- S&P 500 มีราคาลดต่ำกว่าจุดต่ำสุดก่อนหน้าเล็กน้อย
- ดอลลาร์พยายามจะกลับมาแข็งค่าขึ้น
- ราคาน้ำมันยิ่งถูกกดดันหนักจากภาพรวมเศรษฐกิจ
- ขาลงใน S&P 500 เกิดจากความเชื่อว่าไบเดนจะเป็นผู้ชนะการเลือกตั้ง
และแล้วสัปดาห์ที่สำคัญที่สุดของปี 2020 ก็มาถึงเมื่อการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ กำลังจะเกิดขึ้นในวันพรุ่งนี้แล้วหรือหากเทียบเป็นเวลาประเทศไทยคือช่วงหัวค่ำของวันที่ 3 พฤศจิกายน นอกจากการเลือกตั้งแล้วสัปดาห์นี้แทบไม่มีเวลาให้นักลงทุนทางเทคนิคได้หายใจเลยเพราะมีข่าวสำคัญเรียงรายรอประกาศอยู่แทบทุกวัน ไหนจะปัญหาการแพร่ระบาดโควิด-19 ที่เพิ่มสูงขึ้นตั้งแต่ก่อนเข้าหน้าหนาวในสหรัฐอเมริกาและยโรุป ยังมีการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐฯ อังกฤษ และออสเตรเลียให้ติดตามอีก
ก่อนการเลือกตั้งจะมาถึง สัปดาห์ที่แล้วตลาดหุ้นสหรัฐฯ ได้ปรับตัวลงไปรอก่อนแล้ว ส่วนหนึ่งของขาลงมาจากความผิดหวังที่ได้เห็นตัวเลขผลประกอบไตรมาสที่สามของหลายๆ บริษัทยักษ์ใหญ่ชะลอตัวลงและความหวังของมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจรอบที่สองก่อนการเลือกตั้งก็ได้ดับลงโดยสมบูรณ์ ความผิดหวัง ความลังเล และความผันผวนคือธีมหลักที่จะกดดันตลาดลงทุนในสัปดาห์นี้
ขาลงเมื่อสัปดาห์ที่แล้วของตลาดหุ้นสหรัฐฯ นอกจากจะเป็นขาลง 15% ที่รุนแรงที่สุดนับตั้งแต่เดือนมีนาคม ยังเป็นขาลงที่เกิดขึ้น 4 ใน 5 วัน วันเดียวที่สามารถปิดบวกได้เกิดมาจากการรายงานตัวเลข GDP ไตรมาสที่สาม และรายงานจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกของสหรัฐฯ ออกมาดีขึ้น คำถามที่ตลาดอยากทราบจากขาลงครั้งนี้ก็คือว่าตอนนี้สามารถเรียกว่าเป็นจุดต่ำสุดก่อนที่จะดีดตัวขึ้นได้แล้วหรือไม่?
ขาลงก่อนการเลือกตั้งบอกอะไรกับนักลงทุน?
ในตอนแรก นักลงทุนยังมีความเชื่อว่าตลาดหุ้นสหรัฐฯ น่าจะยังพอวิ่งกลับขึ้นมาได้เพราะมีการรายงานผลประกอบการของบริษัทเทคโนโลยีชื่อดังมากมาย แต่หลังจากที่ได้เห็นดัชนี NASDAQ 100 ร่วงลง 2.6% เพราะยอดขายไอโฟนของบริษัทแอปเปิล (NASDAQ:AAPL) ลดลงและยอดผู้ใช้งานบนทวิตเตอร์ (NYSE:TWTR)ขึ้นไม่ถึงเป้า ก็ทำให้นักลงทุนเสียความเชื่อมั่นในทันที แม้ว่าบริษัทแม่ของกูเกิลอย่างอัลฟาเบต (NASDAQ:GOOGL) จะรายงานตัวเลขรายได้จากโฆษณาที่ดีขึ้นก็ไม่ช่วยให้นักลงทุนในตลาดเชื่อมั่นขึ้นมาได้
นอกจากนี้ ดัชนีหลักอย่าง S&P 500 ก็ได้ร่วงลง 5.6% สร้างสถิติเป็นขาลงก่อนการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ที่แรงที่สุดทั้งๆ ที่ปกติแล้วตลาดหุ้นมักจะปรับตัวขึ้นก่อนการเลือกตั้ง แต่ถึงกระนั้น การที่เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นก็ไม่ใช่เรื่องที่น่าประหลาดใจเท่าไหร่เพราะในสภาพความผันผวนที่สูงกว่าปกติเช่นนี้ น้อยคนนักที่จะกล้าถือคำสั่งซื้อขายจนกว่าจะผ่านการเลือกตั้งครั้งนี้ไป
มีนักวิเคราะห์บางคนให้คำตอบกับสาเหตุการเทขายครั้งนี้ว่าเป็นเพราะนักลงทุนบางส่วนเชื่อว่าทรัมป์จะไม่ได้เป็นประธานาธิบดีสหรัฐฯ สมัยที่สองต่อแน่นอนในขณะที่บางส่วนก็เชื่อว่าโดนัลด์ ทรัมป์จะไม่ยอมรับผลการเลือกตั้งหากว่าแพ้ซึ่งนั่นจะยิ่งก่อให้เกิดความผันผวนในตลาดหลังจากวันที่ 3 พฤศจิกายนไปอีก อ้างอิงจากข้อมูลของผลสำรวจส่วนใหญ่ หากการเลือกตั้งเกิดขึ้นวันนี้โจ ไบเดนจะเป็นผู้ชนะ ตั้งแต่ปี 1928 เมื่อไหร่ก็ตามที่ตลาดหุ้นปรับตัวลดลงสามเดือนก่อนการเลือกตั้ง มีโอกาสสูงถึง 87% ที่ผลการเลือกตั้งจะออกมาตามโพล
อย่างไรก็ตาม ปี 2016 ก็ได้พิสูจน์แล้วว่าไม่สามารถเชื่อผลโพลได้ 100% สถานการณ์ของโจ ไบเดนตอนนี้เหมือนกันกับปีนั้นที่นาง ฮิลลารี่ คลินตัน มีคะแนนนำโดนัลด์ ทรัมป์ที่ใครๆ ต่างก็มองว่าไม่มีทางได้เป็นประธานาธิบดีจากภาพลักษณ์ที่เป็นนักธุรกิจที่ทำทุกอย่างเพื่อผลประโยชน์ ในครั้งนั้นนักวิเคราะห์ถึงกับมองว่าถ้าโดนัลด์ ทรัมป์ได้เป็นประธานาธิบดี ตลาดหุ้นจะร่วงแต่เมื่อทรัมป์หักหน้านักวิเคราะห์ ได้เป็นประธานาธิบดีสหรัฐฯ ตลาดหุ้นกลับปรับตัวขึ้นหน้าตาเฉย
เมื่อตอนนี้มีสองคำถามใหญ่ๆ คือ ใครจะเป็นผู้ชนะ? และอะไรจะเกิดขึ้นกับตลาดต่อไป? คงไม่อาจตอบได้จนกว่าจะผ่านการเลือกตั้งไปแล้ว แต่การวิเคราะห์ทางเทคนิคอาจจะพอบอกอะไรกับนักลงทุนก่อนการเลือกตั้งได้บ้าง
นับตั้งแต่วันที่ 3 สิงหาคม กราฟดัชนี S&P 500 ก็ได้เข้าสู่แดนของขาลงซึ่งวัดจากเส้นหนาสีดำที่ลากไว้ตั้งแต่สามเดือนก่อนการเลือกตั้ง ยิ่งตอนนี้ราคาสามารถปิดต่ำกว่าเส้นค่าเฉลี่ย 100 วันได้ยิ่งทำให้การกลับตัวขึ้นไปยากขึ้นยิ่งกว่าเดิม ระดับราคา 3,200 กลายเป็นแนวรับและแนวต้านสำคัญของ S&P 500 มาตั้งแต่จุดสูงสุดเดือนมิถุนายน ดังนั้นการวิ่งลงไปต่ำกว่าจุดต่ำสุดวันที่ 24 กันยายนจะยิ่งทำให้การกลับตัวระยะสั้นมีความเป็นไปได้มากยิ่งขึ้น
กราฟผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ อายุ 10 ปีปรับตัวขึ้นเพราะได้แรงหนุนจากความเชื่อว่ามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจรอบที่สองจะมาแน่นอนหลังจากการเลือกตั้ง
สัปดาห์ที่แล้ว กราฟผลตอบแทนฯ สามารถปรับตัวขึ้นสามวันติดต่อกันขึ้นไปยังจุดสูงสุดตั้งแต่วันที่ 8 มิถุนายนและยืนเหนือเส้นค่าเฉลี่ย 50 และ 200 วันได้สำเร็จ นอกจากนี้กราฟยังสามารถวิ่งขึ้นไปทดสอบกรอบราคาด้านบนได้อีกด้วย
กราฟดัชนีดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นตามกราฟผลตอบแทนฯ อายุ 10 ปีเช่นกันเนื่องจากนักลงทุนหลีกเลี่ยงความเสี่ยงทุกประเภทก่อนการเลือกตั้งและหันมาถือเงินดอลลาร์เอาไว้
กราฟดัชนีดอลลาร์สหรัฐสามารถขึ้นจนเจาะเส้นเทรนด์ไลน์ขาลงที่ลากมาตั้งแต่เดือนมีนาคมได้เมื่อวันศุกร์ที่แล้ว หากกราฟสามารถขึ้นทะลุ 94.74 ได้ มีโอกาสที่ราคาจะสร้างขาขึ้นระยะสั้นขึ้นมาได้สำเร็จ
ราคาทองคำแม้จะหลุดลงมาต่ำกว่า $1900 แต่ก็ยังทรงตัวไม่ให้ลงไปต่ำกว่า $1850 ได้ แม้จะเป็นสินทรัพย์สำรองแต่คนก็ยังถือดอลลาร์มากกว่าที่จะถือทองคำ
แรงซื้อกับแรงขายในทองคำยังคงดูเชิงกันต่อเนื่องเพื่อรักษาแนวของตัวเองไว้จนกว่าจะผ่านการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ในขณะเดียวกันก็ยังวิ่งอยู่เหนือรูปแบบลิ่มอยู่เล็กน้อย
กราฟบิทคอยน์สามารถทำราคาปิดได้สูงที่สุดตั้งแต่วันที่ 13 มกราคม
หากพิจารณาจากภาพประกอบจะเห็นว่าตอนนี้บิทคอยน์ได้วิ่งขึ้นมาเกินกว่าจะเป็นขาขึ้นระยะสั้นแล้ว หากว่ากราฟสามารถขึ้นยืนเหนือ $14,000 ได้จะเป็นการเปิดประตูสู่ขาขึ้นระยะกลางทันที
ปัญหาอุปสงค์น้ำมันดิบตกต่ำยังคงเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้ราคาน้ำมันดิบปรับตัวลดลง ซ้ำร้ายสัปดาห์นี้ราคาน้ำมันมีโอกาสร่วงลงต่อเพราะสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 ในสหรัฐฯ และยุโรปยิ่งทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้นเรื่อยๆ
กราฟน้ำมันดิบ WTI ในวันศุกร์ยังคงปรับตัวลดลงเป็นวันที่สองติดต่อกัน ตอนนี้กราฟสามารถลงจนทะลุกรอบราคาได้แล้วและวิ่งเป็นขาลงที่ได้รับแรงมาจากลิ่มลู่ขึ้นก่อนหน้านี้ต่อ
ข่าวสำคัญประจำสัปดาห์ (เวลาทั้งหมดคำนวณเป็น EDT)
วันจันทร์
04:30 (สหราชอาณาจักร) ดัชนี PMI ภาคการผลิต: คาดว่าจะคงที่อยู่ 53.3
10:00 (สหรัฐฯ) ดัชนี PMI ภาคการผลิตจาก ISM: คาดว่าจะเพิ่มขึ้นจาก 55.4 เป็น 55.8
22:30 (ออสเตรเลีย) การประชุมอัตราดอกเบี้ยของธนาคารออสเตรเลีย: คาดว่าจะลดอัตราดอกเบี้ยลงจาก 0.25% เป็น 0.10%
วันอังคาร
16:45 (นิวซีแลนด์) อัตราการจ้างงาน:คาดว่าจะลดลงจาก -0.4% ครั้งก่อนเป็น -0.8%
18:50 (ญี่ปุ่น) แถลงนโยบายทางการเงิน
20:50 (ออสเตรเลีย) รายงานตัวเลขยอดขายปลีก: คาดว่าจะเพิ่มขึ้นจาก -4.0% เป็น -1.5%
(สหรัฐฯ) การเลือกตั้งประธานาธิบดีตลอดทั้งวัน
วันพุธ
04:30 (สหราชอาณาจักร) ดัชนี PMI ในภาพรวม: คาดว่าจะลดลงจาก 56.5 เหลือ 52.9
08:15 (สหรัฐฯ) รายงานตัวเลขคาดการณ์การจ้างงานนอกภาคการเกษตรจาก ADP: คาดว่าจะลดลงจาก 749K เหลือ 650K
10:00 (สหรัฐฯ) ดัชนี PMI ภาคการผลิตจาก ISM: คาดว่าจะเพิ่มขึ้นจาก 57.5 เป็น 57.8
10:30 (สหรัฐฯ) รายงานปริมาณน้ำมันดิบคงคลัง: สัปดาห์ที่แล้วมีตัวเลขออกมาอยู่ที่ 4.320M
วันพฤหัสบดี
04:30 (สหราชอาณาจักร) ดัชนี PMI ภาคการก่อสร้าง: คาดว่าจะลดลงจาก 56.8 เหลือ 55.0
07:00 (สหราชอาณาจักร) การประชุมอัตราดอกเบี้ยจากธนาคารกลางอังกฤษ: คาดว่าจะคงอัตราดอกเบี้ยเอาไว้ที่ 0.10%
09:30 (สหรัฐฯ) รายงานจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรก: คาดว่าจะเพิ่มขึ้นจาก 751K เป็น 770K
14:00 (สหรัฐฯ) การประชุมอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ: คาดว่าจะคงที่อยู่ดังเดิม 0.25%
14:30 (สหรัฐฯ) แถลงการณ์จากคณะกรรมการนโยบายการเงินสหรัฐฯ (FOMC)
วันศุกร์
08:30 (สหรัฐฯ) รายงานตัวเลขการจ้างงานนอกภาคการเกษตร: คาดว่าจะเพิ่มขึ้นจาก 661K เป็น 700K
08:30 (สหรัฐฯ) อัตราการว่างงาน: คาดว่าจะลดลงจาก 7.9% เหลือ 7.6%
08:30 (แคนาดา) อัตราการจ้างงาน: คาดว่าจะลดจาก 378.2K ลงไปยัง -7.5K
10:00 (แคนาดา) รายงานตัวเลขดัชนี PMI จากสถาบัน IVEY: คาดว่าตัวเลขจะออกมาอยู่ที่ 54.3