การเปิดตัวกองทุน ETF บิทคอยน์ตัวแรกที่มีชื่อว่า ProShares Bitcoin Strategy ETF (NYSE:BITO) ทำให้ราคาบิทคอยน์ปรับตัวขึ้นทันที 3.5% และในส่วนของตัวกองทุนเองก็สามารถปรับตัวขึ้นได้มากกว่า 4%
ที่กล่าวไปนั้นคือสาเหตุแรกที่ทำให้ราคาบิทคอยน์ปรับเพิ่มขึ้นในช่วงนี้ ส่วนสาเหตุที่สอง เราเชื่อว่าคุณผู้อ่านน่าจะสามารถเดากันได้ นั่นก็คือบิทคอยน์กำลังทำหน้าที่เป็นสินทรัพย์คานเงินเฟ้อแทนทองคำ อย่างไรก็๋ตาม จะสังเกตได้ว่าขาขึ้นในรอบนี้ยังมีความกล้าๆ กลัวๆ ส่งออกมาผ่านรูปแบบแท่งเทียนโดยตลอด เพราะมีความเป็นไปได้ที่นักลงทุนจะตัดสินใจขายบิทคอยน์ออกไปเพื่อขอทำกำไรก่อน
และก็เป็นเหมือนในทุกๆ ครั้งที่บิทคอยน์กำลังเนื้อหอม สกุลเงินดิจิทัลทางเลือกก็จะไม่ได้รับความสนใจ หรือได้รับความสนใจน้อยลง แม้แต่สกุลเงินดิจิทัลอันดับที่สองของตลาดอย่างอีเธอเรียมก็หนีความจริงนี้ไม่พ้น แต่หากมองในอีกแง่มุมหนึ่ง หมายความว่าตอนนี้คนกำลังมองข้ามอีเธอเรียมไป เปิดโอกาสให้สามารถเข้าซื้อ ETH/USD ในราคาที่ถูกลงได้ เพื่อรองรับขาขึ้นในอนาคต
จากรูปประกอบด้านบนนี้เราจะเห็นว่าตั้งแต่เริ่มเข้าเดือนตุลาคมมา กราฟ ETH/USD พยายามที่จะสร้างการพักฐานแบบกรอบสามเหลี่ยมโดยตลอด แต่สุดท้ายก็ลงเอยด้วยการขยับตัวขึ้นเรื่อยๆ พฤติกรรมการวิ่งของราคาเช่นนี้หมายความว่าฝั่งขาขึ้นและขาลงกำลังพยายามต่อรองหาราคาที่รับได้ทั้งสองฝ่าย ก่อนที่จะลงท้ายด้วยชัยชนะของฝั่งขาขึ้น
หากนักลงทุนฝั่งขาขึ้นคนไหนสามารถพอ (หรือโชคดีพอ) ที่ได้เข้าซื้อตั้งแต่ช่วงขาขึ้นสามหรือสี่วันก่อนหน้านี้ ในขณะที่กำลังเขียนบทความนี้อยู่ เขาผู้นั้นน่าจะทำกำไรไปแล้วประมาณ 16% และก็เป็นเรื่องที่เข้าใจได้หากเขาคนนั้นจะพอใจกับราคา ณ ตรงนี้และขอทำกำไรออกจากตลาดออกไปก่อน อีกความหมายหนึ่งก็คือ นี่คือการ sell
การทำธุรกรรมเช่นนั้นก่อให้เกิดแรงกระเพื่อมอยู่สองประการ หนึ่งคือทำให้ระดับอุปสงค์ลดลง แต่จะไปเพิ่มระดับของอุปทาน การที่เกิดการฟอร์มตัวแบบธงขึ้นเป็นเพราะคนที่ถือเอาไว้เดิมต้องการจะออกจากตลาด ในขณะที่คนเข้ามาใหม่ต้องการจะซื้อ การทะลุกรอบรูปธงออกมาด้านบนหมายความว่าอุปทานที่มีกำลังลดลงเรื่อยๆ และฝั่งขาขึ้นต้องการที่จะซื้อไม่ว่าราคาจะอยู่สูงแค่ไหนก็ตาม
ที่สำคัญ เราจะเห็นว่าก่อนจะฟอร์มพักตัวเป็นรูปธง กราฟกำลังสร้างรูปแบบหัวไหล่ แต่ถูกทำลายด้วยแรงส่งขาขึ้น ตามตำราแล้ว รูปแบบหัวไหล่ (Head & Shoulder) เป็นรูปแบบการกลับตัวที่สำคัญ มีความแม่นยำสูง เพราะต้องใช้เวลานานกว่าจะสร้างทุกส่วนเสร็จ เมื่อไหร่ก็ต้องที่รูปแบบนี้ล้มเหลว นั่นหมายความว่าแรงส่งจากอีกฝั่งนั้นมีกำลังมหาศาล
จุดสังเกตที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งคือขาขึ้นรอบนี้วิ่งอยู่ในกรอบขาขึ้นมาตั้งแต่จุดต่ำสุดของวันที่ 21 กันยายน ซึ่งกรอบราคานี้มีส่วนกับการทำให้รูปแบบหัวไหล่ที่กล่าวไปก่อนหน้าไม่ประสบความสำเร็จด้วย สำหรับนักลงทุนที่ต้องการจะออกเพื่อทำกำไรไปก่อนในช่วงนี้ เราแนะนำว่าควรรอให้ราคาขึ้นถึง $4,000 ก่อนแล้วจึงตัดสินใจ
เมื่อลองขยายภาพใหญ่ออกมาเป็นกราฟรายสัปดาห์จะเห็นว่า่กราฟอีเธอเรียมกำลังวิ่งอยู่ในกรอบสามเหลี่ยมสมมาตรขนาดใหญ่ ถึงแม้ว่าตามตำราแล้วรูปแบบนี้มักจะเอื้อทั้งฝั่งขาขึ้นและขาลง แต่จากสภาพแวดล้อมในปัจจุบัน ประกอบกับแท่งเทียนขาขึ้นสามแท่งล่าสุด มีโอกาสมากกว่าที่ต่อไปในอนาคต อีเธอเรียมจะยังคงวิ่งอยู่ในแนวโน้มขาขึ้น
ยิ่งได้มาเห็นภาพนี้ยิ่งทำให้เข้าใจได้ว่าทำไมจึงเกิดการฟอร์มตัวรูปธงขึ้นในกราฟรายวัน เพราะบริเวณแนวต้านที่กราฟชนนั้นเป็นจุดตัดสินของเทรนด์พอดีว่าจะขึ้นต่อทะลุสามเหลี่ยมไปหรือไม่ หรือจะวิ่งกลับลงมาพักตัวอยู่ในกรอบตามเดิม หากจะเป็นการพักฐานเพื่อไปต่อ การฟอร์มตัวเป็นสามเหลี่ยมรูปธงเพื่อสะสมแรง ก่อนที่จะขยับตัวขึ้นต่อไปก็ถือเป็นเรื่องที่เข้าใจได้
กลยุทธ์การเทรด
เทรดเดอร์ที่ไม่ชอบความเสี่ยง จะรอจนกว่ากราฟทะลุกรอบสามเหลี่ยมด้านบนขึ้นไปก่อน จากนั้นรอให้ราคาย่อตัวกลับลงมาทดสอบแนวรับ ก่อนจะตัดสินใจวางคำสั่งซื้อ
เทรดเดอร์ที่รับความเสี่ยงได้ปานกลาง จะรอเช่นเดียวกับกลุ่มที่ไม่ชอบความเสี่ยง แต่เมื่อราคาวิ่งย่อลงมาปรับฐาน นักลงทุนกลุ่มนี้จะทำการเข้าซื้อทันที ไม่รอสัญญาณยืนยันขาขึ้น
เทรดเดอร์ที่รับความเสี่ยงได้สูง จะวางคำสั่งซื้อตั้งแต่ก่อนที่ราคาจะทะลุกรอบขึ้นไป นักลงทุนกลุ่มนี้สามารถยอมรับความเสี่ยงได้ เพื่อแลกกับผลตอบแทนที่สูงกว่า
ตัวอย่างการเทรด
- จุดเข้า: $3,825
- Stop-Loss: $3,800
- ความเสี่ยง: 25 จุด
- เป้าหมายในการทำกำไร:$4,000
- ผลตอบแทน: $175
- อัตราความเสี่ยงต่อผลตอบแทน: 1:7