่ยนแปลง สําหรับวันนี้ติดตามถ้อยแถลงของนายเจอโรม พาวเวล ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด)

หากราคาทองคำไม่สามารถ break out ผ่านแนวต้านบริเวณ 1,831-1,833 ดอลลาร์ต่อออนซ์ขึ้นไปได้(สูงสุดของ เดือน ก.ค.,ส.ค.,ก.ย.) อาจมีแรงขายทำกำไรระยะสั้นให้กลับลงมาตั้งฐานราคาด้านล่างอีกครั้ง เบื้องต้นประเมินว่าแนวรับโซน 1,809-1,803 ดอลลาร์ต่อออนซ์ หากยืนได้ จึงจะมีแรงดีดกลับไปทดสอบแนวต้านด้านบนอีกครั้ง

คําแนะนํา เข้าซื้อเพื่อเก็งกําไรระยะสั้นหากราคาทองคํา สามารถยืนเหนือบริเวณ 1,809-1,803 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ได้ และทยอยปิดสถานะทํากําไรบางส่วนหากไม่ผ่าน | บริเวณแนวต้าน 1,831-1,833 ดอลลาร์ต่อออนซ์

ดูกราฟราคาทองคำ SPOT XAU/USD

https://th.investing.com/currencies/xau-usd

กระทู้พูดคุยเกี่ยวกับราคาทองคำ SPOT

https://th.investing.com/currencies/xau-usd-commentary

บทความนี้จัดทำขึ้นโดย YLG Bullion International

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อ 02-687-9888 กด 1 หรือเว็บไซต์ ylgbullion.co.th

ความคิดเห็นล่าสุด

กำลังโหลดบทความถัดไป...
การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย