สกุลเงินที่แข็งค่ามากที่สุดเมื่อวานนี้คือดอลลาร์นิวซีแลนด์ ดอลลาร์ออสเตรเลีย และดอลลาร์แคนาดา ทั้งๆ ที่สัปดาห์ที่แล้วทั้งสามสกุลเงินได้ปรับตัวลดลงไปทดสอบจุดต่ำสุดในรอบปี แต่ก็สามารถวิ่งกลับขึ้นมาได้อย่างรวดเร็วภายใน 48 ชั่วโมงล่าสุด สาเหตุที่ทำให้ทั้งสามสกุลเงินปรับตัวขึ้นมาในตอนแรกคือการอ่อนค่าของ แต่เมื่อพิจารณาจากเทียบดอลลาร์ดูแล้ว กลับไม่ได้ปรับตัวขึ้นเช่นเดียวกับทั้งสามสกุลเงิน ประกอบกับการแข็งค่าของสกุลเงิน และจึงทำให้มีเหตุผลให้เชื่อได้ว่าขาขึ้นครั้งนี้มีเหตุผลเฉพาะที่ซ่อนอยู่ภายใน และเกิดกับ และ CAD เท่านั้น
การฟื้นตัวของตลาดน้ำมันดิบมีบทบาทสำคัญกับสกุลเงินให้ปรับตัวขึ้นในระยะสั้น เราเห็นราคาน้ำดิบ วิ่งขึ้นมา 8% ภายในช่วงระยะเวลา 48 ชั่วโมงล่าสุด ส่วนดอลลาร์นิวซีแลนด์แข็งค่าขึ้นมาได้เพราะตัวเลขยอดค้าปลีกที่ขยายตัวเพิ่มขึ้น และตัวเลขดุลบัญชีการค้าที่ออกมาดี ถึงแม้ว่าตอนนี้เราจะประเมินว่าเป็นการฟื้นตัวในช่วงเวลาสั้นๆ แต่ก็มีความเป็นไปได้ที่ทั้งสองสกุลเงินนี้จะแข็งค่าในระยะยาวเนื่องจากปัจจัยพื้นฐานเศรษฐกิจภายในประเทศที่แข็งแกร่ง
จริงอยู่ว่าตอนนี้ประเทศนิวซีแลนด์กำลังอยู่ภายใต้การล็อกดาวน์ แต่แท้จริงแล้วตัวเลขยอดผู้ติดเชื้อโควิดใหม่ในนิวซีแลนด์นั้นต่ำมาก และนักลงทุนมีความเชื่อมั่นว่านิวซีแลนด์จะสามารถกลับมาเป็นประเทศปลอดโควิดได้เป็นครั้งที่สอง ก่อนหน้านี้สาเหตุที่ทำให้กราฟ ปรับตัวลดลงเป็นเพราะธนาคารกลางนิวซีแลนด์ได้ออกมาเซอร์ไพรส์ตลาดว่าจะคงดอกเบี้ยนโยบายเอาไว้ดังเดิม แต่ RBNZ ก็ประกาศชัดเจนว่าจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยแน่นอนหากไม่มีการล็อกดาวน์ เมื่อคืนนี้รองผู้ว่าการธนาคารกลางนิวซีแลนด์ก็ได้ออกมาพูดว่านโยบายทางการเงินของธนาคารไม่ได้ยึดโยงกับสถานการณ์โควิดมาก รองผู้ว่าการยังพูดด้วยว่า RBNZ อาจพิจารณาปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้น 50 จุดเบสิส
หากพิจารณานโยบายทางการเงินของแต่ละธนาคารกลาง จะเห็นว่าธนาคารกลางนิวซีแลนด์และแคนาดาถือเป็นสองธนาคารกลางที่นิยมนโยบายการเงินแบบตึงตัวมากกว่าที่จะผ่อนคลาย ทุกวันนี้ RBNZ หยุดการทำ QE ไปแล้ว ในขณะที่ BoC ก็มีแผนสำหรับการเตรียมลด QE อย่างเป็นรูปธรรมชัดเจน ตลาดแรงงานของนิวซีแลนด์ในตอนนี้สามารถฟื้นตัวกลับไปอยู่ในระดับเดียวกับก่อนเกิดโควิดได้เรียบร้อย ในขณะที่การเร่งระดมกระจายวัคซีนในแคนาดาทำให้ประเทศยังมีความเสี่ยงจากการระบาดของเดลตาอยู่ในระดับต่ำ จนยอดผู้ฉีดวัคซีนใหม่ในแคนาดานั้นสูงกว่าของสหรัฐอเมริกา ซึ่งน่าจะช่วยให้ตัวเลขการจับจ่ายใช้สอยในแคนาดาฟื้นตัว ที่สำคัญตอนนี้คือทั้งสองประเทศเริ่มมีสัญญาณเงินเฟ้อ ประกอบกับราคาน้ำมันที่กลับมาเป็นขาขึ้นในสัปดาห์นี้ น่าจะยิ่งทำให้นักลงทุนสนใจถือทั้งสองสกุลเงินเอาไว้
ถึงแม้ว่าดอลลาร์ออสเตรเลียจะได้อานิสงส์จากแรงหนุนขาขึ้นในรอบนี้ แต่ปัจจัยพื้นฐานและสถานการณ์ในออสเตรเลียนั้นแตกต่างจากนิวซีแลนด์และแคนาดา สถานการณ์การระบาดของโควิดในออสเตรเลียนั้นรุนแรงกว่า และยอดผู้ติดเชื้อใหม่ก็เพิ่มสูงขึ้น สวนทางกับยอดการฉีดวัคซีน ในตอนนี้ยังไม่เห็นความเป็นไปได้ที่ออสเตรเลียจะคลายล็อกดาวน์ลงในเร็ววัน นายสก็อตต์ มอริสัน นายกรัฐมนตรี ได้ออกมากล่าวว่ามาตรการคุมเข้มทางสังคมจะผ่อนคลายลงได้หากยอดการฉีดวัคซีนสามารถขึ้นแตะ 70% ของจำนวนประชากรทั้งหมด แต่ในความเป็นจริงแล้ว ตอนนี้ผู้ที่ฉีดวัคซีนครบสองโดสมีเพียง 30% เท่านั้น
จากสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ออสเตรเลียจึงมีความเสี่ยงที่เศรษฐกิจจะถดถอยเป็นครั้งที่สอง และทำให้ธนาคารกลางออสเตรเลีย (RBA) ไม่มีทางเลือกนอกจากต้องผ่อนคลายนโยบายทางการเงินต่อไป ดังนั้นปัจจัยหนุนที่ทำให้ แข็งค่าขึ้นคือสกุลเงินหลักอื่นๆ อ่อนค่า ซึ่งหมายความว่าหากสกุลเงินหลักกลับมาแข็งค่าเมื่อไหร่ ดอลลาร์ออสเตรเลียก็จะถูกเมินทันที
สกุลเงินยูโรในวันนี้มีโอกาสที่จะอ่อนค่าลงเมื่อมีการประกาศตัวเลขดัชนีวัดบรรยากาศทางธุรกิจโดย Ifo ของเยอรมัน เพราะเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมาตัวเลขดัชนี PMI ของเยอรมันก็หดตัวล่วงหน้าไปก่อนเรียบร้อย ในช่วงต้นเดือนสิงหาคมรายงานตัวเลขสรุปภาวะเศรษฐกิจยุโรปจากศูนย์วิจัยเศรษฐกิจยุโรป (ZEW) ก็ปรับตัวลดลง ถึงในรายงานนั้นจะระบุว่าเศรษฐกิจของเยอรมันกำลังฟื้นตัว แต่นักลงทุนและภาคธุรกิจก็เป็นกังวลว่าการฟื้นตัวนั้นจะต้องเจอกับความเสี่ยงของการระบาดระลอกใหม่