ระวัง ตลาดผันผวน หากเงินเฟ้อสหรัฐฯ พุ่งขึ้นมากกว่าคาด

เผยแพร่ 08/11/2564 08:28
อัพเดท 09/07/2566 17:32
XAU/USD
-
USD/THB
-
DX
-
GC
-
  • สัปดาห์ที่ผ่านมา บอนด์ยีลด์ทั่วโลกต่างปรับตัวลดลง หลังธนาคารกลางหลักต่างย้ำจุดยืนไม่รีบขึ้นดอกเบี้ย
  • ตลาดจะจับตารายงานข้อมูลเงินเฟ้อ (CPI) ของสหรัฐฯ และมุมมองของบรรดาเจ้าหน้าที่เฟดต่อแนวโน้มการขึ้นดอกเบี้ยปีหน้า หลังตลาดแรงงานสหรัฐฯ ฟื้นตัวดีขึ้น

  • เงินดอลลาร์อาจอ่อนค่าลง หากบรรดาเจ้าหน้าที่เฟดย้ำมุมมองไม่รีบขึ้นดอกเบี้ย อย่างไรก็ดี ต้องระวังตลาดการเงินอาจผันผวน หากเงินเฟ้อสหรัฐฯ เร่งตัวขึ้นมาก ทำให้ตลาดลดความเสี่ยงลง ซึ่งอาจหนุนให้ เงินดอลลาร์ไม่อ่อนค่าไปมาก ส่วน ทิศทางเงินบาทยังคงเคลื่อนไหวในกรอบเดิมต่อ โดยล่าสุดปัจจัยที่มีผลกับค่าเงินบาทมากในช่วงที่ผ่านมา คือ ราคาทองคำ (Correlation สูงกว่า 0.64 หรือ ราคาทองคำขึ้น เงินบาทก็แข็งค่าขึ้นเช่นกัน) ทั้งนี้ ผู้เล่นในตลาดอาจทยอยขายทำกำไรทองคำ หากราคาทองคำปรับตัวขึ้นใกล้ระดับ 1,820- 1,830 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ทั้งนี้ แนวรับเงินบาทอยู่ในโซน 33.00-33.10 บาทต่อดอลลาร์ ซึ่งผู้นำเข้ายังรอซื้อเงินดอลลาร์ ส่วนแนวต้านจะอยู่ในช่วง 33.40-33.50 บาทต่อดอลลาร์ ซึ่งผู้ส่งออกต่างรอทยอยขายเงินดอลลาร์

  • มองกรอบเงินบาทสัปดาห์นี้
    33.00-33.50
    บาท/ดอลลาร์

  • มุมมองเศรษฐกิจทั่วโลก

    • ฝั่งสหรัฐฯ – ไฮไลท์ของข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ จะอยู่ที่รายงานอัตราเงินเฟ้อ (CPI) เดือนตุลาคม ซึ่งตลาดมองว่าเงินเฟ้อ CPI อาจเร่งตัวขึ้นแตะระดับ 5.9% หนุนโดยการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ จากการทยอยผ่อนคลายมาตรการ Lockdown และราคาสินค้าพลังงานที่ปรับตัวสูงขึ้นมากในเดือนตุลาคม นอกจากนี้ เศรษฐกิจสหรัฐฯ จะส่งสัญญาณฟื้นตัวต่อเนื่อง โดยเฉพาะในส่วนการบริโภค สะท้อนจากดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (U of Michigan Consumer Sentiment) เดือนพฤศจิกายนที่จะปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 72.5 จุด นอกเหนือจากรายงานข้อมูลดังกล่าว ตลาดจะรอจับตา มุมมองของบรรดาเจ้าหน้าเฟด (วันจันทร์: Clarida และ Powell, วันอังคาร: Bowman, Evans, Daly เป็นต้น) โดยเฉพาะมุมมองของประธานเฟด Powell ต่อแนวโน้มการทยอยขึ้นดอกเบี้ย หลังล่าสุด ตลาดแรงงานสหรัฐฯ ฟื้นตัวได้ดีกว่าคาด ขณะเดียวกัน อัตราเงินเฟ้อก็อาจอยู่ในระดับสูง นานกว่าที่เฟดเคยประเมินไว้ ทั้งนี้ หากบรรดาเจ้าหน้าที่เฟด ยังย้ำจุดยืนไม่รีบขึ้นดอกเบี้ย พร้อมกับไม่ได้กังวลปัญหาเงินเฟ้อเร่งตัวขึ้นมากนัก เราเชื่อว่า มุมมองดังกล่าวอาจหนุนให้ราคาทองคำปรับตัวขึ้นต่อได้บ้าง

    • ฝั่งยุโรป – ความกังวลปัญหาเงินเฟ้ออาจทำให้ บรรดานักลงทุนสถาบันและนักวิเคราะห์ยังไม่แน่ใจแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจยุโรป ซึ่งจะสะท้อนผ่าน ดัชนีความเชื่อมั่นนักลงทุน (Sentix Invstor Confidence) ในเดือนพฤศจิกายน ที่อาจปรับตัวลดลงจาก 16.9 จุด สู่ระดับ 15 จุด (ดัชนี > 0 หมายถึง มุมมองที่เป็นบวกต่อแนวโน้มเศรษฐกิจในอีก 6 เดือนข้างหน้า) นอกจากนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นภาคธุรกิจของเยอรมนี (ZEW Economic Sentiment) ในเดือนพฤศจิกายน ก็มีแนวโน้มชะลอลงสู่ระดับ 20 จุด เช่นกัน (ดัชนี > 0 หมายถึง มุมมองที่เป็นบวกต่อแนวโน้มเศรษฐกิจในอีก 6 เดือนข้างหน้า) จากปัญหาด้าน Supply Chain ที่ส่งผลให้เกิดปัญหา อาทิ การขาดแคลนวัตถุดิบ รวมถึงราคาสินค้าต้นทุนที่แพงขึ้น เป็นต้น ขณะเดียวกัน ปัญหาเงินเฟ้อก็อาจกดดันให้ฝั่งผู้บริโภคลดการใช้จ่ายลงได้เช่นกัน นอกจากนี้ ผู้เล่นในตลาดจะรอลุ้นมุมมองนโยบายการเงินจากผู้ว่าธนาคารกลางอังกฤษ (BOE) รวมถึงประธานธนาคารกลางยุโรป (ECB) หลังล่าสุด ทั้งสองธนาคารกลาง ต่างส่งสัญญาณไม่เร่งรีบปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย ซึ่งสวนทางกับสิ่งที่ตลาดคาดการณ์ไว้ ทำให้บอนด์ยีลด์ยุโรปปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง

    • ฝั่งเอเชีย – ผู้เล่นในตลาดจะจับตาปัญหาหนี้ของภาคอสังหาฯของจีน หลังเริ่มมีบางบริษัทเผชิญความเสี่ยงที่จะผิดนัดชำระหนี้และถูกหั่นเครดิตเรทติ้งมากขึ้น ซึ่งภาพดังกล่าวได้ส่งผลให้นักลงทุนต่างลดการถือครองหุ้นกู้เอกชนจีนทั้ง หุ้นกู้ IG (Investment Grade) และ หุ้นกู้ HY (High Yield, Junk Bond) ดังจะเห็นได้จากการที่ยีลด์ของหุ้นกู้จีนต่างปรับตัวสูงขึ้นมาก ทั้งนี้ เรามองว่าทางการจีนอาจเข้ามาช่วยประคองไม่ให้ปัญหาดังกล่าวลุกลามไปยังภาคธุรกิจอื่นๆ รวมถึงกดดันให้เศรษฐกิจซบเซาหนัก ซึ่งหากนักลงทุนมองว่าปัญหาหนี้ในภาคอสังหาฯ จีน จะสามารถคลี่คลายลงได้ การลงทุนในหุ้นกู้จีน ณ ปัจจุบัน ก็ให้ยีลด์ที่น่าสนใจ สำหรับนักลงทุนที่สามารถรับความผันผวนของราคาหุ้นกู้จีนได้

    • ฝั่งไทย – เรามองว่า แนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยอย่างค่อยเป็นค่อยไป จะหนุนให้ คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) เลือกที่จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ 0.50% แม้ว่าอัตราเงินเฟ้ออาจมีแนวโน้มเร่งตัวขึ้นก็ตาม ทั้งนี้ การฟื้นตัวของเศรษฐกิจที่ดีขึ้น หลังการทยอยผ่อนคลายมาตรการ Lockdown จะช่วยให้ กนง. มีมุมมองที่เป็นบวกต่อแนวโน้มการฟื้นตัวเศรษฐกิจมากขึ้น และเชื่อว่า กนง. จะเริ่มส่งสัญญาณพร้อมขึ้นดอกเบี้ยได้ หากตลาดแรงงานฟื้นตัวกลับสู่ระดับก่อนวิกฤติ COVID โดยเฉพาะการจ้างงานในภาคการบริการ ซึ่งต้องอาศัยการฟื้นตัวของการท่องเที่ยว ซึ่งอาจใช้เวลานานอย่างน้อยกว่า 2 ปี ถึงจะกลับมาสู่ระดับก่อนวิกฤติได้ ทำให้เราคงมองว่า กนง. จะคงดอกเบี้ยจนถึงปี 2023 หากไม่มีแรงกดดันการขึ้นดอกเบี้ยเร็วของบรรดาธนาคารกลางอื่นๆ อาทิ เฟด

    Week ahead carlendar

ความคิดเห็นล่าสุด

กำลังโหลดบทความถัดไป...
การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย