ราคาน้ำมันดิบยังได้แรงบวกมาจากผลการประชุมของกลุ่ม OPEC+ เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว
อย่างไรก็ตามหลังจากที่มีข่าวการใช้โดรนถล่มโรงกลั่นน้ำมันน้ำมันของซาอุดิอาระเบียไม่สำเร็จ ราคาน้ำก็ได้ปรับตัวลดลงมา ในบทความนี้เราจะมาดูกันว่ามีเหตุผลสนับสนุนอะไรบ้างที่จะผลักดันให้ราคาน้ำมันในตลาดปรับตัวลงอีกในสัปดาห์หน้า
1. OPEC+ กับความจริงเบื้องหลังการลดกำลังการผลิตน้ำมัน
ผลการประชุมของเหล่าประเทศผู้ผลิตน้ำมันหรือ OPEC+ ในสัปดาห์ที่แล้วไม่ได้เป็นไปตามที่นักลงทุนหรือนักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดการณ์ แทนที่จะตัดสินใจเพิ่มกำลังการผลิตน้ำมัน OPEC+ กลับตัดสินใจคงกำลังการผลิตน้ำมันเอาไว้ดังเดิมไปจนถึงเดือนเมษายน นอกจากนี้ยังมีข่าวเพิ่มเติมเข้ามาอีกว่าซาอุดิอาระเบียซึ่งเป็นพี่ใหญ่ของกลุ่ม OPEC ยังยินดีที่จะลดกำลังการผลิต 1 ล้านบาร์ต่อวันออกไปอีกหนึ่งเดือน
แม้ว่าข่าวดีนี้จะส่งให้ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ปรับตัวขึ้นอีกมากกว่า 5% เช่นเดียวกันกับน้ำมันดิบ WTI แต่การเพิ่มขึ้นครั้งนี้หากมองในอีกแง่หนึ่งอาจจะกลายเป็นการสร้างมาตรฐานเพดานให้กับตลาดน้ำมันดิบใหม่
ประการแรก นโยบายคงกำลังการผลิตน้ำมันครั้งนี้จะมีผลถึงแค่สิ้นเดือนหน้าเท่านั้นและในเดือนเมษายนกลุ่ม OPEC+ ก็จะมีการประชุมกันอีกครั้งเพื่อหารือเรื่องการผลิตน้ำมันในเดือนพฤษภาคม อันที่จริงแล้วรูปแบบการประชุมแบบนี้ถือเป็นอะไรที่ใหม่มากสำหรับกลุ่ม OPEC เพราะปกติพวกเขาจะประชุมกัน 6 เดือนต่อการประชุม 1 ครั้ง
ประการที่สอง อัตราการผลิตน้ำมันไม่ได้หมายถึงปริมาณน้ำมันดิบคงคลังเสมอไป อ้างอิงข้อมูลจากบริษัทที่มีการติดตามข้อมูลปริมาณการกักเก็บน้ำมันดิบระบุว่าซาอุดิอาระเบียไม่ได้ลดปริมาณการส่งออกน้ำมันในเดือนกุมภาพันธ์อย่างที่ควรจะทำ หมายความว่าฉากหน้าซาอุดิอาระเบียอาจจะยอมลดกำลังการผลิตน้ำมัน แต่ฉากหลังซาอุดิอาระเบียได้นำน้ำมันดิบที่เก็บเอาไว้ในคลังมาทำการส่งออกแทนเพื่อรักษากำไรที่ได้จากการส่งออกน้ำมันเอาไว้
ประการที่สาม แม้ว่ารัสเซียจะสามารถขอโควตาการผลิตน้ำมันมาจากกลุ่ม OPEC ให้พวกเขาสามารถเพิ่มกำลังการผลิตได้มากถึง 130,000 บาร์เรลต่อวันไปจนถึงเดือนเมษายน แต่ที่ผ่านมารัสเซียก็เคยมีประวัติการผลิตน้ำมันเกิน และยังไม่เคยโดนลงโทษตรงๆ เพื่อให้เป็นเยี่ยงอย่างแก่ประเทศสมาชิกอื่นเลยสักครั้ง
จากประสบการณ์การทำงานในวงการนี้มาของของเราทำให้ค่อนข้างเชื่อได้ว่ารัสเซียมีโอกาสที่จะแอบเพิ่มกำลังการผลิตน้ำมันอีก พวกเขายังมีโอกาสให้อ้างการเพิ่มกำลังการผลิตได้ง่ายโดยเฉพาะในฤดูใบไม้ผลิและฤดูร้อนเมื่อหิมะในไซบีเรียละลาย
2. ราคาน้ำมันในสหรัฐฯ ที่กำลังแพงขึ้นเรื่อยๆ จะไปได้ไกลเท่าไหร่?
เราไม่อาจกล่าวได้ว่าราคาน้ำมันที่กำลังปรับตัวขึ้นเรื่อยๆ ในช่วงนี้เป็นผลกระทบมาจากตลาดน้ำมันดิบทั้งหมด พายุหิมะที่เข้ามาถล่มรัฐเท็กซัสในเดือนที่แล้วทำให้โรงกลั่นพลังงานของสหรัฐฯ ไม่สามารถใช้งานได้ประมาณ 40% และจนถึงตอนนี้โรงกลั่นบางแห่งก็ยังไม่สามารถกลับมาดำเนินการได้อย่างเต็มกำลัง
รายงานจากองค์กรข้อมูลด้านพลังงาน (EIA) ระบุว่าโรงกลั่นน้ำมันและผลิตก๊าซธรรมชาติในรัฐเท็กซัสและอ่าวที่ติดอยู่ทางด้านชายฝั่งสามารถดำเนินการได้เพียง 61% จากความสามารถในการผลิตเดิม ถือเป็นตัวเลขการผลิตที่ทำได้ต่ำที่สุดขอบบริษัทในภูมิภาคนี้นับตั้งแต่ปี 2010
หุ้นของบริษัทผลิตน้ำมันในสหรัฐฯ ลงไปอยู่ในจุดต่ำสุดเท่าที่เคยทำมานับตั้งแต่ปี 2015 ความตกต่ำนี้ถือว่าต่ำกว่าค่าเฉลี่ยในรอบ 5 ปีสำหรับช่วงเวลานี้ โดยปกติแล้วราคาน้ำมันจะต้องปรับตัวขึ้นในเดือนมีนาคมเพราะความต้องการพลังงานจะมีมากขึ้นเพื่อรองรับการมาถึงของฤดูร้อน
นักลงทุนควรจะประเมินความเสี่ยงในเรื่องนี้ของตลาดพลังงานแม้ว่าการใช้กำลังของโรงกลั่นจะกลับสู่ภาวะปกติและหุ้นของบริษัทผู้ผลิตน้ำมันจะปรับตัวลดลง คำถามก็คือเมื่อไหร่ที่เหล่าบรรดาผู้ผลิตน้ำมันจะสามารถกลับมาผลิตน้ำมันได้ทันตามความต้องการในขณะที่เรากำลังมุ่งหน้าเข้าสู่ช่วงฤดูร้อน
นักวิเคราะห์บางคนมองว่าหากความต้องการน้ำมันยังมีอยู่ที่ 8-9 ล้านบาร์เรลต่อวัน การผลิตน้ำมันเพื่อให้ทันตามความต้องการก็ไม่น่าจะมีปัญหา แต่หากความต้องการน้ำมันเพิ่มขึ้นไปถึง 10 ล้านบาร์เรลต่อวันในช่วงหน้าร้อนนี้จะสร้างความกดดันให้กับราคาน้ำมันได้อย่างมีนัยสำคัญ
นอกจากนี้นักลงทุนควรเฝ้าจับตาดูตัวเลขการส่งออกน้ำมันให้ดีเพราะสหรัฐอเมริกาถือเป็นประเทศหนึ่งที่ได้กำไรจากธุรกิจการส่งออกน้ำมันอย่างมหาศาล หากบริษัทผู้ผลิตน้ำมันเห็นว่าขายน้ำมันให้กับต่างประเทศได้ราคาดีกว่า พวกเขาจะทำแน่นอน การกระทำนี้จะยิ่งส่งผลให้ราคาน้ำมันดิบ WTI ปรับตัวลดลงอีก
3. การหวนคืนวงการน้ำมันของประเทศอิหร่าน
ในขณะที่ซาอุดิอาระเบียและประเทศอื่นๆ ในตะวันออกกลางกำลังพากันลดกำลังการผลิตตามนโยบายของกลุ่ม OPEC ผู้บริโภคอย่างอินเดียและประเทศจีนไม่อาจรอได้และเริ่มหันไปหาประเทศทางเลือกอื่นที่สามารถผลิตน้ำมันได้แถมยังได้ราคาน้ำมันที่ถูกกว่าด้วย นั่นก็คือประเทศอิหร่าน
ในการประชุมของกลุ่ม OPEC+ เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว อินเดียถูกซาอุดิอาระเบียสั่งห้ามไม่ให้ผลิตน้ำมันเพิ่มเพราะในปี 2020 อินเดียได้ใช้วิธีหาซื้อน้ำมันราคาถูกมาตอบสนองการใช้งานน้ำมันภายในประเทศที่หายไปในช่วงโควิด แต่เพราะประชากรมากกว่า 1.366 พันล้านคนไม่อาจรอได้ รัฐบาลอินเดียจึงจำเป็นต้องหาน้ำมันจากแหล่งอื่นมาช่วย
สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่าประเทศจีนและอินเดียต่างกำลังเตรียมพร้อมที่จะนำเข้าน้ำมันจากประเทศอิหร่านในอนาคตอันใกล้ ข่าวนี้สอดคล้องกันกับคำพูดจากบริษัทผู้ผลิตน้ำมันประจำชาติของอิหร่าน (NIOC) ที่ระบุว่าพวกเขากำลังเตรียมขายน้ำมันให้กับลูกค้าที่อยู่ในทวีปเอเชีย ข่าวนี้มีความเป็นไปได้สูงที่จะเกิดขึ้นเพราะการเข้ามาของประธานาธิบดีโจ ไบเดนทำให้มีการคาดการณ์ว่าการคว่ำบาตรการส่งออกน้ำมันของอิหร่านจะถูกยกเลิก
รอยเตอร์ยังรายงานเพิ่มเติมอีกว่าประเทศจีนได้นำเข้าน้ำมันจากอิหร่าน (แบบที่แอบทำลับหลังสหรัฐฯ) เพิ่มเป็นสองเท่าในช่วงระหว่างเดือนธันวาคมปี 2020 มาจนถึงสิ้นเดือนกุมภาพันธ์ปี 2021 ในขณะที่อินเดียหยุดนำเข้าน้ำมันจากอิหร่านเพราะเกรงใจมาตรการคว่ำบาตรของสหรัฐอเมริกาที่มีต่อประเทศอิหร่าน แต่จากแหล่งข่าวที่เชื่อถือได้ในอินเดียก็มีข่าวออกมาว่าอินเดียเตรียมที่จะนำเข้าน้ำมันจากอิหร่านอย่างเร็วที่สุดภายในเดือนมิถุนายน
ในแง่ของนักลงทุนอย่างเราๆ ควรจับตาดูข่าวการคว่ำบาตรอิหร่านของสหรัฐอเมริกาและการส่งออกน้ำมันดิบที่จะกระทบต่อตลาดน้ำมัน นอกจากนี้การขายน้ำมันแบบไม่ชอบธรรมให้กับประเทศจีนและอินเดียจะส่งผลให้ราคาน้ำมันในตลาดปรับตัวลดลง