การพัดผ่านรัฐลุยเซียนาของพายุเฮอริเคนไอดาเมื่อช่วงต้นสัปดาห์นี้สร้างผลกระทบกับอุตสาหกรรมน้ำมันอย่างมีนัยสำคัญ ตั้งแต่การผลิตไปจนถึงการกลั่น พายุเฮอริเคนระดับสี่ลูกนี้สร้างความหายนะอย่างมากให้กับนิวออร์ลีนส์ รวมถึงชุมชนมากมายตามแนวชายฝั่งของอ่าว สำหรับคนอ่านที่ต้องการทราบรายละเอียดของสิ่งที่เกิดขึ้นจากเฮอริเคนลูกนี้ และความเป็นไปได้ของตลาดพลังงานในระยะสั้น นี่คือบทความที่คุณต้องอ่าน
การผลิตน้ำมันที่นอกชายฝั่ง
เมื่อพายุเฮอริเคนไอดามาถึง การผลิตน้ำมันจำนวน 1.74 ล้านบาร์เรลต่อวันหรือ 17% ของการผลิตทั่วประเทศของสหรัฐฯ ที่อยู่ในอ่าวเม็กซิโกเกือบทั้งหมดต้องหยุดทำงานทันที ข้อมูลล่าสุดที่เราทราบมาเมื่อวันพุธระบุว่ายังไม่สามารถผลิตน้ำมันจำนวน 1.45 ล้านบาร์เรลได้ ทั้งๆ ที่แพลตฟอร์มหรือแท่งขุดแทบจะไม่ได้รับความเสียหายเลย สาเหตุที่เป็นเช่นนั้นเพราะแรงงานซึ่งเป็นผู้ควบคุมอุปกรณ์เหล่านั้นถูกสั่งให้อพยพออกจากพื้นที่เสี่ยงทั้งหมด ลานจอดเฮลิคอปเตอร์ซึ่งเป็นหนทางขนส่งแรงงานเป็นหลักไม่สามารถใช้งานได้
ในสัปดาห์หน้านักลงทุนจะเริ่มเห็นผลกระทบที่เกิดขึ้นกับการผลิตในข้อมูลจาก EIA ซึ่งจะระบุถึงสิ่งที่เกิดขึ้นกับตัวเลขการส่งออกด้วย อย่างน้อยที่สุดกำลังการผลิตที่หายไปจะต้องมี 1.7 ล้านบาร์เรลเป็นอย่างต่ำ และจะเป็นเช่นนี้ต่อเนื่องไปตราบใดที่แพลตฟอร์มการขุดเจาะน้ำมันยังไม่สามารถกลับมาเป็นปกติได้
ท่าเรือที่ได้รับผลกระทบ
อีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้กระบวนการผลิตน้ำมันมีปัญหาจากพายุเฮอริเคนคือพายุพัดเข้าไปยังท่าเรือสำคัญในลุยเซียนา โดยปกติแล้วน้ำมันที่ถูกขุดมาได้จากแพตฟอร์มนอกชายฝั่งจะถูกส่งไปเก็บที่ท่าเรืออย่างเช่นพอร์ตโฟร์ชอนเอาไว้ก่อน พอร์ตโฟร์ชอนจะมีเรือลำเลียงขนาดใหญ่ประมาณ 270 ลำและรถบรรทุกอีก 1,200 คันจากบริษัทมากกว่า 250 แห่งผ่านเข้าออกเพื่อขนส่งน้ำมันอยู่เป็นประจำทุกวัน พายุเฮอริเคนไอดาทำให้พื้นที่บริเวณนี้ต้องเผชิญกับน้ำท่วมรุนแรง เส้นทางการเดินรถเข้าไปที่ท่าเรือถูกปิด โดยที่ยังไม่มีใครสามารถประเมินความเสียหายที่เกิดขึ้นทั้งหมดได้ในตอนนี้
อันที่จริงพอร์ตโฟร์ชอนถือเป็นส่วนหนึ่งของท่าเรือน้ำมันนอกชายฝั่งหลุยส์เซียนาหรือที่มีชื่อเรียกสั้นๆ ว่า “LOOP” เป็นน้ำลึกพอร์ตในอ่าวเม็กซิโก 29 กิโลเมตร (18 ไมล์ทะเล) ซึ่งท่าเรือก็ต้องถูกสั่งให้หยุดการดำเนินงานด้วยเช่นกันถึงแม้ว่า LOOP จะไม่ได้รับความเสียหายก็ตาม แต่เหตุที่ LOOP ไม่สามารถกลับมาผลิตน้ำมันเพราะคนที่คอยควบคุมถูกสั่งไม่ให้เข้าไปยังพื้นที่ และยังไม่มีกรอบระยะเวลาที่แน่นอนว่าเมื่อไหร่ท่าเรือแห่งนี้จึงจะสามารถกลับมาดำเนินการตามปกติได้อีกครั้ง ผู้เชี่ยวชาญหลายคนประมาณการว่าอาจต้องใช้เวลาหลายสัปดาห์กว่าที่การซ่อมแซมที่พอร์ตโฟร์ชอนจะเริ่มขึ้น และท่าเรืออื่นๆ ในหลุยเซียน่าที่ยังคงปิดอยู่ในขณะนี้อาจใช้เวลาหลายสัปดาห์
การปิดท่าเรือส่งผลให้เรือบรรทุกน้ำมันหลายลำไม่สามารถวิ่งกลับเข้าสู่อ่าวได้ และต้องถูกจอดรอทิ้งไว้อยู่นอกอ่าวเม็กซิโกโดยที่ไม่รู้ว่าจะได้นำคาร์โกลงจากเรือเมื่อไหร่ พื้นที่ที่มีเรือบรรทุกน้ำมันเข้าไปติดอยู่มากที่สุดในตอนนี้อยู่ใกล้กับแบตันรูชและทะเลสาบชาร์ลส์ จากรายงานล่าสุดตอนนี้ท่าเรือที่ทะเลสาบชาร์ลส์สามารถกลับมาดำเนินการได้อีกครั้ง ซึ่งอาจจะพอแก้ปัญหาคอขวดนี้ไปได้บ้าง ถึงอย่างไรก็ตามก็ยังไม่มีใครสามารถระบุเวลาได้ว่าเรือเหล่านี้จะสามารถเปลี่ยนเส้นทางไปลงที่ท่าของรัฐเท็กซัสแทนได้หรือไม่
แต่ไม่ว่าจะอย่างไรก็ตาม สิ่งที่นักลงทุนจะได้เห็นในเร็วๆ นี้แน่นอนคือการส่งออกน้ำมันจากสหรัฐฯ ที่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยเดิม รวมไปถึงการนำเข้าน้ำมันจากประเทศอื่นๆ ก็จะลดลงด้วย
โรงกลั่นน้ำมัน
เพื่อเตรียมการรับมือกับพายุเฮอริเคนไอดา โรงกลั่นน้ำมันในรัฐลุยเซียนาหลายแห่งต้องถูกสั่งให้หยุดดำเนินการ คิดเป็นปริมาณน้ำมันที่หายไป 2.7 ล้านบาร์เรลหรือ 14% ของการใชน้ำมันของประเทศสหรัฐอเมริกา แม้ว่าโรงกลั่นเหล่านี้จะไม่ได้รับความเสียหายจากน้ำท่วมหรือพายุโดยตรง แต่พวกเขาก็ไม่มีไฟฟ้าให้ใช้สำหรับการกลั่นน้ำมันอยู่ดี
รายงานล่าสุดที่มีในตอนนี้ระบุว่าโรงกลั่นน้ำมันในแบตันรูชของบริษัทเอ็กซอน โมบิลที่สามารถผลิตน้ำมันได้ 500,000 บาร์เรลต่อวันกับบริษัทมาราธอน ปิโตรเลียม (NYSE:MPC) ที่สามารถกลั่นน้ำมันได้ 565,000 บาร์เรลต่อวันในแกรี่วิลล์ยังไม่ได้รับความเสียหายใดๆ เอ็กซอน โมบิล (NYSE:XOM) ให้ข้อมูลว่ากำลังพยายามทำให้โรงกลั่นน้ำมันกลับมาใช้ได้ ในขณะที่มาราธอนคาดว่าการกลั่นน้ำมันจะสามารถกลับมาได้ดังเดิมเมื่อระบบไฟฟ้าในเมืองกลับมาเป็นปกติ และเมื่อรวมเข้ากับบริษัทผู้ผลิตน้ำมันรายอื่นๆ เท่ากับว่าการผลิตน้ำมันปริมาณ 2 ล้านบาร์เรลต่อวันอาจต้องใช้เวลาประมาณ 3 สัปดาห์กว่าจะกลับมาเป็นปกติ
โรงกลั่นน้ำมันไม่สามารถใช้งานได้มีความหมายอะไรกับตลาดลงทุน? หมายความว่าในสัปดาห์หน้านักลงทุนจะได้เห็นผลกระทบจากโรงกลั่นน้ำมันที่ถูกปิดจากรายงานปริมาณน้ำมันดิบคงคลังจาก EIA ซึ่งอาจจะทำให้ตัวเลขดังกล่าวปรับตัวเพิ่มขึ้น แต่ในทางตรงกันข้ามรายงานตัวเลขพลังงานเชื้อเพลิงที่ถูกเก็บเอาไว้ในคลังจะลดลงเนื่องจากไม่มีการผลิตและทำให้ต้องดึงพลังงานเชื้อเพลิงจากในคลังออกมาใช้ก่อน
ข้อมูลจาก Patrick DeHaan ที่ GasBuddy ระบุว่าพื้นที่ที่เราจะได้เห็นปริมาณพลังงานเชื้อเพลิงคงคลังลดลงคือพื้นที่ PADD3 ในช่วงสองเดือนก่อนพื้นที่ PADD1 มีการใช้พลังงานเชื้อเพลิงคงคลังไปแล้วประมาณ 30% และ GasBuddy คาดว่าการจะเติมพลังงานเชื้อเพลิงใน PADD1 ให้กลับมา สหรัฐฯ อาจจำเป็นต้องนำน้ำมันจากประเทศอื่น ดังนั้นรายงานตัวเลขปริมาณน้ำมันดิบคงคลังในช่วง 3-4 สัปดาห์นี้จาก EIA อาจจะไม่ใช่ตัวเลขปกติที่เราคุ้นชิน ขึ้นอยู่กับว่าโรงกลั่นน้ำมันเหล่านี้จะสามารถกลับมาดำเนินการตามปกติได้เมื่อไหร่
ราคาน้ำมัน
ก่อนหน้าที่พายุเฮอริเคนไอดาจะเคลื่อนตัวเข้าสู่สหรัฐฯ ราคาน้ำมันในตอนนั้นยังอยู่ในระดับต่ำ แต่เมื่อพายุเข้ามา แนวโน้มขาลงน้ำมันก็เปลี่ยนไปในทันที
รายงานข้อมูลจาก EIA เมื่อวันพุธนี้เปิดเผยว่าค่าเฉลี่ยของซัพพลายน้ำมันในสัปดาห์ที่แล้วมีตัวเลขอยู่ที่ 21.4 ล้านบาร์เรล ซึ่งถือว่าเป็นระดับสูงที่สุดนับตั้งแต่เดือนกันยายนปี 2019 สาเหตุที่เป็นเช่นนี้อาจเป็นเพราะมีความต้องการจะซื้อน้ำมันไปกักตุนเพื่อรองรับพายุที่กำลังจะมาถึง
อย่างไรก็ตามในวันที่ 15 กันยายนที่กำลังจะถึง ปั้มน้ำมันส่วนใหญ่ในสหรัฐฯ จะเริ่มขายน้ำมันประเภทที่ช่วยให้เครื่องยนต์สตาร์ทติดง่ายในฤดูหนาว ซึ่งมีต้นทุนในการผลิตถูกกว่าปกติ มีแหล่งข่าวระบุว่าพื้นที่ที่กำลังได้รับผลกระทบจากพายุเฮอริเคนในตอนนี้ได้รับสิทธิ์ในการขายน้ำมันชนิดสำหรับฤดูหนาวนี้ก่อนวันที่ 15 กันยายน เพื่อลดความเสี่ยงจากการขาดแคลนน้ำมัน เมื่อราคาน้ำมันถูกลง ประกอบกับโรงกลั่นน้ำมันที่คาดว่าจะกลับมาใช้งานได้ภายในสองถึงสามสัปดาห์ข้างหน้า อาจจะเป็นแรงกดดันให้ราคาน้ำมันดิบปรับตัวลดลง