ปัจจัยแวดล้อมดูแล้ว ไม่สดชื่นสำหรับ SET ถือเงินสดเพิ่ม Top Pick เลือก PTTEP, TFG
2 วันที่ผ่านมาดูเหมือนความพยายามที่ SET Index จะขึ้นมายืนเหนือ 1600 จุด ไม่ประสบความสำเร็จ ขณะที่ปัจจัยแวดล้อมภาพรวมยังมีความกังวลเรื่อง สถานการณ์ Covid-19 ทั้งจำนวนผู้ติดเชื้อใหม่ การกระจาย Vaccine และ แนวโน้มการกลายพันธ์ของเชื้อ ซึ่งจะสร้างแรงกดดันต่อตลาดหุ้นได้ต่อ ส่วน การประชุม กนง. คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 0.5% ตามคาด พร้อมปรับลด คาดการณ์ GDP Growth ปี2564 เหลือ 1.8% ผ่านการปรับลดจำนวน นักท่องเที่ยว 3 ล้านคนเหลือ 7 แสนคน อีกเรื่องที่น่าสนใจคื่อเงินบาทที่อ่อนค่า ซึ่งน่าจะมีผลทำให้Fund Flow จากต่างชาติยังไม่ไหลเข้า และอาจไหลออก SET Index มีโอกาสที่จะลงไปทดสอบแนวรับสำคัญบริเวณ 1580 จุด พอร์ต จำลองปรับไปถือเงินสดเพิ่มขึ้น โดยวานนี้ มีการทำ Stop Profit หุ้น CPN และ Cut Loss CENTEL ทำให้มีเงินสดในพอร์ต 20% รอซื้อหุ้นรอบใหม่ หุ้น Top Pick วันนี้เลือก PTTEP และ TFG ตามเดิม
ราคาน้ำมันโลกสูงสุดในรอบ 2 ปีส่วนเงินบาทอ่อนค่ามากสุดในรอบ 1 ปี บวกต่อ หุ้นน้ำมัน และหุ้นส่งออก การเปลี่ยนแปลงราคาสินทรัพย์ชนิดต่างๆในตลาดโลก ASPS ให้น้ำหนักใน 2 ส่วน ได้แก่
• ราคาน้ำมันดิบปรับตัวเพิ่มขึ้นในรอบ 2 ปี: อิง น้ำมันดิบ Brent เมื่อวานขึ้นไป แตะ 76 เหรียญ ล่าสุด 75.19 เหรียญ/บาร์เรล ปัจจัยหนุนสำคัญมาจากทั้ง ด้าน Supply และ Demand
o ด้าน Supply: สำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐ (EIA) ราย งานสต็อคน้ำมันดิบลดลง 7.61 ล้านบาร์เรล มากกว่าตลาดคาดจะ ลดลง 3.94 ล้านบาร์เรล
o ด้าน Demand: สหรัฐรายงานดัชนี PMI ภาคการผลิตเดือน มิ.ย. 2564 เพิ่มขึ้นแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ระดับ 62.6 จุด หนุนจากเศรษฐกิจสหรัฐฟื้นตัวตามการเดินหน้าฉีดวัคซีน ช่วยให้ภาค การผลิตฟื้นตัวตาม
ราคาน้ำมันที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นสร้าง Sentiment บวกต่อหุ้นกลุ่มพลังงาน แนะนำลงทุนหุ้นน้ำมัน PTTEP (FV@B128) และ PTT (BK:PTT) (FV@B48.50) และใน วันนี้ ASPS ยังเลือก PTTEP เป็น 1 ในหุ้น Toppick อีกด้วย
ค่าเงินบาทอ่อนค่าสูงสุดในรอบ 1 ปี: นับตั้งแต่ช่วงกลางเดือน มิ.ย. 2564 เป็น ต้นมา ค่าเงินบาทอ่อนค่าอย่างต่อเนื่อง จนแตะระดับสูงสุดในรอบ 1 ปีที่ระดับ 31.84 บาท/ดอลลาร์ โดยหากนับตั้งแต่ต้นสัปดาห์อ่อนค่ากว่า 5.6%wtd แล ละถ้านับตั้งแต่ต้นปีอ่อนค่า 6.3%ytd นับเป็นสกุลเงินที่อ่อนค่ามากสุดใน เอเชีย ASPS ประเมินว่าค่าเงินบาทที่อ่อนค่าจะส่งผลบวกต่อการส่งออกของไทย เพราะช่วยให้ราคาสินค้าของไทยในหน่วยเงินดอลลาร์มีราคาลดลง สอดคล้อง กับมุมมองของ กนง. หลังวานนี้ กนง. ปรับประมาณการการส่งออกของไทยปี 2564 เพิ่มจาก 10% เป็น 17.1% นับว่าสูงกว่า Consensus ที่คาดการส่งออก จะขยายตัวราว 7-10% เท่านั้น แนวโน้มการส่งออกที่ดีขึ้น คาดเป็นSentiment เชิงบวกต่อหุ้นกลุ่มส่งออก ช่วยให้กลุ่ม หุ้นดังกล่าวสามารถเก็งกำไร อาทิ กลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ (KCE ,DELTA, HANA, SVI), ทุกๆ 1 บาท/ดอลลาร์ฯ ที่อ่อนค่าจากสมมติฐานค่าเงินบาทปี 2564 ถือเป็น Upside ต่อ ประมาณการกำไรสุทธิกลุ่มชิ้นส่วนฯ ในปี 2564 ราว 5.8% จากเดิม (HANA +6.2%, DELTA +5.7%, KCE +5.5% และ SVI +5.2%) อย่างไรก็ตามด้วย Valuation ที่แพง เกินมูลค่าพื้นฐานไปแล้ว จนมี PER กลุ่ม 64 เท่า จึงแนะนำเพียงเก็งกำไรในระยะสั้น เท่านั้น ถัดไปคือ กลุ่มยานยนต์ แนะนำ (AH, SAT), กลุ่มเกษตรอาหาร (STA, STGT, NER, TFG, CPF, TU) กลุ่มส่งออกเหล็ก (MCS)
กนง. คงดอกเบี้ยนโยบายตามเดิม
ปรับ GDP ลง แต่มองส่งออกเป็นพระเอก ผลการประชุม กนง. วานนี้มีมติเอกฉันท์คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 0.50% ตามตลาด คาด เนื่องจากผลกระทบจากการระบาด Covid-19 ที่ยังมีอยู่ โดย Highlight สำคัญที่ มีผลต่อแนวโน้มตลาดหุ้นหลักๆ คือ
• ประมาณการ GDP Growth ปี 2564 ปรับลงเหลือ 1.8%yoy(เดิม 3%) ถือว่า ลงมาใกล้เคียงกับที่สำนักเศรษฐกิจต่างๆ และ Consensus นำร่องปรับลงไป ในช่วงก่อนหน้าอยู่แล้วอยู่ในช่วง 1.3-2.3% , ASPS คาดที่ 1.7% ซึ่งเชื่อว่า ตลาดหุ้นสะท้อนประเด็นการปรับลด GDP ไประดับนึงแล้ว ส่วนปี 2565 ปรับลงเหลือ 3.9%yoy(เดิม 4.7%)
รายละเอียดการปรับ GDP Growth หลักๆ มาจากการลดสมมติฐาน จาก 1.) คาดจำนวนนักท่องเที่ยวปี 2564 เหลือ 7 แสนราย เดิมคาด 3 ล้านราย และปี 2565 คาดเหลือ 10 ล้านคน เดิมคาด 21 ล้านคน บ่งชี้ได้ว่า ธปท. ยังไม่ได้มี มุมมองเชิงบวกมากต่อการเปิดประเทศของไทย 2.) ปรับลด การบริโภค ครัวเรือน ,การใช้จ่ายภาครัฐลดลง (ดังตาราง) จากคาดการณ์การกระจาย วัคซีนในปัจจุบัน .
• แต่ประเด็นบวก คือ มีปรับเพิ่มคาดการณ์ส่งออกไทยทั้งปี 64 เป็น 17% จาก เดิมคาด 10% ตอกย้ำความเชื่อว่าปีนี้พระเอกขับเคลื่อนเดียวของไทยที่ยัง สดใส คือ ภาคส่งออก ดังที่ ASPS นำเสนอ 1 ใน Theme การลงทุนในช่วง 2 คือ หุ้นส่งออก อาทิ NER , CPF, TFG TU STGT STA
• อัตราเงินเฟ้อไทย ธปท. ไม่ได้กังวลเหมือนต่างประเทศ เช่นสหรัฐที่เงินเฟ้อพุ่ง ขึ้น เห็นได้จากคงประมาณอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปี 2564 ไว้ที่ 1.2% แม้ส่วน ปี 2565 ปรับขึ้นเพียงเล็กน้อยเป็น 1.2% (เดิม 1%) ที่สำคัญ คือ Core Inflation (เงินเฟ้อที่ตัดอาหารสด พลังงาน และเป็นตัวชี้วัดกำลังซื้อและมีผล ต่อการขึ้นดอกเบี้ย) ธปท.คาดเพียง 0.3% และ 0.4% ในปี 2564-2565 ถือว่า ยังต่ำมาก และห่างไกลเป้าหมายเงินเฟ้อ เสมือนเป็นการส่งสัญญาณทางอ้อม ว่า อัตราดอกเบี้ยนโยบายจะทรงตัวต่ำต่อไป สอดคล้องกับที่ ASPS นำเสนอ มาตลอด คาด กนง. จะคงดอกเบี้ยที่ 0.5% ไปจนถึงกลางปี 2565 เป็นอย่าง น้อย ประเมิน หนุนให้สภาพคล่องในระบบการเงินไทย ช่วยจำกัด Downside ของ SET Index
• ประเด็นมาตรการช่วยเหลือประชาชน โดยที่นายกฯ ให้ ธปท. พิจารณาออก มาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ในสัปดาห์ก่อนหน้า อาทิ ลดอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อ บัตรเครดิต, สินเชื่อจำนำทะเบียนรถ เลขาฯ ในรอบนี้ยังไม่มีรายละเอียด แต่ กนง. เผยว่ากำลังอยู่ระหว่างทบทวน ASPS ประเมินว่ามีโอกาสมีรายละเอียด ออกมาในเร็วๆนี้ หากมีรายละเอียดชัดเจน คาดจะปลดล็อก หนุนการฟื้นตัว ของหุ้นที่กี่ยวข้องอาทิ กลุ่ม BANK, เช่าซื้อ ซึ่งราคาถูกดดันในช่วงก่อนหน้า
บทความนี้จัดทำและเผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์ ASIA Plus Securities