💎 ดูบริษัทต่าง ๆ ที่มีสุขภาพทางการเงินที่ดีที่สุดในตลาดปัจจุบันเริ่มต้นเลย

ข่าวสารประกอบการลงทุน ปัจจัยในประเทศ

เผยแพร่ 24/03/2564 12:11


ปัจจัยในประเทศ

- คณะรัฐมนตรี มีเห็นชอบโครงการ “เราเที่ยวด้วยกัน” ระยะที่ 3 ขยายสิทธิ์เพิ่มอีก 2 ล้านสิทธิ์ วันที่ 23 มีนาคม 2564 มีรายงานว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบโครงการ “เรา เที่ยวด้วยกัน ระยะที่ 3 พร้อมขยายสิทธิ์เพิ่มอีก 2,000,000 สิทธิ์ ก่อนหน้านี้ที่ประชุมยังไม่เห็นชอบและได้มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) และ กระทรวงการท่องเที่ยวและการกีฬา น่ากลับไปพิจารณาเพื่อทบทวนในส่วนของเงื่อนไข และกําหนดแนวทางเพื่อป้องกันการทุจริต เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าจะสามารถดําเนินการได้อย่างเป็น รูปธรรมในการแก้ไขปัญหา

- องค์การเภสัชกรรม ร่วมกับ ม.มหิดล วิจัยวัคซีนโควิต-19 ของไทย ชนิดเชื้อตายในมนุษย์ระยะที่ 1 และ 2 รวม 460 คน ประเดิมซีดเข็มแรกในอาสาสมัครกลุ่มแรก 18 คน วันที่ 23 มีนาคม 2564 ศูนย์ข้อมูล COMID-19 ของรัฐบาล เปิดเผยว่า องค์การเภสัชกรรม(อภ.) ร่วมกับคณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล ได้วิจัยวัคซีนโควิด-19 ชนิดเชื้อตายในมนุษย์ระยะที่ 1 และ 2 รวม 460 คน โดยฉีดเข็มแรกในอาสาสมัครกลุ่มแรกก่อน 18 คน คาดปลายปีนี้ได้สูตรที่ดีที่สุดไปศึกษาต่อระยะที่ 3 นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวง สาธารณสุข กล่าวว่า การผลิตวัคซีนในครั้งนี้เป็นการผลิตโดยคนไทยเพื่อคนไทย โดยใช้ความรู้ ความเชี่ยวชาญ ประสบการณ์ของบุคลากรองค์การเภสัชกรรม “ถือเป็นความหวัง และเป็นซีด ความสามารถใหม่ของประเทศไทยที่จะผลิตวัคซีนได้เอง ลดการพึ่งพาต่างชาติกระทรวงสาธารณสุขได้สนับสนุนอย่างเต็มที่ โดยมีเป้าหมายให้ประชาชนเข้าถึงวัคซีนได้ ทั้งในสถานการณ์ปกติ และสถานการณ์ฉุกเฉิน” นายอนุทินกล่าว ทั้งนี้ คาดว่าปี 2565 จะยื่นขอทะเบียนตํารับและผลิตในระดับอุตสาหกรรมได้ เพื่อสร้างความมั่นคงด้านวัคซีนในประเทศ

- นายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาหนฤพุฒิ ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ระบุว่า หากมองไปข้างหน้า สัญญาณการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกค่อนข้างเห็นความชัดเจน แต่ในส่วนของ เศรษฐกิจไทยอาจต้องใช้เวลาอีกระยะ ซึ่งคาดว่า GDP ของไทยกว่าจะกลับมาเติบโตได้เท่าในช่วงก่อนเกิดวิกฤติโควิดจะอยู่ในช่วงไตรมาส 3/55 แต่การกลับมาของ GDP ไม่ได้แปลว่าทุก อย่างจะฟื้นกลับมาได้ปกติ ไม่ว่าจะเป็นสภาวะการจ้างงานรายได้ยังไม่กลับมาเท่าเดิม ซึ่งนอกจากการฟื้นตัวที่ต้องใช้ระยะเวลาแล้ว ยังเป็นการฟื้นตัวได้ไม่เท่าเทียมกันในแต่ภาคธุรกิจด้วย โดยเฉพาะการฟื้นตัวในภาคบริการต่างๆ เช่น กลุ่มท่องเที่ยว ยังมีอัตราการฟื้นตัวต่ํา เนื่องจากเศรษฐกิจไทยพึ่งพาการท่องเที่ยวเป็นหลัก และคาดว่าต้องใช้เวลานานในการฟื้นตัว อย่างน้อย 4-5 ปี กว่าตัวเลขนักท่องเที่ยวต่างชาติจะกลับมาได้ที่ระดับ 40 ล้านคนต่อปี ดังนั้น มาตรการที่มีอยู่ในปัจจุบันจึงไม่เพียงพอเพื่อรองรับสถานการณ์ที่เรามองไปข้างหน้า จําเป็นต้องออก มาตรการใหม่เพื่อตอบโจทย์ 2 เรื่อง คือ 1.มาตรการสินเชื่อฟื้นฟู สําหรับผู้ประกอบธุรกิจ วงเงิน 250,000 ล้านบาท เน้นผู้ประกอบการที่ถูกผลกระทบจากวิกฤติ แต่ยังมีศักยภาพและต้องใช้ เวลาในการฟื้นตัวนาน โดยเน้นการปลดล็อคสําคัญต่างๆ จาก พ.ร.ก.การให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ประกอบวิสาหกิจที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 (พ.ร.ก.ซอฟท์โลน) เดิม เพื่อให้ลูกหนี้ได้เข้าถึงสินเชื่อได้มากขึ้น คือ ขยายขอบเขตของลูกหนี้ที่เข้าถึงได้ ขยายเวลาให้ยาวขึ้น ขยายวงเงินกําหนดดอกเบี้ยให้เหมาะสม ขยายการชดเชย รองรับความเสี่ยงที่สูงขึ้นมาตรการชุดที่ 2 พักทรัพย์พักหนี้เป็นมาตรการให้ลูกหนี้ที่โอนทรัพย์ โดยมีสิทธิซื้อคืนกลับได้ ซึ่งประโยชน์คือช่วยลดภาระลูกหนี้ให้โอกาสลูกหนี้ซื้อทรัพย์คืนกลับมา ได้ ลดความเสี่ยงในการขายทรัพย์สินในราคาต่ําเกินไป และช่วยให้ธุรกิจกลับมาเปิดกิจการได้ เป็นช่วยรักษาการจ้างงานไว้

- นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คลัง กล่าวว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันนี้มีมติเห็นชอบมาตรการให้ความช่วยเหลือฟื้นฟูผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติด เชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ประกอบไปด้วย 2 มาตรการ ได้แก่ 1. มาตรการสนับสนุนการให้สินเชื่อแก่ผู้ประกอบธุรกิจ (มาตรการสินเชื่อฟื้นฟู) วงเงิน 250,000 ล้านบาท มาตรการสินเชื่อฟื้นฟู กําหนดกลไกการช่วยเหลือผู้ประกอบธุรกิจที่มีพื้นฐานดีแต่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิต-19 ให้เข้าถึงสินเชื่อในอัตราที่เหมาะสมผ่านกลไกการลติศวามเสี่ยงด้านเศรดิตของภาครัฐ ซึ่งจะช่วยให้ผู้ประกอบธุรกิจกลุ่มดังกล่าวสามารถประคับประคองธุรกิจและรักษาการจ้างงาน รวมทั้งปรับปรุงธุรกิจเพื่อให้สอดรับกับโครงสร้างทางเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไปหลังจากการ ระบาดของโควิต-19 คลี่คลายลง ผู้ประกอบธุรกิจที่มีสินเชื่อกับสถาบันการเงินแต่ละแห่งไม่เกิน 500 ล้านบาท สามารถขอสินเชื่อได้ไม่เกิน 30% ของวงเงินสินเชื่อ ณ วันที่ 31 ธ.ค.62 หรือ ณ วันที่ 28 ก.พ.54 แล้วแต่จํานวนไดจะสูงกว่า แต่ต้องไม่เกิน 150 ล้านบาท ผู้ประกอบธุรกิจที่ไม่มีวงเงินสินเชื่อกับสถาบันการเงินแห่งหนึ่งแห่งไต ณ วันที่ 28 ก.พ.64 สามารถขอสินเชื่อได้ไม่ เกิน 20 ล้านบาท โดยสถาบันการเงินจะคิดอัตราดอกเบี้ยไม่เกิน 2% ต่อปี ในช่วง 2 ปีแรกของสัญญา และเฉลี่ยไม่เกิน 5% ต่อปี ในช่วง 5 ปีแรกที่สถาบันการเงินได้รับแหล่งทุนดอกเบี้ยต่ํา จากธนาคารแห่งประเทศไทย ทั้งนี้มาตรการสินเชื่อฟื้นฟูกําหนดให้มีกลไกค้ําประกันสินเชื่อดังกล่าวเพื่อลดความเสี่ยงด้านเครดิตของผู้ประกอบธุรกิจ ระยะเวลาค้ําประกันไม่เกิน 10 ปีภาระ ชดเชยค้ําประกันสูงสุด 40% ของวงเงินสินเชื่อภายใต้โครงการ ค่าธรรมเนียมการค้ําประกันโดยเฉลี่ยไม่เกิน 1.75% ต่อปี และรัฐบาลชดเชยค่าธรรมเนียมดังกล่าวโดยเฉลี่ยไม่เกิน 3.5% ต่อปี ติลิขิติ

Source: VOATHAI, อินโฟเควสท์, กรุงเทพธุรกิจออนไลน์, ryt9. Bisnews

บทความนี้จัดทำขึ้นโดย YLG Bullion International

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อ  02-687-9888 กด 1 หรือเว็บไซต์ ylgbullion.co.th

ความคิดเห็นล่าสุด

กำลังโหลดบทความถัดไป...
การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย