ในที่สุดวันที่นักลงทุนทั่วโลกรอคอยมากที่สุดในสัปดาห์นี้ก็มาถึง นอกจากการประกาศตัวเลขดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ของสหรัฐฯ ข่าวสำคัญที่ไม่อาจพลาดได้เลยก็คือการประชุมของธนาคารกลางแห่งสหภาพยุโรป (ECB) ซึ่งหากเทียบกันระหว่างทั้งสองเหตุการณ์นี้ การประชุมของ ECB มีโอกาสทำให้ตลาดเคลื่อนไหวได้มากกว่า แต่ดอลลาร์สหรัฐมีโอกาสปรับตัวขึ้นก่อนที่ตัวเลข CPI จะถูกประกาศออกมา
สถานการณ์ในสหรัฐอเมริกาตอนนี้คงไม่มีใครเถียงว่าภาวะเงินเฟ้อกำลังเร่งตัวขึ้น แต่ธนาคารกลางสหรัฐฯ ก็ยังคงยืนยันคำเดิมว่าสิ่งที่เกิดขึ้นนี้เป็นเพียงเรื่องชั่วคราว ยิ่งตัวเลขยอดค้าปลีกและการจ้างงานนอกภาคการเกษตรออกมาไม่ดี ยิ่งทำให้พวกเขามีข้ออ้างในการคงนโยบายทางการเงินเช่นนี้ต่อไป และต่อให้ตัวเลข CPI ในวันนี้จะขยายตัวเพิ่มขึ้น ธนาคารกลางสหรัฐฯ ก็อาจจะไม่พูดถึงเรื่องการถอนสภาพคล่องออกเลยในการประชุมที่กำลังจะเกิดขึ้นในสัปดาห์หน้า กราฟ อาจได้โอกาสทะยานหากตัวเลข CPI ออกมาดี แต่อาจจะไปได้ไม่สุดเนื่องจากต้องรอผลการประชุมของเฟดในสัปดาห์หน้าก่อน
สกุลเงินเคลื่อนไหวค่อนข้างเงียบก่อนที่การประชุมของ ECB จะเกิดขึ้น ซึ่งหมายความว่านักลงทุนค่อนข้างเชื่อว่าผลการประชุมจะเป็นบวกกับสกุลเงินมากกว่าที่จะเป็นลบ ในการประชุมวันนี้จะมีการให้ข้อมูลตัวเลขคาดการณ์ทางเศรษฐกิจมากมายรวมถึงการสรุปว่ามีอะไรเปลี่ยนแปลงไปบ้างนับตั้งแต่การประชุมครั้งล่าสุดเมื่อสามเดือนก่อน ภาพรวมการฟื้นตัวจากพิษโควิดทั่วทั้งยุโรปค่อนข้างดี แม้จะมีภาวะเงินเฟ้อเกิดขึ้น แต่สำหรับยุโรป พวกเขายังถือว่าเป็นเรื่องที่ดีอยู่ แต่เพราะแรงกดดันเกี่ยวกับภาวะเงินเฟ้อในสหรัฐฯ ECB อาจจะถูกตั้งคำถามว่าเศรษฐกิจในยูโรโซนนั้นแข็งแรงพอที่จะพูดเรื่องการปรับลดสภาพคล่องได้แล้วหรือไม่
คำตอบนั้นค่อนข้างเป็นไปได้ว่า ECB อาจจะยังไม่ปรับลดการอัดฉีดเงินเพื่อเยียวยาเศรษฐกิจ ถึงแม้ในภาพรวมที่เราเห็น การฟื้นตัวของยูโรโซนจะทำได้ค่อนข้างดี แต่ ECB จะตัดสินใจตามข้อมูลตัวเลขที่เกิดขึ้นจริง ไม่ใช่ตัวเลขคาดการณ์ ซึ่งหากได้พิจารณาตัวเลขเศรษฐกิจในยุโรปแล้วก็จะพบว่าการฟื้นตัวนั้นยังมีปัญหาอยู่ ยอดคำสั่งซื้อจากโรงงานและผลผลิตจากภาคอุตสาหกรรมในเดือนเมษายนหดตัวลงตามตัวเลขยอดขายปลีก ข้อมูลตัวเลขความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจจากศูนย์วิจัยเศรษฐกิจแห่งยุโรป (ZEW) ก็ยังไม่แข็งแรงพอ จึงเป็นไปได้ว่า ECB อาจจะยังไม่พูดถึงเรื่องการลดสภาพคล่องจนกว่าตัวเลขเหล่านี้จะดีขึ้น
หาก ECB เลือกที่จะพูดเกี่ยวกับความเป็นไปได้ที่จะลดสภาพคล่องในเร็วๆ นี้ อาจจะเป็นพวกเขาเองที่ขัดขวางการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ เพราะทั้งสกุลเงินยูโรและผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลเยอรมันเองก็ยังแข็งแรงดีอยู่ หากตัดสินใจพูดขึ้นมา กราฟ มีโอกาสลงไปทดสอบแนวรับ 1.21 แต่ถ้า ECB ออกมายืนยันว่าสภาพเศรษฐกิจในยูโรโซนตอนนี้สามารถฟื้นตัวได้อย่างแข็งแกร่ง กราฟมีโอกาสปรับตัวขึ้นได้ทันทีเพราะดอลลาร์สหรัฐนั้นถูกกดดันจากตัวเลข CPI ที่กำลังจะประกาศตามมาอยู่แล้ว
ผลสรุปของการประชุมของธนาคารกลางแคนาดา (BoC) ได้คำตอบออกมาว่ายังจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายทางการเงินใดๆ ซึ่งคำตอบนั้นทำให้กราฟ ไม่มีความเคลื่อนไหวที่มีนัยสำคัญเช่นกัน นอกจากการดีดตัวขึ้นมาจากจุดต่ำสุด ก่อนหน้าที่จะมีการประชุม สกุลเงินดอลลาร์แคนาดาค่อนข้างมีภาษีที่ดีกว่าเมื่อกราฟสามารถวิ่งลงไปที่ 1.2060 แต่ก็ดีดตัวกลับขึ้นมาสร้างจุดสูงสุดที่ 1.2117 หลังจากการประชุม มุมมองที่ BoC มีต่อสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบันค่อนข้างเป็นบวก พวกเขาหวังจะได้เห็นเศรษฐกิจรีบาวด์กลับขึ้นมาในช่วงหน้าร้อนนี้ แต่นักลงทุนกลับคาดหวังว่า BoC จะลดสภาพคล่องลงอีกในการประชุมครั้งถัดไป ส่วนการวิเคราะห์ทางเทคนิคนั้นตอนนี้กราฟ USD/CAD อยู่ใน oversold ที่ลึกมากๆ และจากการพักตัวเหนือ 1.2027 เล็กน้อยมาเป็นเวลานาน หากจะเรียกบริเวณนี้ว่าเป็นจุดต่ำสุดก็คงจะไม่มากนัก
สกุลเงินหลักอื่นๆ อย่างเช่น และอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ การเพิ่มขึ้นของยอดผู้ติดเชื้อโควิดสายพันธุ์เดลต้าในสหราชอาณาจักรนั้นเร็วและค่อนข้างสร้างความกังวลให้กับรัฐบาลของบอริส จอห์นสันเพราะสหราชอาณาจักรมีแผนจะกลับมาเปิดประเทศภายในวันที่ 21 มิถุนายนนี้ แม้ว่าอัตราผู้เสียชีวิตจะต่ำ แต่ความเร็วในการระบาดนั้นสูงเกือบเท่ายอดผู้ติดเชื้อในเดือนมีนาคม ตัวเลขความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในนิวซีแลนด์และออสเตรเลียลดลง สังเกตได้จากดัชนีวัดบรรยากาศทางธุรกิจโดย ANZ ของนิวซีแลนด์ในเดือนมิถุนายนหดตัวลงจาก 1.8 จุดลงมาติดลบ 0.4 จุดและตัวเลขความเชื่อมั่นของผู้บริโภคโดย Westpac ของออสเตรเลียลดลงมาอยู่ที่ 5.2%