Weak U.S. jobs was more of a supply side issue SET: คาด SET Index เปิดตลาดสัปดาห์นี้ปรับด้วสูงขึ้นหนุนโดยหุ้น DELTA หลังล่าสุดตลท.ยังไม่ประกาศให้ตัวหุ้นเข้าข่ายมาตรการกากับการ ซื้อขาย จึงอาจมีแรงส่งรับข่าวบวกในช่วงเช้าวันนี้ได้ ทั้งนี้ หากวิเคราะห์ดู อิทธิพลของหุ้นดังกล่าวตั้งแต่ต้นเดือนก.ย.ที่ผ่านมาจะพบว่ามีนัยสําคัญ อย่างมาก เนื่องจากทําให้ทั้งดัชนี SET และ SET50 ต่างปรับตัวขึ้นได้ราว 11.6 จุดและ 8.5 จุดตามลําดับ ซึ่งถ้าหากไม่นับรวมผลของหุ้นตัวนี้ ดัชนี SET และ SET50 จะกลับปรับตัวลดลงราว 4.3 จุด และ 6.1 จุดเสีย ด้วยช่า ส่วนทางด้านกระแส Fund flow นั้น คาดว่าจะยังมีโมเมนตัมที่ด้อยู่ สะท้อนผ่านภาพของเงินบาท ณ เวลานี้ (ภยละเอียดด้านล่าง) Strategy: ปรากฏการณ์การขึ้นของดัชนีแบบกระจุกตัวดังกล่าวสะท้อน ภาวะที่หุ้นด้วขึ้นเริ่มอ่อนแรง จากแรงขายทํากําไรที่ปรากฏขึ้นเมื่อดัชนี SET เข้าสู่โซนแนวด้านในเชิง Valuation ที่ระดับ 1650-1660 จุด ในเชิงกลยุทธ์ เรายังคงกําหนดแนวต้านดังกล่าวเป็นจุดในการลดพอร์ต การลงทุนอย่างมีนัยสําคัญ ซึ่งหากใครที่ลดไปแล้ว สามารถชะลอการ ลงทุนและอยู่ในโหมด Wait & See ได้ โดยการเข้าสะสมหุ้นรอบใหม่นั้น แนะนํารอให้ดัชนีย่อตัวลงมาแถวบริเวณ 1600 จุดต้นๆ น่าจะเป็นโซนที่ ปลอดภัยและมี Risk/reward ในการลงทุนมากกว่า Jobs report: สหรัฐฯรายงานตัวเลขการจ้างงานประจําเดือนส.ค.มี ไฮไลท์ที่น่าสนใจดังนี้
1) ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตร (NFP) ประจําเดือนส.ค.ต่ากว่าที่ตลาดคาดอย่างมีนัยสําคัญ โดยปรับเพิ่มขึ้นเพียง 235,000 ตําแหน่ง เท่านั้น อย่างไรก็ตามที อัตราค่าจ้างรายชั่วโมงกลับปรับสูงขึ้น มากกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ทั้ง MoM และ YoY สะท้อนถึงภาวะที่ แรงงานบางส่วนยังคงสมัครใจที่จะไม่เข้าตลาดแรงงาน เพื่อรอ รับสวัสด็การการว่างงานพิเศษช่วงเหตุการณ์ Covid-19 ที่ยังมีอยู่ในเดือนนี้
2) จากตัวเลขการจ้างงานที่ออกมาย่าแย่ จึงทําให้ตลาดเลื่อนคาดการณ์การขึ้นดอกเบี้ย Fed Funds ครั้งแรกออกไปเล็กน้อย สะท้อนผ่าน Fed Funds futures ที่ปรับตัวลดลง ส่งผลให้ Bond yield รุ่นสั้นปรับลดลงเล็กน้อย
3) ในขณะที่ค่าจ้างรายชั่วโมงที่ออกมาขยายตัวกว่าคาดนั้น ท่าให้นักลงทุนเพิ่มคาดการณ์เงินเฟ้อในตลาดขึ้น สะท้อนผ่านระดับ Breakeven ที่ปรับตัวสูงขึ้น และส่งผลให้ Bond yield รุ่นยาวปรับด้วสูงขึ้นเช่นกัน
4) จากเหตุผลข้อ 2 และข้อ 3จึงทําให้ความชัน Yield Curve (10y2y) ปรับตัวสูงขึ้นสู่ระดับสูงสุดในรอบเกือบ 1 เดือนแนวรับ 1,637 แนวต้าน 1,657 บทวิเคราะห์วันนี้ • JMT:Stock Comment (ซื้อ ราคาเป้าหมาย 54 บาท) ตั้งเป้าเป็นเบอร์ 1 ในกลุ่ม AMC ใน 3 ปี
5) จากการที่ Fed Funds futures ปรับด้วลดลง จึงทาให้เงิน USD อ่อนตัวเล็กน้อยและทําให้ DXY ทรงด้วด่าต่อไป เป็นบวกต่อกระแส Fund flow และสกุลเงินใน EM ต่อในระยะสั้น
ล่าสุดเงินบาทกลับมาแข็งค่าอีกครั้ง และถือเป็นสกุลเงิน ในเอเชียที่แข็งค่ามากที่สุดตั้งแต่เปิดต้นสัปดาห์นี้ สอดคล้องกับท่าทีของ ธปท. ณ ขณะนี้ที่ยังไม่มีท่าที่กังวลต่อการแข็งค่าของเงินบาทมากนัก โดย ฐานะ Forward สุทธิในรอบสัปดาห์ล่าสุดที่ประกาศออกมานั้น (สิ้นสุด 28 ส.ค.) กลับปรับตัวลดลงเล็กน้อยด้วยซ้ํา โดยสรุป เรามีมุมมอง Bias ทางด้านการแข็งค่าต่อเงินบาทในระยะสั้น 6) จากการที่สวัสดิการการว่างงานพิเศษจากเหตุการณ์ Covid-19 จะหมดอายุลงในช่วงต้นเดือนก.ย.นี้ เราประเมินว่าตัวเลขที่จะออกมาในช่วงต้นเดือนหน้าน่าจะมี ภาพที่กลับกัน กล่าวคือ NFP น่าจะปรับสูงขึ้นเข้าสู่ภาวะปกติมากขึ้น ซึ่งการ กลับมามีส่วนร่วมของแรงงานที่มากขึ้นนี้ น่าจะทําให้ระดับค่าจ้างชะลอการปรับขึ้นได้ และช่วยลดทอนคาดการณ์เงินเฟ้อลงได้เช่นกัน 7) มองปัจจัยด้วเลขการจ้างงานที่ออกมาล่าสุดและที่จะออกมาในช่วงที่เหลือของปีนี้จะไม่ส่งผลกระทบต่อแผนการลดวงเงิน QE ของ Fed (Tapering) ซึ่งมีแนวโน้มสูงแล้วที่จะถูกประกาศออกมาในการประชุม Fed ปลายเดือนนี้ และ จะเริ่มบังคับใช้ภายในไตรมาสที่ 4 นี้ ซึ่งเราไม่กังวลใจแต่อย่างใดเนื่องจาก เป็นสิ่งที่รับรู้ไปในราคาหมดแล้ว ขอเพียงแค่ระดับการลดวงเงินนั้นไม่สูง ไปกว่าตัวเลขที่ตลาดมองไว้ที่ 15,000 ล้านเหรียญฯต่อเดือนเท่านั้น
บทวิเคราะห์นี้จัดทำขึ้นและเผยแพร่โดยทีมนักวิเคราะห์ของ Trinity Securities