🥇 กฎข้อแรกของการลงทุนหรือ? รู้ว่าเมื่อใดควรประหยัด! รับส่วนลดสูงสุด 55% สำหรับ InvestingPro ก่อนโปรโมชั่น BLACK FRIDAY จะหมดเขตรับส่วนลด

คำว่า ‘เอาอยู่’ ของเฟดมีราคามากน้อยแค่ไหนในสายตาของนักวิเคราะห์?

เผยแพร่ 19/04/2564 17:58

ดูเหมือนว่าความสงสัยของตลาดลงทุนที่มีต่อธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือว่าเฟด (FED) นับวันก็ยิ่งมีเพิ่มมากขึ้นตามการเติบโตของตลาดหุ้นสหรัฐฯ ก่อนหน้านี้นักลงทุนยังพอจะเชื่อถือคำพูดของเฟดอยู่เพราะยังมีฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยกับการปล่อยเงินเฟ้อลอยตัว แต่ในระยะหลังนี้ ตลาดลงทุนยิ่งตั้งข้อสังเกตมากขึ้นว่าทำไมคนที่เคยไม่เห็นด้วยกับการเร่งอัตราเงินเฟ้อกลับไปสนับสนุนเข้าข้างคำพูดของนายเจอโรม พาวเวลล์ ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ ได้อย่างหน้าตาเฉย ไม่ว่าจะเป็นนายอีริค โรเซนเก้น ประธานเฟดแห่งบอสตันที่เชื่อในเรื่องการขึ้นอัตราดอกเบี้ยแบบสุดโต่งหรือนางแมรี่ ดาลีย์ ประธานเฟดของซานฟรานซิสโก ที่อยู่ฝั่งเน้นการผ่อนคลายนโยบายทางการเงินต่างก็พูดเป็นเสียงเดียวกันว่า “อย่ากังวลไป พวกเรา (เฟด) เอาอยู่”

เมื่ออีริคถูกสื่อถามเกี่ยวกับความเป็นไปได้ที่จะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ เขาให้คำตอบว่า

“ผมคิดว่ายังต้องใช้เวลาอีกอย่างน้อยสักสองปีจึงจะสามารถถามคำถามนี้ได้ ลองดูที่ตลาดแรงงานของประเทศเราสิ การจ้างงานยังไม่กลับมาอยู่ในระดับเดียวกันกับช่วงก่อนโควิดเลย อัตราการว่างงานยังวิ่งอยู่ที่ 6% อยู่ (ตัวเลขที่ดีต้องไม่สูงกว่า 5%) ดังนั้นพวกเราจึงคิดว่าการอัดเงินกระตุ้นเศรษฐกิจในตอนนี้แม้จะเป็นการอัตราเงินเฟ้อ แต่ก็ช่วยฟื้นการจ้างงานให้กลับมาด้วยเช่นกัน นี่คือสิ่งที่เฟดเป็นกังวลมากกว่าเรื่องการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย”

เมื่อถูกถามคำถามในลักษณะเดียวกัน นางแมรี่ ดาลีย์ก็ตอบในลักษณะที่คล้ายกันว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ ยังคงเน้นที่การจ้างงานให้กลับมาก่อนมากกว่าที่จะสนใจเรื่องของการขึ้นอัตราดอกเบี้ย

“แม้จะมีการกระจายวัคซีนและการออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจแล้ว แต่อเมริกาของเราก็ยังไม่อาจพูดได้เต็มปากว่าเราสามารถเอาชนะโควิดได้ตราบใดที่ผู้ที่ตกงานจากโควิดยังไม่ได้กลับมามีงานทำอย่างที่พวกเขาเคยมีมาก่อน”

“ธนาคารกลางสหรัฐฯ” เธอกล่าวต่อ “ทำงานอย่างหนักเพื่อที่จะเร่งอัตราเงินเฟ้อ เพราะเราเชื่อว่านี่คือวิธีที่จะฟื้นฟูเศรษฐกิจได้เร็วที่สุด และเลิกกังวลเกี่ยวกับปัญหาเงินเฟ้อได้แล้ว พวกเรามีเครื่องมือที่จะสามารถกดอัตราเงินเฟ้อให้ต่ำลงได้หากพิจารณาแล้วว่าขึ้นมาสูงเกินไป สิ่งที่เราเป็นกังวลตอนนี้มากกว่าคือจะทำอย่างไรให้การจ้างงานกลับมาโดยเร็วที่สุด”

จอห์น วิลเลียม ประธานเฟดแห่งนิวยอร์กก็พูดในลักษณะที่คล้ายกันกับนักศึกษาที่มหาวิทยาลัยนิวเจอร์ซีย์ เขาบอกว่าเฟดรู้ดีว่าจะจัดการกับปัญหาเงินเฟ้ออย่างไร นอกจากนี้เขายังบอกอีกว่ามีโอกาสที่เราจะได้เห็นอัตราเงินเฟ้อขึ้นไปวิ่งใกล้กลับระดับเป้าหมายของเฟดที่ 2% 

ในขณะเดียวกันนางลอร์รี่ โลแกน รองประธานเฟดแห่งนิวยอร์กกล่าวว่าเหล่าผู้วางนโยบายการเงินรู้ดีว่าพวกเขาจะทำเช่นไร พวกเขามีแผนระยะสั้นรองรับอยู่แล้ว ในเดือนมีนาคมเหล่าผู้วางนโยบายได้ตกลงร่วมกันว่าให้เพิ่มเพดานจำกัดวงเงินที่ใช้ในการเข้าซื้อสินทรัพย์ขึ้นจาก $30,000 ล้านเหรียญเป็น $80,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ดังนั้นหากเกิดเหตุไม่คาดฝันขึ้นกับอัตราเงินเฟ้อ พวกเขาสามารถเข้ากู้สถานการณ์ได้อย่างทันท่วงทีแน่นอน

อย่างไรก็ดีนายเจอโรม พาวเวลล์เคยออกมาพูดว่าเมื่อถึงจุดๆ หนึ่งที่เฟดเห็นว่าเหมาะสม พวกเราก็จะลดวงเงินในการเข้าซื้อสินทรัพย์ลง (ปัจจุบันมีวงเงินอยู่ที่ $120,000 ล้านเหรียญสหรัฐ) ซึ่งเฟดเคยทำมาแล้วในช่วงระหว่างปี 2013-2014 

ในความเห็นของนักวิเคราะห์ พวกเขามองว่าเฟดอาจลดวงเงินในการเข้าซื้อสินทรัพย์จริงตามที่พูดแต่คงไม่คิดที่จะขายพันธบัตรรัฐบาลออกไป มีความเป็นไปได้สูงที่เหตุการณ์เหล่านี้จะเกิดขึ้นก่อนการปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย แต่กว่าเหตุการณ์เหล่านี้จะเกิดขึ้นก็อาจต้องรอจนกว่าอัตราการจ้างงานและอัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นมาจนอยู่ในระดับที่เฟดพอใจ

แต่ก็ไม่ใช่ทุกคนที่เชื่อในการตัดสินใจของเฟดและมองว่าพวกเขาไม่อาจควบคุมปริมาณเงินในระบบได้แล้ว นายดิกส์ โบวฟ์ นักวิเคราะห์จาก Odeon Capital ให้สัมภาษณ์กับช่อง Fox Business News ว่าตอนนี้เฟดกำลังพิมพ์เงินอย่างสนุกมือราวกับว่าตัวเองเป็นพระเจ้า บรรณาธิการของ The Economist บอกว่าเฟดควรที่จะพูดความจริงให้มากกว่านี้ อย่างน้อยก็บอกวิธีให้ตลาดเตรียมรับมือกับอัตราเงินเฟ้อที่จะปล่อยลอยตัวไปจนกว่าจะขึ้นถึงระดับเป้าหมายของพวกเขา

ความคิดเห็นล่าสุด

กำลังโหลดบทความถัดไป...
การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย