🐦 Early bird ค้นพบหุ้นที่มาแรงที่สุดตอนนี้ด้วยราคาเบา ๆ รับส่วนลดสูงถึง 55% สำหรับ InvestingPro กับโปรโมชัน Black Fridayรับส่วนลด

รอลุ้น ทิศทางนโยบายการเงินธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed)

เผยแพร่ 01/11/2564 08:40
อัพเดท 09/07/2566 17:32
USD/THB
-
DX
-

 

  • สัปดาห์ที่ผ่านมา แรงหนุนจากรายงานงบการเงินเริ่มลดลง และผู้เล่นในตลาดเริ่มกลับมาโฟกัสทิศทางนโยบายการเงินของบรรดาธนาคารกลางมากขึ้น

  • ตลาดจะจับตาผลการประชุมธนาคารกลางสหรัฐฯ รวมถึง ธนาคารกลางอังกฤษ (BOE) โดยในส่วนของเฟด ตลาดจะรอจับตาแนวโน้มการปรับมาตรการคิวอี และมุมมองของเฟดต่อแนวโน้มการขึ้นดอกเบี้ยปีหน้า

  • เงินดอลลาร์ จะผันผวนหนักและเสี่ยงที่จะอ่อนค่าลง หากเฟดไม่ได้ส่งสัญญาณรีบใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวดนอกจากนี้ เงินดอลลาร์อาจเผชิญแรงกดดันจากเงินปอนด์ (GBP) หาก BOE ส่งสัญญาณจะขึ้นดอกเบี้ยในเดือนหน้าหรือขึ้นดอกเบี้ยในครั้งนี้ อนึ่ง เงินบาทจะผันผวนในกรอบเดิมต่อ โดยเงินดอลลาร์จะเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เงินบาทผันผวนได้ และต้องระวังความผันผวนจากโฟลว์เก็งกำไรทองคำ รวมถึง โฟลว์ขายสินทรัพย์ไทยจากนักลงทุนต่างชาติ ทั้งนี้ แนวรับเงินบาทอยู่ในโซน 33.00-33.10 บาทต่อดอลลาร์ ซึ่งผู้นำเข้ายังรอซื้อเงินดอลลาร์ ส่วนแนวต้านจะอยู่ในช่วง 33.40-33.50 บาทต่อดอลลาร์ จากโฟลว์ขายเงินดอลลาร์ของผู้ส่งออก

  • มองกรอบเงินบาทสัปดาห์นี้
    33.00-33.50
    บาท/ดอลลาร์

มุมมองเศรษฐกิจทั่วโลก

  • ฝั่งสหรัฐฯ – ตลาดจะรอจับตาผลการประชุมธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือเฟด โดยตลาดมองว่า เฟดจะยังคงดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับ 0.00-0.25% ตามเดิม อย่างไรก็ดี เฟดอาจมีการประกาศแผนการลดคิวอีที่ชัดเจนขึ้น โดยเฟดอาจลดคิวอีในอัตราเดือนละ 1.5 หมื่นล้านดอลลาร์ ทั้งนี้ ตลาดจะจับตามุมมองของเฟดต่อแนวโน้มการขึ้นดอกเบี้ย รวมถึงความกังวลต่อปัญหาเงินเฟ้อ หลังตลาดเชื่อว่า เฟดอาจจะขึ้นดอกเบี้ยได้ในช่วงกลางปีหน้า จากแรงกดดันเงินเฟ้อ ในส่วนข้อมูลเศรษฐกิจ ตลาดคาดว่า ทั้งภาคการผลิตและภาคการบริการจะมีแนวโน้มขยายตัวได้ดี โดยเฉพาะภาคการบริการที่จะกลับมาขยายตัวในอัตราเร่งขึ้น ชี้จาก ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการบริการ (ISM Services PMI) เดือนตุลาคม ที่จะปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 62 จุด (ดัชนีเกิน 50 จุด หมายถึง การขยายตัว) และที่สำคัญ ตลาดแรงงานก็มีแนวโน้มฟื้นตัวได้ดี โดยยอดการจ้างงานนอกภาคเกษตรกรรม (Nonfarm Payrolls) อาจเพิ่มขึ้นกว่า 4 แสนรายในเดือนตุลาคม ช่วยให้อัตราว่างงาน (Unemployment) ลดลงเหลือ 4.7% ขณะเดียวกัน ผลกระทบจากการหาแรงงานที่ยากขึ้นจะช่วยให้รายได้ของแรงงาน (Average Hourly Earning) ปรับตัวขึ้นกว่า +4.9%y/y ซึ่งรายได้ที่เพิ่มขึ้นจะช่วยให้เฟดคลายกังวลเกี่ยวกับการฟื้นตัวของตลาดแรงงานสหรัฐฯ และการใช้จ่ายครัวเรือน

  • ฝั่งยุโรป – ไฮไลท์ของตลาดยุโรป คือ การประชุมธนาคารกลางอังกฤษ (BOE) ซึ่งตลาดส่วนใหญ่มองว่า BOE อาจปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายสู่ระดับ 0.25% จาก 0.10% หลังเงินเฟ้อเร่งตัวขึ้นเกินเป้าหมายและเศรษฐกิจก็ทยอยฟื้นตัวดีขึ้น แต่เราเชื่อว่า BOE จะคงดอกเบี้ยนโยบายไปก่อน เพื่อประเมินผลกระทบจากการระบาดของเดลต้าและติดตามการฟื้นตัวตลาดแรงงาน ทั้งนี้ควรติดตามแรงกดดันเงินเฟ้อ ซึ่งอาจหนุนให้ BOE ขึ้นดอกเบี้ยเร็วกว่าคาดได้ นอกเหนือจากประเด็นดังกล่าว ตลาดประเมินว่า การบริโภคในยูโรโซนจะฟื้นตัวดีขึ้น หลังผู้คนเริ่มปรับวิถีชีวิตให้เข้ากับสถานการณ์ COVID โดย ยอดค้าปลีก (Retail Sales) จะโต +0.3% จากเดือนก่อนหน้าและช่วยหนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจยูโรโซน

  • ฝั่งเอเชีย – ผู้เล่นในตลาดจะรอลุ้นแนวโน้มการฟื้นตัวเศรษฐกิจจีน ท่ามกลางปัจจัยกดดันทั้งปัญหาในภาคอสังหาฯ การคุมเข้มภาคธุรกิจ และปัญหาการระบาดของ Delta ระลอกใหม่ ซึ่งตลาดประเมินว่า ภาคการผลิตและภาคการบริการอาจชะลอลงจากเดือนก่อนหน้า ชี้จากดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิตและการบริการที่จะลดลงเล็กน้อยสู่ระดับ 49.6 จุด และ 53 จุด ตามลำดับ นอกจากนี้ ตลาดจะจับตาผลการประชุมธนาคารกลางโดยเฉพาะธนาคารกลางออสเตรเลีย (RBA) ว่าจะมีมุมมองต่อนโยบายการเงินอย่างไร หลังบอนด์ยีลด์ 3 ปี พุ่งขึ้นแตะระดับ 1.22% สูงกว่า เป้าหมายของ RBA ที่ 0.10% ไปมาก และสะท้อนมุมมองของตลาดที่เชื่อว่า RBA อาจขึ้นดอกเบี้ยได้หลายครั้ง อย่างไรก็ดี นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่ยังมองว่า RBA จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับ 0.10% แต่อาจยกเลิกการคุมระดับบอนด์ยีลด์ 3 ปี ส่วนธนาคารกลางมาเลเซีย (BNM) จะยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 1.75% เพื่อหนุนการฟื้นตัวเศรษฐกิจ

  • ฝั่งไทย – ตลาดประเมินว่า เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มฟื้นตัวดีขึ้นหลังการทยอยผ่อนคลาย Lockdown ดังจะสะท้อนผ่านความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจและความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่จะปรับตัวขึ้นแตะระดับ 43 จุด และ 42 จุด ในเดือนตุลาคม นอกจากนี้ การใช้จ่ายที่ฟื้นตัว รวมถึงราคาสินค้าพลังงานที่ปรับตัวสูงขึ้นมากจากปีก่อนหน้า จะหนุนให้อัตราเงินเฟ้อ (CPI) เร่งตัวขึ้นสู่ระดับ 1.80% ส่วนกิจกรรมในภาคการผลิตแม้โดยรวมจะยังคงหดตัว แต่ก็เป็นการหดตัวในอัตราที่ชะลอลงและมีโอกาสที่ภาคการผลิตจะกลับมาขยายตัวได้ดีขึ้นในเดือนพฤศจิกายน สะท้อนผ่านดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิตในเดือนตุลาคมที่จะปรับตัวขึ้นแตะระดับ 49 จุด

Week ahead carlendar

ความคิดเห็นล่าสุด

กำลังโหลดบทความถัดไป...
การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย