การปรับตัวลดลงแรกของตลาดหุ้นหลายประเทศรวมถึงตลาดหุ้นไทยวานนี้ โดยภาพรวมเรามองเห็นโอกาส มากกว่าความกลัว เพราะหากพิจารณาถึงแรง กดดันที่ทำให้ตลาดปรับตัวลดลงแล้ว ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง Ever Grande หรือ การประชุม Fed ที่น่าจะส่งสัญญาณเรื่องการลด QE เห็นว่าเป็นประเด็นเดิมๆ ที่ตลาดน่าจะสะท้อนไปแล้ว ส่วนในประเทศมีเรื่องการปรับเพิ่มเพดานการก่อ หนี้สาธารณะ ซึ่งฝ่ายวิจัยเห็นว่า เป็นความจำเป็นทึ่ต้องดำเนินการเพื่อให้มี ความพร้อมทางการเงิน สำหรับการทำให้เศรษฐกิจกลับมาฟื้นตัว อีกประเด็น ที่น่าติดตามต่อคือแนวคิดการปรับเกณฑ์การคำนวนหุ้นที่จะเข้า SET50/100 ซึ่งน่าจะทำให้เกิดการปรับพอร์ต สลับหุ้นลงทุนในลำดับต่อไป คาดว่า SET Index มีโอกาสดีดตัวกลับ แนวรับแรกที่บริเวณ 1600 จุด ถัดไป ที่ 1587 จุด แนวต้าน 1615 จุด พอร์ตจำลองวันนี้ไม่มีปรับเปลี่ยน หุ้น Top Pick เลือก CPALL (BK:CPALL), KBANK (BK:KBANK) และ TU
สินทรัพย์เสี่ยงปรับฐานยกแผง จากประเด็น Evergrande และก่อนประชุม Fed
เมื่อคืนสินทรัพย์เสี่ยงต่างๆปรับฐานแรงยกแผง (ตลาดหุ้นสหรัฐ, ยุโรป ติดลบ 1-2.5% ฯลฯ) อีกฝั่งนึงคือ เงินไหลเข้าสินทรัพย์ภัย อาทิ Bond yields เกือบทุกช่วงอายุ ใน หลายประเทศ ปรับลง โดยเฉพาะสหรัฐ และที่สำคัญคือ ค่าเงินสกุล Dollar ที่นักลง มองเป็นสินทรัพ์ปลอดภัยเมื่อวานปรับเพิ่มขึ้นแรง ขึ้นทำ High เก่าของช่วงไตรมาสที่ 3 ที่ 93.4 จุด โดยยังอยู่ในแนวโน้มแข็งค่ากระทบ 2 ส่วน คือ
-
ราคา Commodity โลกปรับฐานแรงเกือบยกแผง อาทิ น้ำมันดิบ , น้ำตาล, ยางแท่ง ถือเป็น Sentiment ลบต่อหุ้นสินค้าโภคภัณฑ์ในไทยวันนี้
-
สกุลเงินต่างประเทศอ่อนค่า ผลจาก Dollarที่แข็ง โดยเฉพาะค่าเงินบาท ดอลลาร์ เช้านี้อ่อนค่าต่อ 33.4 บาทและน่าจะยังมีทิศทางอ่อนค่าทดสอบแนว ต้าน High เดิมที่บริเวณ 33.50 บาท กระแสเชิงบวกต่อหุ้นในกลุ่มส่งออก อาทิ กลุ่มส่งออกโครงสร้างเหล็ก MCS กลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ แนะนำ KCE กลุ่ม ส่งออกอาหาร TU , กลุ่มเกษตร อาทิ NER กลุ่มวัสดุก่อสร้าง VNG
โดยสาเหตุการปรับฐานของสินทรัพย์เสี่ยงยังเป็นเรื่องเดิมที่เกิดขึ้น เริ่มจาก
1. ความกังวลบริษัท Evergrande บริษัทผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์อันดับ 2 ของจีน มีความเสี่ยงจะผิดชำระหนี้ จากการที่มีหนี้สิน 3.56 แสนล้าน เหรียญ มุมมองฝ่ายวิจัย ASPS คาดจะกระทบต่อตลาดหุ้นไทยและ บริษัท Property ในไทยในวงจำกัด เพราะ เป็นปัญหาเฉพาะ และฐานะ การเงินของบริษัท Property โดยรวมในไทย ในปัจจุบัน แข็งแกร่ง สะท้อนจาก Net gearing ล่าสุด 2Q64 อยู่ที่ 1.0 เท่า เทียบกับตอนปี 40 ต้มยำกุ้ง Net gearing สูงราว 10 เท่า (อ่านรายละเอียดเพิ่มในบท วิเคราะห์ Market talk วันศุกร์ที่ 17 ก.ย.ที่ผ่านมา)
2. ใกล้การประชุม Fed 21-22 ก.ย. แต่ไทยรู้ผลเช้ามืดวันพฤหัสบดีที่ 23 ก.ย. ซึ่งรอบนี้ Consensus มีการคาดหมายจะมีการส่งสัญญาณ QE Tapering ทำให้นักลงทุนอาจจะปรับพอร์ตเพื่อ Wait & See
3. Valuation ตลาดที่แพง เนื่องจากสภาพคล่องส่วนเกินในระบบช่วย ขับเคลื่อนตลาดหุ้นหลายประเทศปรับตัวขึ้นมาได้อย่างรวดเร็ว จนมี P/E ที่สูงกว่าในอดีตและก่อนช่วงที่เกิด Covid-19 มาก อาทิ ตลาดหุ้นพัฒนา แล้ว (Developed Market) ปรับตัวขึ้นสูงกว่าก่อนเกิดโควิด 27% และมี P/E สูงขึ้นจาก 21.1 เท่า เป็น 24.0 เท่า เช่นเดียวกับตลาดหุ้นไทย ปรับตัวขึ้นสูงกว่าก่อนเกิดโควิด 0.8% และมี P/E สูงขึ้นจาก เท่า 18 เป็น 19.7 เท่า เช่นกัน
โดยรวม SET Index ในวันนี้ประเมินยากหลีกเลี่ยง Sentiment ลบจากตลาดหุ้น ต่างประเทศ และราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่ปรับฐานแรงไม่ได้(หุ้นในกลุ่ม Energy& Utilities มีน้ำหนักราว 21.9% ใหญ่ที่สุด มีผลต่อการเคลื่อนไหวตลาด)
อ่านบทวิเคราะห์ฉบับเต็มจาก asiaplus มองเห็นโอกาสมากกว่าความกลัว