Investment Ideas:
ภาพรวมการลงทุน - เราคาดว่า SET วันนี้ จะเคลื่อนไหวในกรอบ 1,620-1,660 จุด เราคาดว่า SET จะยังผันผวน แต่มีโอกาสปรับเพิ่มจาก (1) ค่าเงินดอลลาร์ที่อ่อนค่า หลังเฟดส่งสัญญาณไม่รีบเร่งในการ ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย แม้จะเร่งการปรับลด QE เร็วกว่าที่เราและ Market Consensus คาดหมาย เป็นปัจจัยบวกต่อ SET ระยะสั้น (2) ภาวะเงินเฟ้อที่ปรับเพิ่มขึ้นทั่วโลก เรามองปัจจัยดังกล่าว จะเป็นบวกต่อสินทรัพย์เสียง ในภาวะที่อัตราผลตอบแทนจากพันธบัตรอยู่ในระดับต่ํา จะเป็นปัจจัยหนุน การลงทุนใน SET และ (3) Sentiment เชิงบวกต่อการที่ ธนาคารกลางจีน (PBOC) จะอัดฉีด สภาพคล่อง 4 หมื่นล้านหยวน (ประมาณ 6,190 ล้านเหรียญ) เพื่อลดความกังวลของตลาดเกี่ยวกับ ปัญหาสภาพคล่องตึงตัว ผ่าน Reverse Repos อายุ 7 วัน (อัตราดอกเบี้ยล่าสุด 2.2%) กลยุทธ์ การลงทุน เราให้น้ําหนักการลงทุนในหุ้นสัดส่วน 60% แนะนํา Selective หุ้นในกลุ่ม Utilities กลุ่มอุปโภคบริโภค และ Re-opening - เรายังมีมุมมองเป็นบวกต่อ หุ้นในกลุ่มโรงไฟฟ้า (BCPG BPP GULF และ GPSC) กลุ่มสื่อสาร (ADVANC และ TRUE) และกลุ่มอุปโภค บริโภคในประเทศ (CPALL (BK:CPALL) CPF HMPRO และ CRC) รวมไปถึงหุ้นในกลุ่ม Re-opening (PTG AOT (BK:AOT) BAFS AMATA ORI BEC และ PLANB) ที่เราแนะนํา ระยะสันจะยังมีแรงกดดันหุ้นในกลุ่ม Commodity ทั้งน้ํามันดิบ และค่าระวางเรือที่ปรับลดลง (เป็นลบกับหุ้นในกลุ่มพลังงาน และขนส่งทางเรือ) แต่ราคาก๊าซฯ และราคาถ่านหินยังปรับเพิ่ม (เป็นบวกต่อ BANPULANNA และ AGE) ประเด็นที่ต้องติดตาม (1) การแพร่ ระบาดของโควิด-19 สายพันธุ์เดลต้าทั่วโลก (2) การอภิปรายไม่ไว้วางใจของฝ่ายค้าน (วันที่ 31 ส.ค. ถึง 3 ก.ย.) และ (3) การรายงานตัวเลขทางด้านเศรษฐกิจของสหรัฐฯ และจีน ที่ส่งสัญญาณอ่อนแอ ติดตามการประชุม OPEC+ คาดคงมติปรับเพิ่มกําลังผลิต ระยะสันมีปัจจัยลบกดดันราคาน้ํามัน - ติดตามการ ประชุม OPEC+ วันนี้ (1 ก.ย.) โดยประเด็นที่มีการหารือเกี่ยวกับการปรับเพิ่มกําลังผลิตน้ํามันอีก 400,000 บาร์เรลต่อวัน (ตามมติเดิม) โดยเราคาดว่า,OPEC+ จะมีมติเห็นชอบต่อการปรับเพิ่มกําลังผลิตน้ํามัน (มีเพียงคูเวตที่คัดค้าน) ขณะที่ระยะสั้นราคาน้ํามันดิบมีแรงกดดันจากสถานการณ์เฮอริเคนไอด้าในสหรัฐฯ ที่เริ่มอ่อนกําลัง รวมไปถึงการรายงานตัวเลขเศรษฐกิจของจีนที่อ่อนแอ เพิ่มความกังวลต่อ Demand น้ํามัน บทวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานวันนี้ – Company Update: CPALL
มุมมองเป็นบวก - ประโยชน์ 5 ด้านจากดีลนี้ (1) ขยาย Fresh Market ผ่าน MAKRO และโลตัส (2) Demand ที่เพิ่มทั้ง B2B และ B2C (3) Synergy ในกลุ่มธุรกิจ (4) ได้ประโยชน์เต็มที่จากการพัฒนา E-Commerce และ 020 และ (5) เพิ่มศักยภาพการบริหารพื้นที่เช่า เพิ่มกระแสเงินสดและลดหนี้ หลังธุรกรรมเสร็จสิ้น CPALL ถือ MAKRO 65.97% (เดิม 93.086) เรามีมุมมองเป็นบวก แต่ยังไม่ได้รวมดีล ดังกล่าวในประมาณการของเรา คาดใช้เวลาอีกอย่างน้อย 2-3 เดือน ในการปิดดีลนี้ แนะนํา “เก็งกําไร” ราคาเป้าหมาย 67 บาท มุมมองทางเทคนิค - เราคาดว่า SET Index วันนี้จะเคลื่อนไหวในกรอบ 1,620-1,660 จุด หุ้นแนะนําปัจจัย
ทางเทคนิค - STGT MTC และ ECL • รายงานตัวเลขทางด้านเศรษฐกิจ - ดัชนีราคาบ้านทั่วประเทศในสหรัฐฯ ในเดือน มิ.ย. เพิ่มขึ้น 18.69% มากที่สุดนับตั้งแต่เริ่มมีการรวบรวมข้อมูลดังกล่าวในปี 2530 และเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากเดือน พ.ค. ที่เพิ่มขึ้น 16.8% / ซึ่งเป็นสถาบันวิจัยเศรษฐกิจ ระบุว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคสหรัฐฯ (ผลสํารวจของ Conference Board) ในเดือน ส.ค. อยู่ที่ 113.8 จุด (คาด 124 จุด) และลัดลงจากเดือน ก.ค. ที่ 125.1 จุด โดยได้รับผลกระทบจากความวิตกเกี่ยวกับการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 และเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้น / สํานักงานสถิติแห่งชาติจีน (NBS) รายงานดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิต เดือน ส.ค. อยู่ที่ระดับ 50.1 จุด ชะลอตัวลงจากเดือน ก.ค. ที่ระดับ 50.4 จุด
ติดตามรายงานตัวเลขทางเศรษฐกิจที่สําคัญ วันนี้ - รายงานเศรษฐกิจที่สําคัญของญี่ปุ่น ได้แก่ ดัชนีผู้จัดการ ฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิต (Manufacturing PMI) เดือน ส.ค. /รายงานเศรษฐกิจที่สําคัญของจีน ได้แก่ ดัชนี ผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิต (Manufacturing PMI) เดือน ส.ค. (คาดขยายตัวอยู่ที่ 50.2 จุด) /รายงาน เศรษฐกิจที่สําคัญของยุโรป ได้แก่ ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิต (Manufacturing PMI) เดือน ส.ค. (คาดขยายตัวอยู่ที่ 61.5 จุด) และอัตราการว่างงาน (Unemployment Rate) เดือน ก.ค. (คาดอยู่ที่ 7.6%) /รายงานเศรษฐกิจที่สําคัญของเยอรมนี้ ได้แก่ ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิต (Manufacturing PMI) เดือน ส.ค. (คาดขยายตัวอยู่ที่ 62.7 จุด) / รายงานเศรษฐกิจที่สําคัญของอังกฤษ ได้แก่ ดัชนีผู้จัดการฝ่าย จัดซื้อภาคการผลิต (Manufacturing PMI) เดือน ส.ค. / รายงานเศรษฐกิจที่สําคัญของสหรัฐฯ ได้แก่ ดัชนี ผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิต (Manufacturing PMI) เดือน ส.ค. ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิต (ISM Manufacturing PMI) เดือน ส.ค. (คาดขยายตัวอยู่ที่ 59.1 จุด) จํานวนการเปลี่ยนแปลงในการจ้างงาน นอกภาคการเกษตร (ADP,Nonfarm Employment Change) เดือน ส.ค. (คาดเพิ่มขึ้น 575,000 ตําแหน่ง) และรายงานสินค้าคงคลังน้ํามันดิบประจําสัปดาห์ (Crude Oil Inventories)
บทวิเคราะห์นี้จัดทำขึ้นและเผยแพร่โดยทีมนักวิเคราะห์ของ Asia Wealth Securities