Investment Ideas:
ภาพรวมการลงทุน - เราคาดว่า SET สัปดาห์นี้ (13-17 ก.ย.) จะเคลื่อนไหวในกรอบ 1,600-1,660 จุด ระยะสั้น SET มีปัจจัยบวกจากความน่าสนใจหุ้นในกลุ่ม Global Play ที่เพิ่มขึ้น หลังมีสัญญาณเชิงบวก ต่อทิศทางการค้าโลก โดยการเริ่มเจรจาของผู้นํา 3 ประเทศได้แก่ สหรัฐฯ จีน และเยอรมนี้ หนุนภาพรวม เศรษฐกิจ และเพิ่มอุปสงค์น้ํามันในตลาดเรามองเป็นบวกต่อหุ้นในกลุ่ม Global Play แนะนําเก็งกําไร ระยะสั้น เราเลือก BANPU TU IVL PTT (BK:PTT) และ PTTEP ปัจจัยบวกดังกล่าวเพียงพอชดเชยความผิดหวัง ของตลาดต่อผลประชุม ศบค. ชุดใหญ่ เห็นชอบคงพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวดพื้นที่ควบคุมสูงสุด และพื้นที่ควบคุม เช่นเดิม คงมาตรการป้องกันโควิด-19 และมาตรการเคอร์ฟิว ถึงวันที่ 30 ก.ย. การฟื้น ตัวของ SET ยังมีปัจจัยจํากัดจากการเปลี่ยนแปลงนโยบายการเงิน ติดตามการประชุม FOMC ของเฟด (21-22 ก.ย.) และการประชุม กนง. ของ BoT (29 ก.ย.) เรายังให้น้ําหนักหุ้นในกลุ่ม Earnings play ที่ ถูกคาดหมายผลประกอบการ 3Q64 แข็งแกร่ง ตามพอร์ต Core Investment ของเรา ยังคงน่าสนใจ ติดตามการประชุม FOMC และ กนง. เดือน ก.ย. เราเชื่อว่าจะยังไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง - การเปลี่ยนแปลง นโยบายการเงิน จะเป็นปัจจัยจํากัด upside ของตลาด โดยช่วงที่เหลือของเดือน ก.ย. ต้องติดตามการ ประชุม FOMC ของเฟด (21-22 ก.ย.) และการประชุม กนง. ของ BoT (29 ก.ย.) โดยเฉพาะการประชุม FOMC ซึ่งตลาดให้น้ําหนักต่อการที่เฟดจะส่งสัญญาณช่วงเวลาและขนาดของการปรับลด QE อย่างไรก็ตาม เราตั้งข้อสังเกตจาก 2 ประเด็น (1) ท่าทีของประธานเฟดที่พยายามลดน้ําหนักความเสี่ยงของค่าเงินเฟ้อ โดยระบุจะยังไม่รีบขึ้นดอกเบี้ยและถอนสภาพคล่องในระยะใกล้ และ (2) เราเชื่อว่า Jerome Powell จะยัง ไม่มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายการเงินอย่างมีนัยสําคัญ ตราบใดที่ Jerome Powell ยังไม่ได้รับการยืนยัน หรือคําสังว่าเขาจะได้กลับมารับตําแหน่งต่อ (Jerome Powell จะหมดวาระ ก.พ. 65) ทําให้เรายังเชื่อว่าการ ส่งสัญญาณช่วงเวลาและขนาดของการปรับลด QE จะเกิดขึ้นในการประชุม FOMC รอบเดือน พ.ย. (1-2 พ.ย.) โดยเราคาดว่าจะทยอยลด QE จะเริ่มในช่วง ธ.ค. 64 ก่อนการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยจะเกิดขึ้นเร็ว ที่สุดในช่วง 4Q65 ด้านการประชุม กนง. ของ BoT เราเชื่อว่า ธนาคารแห่งประเทศไทยจะยังคงอัตรา
ดอกเบี้ยนโยบายไว้เท่าเดิม • ความกังวลต่อปัญหาการค้าโลก เริ่มคลี่คลาย ทําให้ Global Play น่าสนใจ - เราเชื่อว่าตลาดจะกลับมามี Sentiment เชิงบวก หลังการเจรจาระหว่าง ประธานาธิบดี โจ ไบเดน ผู้นําสหรัฐฯ และประธานาธิบดี สี จิ้นผิง ผู้นําจีน จะนําไปสู่การลดความขัดแย้งทางการค้าระหว่างสองประเทศ ถือเป็นการหารือครั้งที่ 2 ของ ประธานาธิบดีโจ ไบเดน นับตั้งแต่เขาเข้ารับตําแหน่ง รวมไปถึงการพูดคุยระหว่างนางอังเกลา แมร์เคิล นายกรัฐมนตรีเยอรมนี กับผู้นําจีน เพื่อกระชับความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองประเทศ ซึ่งจะช่วยหนุนภาพรวม เศรษฐกิจ และเพิ่มอุปสงค์น้ํามันในตลาด เรามองเป็นบวกต่อหุ้นในกลุ่ม Global Play โดยข้อมูลที่เราติดตาม ในช่วง 2 วันที่ผ่านมา พบว่าการพูดคุยครอบคลุมประเด็นสําคัญๆ ได้แก่ การป้องกันภาวะโลกร้อน (Climate Change) การป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19 การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ และประเด็นอื่นๆ ในภูมิภาคและระดับโลก ราคาน้ํามันดิบยังได้ประโยชน์จากอุปทานที่ลดลง เรามองเป็นบวกต่อ OIL Play เน้นเก็งกําไรระยะสั้น - ราคา น้ํามันดิบยังได้รับปัจจัยบวกจากความล่าช้าในการฟื้นฟูกําลังการผลิตของบรรดาผู้ผลิตน้ํามันในอ่าวเม็กซิโก หลังได้รับผลกระทบจากพายุเฮอริเคนไอดา ข้อมูลจากสํานักงานความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมของสหรัฐฯ รายงานการผลิตน้ํามันดิบและการผลิตก๊าซธรรมชาติ กว่า 66% และ 76% ในอ่าวเม็กซิโก ยังคงปิด ดําเนินการ ส่งผลให้ปริมาณปิโตรเลียม ในตลาดโลกลดลงราว 17.5 ล้านบาร์เรล ติดตาม Oil Report จากกลุ่ม OPEC (13 ก.ย.) และการประชุม OPEC+ (4 ต.ค.) ขณะที่ราคาน้ํามันดิบ 3Q64QTD (Dubai) อยู่ที่ 71 เหรียญต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้น 6%QoQ ยังเป็นปัจจัยบวกต่อหุ้นในกลุ่มพลังงาน โดยเฉพาะหุ้นในกลุ่ม Upstream อย่าง PTTEP และ PTT
มุมมองทางเทคนิค - เราคาดว่า SET Index วันนี้จะเคลื่อนไหวในกรอบ 1,620-1,650 จุด หุ้นแนะนําปัจจัย ทางเทคนิค - IVL ZIGA และ BJC รายงานตัวเลขทางเศรษฐกิจที่สําคัญ ล่าสุด - กระทรวงแรงงานสหรัฐฯ รายงาน ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ซึ่งเป็นมาตรวัดเงินเฟ้อจากการใช้จ่ายของผู้ผลิต เดือน ส.ค. เพิ่มขึ้น 0.7%MoM และเพิ่มขึ้น 8.3%YoY (คาดเพิ่มขึ้น 0.69%MoM และเพิ่มขึ้น 7.3%YoY) เป็นการปรับตัวขึ้นมากที่สุดเป็นประวัติการณ์ในรอบเกือบุ 11 ปี นับตั้งแต่เริ่มมีการรวบรวมข้อมูลดังกล่าวในเดือน พ.ย. 2553 และเป็นการปรับเพิ่มขึ้น ในอัตราที่ เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือน ก.ค. ที่เพิ่มขึ้น 7.8% ด้านดัชนี PPI พื้นฐาน (ไม่รวมหมวดอาหารและพลังงาน) ในเดือน ส.ค. เพิ่มขึ้น 0.39%MoM และเพิ่มขึ้น 6.3%YoY เป็นการปรับตัวขึ้นมากเป็นประวัติการณ์ นับตั้งแต่
เริ่มมีการรวบรวมข้อมูลดังกล่าว ในเดือน ส.ค. 2557 • ติดตามรายงานตัวเลขทางเศรษฐกิจที่สําคัญ วันนี้ - รายงานเศรษฐกิจที่สําคัญของญี่ปุ่น ได้แก่ ดัชนีราคา
ผู้ผลิต (PPI) เดือน ส.ค. (คาดเพิ่มขึ้น 5.6%YoY และ 0.2%MoM)
บทวิเคราะห์นี้จัดทำขึ้นและเผยแพร่โดยทีมนักวิเคราะห์ของ Asia Wealth Securities